https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/issue/feed
วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
2024-11-01T13:21:45+07:00
พระเมธีวชิรคุณ, รศ.ดร.
jsbsmcu@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p> วารสารบัณฑิตแสงโคมคำเป็นวารสารวิชาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานวิชาการ การศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่บทความต่าง ๆ ในสาขาวิชาที่วิทยาเขตพะเยาได้เปิดสอน คือ (1) พระพุทธศาสนาเเละปรัชญา (2) การสอนสังคมศึกษา (3) การสอนภาษาไทย เเละ (4) รัฐศาสตร์ 2) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ ตลอดถึงการบูรณาการสหวิทยาการต่าง ๆ ของคณาจารย์ บุคลากร นิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่น อันเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม 3) เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และสร้างความร่วมมือในการบูรณาการการเรียนการสอนกับการเผยแพร่ผลงาน องค์ความรู้ของคณาจารย์ บุคลากรและนิสิตในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</p> <p> ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแบบ Double-blind อย่างน้อย 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยรับพิจารณาต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย กำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (ราย 4 เดือน)</p> <p> ทั้งนี้ ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด</p> <p> ทัศนะและความคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตแสงโคมคำ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ</p> <p> ในกรณีกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองบทความมีความเห็นว่า ควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นหลัก และขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ในกรณีที่บทความไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และรูปแบบของวารสารบัณฑิตแสงโคมคำ หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หากบทความใดได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยเสียงข้างมากให้ตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์จากวารสาร (เฉพาะผู้เเจ้งความประสงค์เท่านั้น)</p> <p><strong>อัตราค่าตีพิมพ์บทความ </strong></p> <p> กำหนดค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ บทความละ 6,000 บาท</p> <p><strong>การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ </strong></p> <p> หลังจากผู้เขียนส่งบทความต้นฉบับและกรอกแบบฟอร์มเสนอผลงานเพื่อตีพิมพ์ (ใบสมัคร) เข้าระบบวารสารออนไลน์แล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ จำนวน 6,000 บาท/บทความ ตามรายละเอียด ดังนี้ </p> <p> <strong>ชื่อธนาคาร: ออมสิน สาขามหาวิทยาลัยพะเยา</strong></p> <p><strong> ชื่อบัญชี: วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ มจร.พะเยา</strong></p> <p><strong> บัญชีเลขที่: 020320117631</strong></p> <p> จากนั้น ให้ผู้เขียนแจ้งผลการโอนพร้อมหลักฐานการโอน โดยระบุชื่อผู้โอนและชื่อบทความ มาที่ Email: <a href="mailto:jsbsmcu@gmail.com">jsbsmcu@gmail.com</a> (หากประสงค์จะให้ออกใบเสร็จในนามหน่วยงานหรือองค์กรใด กรุณาระบุให้ชัดเจน)</p> <p> ***ทั้งนี้ ทางวารสารจะไม่คืนค่าธรรมเนียม ในกรณีที่บทความไม่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ เนื่องจากค่าธรรมเนียมได้นำไปเป็นค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว</p> <p> อนึ่ง ในกรณีบทความใด ถูกปฏิเสธโดยเสียงข้างมากของผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณากลั่นกรอง (2 ใน 3) วารสารจะยึดเสียงข้างมากของผู้ทรงคุณวุฒิในการปฏิเสธหรือยุติการดำเนินการตีพิมพ์บทความนั้นทันที ยกเว้นในกรณีต่อไปนี้ 1) ผู้เขียนยืนยันที่จะตีพิมพ์บทความนั้นอีกครั้ง 2) ผู้เขียนได้ปรับแก้บทความตามผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเสียงข้างมากที่ปฏิเสธการตีพิมพ์นั้นแล้ว และ 3) กองบรรณาธิการเห็นสมควรให้บทความที่ปรับแก้ใหม่นั้นส่งประเมินอีกรอบได้ จากนั้น วารสารจึงจะดำเนินการต่อในขั้นตอนต่อไป โดยผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการชำระค่าธรรมเนียมในส่วนของค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติม (2 ท่าน) ตามที่วารสารกำหนดค่าตอบแทนไว้</p> <p><strong>กำหนดออกเผยเเพร่</strong> </p> <p> ปีละ 3 ฉบับ</p> <p><strong> </strong>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน เผยแพร่ออนไลน์ไม่เกิน 30 เมษายน </p> <p> ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม เผยแพร่ออนไลน์ไม่เกิน 31 สิงหาคม </p> <p> ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม เผยแพร่ออนไลน์ไม่เกิน 31 ธันวาคม </p> <p> E-mail: jsbsmcu@gmail.com, Facebook Page: วารสารบัณฑิตเเสงโคมคำ </p> <p> Website: <a href="https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/index">https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/index</a></p> <p><strong>© เจ้าของ (Owner)</strong></p> <p>บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา 566 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000</p>
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/268592
รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช: การทบทวน การศึกษาใหม่ กลวิธีสร้างสรรค์เนื้อเรื่อง และการนำเสนอข้อคิดเห็น
2024-03-18T10:08:07+07:00
ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ
natawut.kla@mbu.ac.th
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนการศึกษาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์ 2) นำเสนอผลการศึกษาใหม่ในเรื่องที่มาของรามเกียรติ์ 3) ศึกษากลวิธีสร้างสรรค์เนื้อเรื่อง 4) นำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ผลการศึกษาพบว่า นอกจากรามเกียรติ์จะมีที่มาจากรามายณะภาษาสันสกฤตฉบับองคนิกาย, วิษณุปุราณะ, หนุมานนาฏกะ, รามายณะฉบับทมิฬ, รามายณะฉบับเบงคาลี, พระรามของชวา-มลายู, พระรามที่เล่ากันอยู่ในเอเชียใต้สมัยคุปตะและปาละ รวมถึงลิลิตนารายณ์ 10 ปางแล้ว ยังมีที่มาจากมหิราพณ์ปาลา, มยิลิราวณัน กไต, หิกายัตศรีราม, สิริสารามา, พระรามบนเกาะบาหลี และอัทภุตะรามายณะ การสร้างสรรค์พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์เกิดจากการนำเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เนื้อเรื่องและโครงเรื่องจากวรรณกรรมพื้นบ้าน คติความเชื่อเรื่องพระอินทร์ในชาดก ตลอดจนวรรณคดีคำสอนรุ่นเก่ามาเป็นส่วนหนึ่ง ในการสร้างสรรค์เนื้อเรื่อง ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากการศึกษาในครั้งนี้ คือ พราหมณ์ผู้เล่าเรื่องรามายณะให้คนไทยฟังเป็นพราหมณ์ในลัทธิไศวนิกาย ทั้งนี้ รามเกียรติ์ยังเป็นวรรณคดีที่ใช้สำหรับแสดงละครในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรืออาจใช้แสดงละครในงานสมโภชพระศรีศากยมุนี ผลการศึกษาครั้งนี้พบองค์ความรู้ใหม่ 3 เรื่อง คือ 1) รามเกียรติ์มีที่มาจากนิทานเรื่องพระรามและรามายณะหลายสำนวน 2) เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมพื้นบ้าน ความเชื่อเรื่องพระอินทร์และวรรณกรรมคำสอนรุ่นเก่า มีส่วนในการสร้างสรรค์เนื้อเรื่อง 3) พราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องพระราม<br />หรือรามายณะสู่คนไทย และรามเกียรติ์ใช้ในการแสดงละครเพื่อฉลองวัดและสมโภชพระพุทธรูป</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/261530
From Texts to Practices: The Development and Conservation Studies of Isan Silk in Pang Moddaeng Village, Phayao Province, Northern Thailand
2024-04-16T18:59:20+07:00
Pipat Tanakit
tanakit27@gmail.com
<p>This paper is a part of a larger study of Isan women's negotiating for benefits from both development and conservation regimes in Pang Moddaeng village, Ang Thong sub-district, Phayao province, Northern Thailand. Two primary objectives include: 1) to study and analyse the distinguishable ideas, concepts, and schools of thought in current literature of silk, clothing, and other woven materials, and 2) to understand how these schools of thought’s ideas and concepts have spread into Pang Moddaeng village as a case study. To achieve these two objectives, this qualitative research employs three kinds of methodology. Firstly, it is the textual analysis by studying on 25 articles. Secondly, it employs an ethno-methodological approach for conducting participant observation. Lastly, the research was conducted in-depth interview and focus group interview.</p> <p>The analysis of relevant literature discovered that there are three schools of thought that have led to the study of silk, garments, and other woven fabrics. Initially, it is the school of modernization, which is the mainstream of ideas for developing silk, clothing, and other woven materials to meet the needs of consumers and compete with the other woven fabrics in clothing market. Secondly, the anti-marketization school which is informed by the fundamental ideas of Marxism and political economics. This school of thought tried to counteract the first school of thought, which was concerned about the market undermining the essential value of silk, clothing, and other woven fabrics. Lastly, it is the conservation school of thought, which is influenced by localism and certain contributions from the second school of thought concerning the presence of essential values, and which could symbolize local wisdom, local knowledge, and local identity. Thus, this conservation school of thought has attempted to do research on the preservation of cultural items, which have those vital characteristics through preserving local silk, clothing, and other woven fabrics. While the latter was found that the numerous social actors in Pang Moddaeng, particularly the elderly and silk groups, were responsible for the structural production of these conceptions in the setting of the case study. It is vital to highlight that the communities have developed two distinct types of social units to cope with the two dominant ideas and concepts of Isan silk. As a result, on the one hand the village has run the silk group to manage with the silk production to follow the idea of modernization, while of the other hand the village has formed an elderly group to keep and create for the local knowledge/wisdom on Isan silk to follow the way to preserve Isan silk’s values.</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/267418
Water Ontologies and Hydrosocial Perspective: New Approaches for Understanding Water Controversies of the Ing River Basin, Northern Thailand
2024-03-05T10:47:03+07:00
Thianchai Surimas
thian.surimas@gmail.com
<p>This research illustrates, through a hydrosocial perspective, how political contestation between different networks of actors reflected the meanings, values, and water ontologies. This research employs ethnography to study networks of actors involved in controversies over the hydraulic infrastructure project in the Ing River Basin. The network of project proponents, including a state-led hydraulic institution, experts, and other actors, see Water as merely a natural resource for economic development. The proponents reduce water to its materiality and physical dimensions. Water is tied with the idea of development that values large-scale infrastructure, and top-down bureaucratic management embodied scientific knowledge in controlling water, mainly for economic purposes. Meanwhile, project opponents, including civil society organizations, environmental NGOs, and some communities understand water as living. Living water is produced through Thai Baan research, ecological campaigns and ceremonial practices that show rivers as sacred. Living water is socially, environmentally, and culturally embedded and more than a resource for exploitation. This paper argues that water-related conflicts in the Ing River Basin not only reflect how water is managed but are also rooted in such ontological differences. Different networks produced different versions of water. Therefore, understanding water ontologies through a hydrosocial lens could provide a new perspective on water-related conflicts and controversies.</p>
2024-11-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/262400
การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา ในรายวิชาประวัติศาสตร์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงใหม่มัธยม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
2023-07-14T16:25:45+07:00
กานต์หทัย ฤทธิไตรภพ
kanhathai.lek19@gmail.com
อำนาจ จันทร์แป้น
kanhathai.lek19@gmail.com
วารุณี โพธาสินธุ์
kanhathai.lek19@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย วิชาประวัติศาสตร์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีสอนแบบโมเดลซิปปาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย วิชาประวัติศาสตร์ไทย โดยวิธีสอนแบบโมเดลซิปปา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเชียงใหม่มัธยม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 44 คน โดยได้จากการเลือกแบบการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวทดสอบก่อนหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย วิชาประวัติศาสตร์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีสอนแบบโมเดลซิปปาที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.10/80.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโมเดลซิปปา เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 องค์ความรู้จากการวิจัย คือ วิธีสอนแบบโมเดลซิปปาโดยใช้บทเรียนที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับสภาพท้องถิ่นหรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เป็นกระบวนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิดและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ สามารถสร้างความรู้ ค้นพบความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีบทบาทมากในกิจกรรมการเรียนการสอน และผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้</p>
2024-11-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/266060
การสังเคราะห์รูปแบบหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ร่วมกับรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส
2023-12-26T10:39:32+07:00
พรทิพย์ เกิดถาวร
s6102042910013@email.kmutnb.ac.th
จิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์
s6102042910013@email.kmutnb.ac.th
กฤช สินธนะกุล
s6102042910013@email.kmutnb.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ร่วมกับรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ และ 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ร่วมกับรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเด็นสนทนากลุ่มและแบบประเมินความเหมาะสม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐบาลและสถานศึกษาระดับเอกชน จำนวน 11 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ จำนวน 9 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ร่วมกับรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส 4 องค์ประกอบ คือ (1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (2) หลักการของรูปแบบฝึกอบรม (3) กระบวนการฝึกอบรม (4) การวัดผลประเมินผล โดยมีขั้นตอนกระบวนการฝึกอบรม 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) เตรียมความพร้อม (2) วางแผนร่วมกัน (3) วิเคราะห์และออกแบบร่วมกัน (4) นำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (5) จัดการเรียนรู้และสังเกตการสอน (6) สะท้อนคิด 2) การประเมินมาตรฐานคุณภาพรูปแบบทุกด้านจากผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.84; S.D.=0.13) ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนได้ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้รูปแบบหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ร่วมกับรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสที่เรียกว่า PEMF2C2L Model ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์</p>
2024-12-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/263559
การใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียนพิการซ้อน โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่
2023-09-13T12:07:13+07:00
สรสิช ป่านคำ
sorasit155@gmail.com
อำนาจ จันทร์แป้น
sorasit155@gmail.com
ศรีทัย สุขยศศรี
sorasit155@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแผนการสอนเฉพาะบุคคลในการพัฒนาทักษะการจำพยัญชนะไทยสำหรับนักเรียนพิการซ้อน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้ชุดกิจกรรมทักษะการจำพยัญชนะไทย สำหรับนักเรียนพิการซ้อน ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรม เป็นวิจัยเชิงทดลอง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 7 คน เลือกศึกษานักเรียนพิการซ้อนจำนวน 3 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แผนการสอนเฉพาะบุคคล 2) แบบประเมินแบบประเมินค่าความเหมาะสมของแผนการสอนเฉพาะบุคคล 3) แบบประเมินผู้เรียนด้านทักษะการจำพยัญชนะไทยของนักเรียนพิการซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตารางประกอบคำบรรยาย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการหาประสิทธิภาพแผนการสอนเฉพาะบุคคล โดยใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียนพิการซ้อน โรงเรียนศรีสังวาลเชียงใหม่ จากการตรวจสอบแผนการสอนเฉพาะบุคคลของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.53) 2) การเปรียบเทียบผลใช้ชุดกิจกรรมในการพัฒนาทักษะการจำพยัญชนะไทย ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมของนักเรียนพิการซ้อนพบว่า ก่อนการใช้ชุดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 45 และหลังการใช้ชุดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 90 โดยนักเรียนมีทักษะการจำพยัญชนะไทยเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมาก องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) การนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการซ้อนในช่วงชั้นอื่นได้ 2) การนำไปใช้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้เกิดรูปแบบอื่นได้ 3) การปรับปรุงให้เหมาะสมกับช่วงวัยและบริบทของโรงเรียนแต่ละแห่ง</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/266225
พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติจังหวัดบึงกาฬ
2023-12-28T08:20:35+07:00
คเชนทร์ วัฒนะโกศล
khachen.w@srru.ac.th
วันทกาญจน์ สีมาโรฤทธิ์ การ์ด
khachen.w@srru.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จังหวัดบึงกาฬ และเพื่อศึกษาความต้องการด้านส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จังหวัดบึงกาฬ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกแบบบังเอิญจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดบึงกาฬ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบทีและการทดสอบเอฟ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ นิยมเดินทางท่องเที่ยวร่วมกับเพื่อนสนิท และส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวครั้งแรกด้วยรถยนต์ส่วนตัว โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางน้อยกว่า 5,000 บาท/ครั้ง สถานที่เลือกชมเที่ยวเป็นอันดับแรก คือ สถานที่มีชื่อเสียงของจังหวัดด้วยการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต โดยได้พักค้างแรมที่รีสอร์ทใกล้เคียงเพื่อพักผ่อนหย่อนใจและชื่นชมธรรมชาติ สถานที่ชื่นชอบมากที่สุด คือ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าสงวนแห่งชาติภูสิงห์ สำหรับความต้องการของนักท่องเที่ยวพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.96; S.D.=0.49) ด้านที่มีความต้องการมากที่สุด คือ ด้านบุคลากรการท่องเที่ยว (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.16; S.D.=0.54) และน้อยที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.44; S.D.=0.90) ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีพฤติกรรมและความต้องการต่อการจัดการการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดบึงกาฬแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักท่องเที่ยวที่มีเพศแตกต่างกัน พฤติกรรมและความต้องการต่อการจัดการการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดบึงกาฬไม่แตกต่างกัน องค์ความรู้จากการวิจัย คือ พฤติกรรมและความต้องการด้านส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวทั้งหมด 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านราคา 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 4) ด้านส่งเสริมการขาย 5) ด้านบุคลากร 6) ด้านลักษณะทางกายภาพ 7) ด้านกระบวนการบริการ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติจังหวัดบึงกาฬ</p>
2024-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/267297
การสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยา เพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้และการคิดเชื่อมโยงเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดลำพูน
2024-01-29T15:15:29+07:00
ธรณิช เมืองมูล
thoranit@live.com
พิชญ์สินี ชมภูคำ
phichsinee@feu.edu
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชื่อมโยงเชิงวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน จำนวน 1 ห้องเรียน 40 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม เป็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาฯ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของแอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาฯ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5) แบบทดสอบการคิดเชื่อมโยงเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้แผนผังกราฟิก 6) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ฐานนิยม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การแปรผัน การทดสอบทีและการทดสอบแซต</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาฯ ประกอบด้วยข้อความ ภาพ 2 มิติและกราฟิก 3 มิติ ผสมผสานกับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ประสิทธิภาพเชิงเหตุผลอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> คือ 77.7/75.3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) หลังเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาฯ การทดสอบทีด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การทดสอบแซดด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชื่อมโยงเชิงวิทยาศาสตร์ นักเรียนมากกว่าร้อยละ 60 ของทั้งหมดอยู่ในระดับดีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนพบว่า หลังเรียน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรจัดการเรียนร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและส่งผลถึงผลการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/271767
การพัฒนาการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครปฐม
2024-07-19T16:04:20+07:00
กฤตสุชิน พลเสน
kitsuchin.pon@mbu.ac.th
พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม
maghavin.pur@mbu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มัคนายก กรรมการวัด ภิกษุ สามเณร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าอาวาส และเจ้าคณะเขตปกครอง จำนวน 264 รูป/คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 30 ข้อ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ประกอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยของพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา ด้านการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวมีค่าสูงสุด รองลงมา คือ ด้านลักษณะแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว ส่วนด้านรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวมีค่าต่ำสุด โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.73; S.D.=0.18) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับองค์ประกอบที่สำคัญของการท่องเที่ยว 6 ประการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาพบว่า มีตัวแปรการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวที่ทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (P-value=0.000) ตัวแปรทั้ง 3 อธิบายการผันแปรของปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาได้ร้อยละ 69.6 (R<sup>2</sup>=0.696) 4) รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาควรคำนึงองค์ประกอบการท่องเที่ยว 6 ประการ คือ 1. ความดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว 2. แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 3. การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว 4. สิ่งอำนวยความสะดวก 5. จุดเด่นด้านความปลอดภัย 6. จุดเด่นในกิจกรรม องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้ผลผลิตและผลลัพธ์ของการพัฒนา 3 ประการ คือ 1) เป็นแหล่งประกอบศาสนกิจ 2) เป็นแหล่งพบปะบัณฑิตผู้ทรงภูมิรู้ทางธรรม 3) เป็นแหล่งแสวงบุญทางพระศาสนา</p>
2024-12-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/269396
การธำรงชาติพันธุ์ของชาวไทตาดในบริบทความหลากหลายทางชาติพันธุ์
2024-05-14T16:25:45+07:00
เทพรักษ์ สุริฝ่าย
theparak.su@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมของชาวไทตาด และ 2) เพื่อศึกษาการธำรงชาติพันธุ์ของชาวไทตาดในบริบทความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นกระบวนการรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสังเกต สำรวจและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 45 รูป/คน ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาด้วยทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์และทฤษฎีการธำรงชาติพันธุ์เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยแล้วนำเสนอรายงานผลการวิจัยด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ชาวไทตาดเป็นกลุ่มชนที่มีประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้ายมาจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีความเชื่อเรื่องผีรูปแบบต่าง ๆ คอยทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของคนในกลุ่ม มีวิถีชีวิต ภาษา ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีอย่างเฉพาะตัว ดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยมีป่าชุมชนเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันภายใต้ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ชาวไทตาดยังคงไว้ซึ่งความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทตาด โดยสามารถธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนไว้ได้ เช่น ภาษา ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม องค์ความรู้จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ชาวไทตาดยังคงรักษาอัตลักษณ์ของตนอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการปรับตัวทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวและนำทรัพยากรทางวัฒนธรรมเดิมมาแสดงอัตลักษณ์ของตนในเชิงการท่องเที่ยวเพื่อรักษาความมีตัวตนทางวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่สืบต่อไป โดยไม่ถูกกลืนกลายด้วยวัฒนธรรมกระแสหลักในท้องถิ่นและยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมกระแสหลักได้อย่างกลมกลืนจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นชาติพันธุ์ที่ 9 ของจังหวัดนครพนม และเชื่อว่า จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมอย่างยั่งยืน</p>
2024-12-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/270549
ผลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อพฤติกรรมพลเมืองดีในองค์การของพนักงานองค์การธุรกิจในจังหวัดเชียงราย
2024-06-26T14:43:09+07:00
สมเดช มุงเมือง
somdet.mu@western.ac.th
<p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและพฤติกรรมพลเมืองดีในองค์การของพนักงานองค์การธุรกิจในจังหวัดเชียงราย และศึกษาผลของลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่มีต่อพฤติกรรมพลเมืองดีในองค์การของพนักงานองค์การธุรกิจในจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยสุ่มแบบเจาะจงจากพนักงานองค์การธุรกิจในจังหวัดเชียงราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์การถดถอดพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานองค์การธุรกิจในจังหวัดเชียงรายมีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.510; S.D.=0.464) โดยบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนพฤติกรรมพลเมืองดีในองค์การ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.793; S.D.=0.525) โดยพฤติกรรมด้านคำนึงถึงผู้อื่นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ 4 แบบ ได้แก่ แบบมีจิตสำนึก แบบประนีประนอม แบบเปิดรับประสบการณ์ และแบบเปิดเผยแสดงตัว ส่งผลทางบวกต่อพฤติกรรมพลเมืองดีในองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถทำนายพฤติกรรมได้ร้อยละ 36.8 (R<sup>2</sup>=0.368) ส่วนบุคลิกภาพแบบความมั่นคงทางอารมณ์ไม่มีผลต่อพฤติกรรมพลเมืองดีในองค์การ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ ลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบมีบทบาทในการส่งเสริมและอำนวยให้เกิดพฤติกรรมพลเมืองดีในองค์การ ดังนั้น ผู้บริหารสามารถใช้เป็นประโยชน์ในการคัดเลือกและพัฒนาพนักงานให้มีบุคลิกภาพในระดับสูง เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมพลเมืองดีในองค์การและมีส่วนช่วยให้องค์การมีประสิทธิผลมากขึ้น</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/271378
ความยุติธรรมในองค์กร ภาวะผู้นำที่แท้จริง และความพึงพอใจ ในงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากร ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา
2024-08-07T12:23:02+07:00
ชณภา ปุญณนันท์
drchon.cck@gmail.com
ชุณิภา เปิดโลกนิมิต
chunipha@hotmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความยุติธรรมในองค์กร ภาวะผู้นำที่แท้จริง ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดี 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรความยุติธรรมในองค์กร ภาวะผู้นำที่แท้จริง ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรความยุติธรรมในองค์กร ภาวะผู้นำที่แท้จริงและความพึงพอใจในงานฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 800 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรรับรู้ความยุติธรรมในองค์กร ภาวะผู้นำที่แท้จริง ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีในระดับสูง <em>(<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /></em><em>=</em>3.68; S.D.=0.39) 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรความยุติธรรมในองค์กร ภาวะผู้นำที่แท้จริง ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=94.81; df=86; GFI=0.97; AGFI=0.95; RMSEA=0.018) 3) การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรความยุติธรรมในองค์กร ภาวะผู้นำที่แท้จริง ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีพบว่า ภาวะผู้นำที่แท้จริงและความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีอย่างมีนัยสำคัญ โดยภาวะผู้นำที่แท้จริงมีอิทธิพลสูงสุด ส่วนความยุติธรรมในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีอย่างไม่มีนัยสำคัญ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ ภาวะผู้นำที่แท้จริงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี หากผู้นำมีความตระหนักรู้ในตนเอง มีความโปร่งใส มีจริยธรรม และมีการประมวลผลอย่างสมดุลจะจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นสมาชิกที่ดีและทุ่มเทในการทำงานเพื่อองค์กร นอกจากนี้ ความพึงพอใจในงานยังส่งผลให้บุคลากรมีความพึงพอใจในงานสูง มีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือองค์กรด้วยความเต็มใจ เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้งสามร่วมกันพบว่า สามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีได้ถึงร้อยละ 95</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/266191
การพัฒนาทักษะการสอนของครูปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาด้วยเครื่องมือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง ในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร
2024-10-08T14:07:59+07:00
นิธินาถ อุดมสันต์
noiudomsan@gmail.com
ศักดิ์ศรี สืบสิงห์
noiudomsan@gmail.com
สุภิมล บุญพอก
noiudomsan@gmail.com
ฟ้าสวย ตรีโอษฐ์
noiudomsan@gmail.com
วิชิต ถิระเดโชชัย
noiudomsan@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูปฐมวัย 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูปฐมวัยในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ดและยโสธรที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูปฐมวัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 100 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูปฐมวัยด้วยเครื่องมือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=2.73; S.D.=0.49) ส่วนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.66; S.D.=0.44) 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูปฐมวัยด้วยเครื่องมือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมองพบว่า ภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยคะแนนเฉลี่ยภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) ความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.64; S.D.=0.43) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า หัวข้อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน่าสนใจ มีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ การกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้คู่มือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ