วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal
<p>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเป็นสื่อกลางแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการของคณาจารย์นักวิชาการทางการศึกษาทั้งในและนอกสถาบัน และ 2) เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ กำหนดออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ 1) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และ 2) ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>การจัดทำวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร</strong></p> <p> วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการจัดทำวารสาร เป็น 2 รูปแบบ คือ 1) แบบตีพิมพ์ (Print) ISSN 1686-3089 ตั้งแต่ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมิถุนายน - ตุลาคม 2555 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ISSN 2672-9571 ตั้งแต่ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือนมิถุนายน – กันยายน 2561</p> <p> </p>
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
th-TH
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
1686-3089
-
บทปริทัศน์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/272942
<p>บทปริทัศน์</p>
ธิดาพร คมสัน
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
274
276
-
สารบัญ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/272940
<p>สารบัญ</p>
สารบัญ สารบัญ
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
4
10
-
Title
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/272941
<p>Title</p>
Title Title
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
1
2
-
จัดการอย่างไรดีเมื่อมีอารมณ์โกรธ ?
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/268009
<p>ความโกรธเป็นอารมณ์ปกติของคนเราที่สามารถเกิดขึ้นได้ มีทั้งประโยชน์และโทษเพราะหากคนเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้ก็จะก่อให้เกิดพลังในการทำลายทั้งตนเองและผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล ความโกรธของคนเรามักจะเกิดขึ้นจากการที่เราคิดว่า เราสามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้ ชอบกล่าวโทษผู้อื่นว่าเป็นต้นเหตุของปัญหามากกว่าการมองตนเอง นอกจากนั้นก็จะมาจากการอบรมเลี้ยงดูที่เน้นการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล วิธีจัดการกับอารมณ์โกรธที่ถูกต้องและดีที่สุดก็คือ การจัดการความคิดของตนเอง ต้องรู้จักวิเคราะห์ผลดี ผลเสียที่จะเกิดขึ้น พยายามเบี่ยงเบนและไม่หมกมุ่นอยู่กับอารมณ์โกรธ ปรับเปลี่ยนความคิด รู้จักยืดหยุ่น โดยไม่ติดยึดกับความคิดเดิม ๆ ในขณะเดียวกันการใช้เทคนิคการสื่อสารแบบ I message ก็จะช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันและสามารถช่วยป้องกันความโกรธได้และควรคำนึงถึงการสร้าง story ที่เกิดจากการพิจารณาเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ของบุคคลอื่นที่มาเกี่ยวข้องกับเราอย่างรอบด้านและจริงใจต่อการเปิดใจรับฟังเรื่องราวของเขาโดยปราศจากอคติส่วนตัวอย่างเด็ดขาด</p>
Kamol Phoyen
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
11
20
-
เทคนิคการตั้งคำถามแบบโสเครติสเพื่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/266485
<p>การคิดอย่างมีวิจารณญาณมีความสำคัญสำหรับการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันเนื่องด้วยปัญหาการหลงเชื่อโฆษณาสินค้าและบริการที่เป็นเท็จ การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศผ่านการพูดคุยกันทางโลกออนไลน์ การศึกษาพบว่า กระบวนในการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดเป้าหมาย 2) ระบุคำถาม 3) ประมวลข้อมูล 4) ตั้งสมมุติฐาน 5) ลงข้อสรุป และเทคนิคที่สามารถนำมาใช้เพื่อการเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ คือ เทคนิคการตั้งคำถามแบบโสเครติส โดยมีรูปแบบการถามดังนี้ 1) คำถามเพื่อเปิดความคิด 2) คำถามเพื่อให้สร้างความเข้าใจแจ่มชัด 3) คำถามเพื่อขบคิดความแจ่มชัดนั้นให้เกิดเป็นมโนทัศน์ 4) คำถามเพื่อแสวงหาสมมุติฐานอื่นหรือก่อให้เกิดสมมุติฐาน 5) คำถามเพื่อทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนสมมุติฐานนั้น 6) คำถามเพื่อขยายมุมมองจากสิ่งที่ได้ 7) คำถามเพื่อให้อนุมานพยากรณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น 8) คำถามเพื่อพิสูจน์คำจำกัดความ ในการจัดการเรียนรู้มีรูปแบบวิธีการมากมายในการจัดการเรียนรู้ที่สร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เทคนิคการตั้งคำถามแบบโสเครติสก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะเสริมสร้างเกาะป้องกันทางปัญญาให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ในทุกยุคสมัย รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมใด ๆ</p>
Varintorn Siripongnapat
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
21
36
-
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265675
<p>การอ่านเพื่อความเข้าใจเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จทางวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางภาษาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยเน้นด้านวากยสัมพันธ์ และระบบคำ จากข้อมูลเชิงลึกของนักวิชาการที่มีชื่อเสียง บทความนี้จะมุ่งอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการอ่านเพื่อความเข้าใจและนำเสนอความหมายเชิงการสอนเพื่อสอนทักษะนี้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีภาษาศาสตร์ เช่น วากยสัมพันธ์ ระบบคำ และอรรถศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนครูผู้สอนที่มุ่งหวังที่จะเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้วยเครื่องมือที่จำเป็นในการถอดรหัสและแยกความหมายจากข้อความที่เขียนอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
Soranabordin Prasansaph
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
37
63
-
แนวทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265804
<p>การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุคดิจิทัลเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับการศึกษาในปัจจุบัน ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ การจัดการศึกษาจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมและแนวทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กในยุคนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุด ผู้สอนในยุคดิจิทัลจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ให้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพื่อตอบสนองต่อการศึกษาในอนาคต บทความนี้มุ่งเสนอถึงแนวทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล เพื่อให้การศึกษาสามารถเดินทางสู่อนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงผ่านการจัดการศึกษาแบบดิจิทัลและให้เห็นถึงแนวทางทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่ต้องเป็นไปเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และความรู้เพื่อรองรับการเติบโตของเด็กให้มีทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับโลกยุคดิจิทัล ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์พบว่า แนวทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล สามารถสรุปเป็น 3 องค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อน คือ 3D ประกอบด้วย Digital Age Learning, Digital Age Teacher และ Digital Age Learner เพื่อที่จะยกระดับการจัดการศึกษาปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเด็กไทยให้มีคุณภาพต่อไป</p>
anisfazira Hasani
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
79
93
-
การพัฒนาชุดการสอนนาฏการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265869
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและแนวทางการพัฒนาชุดการสอนนาฏการ 2) พัฒนาชุดการสอนนาฏการให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาประสิทธิผลของชุดการสอนนาฏการในประเด็นต่อไปนี้ (3.1) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากใช้ชุดการสอนนาฏการ (3.2) ศึกษาความพึงพอใจต่อชุดการสอนนาฏการกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 8 ชั่วโมง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนาชุดการสอนนาฏการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านนาฏศิลป์ 2) ผลการพัฒนาชุดการสอนนาฏการได้ชุดการสอน 1 ชุด จำนวน 4 เรื่องดังนี้ (1) เรื่องหุ่นเงา (2) เรื่องหุ่นเสียบไม้ (3) เรื่องหุ่นสวมมือ (4) เรื่องหุ่นชัก แต่ละชุดมีส่วนประกอบ คือ ปก คำนำ สารบัญ คำชี้แจง วัตถุประสงค์/มาตรฐานตัวชี้วัด/แผนการจัดการเรียนรู้ ใบความรู้ เกณฑ์การประเมินผลกระบวนการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านนาฏศิลป์ และมีค่าประสิทธิภาพ = 80.92/81.83 3) ผลการศึกษาประสิทธิผลของชุดการสอนนาฏการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านนาฏศิลป์ พบว่า ชุดการสอนนาฏการมีประสิทธิผลดังนี้ (3.1) ผลการศึกษาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านนาฏศิลป์ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (3.2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดการสอนนาฏการ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนนาฏการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
Kitisak Sutti
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
94
108
-
การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหินลับศิลามงคล
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/266524
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหินลับศิลามงคล จังหวัดหนองบัวลำภู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 10 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 การวิเคราะห์ผลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพนวัตกรรม การทดสอบค่าที (t-test for dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.13/81.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง จำนวนเต็ม คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
Chittra Chaitongrat
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
109
119
-
สภาพและปัญหาของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนพื้นที่จังหวัดชลบุรี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/266074
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนพื้นที่จังหวัดชลบุรี ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการดูแลและพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน ด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและดูแลสุขภาพ ด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษาและการสื่อสาร ด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ-สังคม ปลูกฝังคุณธรรมและความเป็นพลเมืองดี และด้านการส่งเสริมเด็กในระยะเปลี่ยนผ่านให้ปรับตัวสู่การเชื่อมต่อในขั้นถัดไป ประชากร คือ สถานรับเลี้ยงเด็ก จำนวน 87 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร จำนวน 87 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานรับเลี้ยง จำนวน 8 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร ครู/ผู้ดูแลเด็ก จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมเด็กในระยะเปลี่ยนผ่านให้ปรับตัวสู่การเชื่อมต่อในขั้นถัดไป (x=72.62,S.D.=1.25) ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่า มีสาเหตุ 2 ประการ ที่ทำให้เกิดปัญหา คือ ประการแรก ครู/ผู้ดูแลเด็กไม่จบการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย จึงทำให้สถานรับเลี้ยงเด็กไม่มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 และประการที่สอง ตัวบ่งชี้ เกณฑ์ และรายละเอียดการพิจารณาบางประเด็นของมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติมีการกำหนดที่กว้างเกินกว่าช่วงอายุของเด็ก เป็นสาเหตุที่ทำให้ครู/ผู้ดูแลเด็กไม่สามารถดำเนินการตามมาตรฐานได้</p>
ชาดา อุ่นประดิษฐ์
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
120
134
-
การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและการทำงานร่วมกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/264043
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้าน การทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด ตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด 2) แบบทดสอบ วัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ 3) แบบสังเกตการทำงานร่วมกัน และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย <em>(</em><em>M)</em> ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <em>(</em><em>SD)</em> และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ ต่อกัน (t-test dependent)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) ความสามารถ ด้านการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดอยู่ในระดับดี และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดอยู่ในระดับมาก</p>
นันทนา ช้างหัวหน้า
ชลธิชา หอมฟุ้ง
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
135
147
-
ผลของการบูรณาการการบริการวิขาการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชากายวิภาคศาสตร์และวิชาพยาธิวิทยา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/262568
<p> การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะบูรณาการส่งผลให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การประยุกต์ และการพัฒนาในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และวิชาพยาธิวิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน และ 2) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชากายวิภาคศาสตร์และวิชาพยาธิวิทยาต่อการจัดกิจกรรมการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และวิชาพยาธิวิทยา จำนวน 475 คน ดำเนินการจัดกิจกรรมระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการบูรณาการบริการวิชาการเผยแพร่ความรู้ที่สอดคล้องกับรายวิชาทางสื่อออนไลน์และการให้บริการความรู้แก่นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 โครงการ รวมทั้งแบบสอบถามและการสังกตความพึงพอใจต่อการจัดโครงการ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนและหลังการทดลอง รวมทั้งวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการวิเคราะห์ paried t-tes</p> <p> ผลการทดลองพบว่าภายหลังการจัดกิจกรรมในโครงการการบูรณาการการบริการวิชาการ นักศึกษาเกือบทุกรายวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยพบเพียง 1 วิชาที่นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) ในส่วนความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมดังกล่าว พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.3 (จากคะแนนเต็ม 5) จากการสังเกตพบว่านักศึกษามีความตื่นตัวต่อการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้การเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ มีการจัดกิจกรรมในลักษณะการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน และควรมีการศึกษาถึงการบูรณาการในรูปแบบอื่น ที่จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาต่อไป</p> <p> </p>
ฺBangon Changsap
Pasinee Sanguansit
Rapipan Siridet
Amornrat Tothonglor
Janpen Bangsumruaj
Anchalee Choombuathong
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
148
160
-
ผลการใช้วิธีการสอนแบบโฟนิคส์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/264100
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิคส์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้วิธีการสอนแบบโฟนิคส์ในการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษ</p> <p>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 23 คน โรงเรียนวัดหนองเสือ จังหวัดกาญจนบุรี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม</p> <p>เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิคส์ จำนวน 4 แผน ได้แก่ 1) Consonant Sounds 2) The Short A Sound and Long A Sound 3) The Short E and Long E Sound 4) The Short O and Long O Sound 2) แบบทดสอบวัดทักษะด้านการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษเป็นแบบทดสอบปากเปล่า (Oral Test) จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อวิธีการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิคส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบ t (t-test) ค่าความสอดคล้อง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิคส์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อวิธีการสอนอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิคส์อยู่ที่ระดับมากที่สุด</p>
Papapin Niyompun
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
161
172
-
ผลของการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/264680
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละคร 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 17 คน โรงเรียนบ้านหนองชุมพล จังหวัดเพชรบุรี ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ 6 (อ23102) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละคร 2) แบบทดสอบทักษะการพูดภาษาอังกฤษ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละครสูงกว่าก่อนเรียน 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติร่วมกับกิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p> </p>
Preeyapat Thongchamnong
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
173
185
-
การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/270086
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าวฉบับปี พ.ศ. 2568 การประเมินหลักสูตรใช้รูปแบบ CIPPI Model ของ Stufflebeam ประกอบด้วยการประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกด้าน และได้แนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร ประกอบด้วย 1) การคงรักษาจุดแข็งของหลักสูตรเดิม 2) การปรับปรุงรายละเอียดหลักสูตรในส่วนที่ควรพัฒนา เช่น ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชา และ 3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการหลักสูตร เช่น การติดตามนักศึกษาทำวิทยานิพนธ์อย่างใกล้ชิด</p>
ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์
บุษบา บัวสมบูรณ์
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล
พิณพนธ์ คงวิจิตต์
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
186
198
-
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/268875
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับนักศึกษา และ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่เรียนรายวิชาเคมีในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ชั้นเรียน มีจำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มี 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) กระตุ้นความสนใจ (2) ระบุและทำความเข้าใจปัญหา (3) ระดมความคิดและลำดับความคิด (4) วางแผน (5) ลงมือปฏิบัติตามแผน (6) นำเสนอ (7) ประเมินผลและ 4) การวัดและประเมินผลและหลังทดลองใช้รูปแบบนักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับดี ( = 2.99, S.D. = 0.46) และมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับดี ( = 2.65, S.D. = 0.38) และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.55)</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี</p>
vatcharaporn prapasanobol
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
199
215
-
The Curriculum Evaluation on Master Degree Program of Fine Arts in Visual Art Education, Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education, Silpakorn University (edition 2018)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/268307
<div><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินความก้าวหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ศึกษา คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.</span>2561)<span lang="TH">ในด้านบริบทของหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านการผลิตโดยเป็นการประเมินผลผลิตระหว่างทางของหลักสูตร และเพื่อศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาหลักสูตร รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม และแนวประเด็นการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </span><span lang="TH">ผลกาวิจัยพบว่า </span>1) <span lang="TH">ผลการประเมินโดยภาพรวมของหลักสูตร พบว่า นักศึกษา และผู้สอน/กรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด </span>2) <span lang="TH">ผลการประเมินด้านบริบท มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด </span>3) <span lang="TH">ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยแบ่งเป็น </span>2 <span lang="TH">ด้าน คือ ด้านสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ และ ด้านรายวิชาในหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด </span>4) <span lang="TH">ผลประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมี </span>2 <span lang="TH">ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล และ</span>5)<span lang="TH">ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></div>
WISUD PO NGERN
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
216
230
-
การศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265932
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้าน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ได้แก่ ความรู้ ทักษะ เจตคติ และลักษณะบุคคล 2) เปรียบเทียบความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ระหว่างผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษา บัณฑิต และผู้ที่คาดว่าจะศึก และ 3) เสนอแนะแนวทางการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษา บัณฑิต และผู้ที่คาดว่าจะศึกษาต่อ จำนวนรวม 1,200 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือ<br>ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความตรง 0.96 ค่าความเที่ยง 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว กับการวิเคราะห์เชิงบรรยาย โดยการตีความแบบอุปนัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความรู้ ทักษะ ลักษณะบุคคล และจริยธรรม</p> <p>2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์แตกต่างกัน 2 ด้าน ได้แก่ จริยธรรม และลักษณะบุคคล</p> <p>3) ในภาพรวม ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์น้อยกว่ากับนักศึกษา บัณฑิต และผู้ที่คาดว่าจะศึกษาต่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นคุณลักษณะในการจัดกิจกรรมทางการกีฬา การสื่อสารทางการกีฬาด้วยภาษาอังกฤษ การทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ จิตสาธารณะ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความอดทนในการทำงานตามวิชาชีพ และใช้จ่ายอย่างประหยัด</p> <p>4) ควรกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรโดยให้ความสำคัญกับความรู้เป็นลำดับแรก ด้วยการพัฒนาหลักสูตรวิชาการ และมุ่งเน้นการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ย่อยทุกรายการ</p>
sasijan panjatawee
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
231
248
-
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/265801
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 2) ระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู และ 4) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 373 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูและสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 23.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
suwatchai artwichian
สุวัชชัย อาจวิเชียร
กุลชลี จงเจริญ
อาจารี คูวัธนไพศาล
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
249
264
-
The The construction of a Chinese rhyming vocabulary book to promote Chinese vocabulary memorization skills of elementary school students at Demonstration School of Chiang Rai Rajabhat University
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/261688
<p>การดำเนินการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพหนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2) หาดัชนีประสิทธิผลการใช้หนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 3) ประเมินความพึงพอใจต่อหนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หนังสือคำคล้องจองภาษาจีน แบบวัดดัชนีประสิทธิผล แบบประเมินความพึงพอใจ ผลวิจัยพบว่า 1)คุณภาพหนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.23 , S.D.= 0.57) 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการใช้หนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีค่าเท่ากับ 0.69 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสือคำคล้องจองภาษาจีนเพื่อส่งเสริมทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53 , S.D.= 0.54) </p> <p> </p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : หนังสือคำศัพท์คล้องจองภาษาจีน ทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีน ความพึงพอใจ</p>
เสาวคนธ์ จันต๊ะมาต
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-30
2024-06-30
22 1
265
273