การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM Education ด้วยโปรแกรม ARDUINO วิชาหุ่นยนต์เบื้องต้น เรื่องการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นที่ปี 3

ผู้แต่ง

  • พงศ์ราม พรมเกตุ นักศึกษา ปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

STEAM Education, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะปฏิบัติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM Education ให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ 3. เพื่อศึกษาทักษะปฏิบัติที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4. เพื่อศึกษาความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ One group Pre-Post test มีเครื่องมือในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM Education (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ และ (4) แบบประเมินความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนที่ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขาวิชา ช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จำนวน 16 คน ที่มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ได้เท่ากับ 82.91/80.90 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะปฏิบัติและความมุ่งมั่นในการของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM Education หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยร้อยละด้านทักษะปฏิบัติมีค่ามากที่สุด มีค่าเท่ากับ 82.06 และ 4) นักเรียนมีพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานด้านการเรียน อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.66, S.D. = 0.56) การควบคุมตนเองอยู่ในระดับมาก  (x̅ = 4.63 S.D. = 0.66) แรงสนับสนุนจากโรงเรียน (x̅ = 4.62, S.D. = 0.64) แรงสนับสนุนจากครอบครัว (x̅ = 4.60, S.D. = 0.68) และแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน (x̅ = 4.56, S.D. = 0.69)

Author Biography

พงศ์ราม พรมเกตุ, นักศึกษา ปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นักศึกษา ปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-22