TY - JOUR AU - อ่อนทอง, ฮามีร PY - 2020/12/31 Y2 - 2024/03/29 TI - การจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติกีตาร์เบสสมัยนิยมระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล JF - วารสารสหศาสตร์ JA - ISJ VL - 20 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/243355 SP - 119-130 AB - <p><strong>การจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติกีตาร์เบสสมัยนิยมระดับอุดมศึกษา </strong></p><p><strong>ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล</strong></p><p>&nbsp;</p><p>ฮามีร&nbsp; อ่อนทอง<a href="#_ftn1" name="_ftnref1">[1]</a>, เอกชัย พุหิรัญ<a href="#_ftn2" name="_ftnref2">[2]</a>, พิมลมาศ&nbsp; พร้อมสุขกุล<a href="#_ftn3" name="_ftnref3">[3]</a>, รุ่งเกียรติ &nbsp;สิริวงษ์สุวรรณ<a href="#_ftn4" name="_ftnref4">[4]</a></p><p>&nbsp;</p><p><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p>งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติ กีตาร์เบสสมัยนิยมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติกีตาร์เบสสมัยนิยมในระดับอุดมศึกษา ใน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอน 2) การเลือกเนื้อหาสาระ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4) การใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน 5) การวัดผลและประเมินผล โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้สอนวิชาปฏิบัติกีตาร์เบสสมัยนิยม ระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลทั้งหมด 4 คน ผู้เรียน 16 คน</p><p>ผลการวิจัยพบว่ามีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเนื้อหาเลือกตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้เป็นหลักโดยเน้นทักษะพื้นฐานทางด้านปฏิบัติ และทฤษฎี มีกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในสถานศึกษา สื่อและอุปกรณ์จะใช้หนังสือ และคลิปวิดิโอจากยูทูป มีการวัดผลและประเมินผลการเรียนอยู่ตลอดเวลา แนวทางในการจัดการเรียนการสอนพบว่า ควรใช้การสอนตามหลักสูตร แบบมีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง และการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพราะ ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน เนื้อหาผู้สอนต้องดูจากศักยภาพของผู้เรียนก่อนเพิ่มลำดับความยากง่าย กิจกรรมการเรียนการสอนควรเพิ่มการจัดแสดงคอนเสิร์ต ด้านการใช้สื่อรูปแบบหนังสือของสำนักพิมพ์ Hal Leonard และหนังสือเสริม Jazz Standard 100 licks คลิปวิดิโอจากยูทูบ และการบันทึกเสียง ผู้สอนวัดผลและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายบุคคล ยกเว้นตอนสอบจะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรี หรือศิลปินที่มีชื่อเสียงจากภายนอกมาร่วมประเมินด้วย</p><p>&nbsp;</p><p><a href="#_ftnref1" name="_ftn1">[1]</a> นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดนตรีตะวันตก (ดนตรีศึกษา) วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา</p><p><a href="#_ftnref2" name="_ftn2">[2]</a> อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา</p><p><a href="#_ftnref3" name="_ftn3">[3]</a> อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา</p><p><a href="#_ftnref4" name="_ftn4">[4]</a> อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา&nbsp;</p> ER -