@article{(วงค์ใส)_พระครูประวิตรวรานุยุต_(วงศ์ษา)_2021, title={โทษประหารชีวิต: ใครมีสิทธิ์ ชีวิตเป็นของใคร}, volume={6}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/244631}, abstractNote={<p>          บทลงโทษทางอาญาขั้นสูงสุดที่มีใช้มาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน คือ โทษประหารชีวิต เป็นการทำลายล้างชีวิตของผู้กระทำความผิด จึงสวนทางกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตอยู่และมีการเรียกร้องให้ยกเลิกโทษชนิดนี้ ถ้าพิจารณาทางด้านอาชญาวิทยาว่าด้วยการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา การลงโทษประหารชีวิตถือเป็นการแก้แค้นทดแทนและเป็นการตัดโอกาสการกระทำความผิดในครั้งต่อไป</p> <p>          บทความนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นพิจารณาข้อโต้แย้งทางจริยศาสตร์ เรื่องโทษประหารชีวิต ด้วยการนำเสนอเหตุผลทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน ตามทฤษฎีจริยศาสตร์ตะวันตกที่สำคัญ 2 แนวคิด มาพิจารณาปัญหาในแง่จริยศาสตร์ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนโทษประหารชีวิตที่เชื่อว่า โทษประหารชีวิตเป็นเครื่องมือที่จำเป็นของกระบวนการยุติธรรมและการป้องกันอาชญากรรม สามารถยับยั้งอาชญากรรมได้มากกว่าโทษจำคุก โดยใช้จริยศาสตร์แนวประโยชน์นิยมของจอห์น สจ๊วต มิลล์ ส่วนฝ่ายคัดค้านยึดจริยศาสตร์สัมบูรณ์นิยมของอิมมานูเอล ค้านท์ ที่แย้งว่า มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี การประหารชีวิตเป็นเรื่องไร้มนุษยธรรม การทำลายชีวิตผิดทุกกรณี แม้จะก่อให้เกิดประโยชน์เพียงใดก็ตาม ขณะเดียวกันพุทธจริยศาสตร์ในฐานะที่เป็นแนวคิดรากฐานความประพฤติของคนในสังคมไทย มีท่าทีและเจตคติในการพิจารณาที่น่าสนใจเพื่อเปรียบเทียบเป็นเกณฑ์ตัดสินด้วยเช่นกัน องค์ความรู้ใหม่ คือ การได้แนวคิดที่ว่า โทษประหารชีวิตไม่ขัดกับแนวทางของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในของเรื่องศีล 5 ที่เป็นหลักการค้ำจุนความยุติธรรมที่มีเหตุผล ภายใต้เงื่อนไขเรื่องกฎแห่งกรรม</p>}, number={1}, journal={วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ }, author={(วงค์ใส) พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ and พระครูประวิตรวรานุยุต and (วงศ์ษา) พระครูปลัดธันรบ โชติวํโส}, year={2021}, month={ก.พ.}, pages={97–115} }