วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal <p>วารสารศึกษาศาสตร์ &nbsp;มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเป็นสื่อกลางแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการของคณาจารย์นักวิชาการทางการศึกษาทั้งในและนอกสถาบัน และ 2) เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์&nbsp;กำหนดออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ 1) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และ &nbsp; &nbsp;2) ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>การจัดทำวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร</strong></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการจัดทำวารสาร เป็น 2 รูปแบบ คือ 1) แบบตีพิมพ์ (Print) &nbsp;ISSN 1686-3089 &nbsp;ตั้งแต่ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมิถุนายน - ตุลาคม 2555 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) &nbsp;ISSN 2672-9571 ตั้งแต่ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือนมิถุนายน – กันยายน 2561</p> <p>&nbsp;</p> th-TH edu.journal.su@gmail.com (รศ.ดร.ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย) edu.journal.su@gmail.com (นายภาวัต จรลีรัตน์) Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 สารบัญ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/272940 <p>สารบัญ</p> สารบัญ สารบัญ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/272940 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 Title https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/272941 <p>Title</p> Title Title Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/272941 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทปริทัศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/272942 <p>บทปริทัศน์</p> ธิดาพร คมสัน Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/272942 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดการสอนนาฏการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265869 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและแนวทางการพัฒนาชุดการสอนนาฏการ 2) พัฒนาชุดการสอนนาฏการให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาประสิทธิผลของชุดการสอนนาฏการในประเด็นต่อไปนี้ (3.1) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากใช้ชุดการสอนนาฏการ (3.2) ศึกษาความพึงพอใจต่อชุดการสอนนาฏการกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 8 ชั่วโมง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนาชุดการสอนนาฏการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านนาฏศิลป์ 2) ผลการพัฒนาชุดการสอนนาฏการได้ชุดการสอน 1 ชุด จำนวน 4 เรื่องดังนี้ (1) เรื่องหุ่นเงา (2) เรื่องหุ่นเสียบไม้ (3) เรื่องหุ่นสวมมือ (4) เรื่องหุ่นชัก แต่ละชุดมีส่วนประกอบ คือ ปก คำนำ สารบัญ คำชี้แจง วัตถุประสงค์/มาตรฐานตัวชี้วัด/แผนการจัดการเรียนรู้ ใบความรู้ เกณฑ์การประเมินผลกระบวนการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านนาฏศิลป์ และมีค่าประสิทธิภาพ = 80.92/81.83 3) ผลการศึกษาประสิทธิผลของชุดการสอนนาฏการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านนาฏศิลป์ พบว่า ชุดการสอนนาฏการมีประสิทธิผลดังนี้ (3.1) ผลการศึกษาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านนาฏศิลป์ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (3.2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดการสอนนาฏการ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนนาฏการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> Kitisak Sutti Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265869 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหินลับศิลามงคล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/266524 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหินลับศิลามงคล จังหวัดหนองบัวลำภู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 10 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 การวิเคราะห์ผลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพนวัตกรรม การทดสอบค่าที (t-test for dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.13/81.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง จำนวนเต็ม คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> Chittra Chaitongrat Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/266524 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 สภาพและปัญหาของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนพื้นที่จังหวัดชลบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/266074 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนพื้นที่จังหวัดชลบุรี ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการดูแลและพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน ด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและดูแลสุขภาพ ด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษาและการสื่อสาร ด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ-สังคม ปลูกฝังคุณธรรมและความเป็นพลเมืองดี และด้านการส่งเสริมเด็กในระยะเปลี่ยนผ่านให้ปรับตัวสู่การเชื่อมต่อในขั้นถัดไป ประชากร คือ สถานรับเลี้ยงเด็ก จำนวน 87 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร จำนวน 87 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานรับเลี้ยง จำนวน 8 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร ครู/ผู้ดูแลเด็ก จำนวน 16 คน&nbsp; เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมเด็กในระยะเปลี่ยนผ่านให้ปรับตัวสู่การเชื่อมต่อในขั้นถัดไป (x=72.62,S.D.=1.25) ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่า มีสาเหตุ 2 ประการ ที่ทำให้เกิดปัญหา คือ ประการแรก ครู/ผู้ดูแลเด็กไม่จบการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย จึงทำให้สถานรับเลี้ยงเด็กไม่มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 และประการที่สอง ตัวบ่งชี้ เกณฑ์ และรายละเอียดการพิจารณาบางประเด็นของมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติมีการกำหนดที่กว้างเกินกว่าช่วงอายุของเด็ก เป็นสาเหตุที่ทำให้ครู/ผู้ดูแลเด็กไม่สามารถดำเนินการตามมาตรฐานได้</p> ชาดา อุ่นประดิษฐ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/266074 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและการทำงานร่วมกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/264043 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้าน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด ตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด 2) แบบทดสอบ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ 3) แบบสังเกตการทำงานร่วมกัน และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติ&nbsp;&nbsp; ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย <em>(</em><em>M)</em> ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <em>(</em><em>SD)</em> และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ&nbsp;&nbsp; ต่อกัน (t-test dependent)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 &nbsp;2) ความสามารถ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ด้านการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดอยู่ในระดับดี และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดอยู่ในระดับมาก</p> นันทนา ช้างหัวหน้า, ชลธิชา หอมฟุ้ง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/264043 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของการบูรณาการการบริการวิขาการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชากายวิภาคศาสตร์และวิชาพยาธิวิทยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/262568 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะบูรณาการส่งผลให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การประยุกต์ และการพัฒนาในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี&nbsp; วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ &nbsp;&nbsp;1)&nbsp; เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และวิชาพยาธิวิทยา&nbsp; คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน และ 2) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชากายวิภาคศาสตร์และวิชาพยาธิวิทยาต่อการจัดกิจกรรมการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน&nbsp; กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และวิชาพยาธิวิทยา จำนวน&nbsp; 475 คน ดำเนินการจัดกิจกรรมระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 &nbsp;เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการบูรณาการบริการวิชาการเผยแพร่ความรู้ที่สอดคล้องกับรายวิชาทางสื่อออนไลน์และการให้บริการความรู้แก่นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 โครงการ รวมทั้งแบบสอบถามและการสังกตความพึงพอใจต่อการจัดโครงการ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนและหลังการทดลอง รวมทั้งวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการวิเคราะห์ paried t-tes</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการทดลองพบว่าภายหลังการจัดกิจกรรมในโครงการการบูรณาการการบริการวิชาการ นักศึกษาเกือบทุกรายวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) &nbsp;โดยพบเพียง 1 วิชาที่นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p&gt;.05) ในส่วนความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมดังกล่าว พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.3&nbsp;(จากคะแนนเต็ม 5) &nbsp;จากการสังเกตพบว่านักศึกษามีความตื่นตัวต่อการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นอย่างมาก &nbsp;&nbsp;ทั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้การเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ มีการจัดกิจกรรมในลักษณะการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน และควรมีการศึกษาถึงการบูรณาการในรูปแบบอื่น ที่จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> ฺBangon Changsap, Pasinee Sanguansit, Rapipan Siridet, Amornrat Tothonglor, Janpen Bangsumruaj, Anchalee Choombuathong Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/262568 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการใช้วิธีการสอนแบบโฟนิคส์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/264100 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิคส์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้วิธีการสอนแบบโฟนิคส์ในการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษ</p> <p>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 23 คน โรงเรียนวัดหนองเสือ จังหวัดกาญจนบุรี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม</p> <p>เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิคส์ จำนวน 4 แผน ได้แก่ 1) Consonant Sounds 2) The Short A Sound and Long A Sound 3) The Short E and Long E Sound 4) The Short O and Long O Sound 2) แบบทดสอบวัดทักษะด้านการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษเป็นแบบทดสอบปากเปล่า (Oral Test) จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อวิธีการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิคส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบ t (t-test) ค่าความสอดคล้อง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิคส์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อวิธีการสอนอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิคส์อยู่ที่ระดับมากที่สุด</p> Papapin Niyompun Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/264100 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/264680 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละคร 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 17 คน โรงเรียนบ้านหนองชุมพล จังหวัดเพชรบุรี ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ 6 (อ23102) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละคร 2) แบบทดสอบทักษะการพูดภาษาอังกฤษ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละครสูงกว่าก่อนเรียน 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p>&nbsp;</p> Preeyapat Thongchamnong Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/264680 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/270086 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าวฉบับปี พ.ศ. 2568 การประเมินหลักสูตรใช้รูปแบบ CIPPI Model ของ Stufflebeam ประกอบด้วยการประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกด้าน และได้แนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร ประกอบด้วย 1) การคงรักษาจุดแข็งของหลักสูตรเดิม 2) การปรับปรุงรายละเอียดหลักสูตรในส่วนที่ควรพัฒนา เช่น ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชา และ 3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการหลักสูตร เช่น การติดตามนักศึกษาทำวิทยานิพนธ์อย่างใกล้ชิด</p> ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์, บุษบา บัวสมบูรณ์, กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล, พิณพนธ์ คงวิจิตต์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/270086 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/268875 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับนักศึกษา และ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่เรียนรายวิชาเคมีในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ชั้นเรียน มีจำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มี 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) กระตุ้นความสนใจ (2) ระบุและทำความเข้าใจปัญหา (3) ระดมความคิดและลำดับความคิด (4) วางแผน (5) ลงมือปฏิบัติตามแผน (6) นำเสนอ (7) ประเมินผลและ 4) การวัดและประเมินผลและหลังทดลองใช้รูปแบบนักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับดี ( &nbsp;= 2.99, S.D. = 0.46) และมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับดี ( &nbsp;= 2.65, S.D. = 0.38) และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับมากที่สุด ( &nbsp;= 4.57, S.D. = 0.55)</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี</p> vatcharaporn prapasanobol Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/268875 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 The Curriculum Evaluation on Master Degree Program of Fine Arts in Visual Art Education, Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education, Silpakorn University (edition 2018) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/268307 <div><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินความก้าวหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ศึกษา คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.</span>2561)<span lang="TH">ในด้านบริบทของหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านการผลิตโดยเป็นการประเมินผลผลิตระหว่างทางของหลักสูตร และเพื่อศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาหลักสูตร รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม และแนวประเด็นการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </span><span lang="TH">ผลกาวิจัยพบว่า </span>1) <span lang="TH">ผลการประเมินโดยภาพรวมของหลักสูตร พบว่า นักศึกษา และผู้สอน/กรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด </span>2) <span lang="TH">ผลการประเมินด้านบริบท มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด </span>3) <span lang="TH">ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยแบ่งเป็น </span>2 <span lang="TH">ด้าน คือ ด้านสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ และ ด้านรายวิชาในหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด </span>4) <span lang="TH">ผลประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมี </span>2 <span lang="TH">ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล และ</span>5)<span lang="TH">ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></div> WISUD PO NGERN Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/268307 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265932 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้าน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ได้แก่ ความรู้ ทักษะ เจตคติ และลักษณะบุคคล 2) เปรียบเทียบความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ระหว่างผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษา บัณฑิต และผู้ที่คาดว่าจะศึก และ 3) เสนอแนะแนวทางการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษา บัณฑิต และผู้ที่คาดว่าจะศึกษาต่อ จำนวนรวม 1,200 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือ<br>ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความตรง 0.96 ค่าความเที่ยง 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว กับการวิเคราะห์เชิงบรรยาย โดยการตีความแบบอุปนัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความรู้ ทักษะ ลักษณะบุคคล และจริยธรรม</p> <p>2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์แตกต่างกัน 2 ด้าน ได้แก่ จริยธรรม และลักษณะบุคคล</p> <p>3) ในภาพรวม ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์น้อยกว่ากับนักศึกษา บัณฑิต และผู้ที่คาดว่าจะศึกษาต่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นคุณลักษณะในการจัดกิจกรรมทางการกีฬา การสื่อสารทางการกีฬาด้วยภาษาอังกฤษ การทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ จิตสาธารณะ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความอดทนในการทำงานตามวิชาชีพ และใช้จ่ายอย่างประหยัด</p> <p>4) ควรกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรโดยให้ความสำคัญกับความรู้เป็นลำดับแรก ด้วยการพัฒนาหลักสูตรวิชาการ และมุ่งเน้นการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ย่อยทุกรายการ</p> sasijan panjatawee Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265932 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265801 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 2) ระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู และ 4) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 373 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูและสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 23.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> suwatchai artwichian, สุวัชชัย อาจวิเชียร, กุลชลี จงเจริญ, อาจารี คูวัธนไพศาล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265801 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 The The construction of a Chinese rhyming vocabulary book to promote Chinese vocabulary memorization skills of elementary school students at Demonstration School of Chiang Rai Rajabhat University https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/261688 <p>การดำเนินการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพหนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย&nbsp; 2) หาดัชนีประสิทธิผลการใช้หนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 3) ประเมินความพึงพอใจต่อหนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย&nbsp; กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling)&nbsp; จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หนังสือคำคล้องจองภาษาจีน แบบวัดดัชนีประสิทธิผล แบบประเมินความพึงพอใจ ผลวิจัยพบว่า 1)คุณภาพหนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อยู่ในระดับมากที่สุด ( &nbsp;= 4.23 , S.D.=&nbsp; 0.57)&nbsp; 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการใช้หนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีค่าเท่ากับ 0.69 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีน อยู่ในระดับมากที่สุด ( &nbsp;= 4.53 , S.D.=&nbsp; 0.54)&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>&nbsp; : หนังสือคำศัพท์คล้องจองภาษาจีน&nbsp; ทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีน&nbsp; ความพึงพอใจ</p> เสาวคนธ์ จันต๊ะมาต Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/261688 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 จัดการอย่างไรดีเมื่อมีอารมณ์โกรธ ? https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/268009 <p>ความโกรธเป็นอารมณ์ปกติของคนเราที่สามารถเกิดขึ้นได้ มีทั้งประโยชน์และโทษเพราะหากคนเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้ก็จะก่อให้เกิดพลังในการทำลายทั้งตนเองและผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล ความโกรธของคนเรามักจะเกิดขึ้นจากการที่เราคิดว่า เราสามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้ ชอบกล่าวโทษผู้อื่นว่าเป็นต้นเหตุของปัญหามากกว่าการมองตนเอง นอกจากนั้นก็จะมาจากการอบรมเลี้ยงดูที่เน้นการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล วิธีจัดการกับอารมณ์โกรธที่ถูกต้องและดีที่สุดก็คือ การจัดการความคิดของตนเอง ต้องรู้จักวิเคราะห์ผลดี ผลเสียที่จะเกิดขึ้น พยายามเบี่ยงเบนและไม่หมกมุ่นอยู่กับอารมณ์โกรธ ปรับเปลี่ยนความคิด รู้จักยืดหยุ่น โดยไม่ติดยึดกับความคิดเดิม ๆ&nbsp; ในขณะเดียวกันการใช้เทคนิคการสื่อสารแบบ I message ก็จะช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันและสามารถช่วยป้องกันความโกรธได้และควรคำนึงถึงการสร้าง story ที่เกิดจากการพิจารณาเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ&nbsp; ของบุคคลอื่นที่มาเกี่ยวข้องกับเราอย่างรอบด้านและจริงใจต่อการเปิดใจรับฟังเรื่องราวของเขาโดยปราศจากอคติส่วนตัวอย่างเด็ดขาด</p> Kamol Phoyen Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/268009 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 เทคนิคการตั้งคำถามแบบโสเครติสเพื่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/266485 <p>การคิดอย่างมีวิจารณญาณมีความสำคัญสำหรับการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันเนื่องด้วยปัญหาการหลงเชื่อโฆษณาสินค้าและบริการที่เป็นเท็จ การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศผ่านการพูดคุยกันทางโลกออนไลน์ การศึกษาพบว่า กระบวนในการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดเป้าหมาย 2) ระบุคำถาม &nbsp;&nbsp;&nbsp;3) ประมวลข้อมูล 4) ตั้งสมมุติฐาน 5) ลงข้อสรุป และเทคนิคที่สามารถนำมาใช้เพื่อการเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ คือ เทคนิคการตั้งคำถามแบบโสเครติส โดยมีรูปแบบการถามดังนี้ 1) คำถามเพื่อเปิดความคิด &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;2) คำถามเพื่อให้สร้างความเข้าใจแจ่มชัด 3) คำถามเพื่อขบคิดความแจ่มชัดนั้นให้เกิดเป็นมโนทัศน์ 4) คำถามเพื่อแสวงหาสมมุติฐานอื่นหรือก่อให้เกิดสมมุติฐาน 5) คำถามเพื่อทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนสมมุติฐานนั้น 6) คำถามเพื่อขยายมุมมองจากสิ่งที่ได้ 7) คำถามเพื่อให้อนุมานพยากรณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น 8) คำถามเพื่อพิสูจน์คำจำกัดความ ในการจัดการเรียนรู้มีรูปแบบวิธีการมากมายในการจัดการเรียนรู้ที่สร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เทคนิคการตั้งคำถามแบบโสเครติสก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะเสริมสร้างเกาะป้องกันทางปัญญาให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ในทุกยุคสมัย รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมใด ๆ</p> Varintorn Siripongnapat Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/266485 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265675 <p>การอ่านเพื่อความเข้าใจเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จทางวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางภาษาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยเน้นด้านวากยสัมพันธ์ และระบบคำ จากข้อมูลเชิงลึกของนักวิชาการที่มีชื่อเสียง บทความนี้จะมุ่งอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการอ่านเพื่อความเข้าใจและนำเสนอความหมายเชิงการสอนเพื่อสอนทักษะนี้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีภาษาศาสตร์ เช่น วากยสัมพันธ์ ระบบคำ และอรรถศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนครูผู้สอนที่มุ่งหวังที่จะเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้วยเครื่องมือที่จำเป็นในการถอดรหัสและแยกความหมายจากข้อความที่เขียนอย่างมีประสิทธิภาพ</p> Soranabordin Prasansaph Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265675 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265804 <p>การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุคดิจิทัลเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับการศึกษาในปัจจุบัน ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ การจัดการศึกษาจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมและแนวทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กในยุคนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุด ผู้สอนในยุคดิจิทัลจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ให้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพื่อตอบสนองต่อการศึกษาในอนาคต บทความนี้มุ่งเสนอถึงแนวทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล เพื่อให้การศึกษาสามารถเดินทางสู่อนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงผ่านการจัดการศึกษาแบบดิจิทัลและให้เห็นถึงแนวทางทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่ต้องเป็นไปเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และความรู้เพื่อรองรับการเติบโตของเด็กให้มีทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับโลกยุคดิจิทัล ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์พบว่า แนวทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล สามารถสรุปเป็น 3 องค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อน คือ 3D ประกอบด้วย Digital Age Learning, Digital Age Teacher และ Digital Age Learner เพื่อที่จะยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเด็กไทยให้มีคุณภาพต่อไป</p> anisfazira Hasani Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265804 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700