TY - JOUR AU - Wiwitkul, Metita PY - 2020/12/31 Y2 - 2024/03/29 TI - อัตวิสัย ผัสสะ และประสบการณ์ของผู้ป่วยในการใส่สายให้อาหารทางจมูก JF - วารสารสหศาสตร์ JA - ISJ VL - 20 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/sahasart/article/view/242046 SP - 71-85 AB - <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตวิสัย ผัสสะ และประสบการณ์ด้านการใส่สายให้อาหารทางจมูก โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึก ในกลุ่มประชากรที่มีสายให้อาหารทางจมูกมากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป ที่ได้กลับไปพักฟื้นที่บ้านหรือสถานที่พักพักฟื้น ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งหมด 7 ราย ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าวาทกรรมที่ว่าด้วยสายให้อาหารทางจมูกได้แก่ การได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การป้องกันการติดเชื้อ และแพทย์เป็นผู้รู้มากกว่า ในส่วนปฏิบัติการของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ประกอบไปด้วย เทคโนโลยีการใส่สายให้อาหารทางจมูกเป็นชุดความรู้ทางการแพทย์ที่มาจากการมีข้อมูลเชิงประจักษ์มาสนับสนุน แพทย์เป็นผู้ให้และยืนยันความรู้นั้น และนักกิจกรรมบำบัดกำกับผู้ป่วยให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ในขณะที่อัตวิสัยต่อการใส่สายให้อาหารทางจมูกแตกต่างกันไปตามความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ และบริบทแวดล้อมก่อให้เกิดการใช้อำนาจในตนแสดงพฤติกรรมทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ที่สำคัญการใส่สายให้อาหารทางจมูกกระทบต่อผัสสะด้านการรับรสชาติ และการรับสัมผัส ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน ทั้งนี้พวกเขาได้บอกถึงประสบการณ์การใส่สายให้อาหารทางจมูกว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกายส่งผลต่อการใช้และการปรับตัว และยังส่งผลให้คนรอบข้างร่วมทุกข์กับผู้ใส่สายให้อาหาร จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางการแพทย์ควรบอกวิธีการบรรเทาทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้กลืนกินทางปากให้กับผู้ป่วย และควรคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคลเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมให้บุคคลเกิดความร่วมมือที่ดีในการรักษา</p><p>&nbsp;</p> ER -