TY - JOUR AU - อินทรเสนา, นพดล AU - ศรีปรัชยานนท์, สมจันทร์ AU - ปัดแก้ว, ณรงค์ PY - 2021/12/13 Y2 - 2024/03/29 TI - พระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้: กรณีศึกษาพระราชจินดานายก วัดพระเจดีย์ซาวหลัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง JF - วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ JA - วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ VL - 6 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/245463 SP - 514-528 AB - <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและบทบาทการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของพระราชจินดานายกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดลำปาง 3) เพื่อศึกษาบทบาทและผลสัมฤทธิ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดลำปางของพระราชจินดานายก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การสืบค้นเอกสาร การสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกพระสงฆ์ที่เป็นแกนนำ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทและผลสัมฤทธิ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดลำปาง</p><p>ผลการศึกษา พบว่า 1) แนวคิดและบทบาทการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของพระภิกษุได้อาศัยแนวคิดความเกื้อกูลระหว่างกันและมีบทบาทในด้านการปลูกจิตสำนึก การปกครอง การประชาสัมพันธ์ การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและประชาชน การป้องกันการบุกรุกทำไร่เลื่อนลอย การป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าและการฟื้นฟูสภาพป่า 2) ผลงานที่สำคัญของพระราชจินดานายก เช่น การเผยแผ่ การปกครอง สาธารณูปการ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และการศึกษาสงเคราะห์ 3) บทบาทและผลสัมฤทธิ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ได้แก่ การดำรงตำแหน่งทางการคณะสงฆ์ ความเป็นผู้นำ ส่วนสัมฤทธิผล ได้แก่ การเพิ่มเนื้อที่ป่า การประสานงานกับหน่วยงานราชการและชุมชนเพื่อป้องกัน รักษาและปลูกจิตสำนึกในการรักษาป่า องค์ความรู้จากการวิจัย ได้แก่ บทบาทและสัมฤทธิผลเกิดจากปัจจัย 2 ประการ คือ 1) หลักปฏิบัติ/พระธรรมวินัย 2) วิถีชีวิตชุมชน ทั้งนี้ ต้องตระหนักถึงทรัพยากรป่าไม้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ 1) ความเกื้อกูล 2) ความกตัญญูกตเวทิตา 3) ความสมดุลของธรรมชาติที่ต้องได้รับความร่วมมือจากพระสงฆ์ในการบูรณาตามความเชื่อของสังคมให้ตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติร่วมกัน</p> ER -