วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> วารสารบัณฑิตแสงโคมคำเป็นวารสารวิชาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานวิชาการ การศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่บทความต่าง ๆ ในสาขาวิชาที่วิทยาเขตพะเยาได้เปิดสอน คือ (1) พระพุทธศาสนาเเละปรัชญา (2) การสอนสังคมศึกษา (3) การสอนภาษาไทย เเละ (4) รัฐศาสตร์ 2) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ ตลอดถึงการบูรณาการสหวิทยาการต่าง ๆ ของคณาจารย์ บุคลากร นิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่น อันเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม 3) เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และสร้างความร่วมมือในการบูรณาการการเรียนการสอนกับการเผยแพร่ผลงาน องค์ความรู้ของคณาจารย์ บุคลากรและนิสิตในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</p> <p> ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแบบ Double-blind อย่างน้อย 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยรับพิจารณาต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย กำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน)</p> <p> ทั้งนี้ ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด</p> <p> ทัศนะและความคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตแสงโคมคำ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ</p> <p> ในกรณีกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองบทความมีความเห็นว่า ควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นหลัก และขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ในกรณีที่บทความไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และรูปแบบของวารสารบัณฑิตแสงโคมคำ หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หากบทความใดได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยเสียงข้างมากให้ตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์จากวารสาร (เฉพาะผู้เเจ้งความประสงค์เท่านั้น)</p> <p><strong>อัตราค่าตีพิมพ์บทความ </strong></p> <p> กำหนดค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ บทความละ 6,000 บาท</p> <p><strong>การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ </strong></p> <p> หลังจากผู้เขียนส่งบทความต้นฉบับและกรอกแบบฟอร์มเสนอผลงานเพื่อตีพิมพ์ (ใบสมัคร) เข้าระบบวารสารออนไลน์แล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ จำนวน 6,000 บาท/บทความ ตามรายละเอียด ดังนี้ </p> <p> <strong>ชื่อธนาคาร: ออมสิน สาขามหาวิทยาลัยพะเยา</strong></p> <p><strong> ชื่อบัญชี: วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ มจร.พะเยา</strong></p> <p><strong> บัญชีเลขที่: 020320117631</strong></p> <p> จากนั้น ให้ผู้เขียนแจ้งผลการโอนพร้อมหลักฐานการโอน โดยระบุชื่อผู้โอนและชื่อบทความ มาที่ Email: <a href="mailto:jsbsmcu@gmail.com">jsbsmcu@gmail.com</a> (หากประสงค์จะให้ออกใบเสร็จในนามหน่วยงานหรือองค์กรใด กรุณาระบุให้ชัดเจน)</p> <p> ***ทั้งนี้ ทางวารสารจะไม่คืนค่าธรรมเนียม ในกรณีที่บทความไม่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ เนื่องจากค่าธรรมเนียมได้นำไปเป็นค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว</p> <p> อนึ่ง ในกรณีบทความใด ถูกปฏิเสธโดยเสียงข้างมากของผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณากลั่นกรอง (2 ใน 3) วารสารจะยึดเสียงข้างมากของผู้ทรงคุณวุฒิในการปฏิเสธหรือยุติการดำเนินการตีพิมพ์บทความนั้นทันที ยกเว้นในกรณีต่อไปนี้ 1) ผู้เขียนยืนยันที่จะตีพิมพ์บทความนั้นอีกครั้ง 2) ผู้เขียนได้ปรับแก้บทความตามผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเสียงข้างมากที่ปฏิเสธการตีพิมพ์นั้นแล้ว และ 3) กองบรรณาธิการเห็นสมควรให้บทความที่ปรับแก้ใหม่นั้นส่งประเมินอีกรอบได้ จากนั้น วารสารจึงจะดำเนินการต่อในขั้นตอนต่อไป โดยผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการชำระค่าธรรมเนียมในส่วนของค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติม (2 ท่าน) ตามที่วารสารกำหนดค่าตอบแทนไว้</p> <p><strong>กำหนดออกเผยเเพร่</strong> </p> <p> ปีละ 3 ฉบับ</p> <p><strong> </strong>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน เผยแพร่ออนไลน์ไม่เกิน 30 เมษายน </p> <p> ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม เผยแพร่ออนไลน์ไม่เกิน 31 สิงหาคม </p> <p> ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม เผยแพร่ออนไลน์ไม่เกิน 31 ธันวาคม </p> <p> E-mail: jsbsmcu@gmail.com, Facebook Page: วารสารบัณฑิตเเสงโคมคำ </p> <p> Website: <a href="https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/index">https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/index</a></p> <p><strong>© เจ้าของ (Owner)</strong></p> <p>บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา 566 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000</p> th-TH jsbsmcu@gmail.com (พระเมธีวชิรคุณ, รศ.ดร.) jsbsmcu@gmail.com (นายนพดล อินปิง) Sat, 15 Mar 2025 09:28:49 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การใช้คำที่สื่อความหมายใหม่กับการสื่อสารในปัจจุบัน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/273453 <p>บทความวิชาการนี้มุ่งวิเคราะห์การใช้คำที่สื่อความหมายใหม่กับการสื่อสารในปัจจุบัน จากผลการศึกษาพบว่า การใช้คำที่สื่อความหมายใหม่ของนักศึกษาที่นิยมใช้กัน ดังต่อไปนี้ 1. โบ 2. ฟิน 3. เสื้อเกราะ 4. ส้ม 5. เผา 6. ลงเรือ 7. ออกรอบ 8. สว่าน 9. ซอง 10. คัน 11. สาวก 12. เข้ารอบ 13. ป่วย 14. ชะนี 15. โผล่ 16.บ้านเล็ก 17. ทางผ่าน 18. ตาขาว 19. ลำไย 20. หมาวัด 21. ไฟเขียว 22. ล้มช้าง 23. จบข่าว 24. ฉ่ำ 25. ยืนหนึ่ง 26. ของมันต้องมี 27. สวย 28. ตุย 29. ลูกสาว 30. มองบน 31. ไก่ 32. ปัง 33. ดือ 34. ฉีดยา 35. แซ่บ 36. นอยด์ 37. สาวก 38. โฮ่ง 39. สตรอว์เบอร์รี 40. จิ้งจอก 41. หวาน 42. บูด 43. ฟาด 44. แหก 45. เกรียม 46. แกง 47. ตำ 48. อ่อม 49. แอปเปิล 50. แหนม 51. ลิ้นจระเข้ 52. เป็ด 53. ตาแตก 54. เคมี 55. คุณน้า 56. ชง 57. มงลง 58. จิ๊กโก๋ 59. กาเหลา 60. เท 61. มะนาว 62. ละมุด 63. อ้อย 64 เงาะ 65. ตุ๊บ 66. แห้ว 67. เก้าอี้ 68. นก 69. ช็อก 70. ดราม่า 71. เมาท์ 72. เผือก 73. งูเห่า 74. เกินต้าน 75. แรงมาก 76. เข้าตา 77. มูลี่ 78. ปลาไหล 79. สวมหน้ากาก และ 80. จัดฉาก การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารมีความสำคัญมาก เพราะต้องใช้ให้ถูกต้องเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องตระหนักถึงความถูกต้องของภาษาไทยที่สื่อความหมายได้จากบริบทการสนทนาที่หลากหลายมากขึ้นและควรเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป องค์ความรู้ใหม่ 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การใช้คำที่สื่อความหมายใหม่แบบเฉพาะกลุ่ม 2) การใช้คำที่สื่อความหมายใหม่แบบสาธารณะ ทั้งสองประเด็นนี้ทำให้คนไทยในยุคปัจจุบันนี้สร้างความหมายใหม่ในคำเดิมถึงทุกวันนี้</p> วิชชุพงศ์ วรศาสตร์กุล, วรางคณา ทวีวรรณ, อาทิตย์ ถมมา Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/273453 Thu, 10 Apr 2025 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์นวัตกรรมเพื่อให้บริการชุมชนและสังคม: กรณีศึกษาโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึง 2565 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/273203 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนผลการให้บริการชุมชนและสังคม วิเคราะห์ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ของมหาวิทยาลัยพะเยา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึง 2565 และนำเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมการให้บริการชุมชนในอนาคต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมี 24 คน คือ (1) หัวหน้าโครงการจาก 6 คณะ รวม 6 คน และ (2) สมาชิกโครงการที่เข้าร่วมทำงานกับมหาวิทยาลัยพะเยา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึง 2565 จาก 6 โครงการ โครงการละ 3 คน รวม 18 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยพะเยามีการบูรณาการพันธกิจ 4 ด้าน คือ การบริการวิชาการ การเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เข้ากับโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรมได้อย่างลงตัวและกลมกลืนมากขึ้น จึงทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ในการทำงาน ทั้งจากฝ่ายผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยที่พยายามปรับแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกันทั้ง 3 ส่วน ตั้งแต่นโยบายมหาวิทยาลัย ความรู้และความเชี่ยวชาญของนักวิจัย และบริบทของชุมชน ในขณะที่ฝ่ายชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและลงมือพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยภาพรวมของการขับเคลื่อนโครงการประสบความสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ สำหรับข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ การสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบาย การสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ การสนับสนุนงบประมาณ และการพัฒนาศูนย์พัฒนาและคลังข้อมูลชุมชนนวัตกรรมเพื่อให้คำปรึกษาและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ส่วนองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ กระบวนการสร้างนวัตกรรมทางสังคมที่ต้องประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) การระบุความต้องการ ปัญหา ความท้าทายของชุมชนที่สอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (2) การพัฒนาระบบนิเวศชุมชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมทางสังคม (3) การเสริมพลังทางสังคมที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และ (4) การถอดบทเรียนเพื่อสรุปแนวทางการพัฒนาชุมชนบนฐานการประสานความร่วมมือ</p> วรรณภา ทองแดง, ประยงค์ จันทร์แดง Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/273203 Sat, 15 Mar 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/273331 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและประเมินแนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลและออกแบบแนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และ 2) การประเมินแนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบคุณภาพแนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สูตรการคำนวณดัชนีความสอดคล้อง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียม ขั้นการออกแบบ ขั้นการผลิต และขั้นรวบรวมข้อมูลหลังการใช้งาน โดยมีแนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในขั้นการเตรียมและขั้นการออกแบบ 2) ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.4-0.6 โดยผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะให้ปรับปรุงรายละเอียดบางขั้นตอนในการจัดทำหนังสือเรียนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นก่อนนำไปใช้ในการพัฒนาหนังสือเรียนต่อไป และผลการประเมินแนวทางการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.4-0.8 โดยผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะให้ปรับปรุงรายละเอียดบางตัวอย่างในการตั้งคำถามและการนำเสนอให้เหมาะสมยิ่งขึ้นก่อนนำไปใช้ในการพัฒนาหนังสือเรียน บทความวิจัยนี้ได้องค์ความรู้ด้านกระบวนการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาในขั้นการเตรียมและการออกแบบ โดยคำนึงถึงการตั้งคำถามเพื่อฝึกการสังเกต การตั้งคำถามเพื่อส่งเสริมให้เกิดการคิดตามองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ การตั้งคำถามเพื่อฝึกการอุปมา รวมถึงการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นอย่างอิสระปลอดภัย</p> ภาวิชชุกานต์ ใช้ลิ้ม, วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/273331 Wed, 19 Mar 2025 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนการสอนเขียนโดยใช้โมเดล 4Ex2 ร่วมกับเทคนิคสตอรีบอร์ดเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการเขียนสารคดีเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/273611 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสารคดีเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนเขียนโดยใช้โมเดล 4Ex2 ร่วมกับเทคนิคสตอรีบอร์ด 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเขียนสารคดีเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาระหว่างได้รับการจัดการเรียนการสอนเขียนโดยใช้โมเดล 4Ex2 ร่วมกับเทคนิคสตอรีบอร์ด ใช้วิธีการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการเขียนสารคดีเชิงสร้างสรรค์ และแผนการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเขียนโดยใช้โมเดล 4Ex2 ร่วมกับเทคนิคสตอรีบอร์ดมีความสามารถในการเขียนสารคดีเชิงสร้างสรรค์ในภาพรวมและแยกตามองค์ประกอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเขียนโดยใช้โมเดล 4Ex2 ร่วมกับเทคนิคสตอรีบอร์ดมีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเขียนสารคดีเชิงสร้างสรรค์ทุกประเภทในครั้งหลังดีกว่าครั้งก่อนหน้า การวิจัยครั้งนี้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการที่เหมาะสำหรับการเสริมสร้างความสามารถในการเขียนสารคดีเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน ซึ่งกระบวนการสอนนี้มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นสร้างความสนใจในการเขียน ขั้นเรียนรู้และค้นคว้า ขั้นเรียบเรียงเขียนเนื้อหา และขั้นเชื่อมโยงกับชีวิตจริง</p> วิลาสินี เจียว, วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/273611 Mon, 07 Apr 2025 00:00:00 +0700 การลดความรุนแรงของเด็กและเยาวชนวัยเรียน ผ่านแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สและความจริงเสริม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/274199 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาความสามารถในการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดนิทานความจริงเสริมของครูปฐมวัย (2) ใช้เกมทางการศึกษาร่วมกับแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาบนแพลตฟอร์มเมตาเวิร์ส (3) ลดความรุนแรงโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเสมือนจริงสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นผ่านแพลตฟอร์มเมตาเวิร์ส (4) พัฒนานวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สโดยใช้สถานการณ์จำลอง ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและลดความรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา จำนวน 448 คน เป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของเด็กปฐมวัย 2) แบบทดสอบวัดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 3) แบบวัดพฤติกรรมการลดความรุนแรงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4) แบบวัดสถานการณ์ความรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการกลั่นแกล้งของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดนิทานความจริงเสริมหลังเรียนต่ำกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) พฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนระดับประถมศึกษาหลังการใช้เกมทางการศึกษาร่วมกับแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบปรากฎการณ์เป็นฐานต่ำกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) พฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลังการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเสมือนจริงผ่านแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สต่ำกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) พฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษา หลังการใช้สถานการณ์จำลองผ่านแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สต่ำกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ การพัฒนานวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สและความจริงเสริมสามารถช่วยลดพฤติกรรมความรุนแรงและพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของเด็กปฐมวัย นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และนักเรียนอาชีวศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> กาญจนา บุญส่ง, วิชชญา มณีชัย, อัศวิน ไชยภูมิสกุล Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/274199 Mon, 07 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายด้วยการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับการกำกับตนเองในการอ่าน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/274916 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับการกำกับตนเองในการอ่านเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อประเมินกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับการกำกับตนเองในการอ่านเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ และระยะการประเมินคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับการกำกับตนเองในการอ่านเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะเรียนรู้กลยุทธ์การอ่าน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การแนะนำกลยุทธ์การอ่าน การอธิบายบทบาทในการสนทนาเกี่ยวกับการอ่าน การอธิบายหน้าที่และสาธิตการใช้กลยุทธ์การอ่านตามบทบาท และการสะท้อนการใช้กลยุทธ์การอ่าน และระยะการแลกเปลี่ยนบทบาทและกำกับตนเองในการอ่าน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การกำหนดเป้าหมายและวางแผนการอ่าน การเลือกใช้และกำกับกลยุทธ์การอ่าน การสรุปผลการอ่าน การอภิปรายผลการใช้กลยุทธ์ 2) ผลการประเมินกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้นี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> =3.00; S.D.=0.00) โดยสามารถนำไปใช้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายได้ โดยองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยสรุปได้ว่า การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้จะต้องครอบคลุมองค์ประกอบของความฉลาดรู้การอ่าน และกระบวนการจัดการเรียนรู้จะต้องส่งเสริมให้นักเรียนสามารถตั้งเป้าหมายในการอ่าน ใช้กลยุทธ์การอ่านได้เหมาะสม และเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับการอ่าน รวมไปถึงช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีความเพลิดเพลินในการอ่านและเกิดประสบการณ์การอ่านที่หลากหลาย</p> ชลธิดา ทรัพย์ศิริ, สันติวัฒน์ จันทร์ใด Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/274916 Mon, 07 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดศรีสังวร โดยใช้ชุดกิจกรรมคิดและปฏิบัติ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/274228 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมคิดและปฏิบัตินักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดศรีสังวร 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมคิดและปฏิบัติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมคิดและปฏิบัติ จำนวน 9 กิจกรรม (2) แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ (3) แบบประเมินชิ้นงานของนักเรียน และ (4) แบบบันทึกการสังเกตทักษะทางวิทยาศาสตร์รายบุคคล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมคิดและปฏิบัติในการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์เห็นด้วยในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.37; S.D.=0.85) ผลการประเมินความสอดคล้องแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ มีค่าความสอดคล้อง IOC เท่ากับ 0.796 2. ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมคิดและปฏิบัติพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทักษะวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 30 คะแนน ก่อนเรียนอยู่ในระดับน้อย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=7.30; S.D.=2.67) หลังเรียนอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=23.10; S.D.=2.60) คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนชิ้นงานของนักเรียนและคะแนนทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพิ่มขึ้นตามลำดับ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ กระบวนการสอนในรูปแบบ DGCA Model โดยเริ่มจากการสร้างข้อสงสัยและนำไปสู่กิจกรรม ตามด้วยเชื่อมโยงกิจกรรมสู่ความรู้ และท้ายที่สุด คือ ประยุกต์ความรู้สู่เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน</p> เสกสรรค์ ดวงสิงห์ธรรม, อำนาจ จันทร์แป้น, วารุณี โพธาสินธุ์ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/274228 Mon, 07 Apr 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการเรียนรู้เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/276870 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้เพื่อบริหารความเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มย่อย รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลัก วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยตีความเพื่อสร้างข้อสรุปยืนยันข้อมูลจากกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 13 ราย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบ 5 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการบริหาร 3) ด้านการเรียนรู้ 4) ด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวก และ 5) การโน้มน้าวใจ และแบ่งเป็นประเภทของผู้ประกอบการได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวเชิงเลียนแบบ 2) ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวแนววิถีชีวิต 3) ผู้ประกอบการทางด้านการท่องเที่ยวแนวสังคม และ 4) ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงแฝงเร้น และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกลับการดำเนินชีวิต คือ การเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่อาศัยประสบการณ์การใช้ชีวิต เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความสามารถในการพัฒนาการบริหารธุรกิจ การเรียนรู้ประเภทนี้จะไม่เน้นหลักสูตรและเวลาเรียนที่แน่นอน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต มีการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จำนวน 3 แหล่ง ได้แก่ 1) การเรียนรู้ตามอัธยาศัยจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 2) การเรียนรู้ตามอัธยาศัยจากเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน และ 3) การเรียนรู้ตามอัธยาศัยจากแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาในชุมชน นำไปสู่พฤติกรรมของผู้ประกอบการในการบริหารการเปลี่ยนแปลงธุรกิจทั้ง 8 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านภาวะผู้นำ ด้านวิธีการสื่อสาร ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ด้านการเจรจาต่อรอง ด้านการแทรกแซงและการสร้างแนวร่วม และด้านการบังคับ เพื่อนำสถานประกอบการให้ประสบความสำเร็จและดำรงอยู่อย่างมั่นคงในสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ การได้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อบริหารความเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการนำรูปแบบการเรียนรู้ฯ ดังกล่าวไปใช้กำหนดนโยบายหรือแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามเป้าหมายการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์ต่อไป</p> ณฐพัชร์ ไชยทิพย์, อัจฉรา ศรีพันธ์, ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/276870 Mon, 07 Apr 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/272864 <p>บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการขยะของชุมชนบ้านวังธาร 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์และแนวคำถามในการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 25 คน ได้แก่ 1) กลุ่มผู้นำชุมชนจำนวน 15 คน 2) กลุ่มภาครัฐ เอกชน พระภิกษุ ผู้ประกอบธุรกิจและเยาวชน จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการขยะของชุมชน เป็นการจัดการขยะที่มีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามบริบทของชุมชน ในอดีตการจัดการขยะของชุมชนมีการจัดการขยะตามวิถีชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันเทศบาลตำบลลวงเหนือได้ส่งเสริมการจัดการขยะในระดับครัวเรือน โดยให้มีการคัดแยกขยะเปียก ขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายที่เป็นมลพิษ 2) การพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ขั้นตอนที่ 1 การประชุมวิเคราะห์ปัญหาการจัดการขยะในชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างจิตสำนึกโดยการเรียนรู้จากชุมชนต้นแบบ ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก กระเป๋าจากซองกาแฟ และกิจกรรมทำสบู่จากกากกาแฟ ขั้นตอนที่ 4 สรุปและประเมินผลจากกิจกรรม ขั้นตอนที่ 5 การขยายผลการจัดกิจกรรม 3) รูปแบบการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ การจัดการขยะโดยกระบวนการเรียนรู้และการสร้างจิตสำนึก การจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดการขยะแบบวิถีชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี เกิดจากการสร้างการเรียนรู้และกระบวนการจัดการขยะของชุมชนที่มีความสอดคล้องกับบริบทของชุมชน</p> พระภาณณริณทร์ ภูริญาโณ (ธรรมปันโย), ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์, สหัทยา วิเศษ, ปรีชา วงศ์ทิพย์ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/272864 Tue, 08 Apr 2025 00:00:00 +0700 นิเวศวิทยาวัฒนธรรม: พิธีกรรมและความเชื่อเรื่องผี ที่เกี่ยวกับการพยากรณ์ การรักษาของบ้านปงวัง ตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/274601 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานิเวศวิทยาวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับพิธีกรรมและความเชื่อเรื่องผีของบ้านปงวัง 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมและความเชื่อเรื่องผีที่เกี่ยวกับการพยากรณ์ การรักษาของชุมชน 3) วิเคราะห์รูปแบบการปรับตัวในการประกอบพิธีกรรมและความเชื่อเรื่องผีที่เกี่ยวกับการพยากรณ์ การรักษา ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของชุมชน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร สำรวจพื้นที่ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ร่างทรง ผู้ประกอบพิธีกรรม ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชน และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปงวัง จำนวน 22 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนบ้านปงวังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระบบนิเวศป่าชุมชนและแม่น้ำ โดยรักษาพิธีกรรมดั้งเดิม ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อที่ผูกพันกับธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติ พิธีกรรมเหล่านี้ไม่เพียงเสริมสร้างความเคารพต่อธรรมชาติและการอนุรักษ์ทรัพยากร แต่ยังส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน นอกจากนี้ พบว่า การแพทย์สมัยใหม่จะเข้ามามีบทบาท ความเชื่อเรื่องผียังคงหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสมดุลระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ 2) พิธีกรรมและความเชื่อเรื่องผีในชุมชนบ้านปงวังได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาและขั้นตอนเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีปัจจัยหลักจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคม การผสมผสานระหว่างการแพทย์พื้นบ้านกับการแพทย์แผนปัจจุบันยังคงมีอยู่เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมของชุมชน 3) รูปแบบการปรับตัวในการประกอบพิธีกรรมและความเชื่อเรื่องผีที่เกี่ยวกับการพยากรณ์ การรักษา ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของชุมชนมี 3 รูปแบบ คือ (1) การปรับตัวด้านร่างกาย (2) การปรับตัวด้านวิธีคิด (3) การปรับตัวด้านความสัมพันธ์ในสังคม องค์ความรู้จากการวิจัย คือ วัฒนธรรมมีบทบาทในการกำหนดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ความสามัคคีและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างรับผิดชอบ</p> พัชราภรณ์ นักเทศน์, สหัทยา วิเศษ, ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ, ปรีชา วงค์ทิพย์ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/274601 Tue, 08 Apr 2025 00:00:00 +0700 สืบฮีตสานฮอย ตามรอยปราชญ์ชุมชน: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/276920 <p>การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่ ทุนวัฒนธรรมและความต้องการของชุมชนวัดพระธาตุดอยหยวก อำเภอปง จังหวัดพะเยา และพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในวัดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 25 รูป/คน ได้แก่ พระสงฆ์ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน แกนนำกลุ่มในชุมชนบ้านหนุน และชุมชนบ้านดง เทศบาลตำบลปง มหาวิทยาลัยพะเยา โรงเรียนวัดนาปรังวิทยา กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนบ้านหนุนและบ้านดง จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการลงพื้นที่สำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และปฏิบัติการพัฒนากิจกรรม ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) วัดพระธาตุดอยหยวกเป็นโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของอำเภอปง จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่ที่มีทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น มีพระธาตุเจดีย์ที่เชื่อว่า บรรจุพระเกศาและพระอัฐิจักษุของพระพุทธเจ้า มีวิหารไม้เก่าแก่ที่ทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมล้านนา มีลานหญ้าสีเขียวและสวนป่าสมุนไพรโดยรอบบริเวณ มีเจ้าอาวาสวัดเป็นปราชญ์สมุนไพร และปราชญ์ชุมชนอีกหลายท่าน มีประเพณีท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ คือ งานขึ้นธาตุแปดเป็ง (2) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในวัดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา ภูมิปัญญา วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น โดยบูรณาการความรู้จากปราชญ์ชุมชน พระสงฆ์ และนักวิชาการ รวมถึงการใช้สื่อเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นทุกขั้นตอน องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า การที่วัดมีพื้นที่เป็นรมณียสถานและมีทุนวัฒนธรรมตามหลักสัปปายะ มีปราชญ์ชุมชนและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ คอยถ่ายทอดความรู้ให้ด้วยความรักความใส่ใจ ควบคู่กับพลังชุมชนและเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานสรรสร้างพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลายและบูรณาการ รวมทั้งความต้องการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น วัดจึงได้กลับมาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน ที่ทำให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชน มีความสุขในการเรียนรู้ไปพร้อมกับมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นภายในชุมชนอีกด้วย</p> นภาพร หงษ์ทอง, พระปลัดสุกฤษฎิ์ ปิยสีโล, พระครูศรีวรพินิจ, สหัทยา วิเศษ, ชูชาติ สุทธะ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/276920 Wed, 09 Apr 2025 00:00:00 +0700