@article{ศรีแก้ว_2020, title={มรดกภูมิปัญญาไทยในวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวิถีสังคมไทย}, volume={5}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/242978}, abstractNote={<p>          บทความนี้ได้ศึกษาวิเคราะห์ภูมิปัญญาไทยในวรรณคดีที่มีความสำคัญต่อวิถีสังคมไทย ในการศึกษาได้วิเคราะห์ภูมิปัญญาซึ่งมีอิทธิพลใน 2 แง่ คือ 1. อิทธิพลในแง่ความเชื่อ ค่านิยมและอุดมการณ์ โดยจำแนกได้ 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการดำรงชีวิต  2) ด้านความเชื่อ 3) ด้านแง่คิดเกี่ยวกับการพูด 2. อิทธิพลในแง่สภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคมและภูมิศาสตร์ จำแนกเป็น 11 ด้าน ดังนี้ 1) การตั้งถิ่นฐาน 2) การสร้างที่อยู่อาศัย 3) การประกอบอาชีพ 4) การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ 5) การประกอบอาหารและการเก็บถนอมอาหาร 6) การรักษาพยาบาล 7) การควบคุมสังคม 8) การเดินทาง 9) การติดต่อสื่อสาร 10) การถ่ายทอดความรู้ และ 11) การบันเทิง ภูมิปัญญาทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ควรตระหนักเห็นคุณค่าด้วยการช่วยกันรักษาและสืบทอดวรรณคดีในฐานะบ่อเกิดของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ส่วนองค์ความรู้ใหม่ ประการแรก จะเห็นว่า อิทธิพลด้านความเชื่อ ค่านิยมและอุดมการณ์ล้วนสอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและถูกถ่ายทอดเป็นจิตรกรรมในโบราณสถานเป็นส่วนใหญ่ ประการที่สอง อิทธิพลด้านสภาพแวดล้อมและภูมิศาสตร์สอดคล้องกับเรื่องปัจจัย 4 ประการ คือ 1) เครื่องนุ่งห่ม เช่น ภูมิปัญญาด้านการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ 2) อาหาร เช่น การประกอบอาชีพ การประกอบอาหารและการเก็บถนอมอาหาร 3) ที่อยู่อาศัย เช่น การตั้งถิ่นฐาน การสร้างที่อยู่อาศัย และ 4) ยารักษาโรค เช่น การรักษาพยาบาล</p>}, number={1}, journal={วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ }, author={ศรีแก้ว พิงพร}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={171–185} }