https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/issue/feed
วารสารสหศาสตร์
2024-08-13T11:38:32+07:00
ผศ.ดร. โสวริทธิ์ธร จันทร์แสงศรี
shmujournal@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารสหศาสตร์ ISSN: 1513-8429 E-ISSN: N/A รับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน โดยมีกำหนดออก 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </strong></p> <p><strong>ความเป็นมาวารสารสหศาสตร์</strong><br>เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีแนวทางการจัดทำวารสารอยู่ภายใต้ฐานคิดเรื่องการรวมหน่วยความรู้ ซึ่งจะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ใช้ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลจริงและทฤษฎีต่างๆ ในความหลากหลายมิติของสาขาวิชาต่างๆ เพื่อสร้างพื้นฐานของเนื้อหาทางวิชาการในการอธิบายร่วมกัน ด้วยเหตุนี้วารสารฉบับนี้จึงใช้ชื่อว่า “สหศาสตร์” หมายถึง การเสนอศาสตร์ต่างๆ ร่วมกันอย่างเป็นระบบ อันเป็นธรรมชาติของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พยายามที่จะรวมความเหมือนบนความแตกต่างของวิชาการด้าน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทางสังคม” </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><br>1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ของนักวิชาการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย<br>2. เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ของนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย<br>3. เพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมในรูปแบบของวารสารวิชาการ<br>4. เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์<br>5. เพื่อให้เป็นเอกสารประกอบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา</p> <p><strong>ประเภทบทความ</strong><br>1. บทความวิชาการ<br>2. บทความวิจัย</p> <p><strong>การนำบทความไปใช้ประโยชน์</strong><br>วารสารสหศาสตร์ไม่สงวนสิทธิ์ในการนำบทความไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์</p> <p><strong>กระบวนการประเมิน</strong><br>บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน และเป็นแบบ Double blinded และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ และผู้เขียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขบทความเพื่อความสมบูรณ์ได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่</p> <p><strong>ระยะเวลาการตีพิมพ์<a href="shorturl.at/rsuPW">shorturl.at/rsuPW</a></strong><br>วารสารสหศาสตร์ออกปีละ 2 ฉบับ ตามปีปฏิทิน คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม ของทุกปี</p> <p><strong>รูปแบบการตีพิมพ์วารสาร</strong><br>ได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)</p> <p><strong>ระเบียบการเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสหศาสตร์</strong><br>1. เป็นบทความทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน<br>2. ความยาวไม่เกิน 12 หน้า เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด (Microsoft Word) บนกระดาษขนาด A4 ระยะขอบตามที่โปรแกรมกำหนดโดยปริยาย (default) ใช้ตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 16 pt เว้นช่วง 1 บรรทัด (single-spacing)<br>3. ต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประกอบบทความแต่ละบทคัดย่อมีความยาวไม่เกิน 1 หน้า และต้องมีชื่อนามสกุลผู้แต่ง พร้อมด้วยตำแหน่งวิชาการ<br>4. ในบทคัดย่อ ที่ชื่อนามสกุลผู้เขียนทุกคน ใช้เครื่องหมายลำดับเลข (1, 2, 3,..) ทำเชิงอรรถท้ายหน้า (footnote) เพื่อระบุตำแหน่งและหน่วยงาน<br>5. ในบทความ ที่ชื่อนามสกุลผู้เขียนทุกคน ใช้เครื่องหมายลำดับเลขทำเชิงอรรถท้ายเรื่อง (endnote) เพื่อระบุตำแหน่งและหน่วยงาน<br>6. ถ้ามีกิตติกรรมประกาศ (acknowledgment) (เช่น แหล่งทุน) ให้เขียนไว้ท้ายบทความ ก่อนที่จะขึ้นในส่วนบรรณานุกรม<br>7. การระบุแหล่งอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ใช้วิธีการอ้างแทรกตามระบบ APA<br>8. การเขียนบรรณานุกรมใช้ระบบ APA (สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมได้ใน <a href="shorturl.at/rsuPW">shorturl.at/rsuPW</a>)<br>9. ถ้ามีเชิงอรรถอธิบายเนื้อหาในเนื้อเรื่อง ให้ใช้ระบบเชิงอรรถท้ายเรื่อง (endnote) โดยทำเชิงอรรถด้วยเครื่องหมายลำดับเลข (1, 2, 3,..)<br>10. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ส่งคืนต้นฉบับพิมพ์และแผ่นบันทึกข้อมูล ต้นฉบับจะต้องผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้กองบรรณาธิการอาจขอให้ผู้เขียนปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาและ/หรือรูปแบบบทความก่อนการตีพิมพ์<br>11. ส่งไฟล์ต้นฉบับ (Microsoft Word) ที่ E-mail: shmujournal@gmail.com<br>12. ผู้เขียนบทความจะได้รับการติดต่อกลับเพื่อการแจ้งเนื้อหาการปรับปรุงบทความ หรือ เพื่อแจ้งผลการประเมินภายในเวลา 1-2 เดือน</p>
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/264817
การพัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายเรือ
2024-01-04T15:43:18+07:00
น.ท. รศ.สันติ งามเสริฐ
santingamsert@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงาน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายเรือ (รร.นร.) และ 2) เพื่อพัฒนาระบบ กลไก และแนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของ รร.นร. ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน คัดเลือกด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของ รร.นร. จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกำลังพล : ผู้บริหารระดับสูงยังขาดการนำองค์กรด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจน กำลังพลส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพการศึกษาค่อนข้างน้อย การย้ายบรรจุกำลังพลบ่อยครั้งส่งผลให้การดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง 2) ด้านวัสดุและอุปกรณ์ : ขาดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่สนับสนุนงานประกันคุณภาพการศึกษา และ 3) ด้านการจัดการ : การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานยังไม่เหมาะสม การกำหนดกรอบคุณภาพยังไม่ชัดเจน การกำหนดแผนงานไม่ชัดเจน และการกำกับติดตามงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ยังไม่มีประสิทธิภาพ 2. ระบบ กลไก และแนวทางในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของ รร.นร. มีเป้าหมาย คือ รร.นร.สามารถดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนการดำเนินงานเชิงระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ ดังนี้ 2.1) ปัจจัยนำเข้า: เตรียมปัจจัยนำเข้าให้พร้อมสำหรับการสนับสนุนการดำเนินงาน ได้แก่ ศักยภาพของบุคลกร (จำนวน และความสามารถ) งบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ และระบบการจัดการงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันที่มีประสิทธิภาพ 2.2) กระบวนการ: ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร วางแผนการดำเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนระบบ กำหนดกรอบคุณภาพ จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ การประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน จำนวน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมการตรวจประเมินคุณภาพ ขั้นที่ 2 การตรวจประเมินคุณภาพ ขั้นที่ 3 การส่งรายงานผลการประเมิน และ ขั้นที่ 4 การนำผลการประเมินไปพัฒนาคุณภาพ และขั้นดำรงสภาพและพัฒนาต่อเนื่อง เป็นการดำรงสถานะความพร้อมการดำเนินงาน การทบทวนผลการดำเนินงาน และบูรณาการผลการดำเนินงาน 2.3) ผลผลิต : รายงานการประเมินตนเองและผลการประเมินระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน และ 2.4) ข้อมูลป้อนกลับ : เป็นขั้นการนำผลการประเมินที่ได้มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการปฏิบัติงานในปีการศึกษาถัดไป</p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 น.ท. รศ.สันติ งามเสริฐ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/266858
การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2023-12-24T00:58:19+07:00
Ngamya Sripor
ngamya.sri@mahidol.edu
Phut Ploywan
phut.plo@mahidol.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ตามมาตรฐานการเงิน 7 ด้าน (7 Hurdle) 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในบุคลากรที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างตามมาตรฐานการเงิน 7 ด้าน (7 Hurdle) และ 3) พัฒนาแนวทางการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ตามมาตรฐานการเงิน 7 ด้าน (7 Hurdle) เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้แบบสอบถามจากประชากรทั้งหมดของคณะฯ และการสัมภาษณ์เชิงลึก <br>กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากคณะฯ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าระดับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่เพศ ระดับการศึกษา ประเภทบุคลากร อายุการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเสนอเป็น แนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลดังนี้ 1) ด้านการวางแผนงบประมาณพัฒนาการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) 2) ด้านการกำหนดผลผลิตและการคำนวณต้นทุนควรพัฒนาการประเมินทางเลือกที่ทำให้ต้นทุนต่ำลง แต่ผลลัพธ์เท่าเดิม 3) ด้านระบบการจัดซื้อจัดจ้างควรพัฒนา การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง 4) ด้านการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณควรพัฒนาการหางบประมาณจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม 5) ด้านการบริหารสินทรัพย์ควรมีแผนการซ่อมบำรุงรักษาสินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง 6) ด้านการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินการควรเผยแพร่การรายงานข้อมูลทางการเงินให้บุคลากรทราบ และ 7) ด้านการตรวจสอบภายในควรพัฒนาด้านการตรวจสอบระบบสารสนเทศ การเข้าถึงข้อมูลว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย</p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 Ngamya Sripor, Phut Ploywan
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/263458
ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดดิจิทัลบนช่องทาง Facebook Ads Manager กรณีศึกษา ร้าน NN159 Shop
2023-06-12T00:49:06+07:00
Ammiga manalor
pammiga19623@gmail.com
<p style="font-weight: 400;"><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการโฆษณาในรูปแบบการมีส่วนร่วมและ</span><span style="font-weight: 400;">การรับรู้แบรนด์เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทำแคมเปญเพื่อศึกษากลุ่มเป้าหมายต่อการเข้าถึงเฟซบุ๊กแฟนเพจ โดยเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทำแคมเปญโฆษณา มีแคมเปญรวมทั้งหมด </span><span style="font-weight: 400;">9 แคมเปญ โดยแบ่งเป็น 7 แคมเปญรูปภาพ และ 2 แคมเปญ วิดีโอ</span></p> <p style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ผลการทดลองพบว่าการทำแคมเปญได้ผลดีกว่าการไม่ทำแคมเปญ และการเลือกช่วงเวลาที่ดีสามารถทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการวิจัยของ Buddy Media (“วิธีการทำตลาดบน Facebook”, 2564) การโพสต์ให้ถูกเวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ส่งผลในการเข้าถึงและการโต้ตอบของผู้ติดตาม และในส่วนของการทำคอนเทนต์รูปภาพสามารถตอบโจทย์ได้ดีกว่าการทำ</span><span style="font-weight: 400;">คอนเทนต์รูปแบบวิดีโอ ทำให้เห็นว่าการเข้าถึงรูปภาพสามารถเพิ่มการเข้าถึงได้มากกว่าวิดีโอ และผลจากการทำแคมเปญในครั้งนี้ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นและจำนวนการติดตามเพจที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย </span></p> <p style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้จะสามารถช่วยให้เจ้าของธุรกิจหรือผู้ที่ขายสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจจะสามารถเลือกใช้รูปแบบการทำโฆษณาและการทำคอนเทนต์ เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจของตัวเองหรือเป็นประโยชน์ต่อร้านที่ขายสินค้าในลักษณะเดียวกันได้อย่างแน่นอน</span></p> <p> </p> <p style="font-weight: 400;"><strong>คำสำคัญ: </strong><span style="font-weight: 400;">ประสิทธิผล, การทำโฆษณา, การทำคอนเทนต์, การทำแคมเปญโฆษณา, ร้าน NN159 Shop</span></p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 Ammiga manalor
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/270888
ประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจของผู้ต้องขังหญิงและแนวทางการดูแล
2024-05-28T22:53:58+07:00
ยศวดี ทิพยมงคลอุดม
yodsawadi.t@gmail.com
Sumonthip Chitsawang
sumonthip.c@chula.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ได้รับความรุนแรงของผู้ต้องขังหญิง ศึกษาผลกระทบของการถูกใช้ความรุนแรงต่อผู้ต้องขังหญิง และศึกษาการตอบสนองของเรือนจำและแนวทางการดูแลผู้ต้องขังหญิงที่มีประสบการณ์ถูกใช้ความรุนแรง การวิจัยใช้วิธีการแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณผ่านการสำรวจแบบสอบถามกับผู้ต้องขังหญิง จำนวน 150 คน และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ต้องขังหญิง 15 คนและเจ้าหน้าที่เรือนจำ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังหญิงส่วนหนึ่งที่ได้รับความรุนแรงทางร่างกายและจิตใจก่อนเข้าสู่เรือนจำนั้นได้รับผลกระทบทางสุขภาพจิตและร่างกายอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตในเรือนจำ โดยการดูแลผู้ต้องขังหญิงที่มีประวัติความรุนแรงยังคงมีข้อจำกัดในการได้รับการดูแลที่ครอบคลุมและต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้คือ การพัฒนาระบบการสอบประวัติและการดูแลผู้ต้องขังหญิง การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา การอบรมเจ้าหน้าที่เรือนจำ รวมถึงการกำหนดนโยบายการดูแลเฉพาะทางสำหรับผู้ต้องขังหญิงที่มีประวัติความรุนแรง</p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ยศวดี ทิพยมงคลอุดม, Sumonthip Chitsawang
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/266609
การยอมรับของครอบครัวและการรับรู้ผลต่อสุขภาพของชายรักชาย ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
2023-11-14T08:52:53+07:00
รณภูมิ สามัคคีคารมย์
ronnapoom.s@fph.tu.ac.th
<p style="font-weight: 400;">ชายรักชายเป็นกลุ่มที่เผชิญหน้ากับความไม่เท่าเทียมกันในสังคมและความเปราะบางอันเปราะบางจากมุมมองในอดีต ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับในสังคมและในสถานบันครอบครัว การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการยอมรับของครอบครัวที่มีลูกเป็นชายรักชายและการรับรู้ผลกระทบทางสุขภาพจากการยอมรับของครอบครัวของพวกเขา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูล คือ ชายรักชาย จำนวน 10 คน และสมาชิกครอบครัวของชายรักชายดังกล่าว จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการยอมรับของครอบครัวเริ่มจาก ครอบครัวมีการรับรู้ถึงความเป็นชายรักชาย ด้วยการสังเกตจากพฤติกรรม การรวมกลุ่มกับเพื่อน และการเปิดเผยตนเองโดยการใช้เวลาระยะเวลา การพูดคุยปรับความเข้าใจ การปรับการแสดงออกในพฤติกรรมของชายรักชาย และความพยายามแสดงออกของชายรักชายถึงจุดยืนในอัตลักษณ์ของตน ทำให้ครอบครัวก็เกิดการรับรู้ที่มากขึ้น และมีความเข้าใจในอัตลักษณ์ จึงทำให้ครอบครัวยอมรับ ส่วนผลกระทบต่อสุขภาพของชายรักชาย 4 ด้าน คือ สุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิต สุขภาพทางสังคม และสุขภาพทางปัญญา พบว่าการได้รับการยอมรับจากครอบครัวส่งผลทางบวกต่อสุขภาพของชายรักชายทุกด้าน ยกเว้นสุขภาพทางกายที่ส่งผลทางลบได้ด้วย การไม่ยอมรับของครอบครัวส่งผลทางลบต่อสุขภาพ ทุกด้าน ยกเว้นสุขภาพทางปัญญาที่สามารถส่งผลทางบวกร่วมด้วย การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะ คือ ควรให้มีการเผยแพร่ความรู้ เรื่อง เพศ เพศสภาพ เพศวิถี ความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการยอมรับการเป็นชายรักชายในสมาชิกของครอบครัว เนื่องจากการยอมรับของครอบครัวมีผลต่อสุขภาพทั้ง 4 ด้านของชายรักชาย ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ชายรักชายสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีสุขภาพที่ดีในทุกด้านต่อไป</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>คำสำคัญ: ชายรักชาย</strong><strong>, การยอมรับของครอบครัว, ผลกระทบต่อสุขภาพ</strong></p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 รณภูมิ สามัคคีคารมย์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/265842
INTEGRATED LEARNING MODEL FOR ENVIRONMENTAL EDUCATION AMONG STUDENTS IN A HIGHER EDUCATION LEVEL.
2023-11-01T16:11:58+07:00
เสรี วรพงษ์
seree3011@gmail.com
<p>Abstract</p> <p>This study’s objectives are: (1) to study general information about learning activity in environmental education in a higher educational level; (2) to study integrated learning model for environmental education in a higher educational level; (3) to study problems and limitations of integrated learning model for environmental education in a higher educational level. The present study employed questionnaires to collect the data from 400 students and in-depth interview for 10 instructors and experts.</p> <p>The present study found that there are 126 male students (31.5%) and 274 female students (68.5%). About 54.5% are aged at 18-19 years. Most of the samples face the problem of wastewater disposal (41.75%), air pollution (64.5%) which is coming from dust (45.5%), car emission (61.25%), power plant (70.5%).</p> <p>Most of the sample reported that the expected integrated learning model for environmental education is the integration with other courses in which provides the benefit for daily life, the exchange of opinion about environmental problems and management in the classroom. The educational media should be clear and more interesting contents. Teaching and learning activities should be made outside the classroom in order to generate the direct experience for students, promote the life skill in environment, and create environmental awareness among students.</p> <p>For limitations and recommendations, the teaching should have more interesting courses, better educational media, and improved contexts. The limitation was found that the students have no interest in contents due to the out of date information. Contents of the course in environmental education should be improved and updated.</p> <p> </p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 เสรี วรพงษ์