TY - JOUR AU - พวยอ้วน, วาสนา PY - 2021/12/28 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา โดยการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค JF - วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี JA - journaldru VL - 14 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/253484 SP - 57-75 AB - <p>การวิจัยได้พัฒนาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและพัฒนาแบบวัดการรับรู้ ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาส ภาคตะวันออกจำนวน 400คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอนจากครูที่ปรึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ภาคตะวันออก ระยะที่ 2 การพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรม การปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปรึกษาที่มีคะแนนการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 โดยวิธีสุ่มแบบหลาย ขั้นตอนแล้วตามความสมัครใจได้จำนวน 24 คน สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่ม เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน เครื่องมือในการวิจัยนี้ประกอบด้วย แบบวัดการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา จำนวน 29ข้อ ที่พัฒนาในระยะที่1และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการรับรู้ ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา เก็บข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะ ติดตามผล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการทดสอบสมมติฐานด้วยการ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปร ภายในกลุ่ม และทดสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีทดสอบแบบนิวแมนคูลส์ผลการวิจัย พบว่า แบบวัดการรับรู้ความสามารถ แห่งตนของครูที่ปรึกษา การเป็นครูที่ปรึกษาฯ ที่ดีต้องมี7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การรับรู้การมีส่วนร่วม ตัดสินใจในโรงเรียน 2. การรับรู้การมีส่วนร่วมการดำเนินงานทรัพยากรของโรงเรียน 3. การรับรู้พฤติกรรม การสอน 4. การรับรู้การส่งเสริมวินัยในนักเรียน 5. การรับรู้การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 6. การรับรู้การมี ส่วนร่วมของชุมชน และ 7. การรับรู้การมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ดีในโรงเรียน ส่วนผลของพัฒนา โปรแกรมและศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตน ของครูที่ปรึกษา พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ครูที่ปรึกษาที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมี การรับรู้ความสามารถแห่งตนในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ER -