@article{ชอุ่ม_ประดุจพรม_พานทอง_2020, place={Bangkok, Thailand}, title={การพัฒนาระบบคลังคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี: การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ}, volume={14}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/253208}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาระบบ คลังคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกคำโดยการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับเกณฑ์การคัดเลือกคำ2) การพัฒนาระบบคลังคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน และประเมิน ความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญและความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้งาน สามารถเข้าถึงได้ที่ www.thai-nbw.com ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. เกณฑ์การคัดเลือกคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) คำที่มี ความหมายชัดเจน 2) คำที่ไม่ใช้เฉพาะกลุ่ม 3) คำที่คุ้นเคย และ 4) คำที่ไม่มีความคลุมเครือ 2. ระบบคลัง คำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันซึ่งบรรจุคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 203 คำที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหา ดังนี้ 1) คำที่มีความหมายชัดเจน จำนวน 59 คำมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.96 2) คำที่ไม่ใช้เฉพาะกลุ่ม จำนวน 40 คำมีค่าดัชนี ความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.91 3) คำที่คุ้นเคย จำนวน 60 คำมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.97 และ 4) คำที่ไม่มีความคลุมเครือ จำนวน 44 คำมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.91 ระบบคลังคำทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญ และมีความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้งานอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54</p>}, number={2}, journal={วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี}, author={ชอุ่ม นิรมล and ประดุจพรม ปิยะทิพย์ and พานทอง กนก}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={38–52} }