อัตราป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Single Stock Futures

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร วารีศรี อาจารย์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

อัตราป้องกันความเสี่ยง, ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าการแก้ไข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาอัตราป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสม 2. เพื่อทดสอบประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลราคาปิดรายวันของ Single Stock Futures  5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2558 – 27 ธันวาคม 2562 โดยและข้อมูลราคาปิดรายวันในตลาดปัจจุบัน (Spot Market) ของหุ้นอ้างอิงของ Single Stock Futures  จำนวน 112 หลักทรัพย์ โดยแบบจำลองที่นำมาทำการทดสอบในครั้งนี้ได้แก่ ตัวแบบจำลองกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares (OLS) แบบจำลองเวกเตอร์การปรับตัวสู่ดุลยภาพระยะยาว (Vector Error Correction Model (VECM) ตัวแบบเวคเตอร์อัตสหสัมพันธ์ (Vector Autoregressive Model (VAR) และในส่วนของตัวแบบจำลองแบบเคลื่อนไหว ได้แก่ ตัวแบบจำลองวัดความผันผวนแบบมีเงื่อนไข (Generalized Autoregressive Conditional Heteroscedasticity Model (GARCH)) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาอัตราป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสม (Optimal Hedge Ratio) ผลการประมาณค่า Hedge Ratio ผ่านแบบจำลอง VECM พบว่า ผลตอบแทนของหุ้นอ้างอิงในตลาดปัจจุบันช่วงเวลาที่ผ่านมาสามารถอธิบายผลตอบแทนของ Single Stock Futures  ในตลาดล่วงหน้าในช่วงเวลาปัจจุบันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการประมาณค่า Hedge Ratio ผ่านแบบจำลอง GARCH พบว่า ความคลาดเคลื่อนในช่วงเวลาที่ผ่านมาของราคาสินทรัพย์อ้างอิงทั้งในตลาด Spot และตลาด Futures มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับความผันผวนของผลตอบแทนของราคาสินทรัพย์อ้างอิงทั้งในตลาด Spot และตลาด Futures ในช่วงเวลาปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการประมาณค่า Hedge Ratio ผ่านแบบจำลอง OLS พบว่าผลตอบแทนของ Single Stock Futures ในตลาดล่วงหน้าในช่วงเวลาปัจจุบันมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับผลตอบแทนของหุ้นอ้างอิงในตลาด Spot ในช่วงเวลาปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2) ผลการทดสอบประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง พบว่าแบบจำลองแบบพลวัตคือแบบจำลอง GARCH มี % Variance Reduction สูงที่สุดคือ 9.92% จึงมีประสิทธิผลในการลดความเสี่ยงหรือความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้มากกว่าแบบจำลองแบบคงที่ทุกแบบจำลอง ทั้งในกรณี in-sample และ out-of-sample เนื่องจากแบบจำลองคงที่พบว่ามีค่าอัตราส่วนป้องกันความเสี่ยงเป็นค่าคงที่ตลอดเวลาถึงแม้อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์อ้างอิงจะเปลี่ยนแปลงไป

 

Author Biography

ประภัสสร วารีศรี, อาจารย์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อาจารย์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10