วารสารสหศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart <p><strong>วารสารสหศาสตร์ ISSN: 1513-8429 &nbsp;E-ISSN: N/A รับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน โดยมีกำหนดออก 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม&nbsp;</strong></p> <p><strong>ความเป็นมาวารสารสหศาสตร์</strong><br>เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีแนวทางการจัดทำวารสารอยู่ภายใต้ฐานคิดเรื่องการรวมหน่วยความรู้ ซึ่งจะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ใช้ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลจริงและทฤษฎีต่างๆ ในความหลากหลายมิติของสาขาวิชาต่างๆ เพื่อสร้างพื้นฐานของเนื้อหาทางวิชาการในการอธิบายร่วมกัน ด้วยเหตุนี้วารสารฉบับนี้จึงใช้ชื่อว่า “สหศาสตร์” หมายถึง การเสนอศาสตร์ต่างๆ ร่วมกันอย่างเป็นระบบ อันเป็นธรรมชาติของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พยายามที่จะรวมความเหมือนบนความแตกต่างของวิชาการด้าน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทางสังคม”&nbsp;</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><br>1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ของนักวิชาการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย<br>2. เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ของนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย<br>3. เพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมในรูปแบบของวารสารวิชาการ<br>4. เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์<br>5. เพื่อให้เป็นเอกสารประกอบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา</p> <p><strong>ประเภทบทความ</strong><br>1. บทความวิชาการ<br>2. บทความวิจัย</p> <p><strong>การนำบทความไปใช้ประโยชน์</strong><br>วารสารสหศาสตร์ไม่สงวนสิทธิ์ในการนำบทความไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์</p> <p><strong>กระบวนการประเมิน</strong><br>บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน และเป็นแบบ Double blinded และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ และผู้เขียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขบทความเพื่อความสมบูรณ์ได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่</p> <p><strong>ระยะเวลาการตีพิมพ์<a href="shorturl.at/rsuPW">shorturl.at/rsuPW</a></strong><br>วารสารสหศาสตร์ออกปีละ 2 ฉบับ ตามปีปฏิทิน คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม ของทุกปี</p> <p><strong>รูปแบบการตีพิมพ์วารสาร</strong><br>ได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)</p> <p><strong>ระเบียบการเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสหศาสตร์</strong><br>1. เป็นบทความทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน<br>2. ความยาวไม่เกิน 12 หน้า เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด (Microsoft Word) บนกระดาษขนาด A4 ระยะขอบตามที่โปรแกรมกำหนดโดยปริยาย (default) ใช้ตัวอักษร&nbsp;TH Sarabun New ขนาด 16 pt เว้นช่วง 1 บรรทัด (single-spacing)<br>3. ต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประกอบบทความแต่ละบทคัดย่อมีความยาวไม่เกิน 1 หน้า และต้องมีชื่อนามสกุลผู้แต่ง พร้อมด้วยตำแหน่งวิชาการ<br>4. ในบทคัดย่อ ที่ชื่อนามสกุลผู้เขียนทุกคน ใช้เครื่องหมายลำดับเลข (1, 2, 3,..) ทำเชิงอรรถท้ายหน้า (footnote) เพื่อระบุตำแหน่งและหน่วยงาน<br>5. ในบทความ ที่ชื่อนามสกุลผู้เขียนทุกคน ใช้เครื่องหมายลำดับเลขทำเชิงอรรถท้ายเรื่อง (endnote) เพื่อระบุตำแหน่งและหน่วยงาน<br>6. ถ้ามีกิตติกรรมประกาศ (acknowledgment) (เช่น แหล่งทุน) ให้เขียนไว้ท้ายบทความ ก่อนที่จะขึ้นในส่วนบรรณานุกรม<br>7. การระบุแหล่งอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ใช้วิธีการอ้างแทรกตามระบบ APA<br>8. การเขียนบรรณานุกรมใช้ระบบ APA (สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมได้ใน <a href="shorturl.at/rsuPW">shorturl.at/rsuPW</a>)<br>9. ถ้ามีเชิงอรรถอธิบายเนื้อหาในเนื้อเรื่อง ให้ใช้ระบบเชิงอรรถท้ายเรื่อง (endnote) โดยทำเชิงอรรถด้วยเครื่องหมายลำดับเลข (1, 2, 3,..)<br>10. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ส่งคืนต้นฉบับพิมพ์และแผ่นบันทึกข้อมูล ต้นฉบับจะต้องผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้กองบรรณาธิการอาจขอให้ผู้เขียนปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาและ/หรือรูปแบบบทความก่อนการตีพิมพ์<br>11. ส่งไฟล์ต้นฉบับ (Microsoft Word) ที่ E-mail: [email protected]<br>12. ผู้เขียนบทความจะได้รับการติดต่อกลับเพื่อการแจ้งเนื้อหาการปรับปรุงบทความ หรือ เพื่อแจ้งผลการประเมินภายในเวลา 1-2 เดือน</p> th-TH <p>บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p> <p>กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์</p> <p>ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล</p> <p>&nbsp;</p> [email protected] (ผศ.ดร. โสวริทธิ์ธร จันทร์แสงศรี) [email protected] (กนกรัตน์ รีป) Mon, 05 Feb 2024 20:13:43 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การวิเคราะห์โครงสร้างคำเรียกอาชีพในภาษามือไทยเพื่อการเป็นล่ามภาษามือ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/262794 <p style="font-weight: 400;">การแปลของล่ามภาษามือเป็นสิ่งที่ท้าทาย เนื่องจากภาษามือในประเทศไทยที่คนหูหนวกใช้มีความหลากหลายของภาษามือท้องถิ่นและไม่มีคำศัพท์ภาษามือไทยเฉพาะด้าน อีกทั้งยังไม่เพียงพอเพราะมีการเกิดคำศัพท์ใหม่ ๆ ขึ้นทุกวัน ผู้เขียนจึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาการวิเคราะห์โครงสร้างคำเรียกอาชีพในภาษามือไทย เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างคำศัพท์ภาษามือไทยกลุ่มอาชีพที่ไม่มีการบันทึกในหนังสือหรือในพจนานุกรม&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ภาษามือไทย ผู้เขียนได้วิเคราะห์แนวทางการสร้างคำเรียกอาชีพและจัดกลุ่มได้ 4 แนวทาง ดังนี้ (1) ใช้ท่ามือเลียนแบบพฤติกรรมการทำงาน (2) ใช้เครื่องแต่งกาย (3) ใช้ตราสัญลักษณ์ อุปกรณ์ และยานพาหนะในการประกอบอาชีพ (4) ใช้การประสมคำ การมีแนวทางการสร้างคำเรียกอาชีพเปรียบเป็นเข็มทิศนำทางการแปลของล่ามภาษามือส่งผลให้การแปลมีคุณภาพช่วยให้คนหูหนวกได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและสมบูรณ์</p> Mookda Koodduderm Copyright (c) 2023 Mookda Koodduderm https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/262794 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาศักยภาพเยาวชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/259127 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ&nbsp;1) วิเคราะห์ และสังเคราะห์ องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน 2) พัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้มีความสอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) จัดตั้งศูนย์การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน และ 4) ศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายระหว่างศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน โดยทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากประชนชนและเยาวชนจำนวน 1,507 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 90 คน ผลการศึกษาพบว่า&nbsp;1) การวิเคราะห์องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวคิด Diamond Model สรุปได้ว่า ด้านการตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยี่ยมชมชุมชน ด้านความพร้อมเกี่ยวกับปัจจัยการผลิต ด้านความต่อเนื่องและสนับสนุนการเป็นธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ด้านกลยุทธ์ โครงสร้าง และสถานการณ์การแข่งขัน และด้านนโยบายรัฐบาล มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก 2) การสังเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และได้ทำการอบรมให้เยาวชนจำนวน 165 คน ผ่าน 5&nbsp;หลักสูตร&nbsp;3) การจัดตั้งศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนโดยเน้นการดำเนินกิจกรรม 4 แนวทางได้แก่ การให้ความรู้ผ่านผ่านเครือข่ายออนไลน์ การนำวิทยากรหรือปราชญ์ในพื้นที่เข้ามาให้ความรู้แก่เยาวชน การแทรกกิจกรรมการพัฒนาในกิจกรรมการเรียน และการจัดกิจกรรมผ่านชมรมมัคคุเทศน์ของโรงเรียน&nbsp;4)&nbsp;เครือข่ายระหว่างศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนมีหน่วยงานเข้าร่วมในเบื้องต้นจำนวน 9&nbsp;หน่วยงาน โดยมีการดำเนินกิจกรรมใน 4&nbsp;แนวทางคือ การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การเรียนรู้ข้ามพื้นที่ การแลกเปลี่ยนวิทยากร และการส่งต่อนักท่องเที่ยว</p> Darngnapasorn Na Pombejra Copyright (c) 2023 Darngnapasorn Na Pombejra https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/259127 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มนักศึกษาพิการทางการมองเห็นที่มีระดับกิจกรรมทางกายเพียงพอในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/258368 <p>การดำเนินการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายภายในกลุ่มผู้พิการเป็นความท้าทายต่อการยกระดับสุขภาพโดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการทางการมองเห็น อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้พิการทางการมองเห็นส่วนมากมีพฤติกรรมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอซึ่งเกิดจากอิทธิพลหลักของแรงสนับสนุนทางสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการดำเนินการด้านสวัสดิการต่อนักศึกษาพิการอย่างต่อเนื่องและนักศึกษาพิการทางการมองเห็นส่วนใหญ่ต่างมีระดับกิจกรรมเพียงพอ การศึกษาในประเด็นดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มนักศึกษาพิการทางการมองเห็นที่มีระดับกิจกรรมทางกายเพียงพอในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยกระบวนการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มนักศึกษาพิการทางการมองเห็นที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอตามคำแนะนำขององค์กรอนามัยโลก จำนวน 10 คน และ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ เพื่อนหรือแฟนของผู้พิการ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า แรงสนับสนุนทางสังคมที่สำคัญต่อการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มนักศึกษาพิการทางการมองเห็นประกอบไปด้วย 1) ครอบครัว เพื่อน สังคม 2) สื่อสังคมออนไลน์ และ 3) การดำเนินการโดยมหาวิทยาลัย ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการศึกษาในกลุ่มนักศึกษาพิการรวมถึงสถานที่และบริบทที่แตกต่างเพื่อให้เห็นชุดข้อมูลที่มีความหลากหลายมากขึ้น</p> กิตรวี จิรรัตน์สถิต, ทาริกา คำกิ่ง, รณภูมิ สามัคคีคารมย์, กิติยา หย่างถาวร Copyright (c) 2023 กิตรวี จิรรัตน์สถิต, ทาริกา คำกิ่ง, รณภูมิ สามัคคีคารมย์, กิติยา หย่างถาวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/258368 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/255247 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 302 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาและการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และ .97 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านความคิดรวบยอด ทักษะด้านความรู้ความคิด อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนทักษะด้านการศึกษาและการสอน อยู่ในระดับมาก 2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน และด้านการคัดกรองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งต่อ อยู่ในระดับมาก และ 3) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา ในระดับปานกลาง (r = 0.68) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> Chulalak Sorapan Copyright (c) 2023 Chulalak Sorapan https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/255247 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ผ้าจกไท-ยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/256592 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผ้าจกไท-ยวน 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ผ้าจกไท-ยวน โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาของการอาศัยอยู่ในพื้นที่ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ทั้งนี้ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ 1 – 8 ตำบลคูบัว จำนวน&nbsp; 390 คน ได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-test ทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระและการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวใช้ One - way ANOVA หรือ F-test และหากพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะใช้การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheff’s Test) ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ผ้าจกไท-ยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมอยู่ที่ระดับปานกลาง เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านที่มีส่วนร่วมมากที่สุดเรียงตามลำดับได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการรักษาธำรงไว้ และด้านการเผยแพร่</p> <p>2) ผลการทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ผ้าจกไท-ยวนของประชาชนที่มี เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ และรายได้ที่แตกต่างกัน &nbsp;&nbsp;&nbsp;ทำให้การมีส่วนร่วมด้านการวางแผนแตกต่างกัน พบว่า อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกันทำให้มีส่วนร่วมด้านการรักษาธำรงไว้แตกต่างกัน สุดท้ายพบว่าระยะเวลาที่อาศัยอยู่ ที่แตกต่างกันทำให้มีส่วนร่วมด้านการเผยแพร่แตกต่างกัน</p> <p>3) ข้อเสนอแนะที่พบจากการวิจัย เสนอว่า เพื่อให้เกิดการดำรงคงอยู่ที่ยั่งยืน ควรหา&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กลยุทธ์หรือแนวทางในการอนุรักษ์ และควรมีการจัดเก็บองค์ความรู้การทอผ้าจกไท-ยวน ผ่านระบบการศึกษา ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุน เช่น การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน แหล่งเรียนรู้เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น หรือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ ให้มีการถ่ายทอด สืบสานส่งต่อสู่เยาวชนรุ่นต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: การมีส่วนร่วมของชุมชน / การอนุรักษ์ / ผ้าจกไท-ยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> NAPAPEN NINKUMHANGE Copyright (c) 2023 NAPAPEN NINKUMHANGE https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/256592 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 นวัตกรรมการบริการของโรงแรมเชิงสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยในกรุงเทพมหานคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/252984 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการนวัตกรรมการบริการในโรงแรมเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทย 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมการบริการสำหรับผู้สูงอายุภายในโรงแรมเชิงสุขภาพ และ3)เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการบริการของโรงแรมเชิงสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุชาวไทยในกรุงเทพมหานคร บทความวิจัยนี้เป็นบทความเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth interview)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการนวัตกรรมการบริการของโรงแรมเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทย มีความต้องการด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ อาหารเพื่อสุขภาพ พนักงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและต้องมีใบประกาศนียบัตรเท่านั้น ต้องการโปรแกรมการดูแลสุขภาพ แพคเกจสปา ต้องการพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โยคะ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้โรงแรมเชิงสุขภาพสามารถนำไปพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้</p> <p>&nbsp;</p> บุษบา อู่อรุณ Copyright (c) 2023 บุษบา อู่อรุณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/252984 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ไคโรแพคติก : การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างจากการเรียนออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/260079 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับอาการปวดหลังส่วนล่างของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาทั้งก่อนและหลังการรักษาด้วยไคโรแพคติก 2) เพื่อเปรียบเทียบอาการปวดหลังล่างของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาก่อนและหลังการรักษาด้วยไคโรแพคติก และ 3) เพื่อเสนอผลการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยไคโรแพรคติกและแนวทางการดูแลป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างจากการเรียนออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 30 คน ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเนื่องจากการเรียนออนไลน์ในระหว่างปีการศึกษา 2563 และ 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินอาการปวดหลังส่วนล่างทางการแพทย์มาประยุกต์ใช้ในการกำหนดข้อคำถาม และดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสอบถามอาการจากกลุ่มตัวอย่างประกอบกับการประเมินอาการโดยนักไคโรแพรคติกทั้งก่อนและหลังการรักษาเพื่อเปรียบเทียบอาการปวดหลังส่วนล่างจากการรักษาด้วยไคโรแพรคติก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-Test และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่มีอาการปวดหลังส่วนล่างจากการเรียนออนไลน์ในภาพรวมก่อนการรักษาอยู่ในระดับปานกลางและหลังการรักษาอยู่ในระดับน้อยมาก 2) เมื่อนำค่าระดับอาการปวดหลังส่วนล่างในภาพรวมมาเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) อาการปวดหลังส่วนล่างจากการเรียนออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาลดลงหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยไคโรแพรคติกโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดอีกเลย โดยอาการปวดจะบรรเทาได้ไวและหายขาดไปได้นั้นผู้เข้ารับการรักษาจะต้องให้ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันร่วมด้วย และเพื่อป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างจากการเรียนออนไลน์ ในการนั่งเรียนทุกๆ 1 ชั่วโมง นักเรียนควรมีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถและขยับร่างกาย เช่น การลุกเดิน อย่างน้อย 5 นาที รวมถึงเลือกใช้โต๊ะ – เก้าอี้ และอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายอยู่ในอิริยาบถที่เหมาะสม</p> Tuangthong Nukulkij, นิวัฒน์ พนมสารนรินทร์, ประภาวรรณ ตระกูลเกษมสุข, ณัฐ นาราวิทย์ Copyright (c) 2023 Tuangthong Nukulkij, นิวัฒน์ พนมสารนรินทร์, ประภาวรรณ ตระกูลเกษมสุข, ณัฐ นาราวิทย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/260079 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 The The Challenge of Cross-Cultural Healthcare Communication on Medical Tourism: Case Study of International Private Hospital in Bangkok, Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/260324 <p><strong>บทคัดย่อ&nbsp; </strong></p> <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือเพื่อศึกษาอุปสรรคด้านการสื่อสารในการดูแลสุขภาพข้ามวัฒนธรรมชองล่ามทางการแพทย์ ในการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ที่มีความความสัมพันธ์กันในแต่ละบทบาทได้แก่ การแปลภาษา ความเป็นมืออาชีพ การจัดการ และการชักจูง เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสารด้านสุขภาพทางวัฒนธรรมที่พบว่ามีความแตกต่างกันด้านภาษา วัฒนธรรม และความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ</p> <p>การศึกษากลุ่มตัวอย่างโดยล่ามทางการแพทย์ที่ทำงานในสถานพยาบาลที่ให้บริการผู้ป่วยต่างชาติและอธิบายประสบการณ์ของล่ามทางการแพทย์ ผู้ป่วยต่างชาติ และและบุคลากรทางการแพทย์ ในแง่ของการสื่อสารด้านการดูแลสุขภาพข้ามวัฒนธรรมได้แก่ การแปลภาษา ความเป็นมืออาชีพ การจัดการ และการชักจูง</p> <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบพรรณนา ประชากรผู้เข้าร่วมเป็นล่ามทางการแพทย์ ผู้ป่วยต่างชาติและ บุคลากรทางการแพทย์&nbsp; ที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพฯ ประเทศไทย และศูนย์การแพทย์ กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และข้อมูลถูกรวบรวมและวิเคราะห์โดยใช้หลักการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อวิเคราะห์และตีความความสอดคล้องกันระหว่างสาเหตุและผลที่อธิบายได้ด้วยข้อมูล</p> <p>ค้นพบว่าอุปสรรคประสบการณ์การดูแลสุขภาพข้ามวัฒนธรรมนั้นมีความท้าทายล่ามทางการแพทย์ในลทบาทหน้าที่ในงานที่เกี่ยงข้องและความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ซับซ้อน ผลการวิจัยพบข้อค้นพบที่สำคัญกับทีมผู้บริหารโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ขอแนะนำการฝึกอบรมเรื่องสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม สำหรับความก้าวหน้าในอาชีพและส่งเสริมความเป็นมืออาชีพผ่านการออกใบอนุญาตและการพัฒนาความฉลาดทางด้านอารมณ์ ทักษะของผู้ให้บริการที่สำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะในเชิงรุกเพื่อลดสภาวะทางอารมณ์</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การท่องเที่ยวชิงสุขภาพ, ล่าม, ผู้แปลภาษา, ข้ามวัฒนธรรม, สุขภาพ</p> <p>&nbsp;</p> Promsiri Nonglek Copyright (c) 2023 Promsiri Nonglek https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/260324 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/258503 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory active research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 80 ราย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 116 ราย วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนคือ 1) วิเคราะห์ปัญหาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 2) พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย 3) ประเมินผลการปฏิบัติตามระบบการดูแลผู้ป่วย ซึ่งพัฒนาตั้งแต่ระยะ Pre–Hospital , In–Hospital และ Post–Hospital &nbsp;เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนผังการดูแลผู้ป่วย, เอกสารเประชาสัมพันธ์เรื่อง Stroke Team Fast Track, Standing Order ของแพทย์ที่จะพิจารณาให้ผู้ป่วยได้รับยา Rt-PA, แบบรวบรวมข้อมูลคุณภาพการให้บริการผู้ป่วย, Care Map ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, QR Code ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง, Line กลุ่ม และแบบประเมินผล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า มีการปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้ครบทุกข้อคิดเป็นร้อยละ 100 ยกเว้นบางแผนก จึงได้มีการประชุมและปรับระบบการดูแลครั้งที่ 2 พบว่า มีการปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาระบบร้อยละ 100 ส่วนความพึงพอใจโดยรวมของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติตามระบบการดูแลผู้ป่วย มีระดับมากที่สุด เฉลี่ย 4.13 คะแนน (S.D.= 0.60) ความพึงพอใจของผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยต่อการได้รับการดูแลตามระบบการดูแล มีระดับมากที่สุด เฉลี่ย 4.54 คะแนน (S.D=0.53) เมื่อเปรียบเทียบก่อนการพัฒนาระบบ มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 17 &nbsp;ราย ได้รับยา Rt-PAภายใน 60 นาที &nbsp;6 ราย ร้อยละ 35.3 เวลาเฉลี่ย&nbsp; 74.3 นาที หลังพัฒนาระบบมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 10 ราย ได้รับยา Rt-PAภายใน 60 นาที จำนวน 8 ราย ร้อยละ 80 เวลาเฉลี่ย&nbsp; 48 นาที ก่อนการพัฒนาระบบเกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ปอดติดเชื้อ ร้อยละ 10.54 ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 6.12 และแผลกดทับ ร้อยละ 1.36 หลังพัฒนาระบบพบว่า ปอดติดเชื้อ มีร้อยละ 1.98 ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 7.92 และแผลกดทับ ร้อยละ 0.99 &nbsp;แสดงว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นนั้น มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในการให้บริการแก่ผู้ป่วยได้ ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการติดตามการปฏิบัติตามระบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติ</p> Thanma Laipat Copyright (c) 2024 Thanma Laipat https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/258503 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700