TY - JOUR AU - พุทธนา, ฝนพรม AU - สพฤกษ์ศรี, สุวิมล PY - 2021/01/15 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์) เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร JF - วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ JA - วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ VL - 6 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/243403 SP - 29-47 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกหลังการจัดการเรียนรู้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีการและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์หลังการจัดการเรียนรู้ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=13.85, S.D.=1.81) สูงกว่าผลก่อนการจัดการเรียนรู้ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=8.53, S.D.=1.99) 2) ผลการประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเป็นรายข้อหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุก ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}">=3.69, S.D.=0.58) และ 3) การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า สิ่งที่นักเรียนชื่นชอบ เช่น สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้ สิ่งที่นักเรียนไม่ชื่นชอบ เช่น เวลาไม่เพียงพอในการเรียนรู้ ปัญหาการร่วมกิจกรรมกลุ่ม องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) การจัดการเรียนรู้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์ได้ รูปแบบการเรียนรู้แนวคิดนี้จึงเหมาะกับการนำไปใช้ในสาระการเรียนรู้อื่นหรือในระดับชั้นอื่นเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) แนวคิดการเรียนนี้สามารถพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี เหมาะกับรายวิชาและระดับชั้นอื่นที่จะพัฒนารูปแบบความคิดอื่นต่อไป 3) แนวคิดนี้มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด จึงควรปรับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทในการเรียนรู้</p> ER -