วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr <p><strong>วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ </strong><br /><strong>Journal of Management Science Research, Surindra Rajabhat University</strong></p> <p><strong>ISSN 3056-9990 (Print)</strong><br /><strong>ISSN 3057-000X (Online)</strong></p> <p>วารสารมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย โดยมีขอบเขตของวารสาร ได้แก่ การบัญชี / การเงินและการธนาคาร / การจัดการธุรกิจ / การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ / การจัดการนวัตกรรม / การเป็นผู้ประกอบการ / การบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กร / ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ / การท่องเที่ยวและโรงแรม / เทคโนโลยีสารสนเทศ / การตลาด / นิเทศศาสตร์และการสื่อสาร / เศรษฐศาสตร์</p> <p><strong>การกำหนดเผยแพร่วารสาร</strong></p> <p>กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ</strong></p> <p>แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย </p> <p>รับตีพิมพ์บทความทั้ง บทความภาษาไทย และบทความภาษาอังกฤษ</p> <p><strong><br />เงื่อนไขการตีพิมพ์</strong></p> <p>บทความแต่ละบทความจะได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ (Peer Review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและมีความหลากหลายจากแต่ละสถาบัน จำนวน 3 ท่าน ทั้งนี้ ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) อย่างไรก็ตาม บทความที่ผ่านการประเมินแล้วจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ <br /><br /></p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความของวารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์</strong> มีดังนี้</p> <p>1. บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ฉบับภาษาไทย จำนวน 3,000 บาท/บทคความ<br />2. บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ฉบับภาษาอังกฤษ จำนวน 4,500 บาท/บทความ</p> <p><strong>หมายเหตุ:</strong> 1. วารสารจะแจ้งให้ท่านชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความก็ต่อเมื่อบทความของท่าน ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการแล้วเท่านั้น<br /> 2. การชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารทุกรายการ เป็นค่าดำเนินการของวารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ซึ่งหากบทความของท่านไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ลงในวารสารจากผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 2 ใน 3 ท่าน หรือถูกปฏิเสธการลงตีพิมพ์จากประเด็นด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณหรือด้านอื่น ๆ ทางวารสารจะไม่คืนเงินธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ</p> <p><br /><strong>คำชี้แจงขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ </strong><br /><strong>1. ขอให้ผู้นิพนธ์ส่งไฟล์เอกสารผ่านระบบ ThaiJo ประกอบด้วย</strong><br /> 1.1 บทความวิจัย/บทความวิชาการ ในรูปแบบไฟล์ Word จำนวน 1 ไฟล์<br /> 1.2 แบบฟอร์มส่งบทความ จำนวน 1 ไฟล์<br /> <strong> *** ขอให้ผู้ส่งบทความตรวจสอบความถูกต้องของชื่อและสังกัดของผู้วิจัย รูปแบบเนื้อหาและการอ้างอิงตรงตามรูปแบบที่วารสารกำหนดเท่านั้น <em>วารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการพิจารณาบทความเบื้องต้น หากท่านไม่ได้ส่งบทความตามข้อกำหนดของวารสาร</em>***</strong><br /> กรุณาศึกษาจาก <a href="https://jmsr.srru.ac.th/wp-content/uploads/2021/08/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.pdf">คำแนะนำสำหรับผู้เขียน</a> (Click)<br /> <strong>2. เมื่อไฟล์เอกสารครบถ้วนแล้ว ทางกองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น </strong>ตามข้อกำหนดของวารสาร หากผ่านการพิจารณาบทความเบื้องต้น ทางวารสารจะแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารก่อนการตรวจประเมินคุณภาพบทความ <br /><strong>3. ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสาร </strong>กำหนดให้โอนชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารผ่านทางบัญชีธนาคาร โดยผู้นิพนธ์จะได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่วารสารเท่านั้น <strong>ทั้งนี้</strong> เมื่อชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว กรุณาจัดส่งหลักฐานการชำระเงินผ่านทางกระทู้ ThaiJO ตามรายละเอียดที่แจ้ง พร้อมให้ท่านแนบสลิปการโอนเงิน</p> คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ th-TH วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 3056-9990 ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านการไลฟ์สดจากแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/262204 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ และกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านการไลฟ์สดจากแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย 1). เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ 2). เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านการไลฟ์สดจากแพลตฟอร์มออนไลน์ และ 3). เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านการไลฟ์สดจากแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทยที่ซื้อสินค้าผ่านการไลฟ์สดจากแพลตฟอร์มออนไลน์ จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลค่าทางสถิติตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านการส่งเสริมทางการตลาดส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านไลฟ์สดบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากที่สุด ดังนั้นผู้ประกอบต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาด อาทิ มีการจัดโปรโมชั่นที่น่าสนใจหรือมีการบริการส่งฟรีอย่างสม่ำเสมอ ร้านค้าใช้บุคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซนเตอร์สินค้า และโฆษณา หรืออัพเดตข้อมูลสินค้าใหม่ ๆ ก่อนการไลฟ์ เป็นต้น เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า และเพิ่มยอดขาย</p> ชินจิรัฎฐ์ จรัญศิริไพศาล ภรณี หลาวทอง สันติ ครองยุทธ กมลทิพย์ ปริชาตินนท์ สุรเกียรติ ปริชาตินนท์ มาโนช ริทินโย Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-09 2024-12-09 8 3 445 457 การศึกษาเชิงวิเคราะห์สุขสมดุลของบุคคลวัยทำงานภาคเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/262167 <p> การวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง “สุขสมดุล” ของบุคคลวัยทำงานภาคเอกชนในปัจจุบัน ทั้งสภาวะที่ต้องเผชิญ การรับมือ และการบริหารจัดการ อีกทั้งเพื่อทราบถึงมุมมองในการผสมผสานระหว่างงาน ครอบครัว และชีวิตส่วนตัว รวมถึงปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการประสานสัมพันธ์ระหว่างงาน ครอบครัว และชีวิตส่วนตัวของบุคคลวัยทำงานภาคเอกชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านจิตวิทยาที่เรียกว่า การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ (IPA) และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับบุคคลวัยทำงานภาคเอกชน ที่มีอายุระหว่าง 28 – 40 ปี จำนวน 10 คน โดยเป็นผู้ที่มีความสมัครใจในการให้ข้อมูลและพร้อมที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของตน บทความวิจัยนี้มุ่งนำเสนอใจความสำคัญของ “นิยามความหมายของชีวิตสุขสมดุลของบุคคลวัยทำงาน” ผลการศึกษาพบว่า “ชีวิตสุขสมดุล” คือ ชีวิตที่บุคคลสามารถจัดสรรแบ่งเวลาด้านการทำงาน ด้านครอบครัว และด้านส่วนตัวได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ต้องมีความกังวล หรือความลำบากในการจัดการมากเกินไป สามารถบริหารและจัดการความคาดหวังของทุกฝ่ายให้เป็นไปได้อย่างนุ่มนวล รวมถึงการไม่ทำงานหนัก หรือมีความเครียดจน เกินไป สามารถผ่อนคลายและหาความสุขให้ตัวเองได้ มีเวลาให้ตนเองได้ทำในสิ่งที่ต้องการ โดยการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับตัวเองและสถานการณ์ต่าง ๆ ในแต่ละวัน สู่ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อีกทั้ง ผลการวิจัยยังพบว่า ครอบครัวนับเป็นส่วนสำคัญของการมีชีวิตที่สุขสมดุลของบุคคลวัยทำงาน ทั้งนี้ บุคคลวัยทำงานมองว่าการผสมผสานระหว่างงาน ครอบครัว และชีวิตส่วนตัวเข้าด้วยกันอย่างลงตัวนั้น สามารถทำได้โดยมีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการประสานสัมพันธ์ระหว่างงาน ครอบครัว และชีวิตส่วนตัว คือ 1) ความเข้าใจของบุคคลในครอบครัว 2) การมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง 3) การมีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) 4) การมีกรอบความคิด (mindset) ที่ดี 5) วัฒนธรรมองค์กรและสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และ 6) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ผลการวิจัยดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอแนะการพัฒนาโปรแกรมชีวิตสุขสมดุลของบุคคลวัยทำงานได้ในลำดับต่อไป</p> ชนินาฏ วัฒนา เพ็ญนภา กุลนภาดล ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-09 2024-12-09 8 3 458 472 อิทธิพลของกลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านโชห่วยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรณีศึกษา กลุ่มอาหารสด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/267282 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของกลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้าน โชห่วยของกลุ่มอาหารสดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนำเครื่องมือส่วนประสมทางการตลาดมาเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ ประกอบด้วยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการจัดการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการและด้านลักษณะทางกายภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการร้านโชห่วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 355 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบการกำหนดโควตา (Quota Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบจําลองการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคทวิ (Binary Logistic Regression) ในการวิเคราะห์ข้อมูล</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านโชห่วยของกลุ่มอาหารสดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (p-value = 0.000) ปัจจัยด้านราคา (p-value = 0.021) ปัจจัยด้านสถานที่/ช่องทางการจำหน่าย (p-value = 0.039) ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด (p-value = 0.023) ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ (p-value = 0.048) และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ (p-value = 0.001) โดยทั้งหกปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านโชห่วย ส่วนปัจจัยกลยุทธ์ทางการตลาดที่ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านโชห่วยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของกลุ่มอาหารสด คือ ปัจจัยด้านบุคลากร (p-value = 0.561)</p> เขตต์ เลิศวิวัฒนพงษ์ มณฑิรา กิจสัมพันธ์วงศ์ อรนุช รู้ปิติวิริยะ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-09 2024-12-09 8 3 473 485 ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่ต่อความสามารถทางการแข่งขันของสายการบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง ประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/268437 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสำรวจข้อมูลส่วนบุคคล ความคิดเห็นด้านกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่ 4Cs ความคิดเห็นด้านกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่ 4Es และความคิดเห็นความสามารถทางการแข่งขันของสายการบิน (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่ต่อความสามารถทางการแข่งขันของสายการบิน กลุ่มตัวอย่างผู้โดยสารสายการบิน 423 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่าผู้โดยสารที่ตอบแบบสอบถามมากที่สุดอยู่ในกลุ่มอาชีพ ธุรกิจส่วนตัวรองลงมาคือ นิสิต/นักศึกษา มีช่วงอายุ 20-30 ปี ความคิดเห็นด้านกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่ 4Cs และ 4Es อยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 3.920 และ 3.890 ความสามารถทางการแข่งขันของสายการบินอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 3.760 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่ประกอบด้วย 4Es และ 4Cs มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถทางการแข่งขันของสายการบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง โดยมีความสัมพันธ์ระดับมาก เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Sig. 0.000) กลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่สามารถทำให้สายการบินเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้เชิงลึก เพื่อเกิดการใช้บริการสายการบินซ้ำ ส่งผลการเพิ่มผลกำไรที่สูงขึ้นระยะยาว สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่งขันอย่างยั่งยืน ดังนั้นสายการบินควรพัฒนาใช้กลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่ให้เข้าถึงทุกกลุ่มอาชีพ และทุกช่วงอายุอย่างทั่วถึง เพื่อโอกาสในการเพิ่มผลกำไร และการแข่งขันได้แบบยั่งยืน</p> เนตร์ศิริ เรืองอริยภักดิ์ อดุลยรัตน์ แจ่มเล็ก เรวัติ กล้าโชติชัย ศศวิมล วิจารณ์จิตร รอยพิมพ์ เล้าตระกูล ภาสกร จันทร์พยอม ไอยรัชชา อมรพิพัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-09 2024-12-09 8 3 486 498 โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้บริโภค กลุ่ม Gen Y ที่มีต่อร้าน Bellinee’s Bake & Brew สาขาอำเภอเมืองนครปฐม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/258899 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับด้านคุณภาพการบริการ คุณค่าของตราสินค้า การสื่อสารปากต่อปากบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การตัดสินใจซื้อ และความตั้งใจซื้อซ้ำ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของด้านคุณภาพการบริการ การสื่อสารปากต่อปากบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และคุณค่าของตราสินค้า ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ (3) อิทธิพลการตัดสินใจซื้อที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ (4) อิทธิพลคุณภาพการบริการ และคุณค่าของตราสินค้า ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ อาหารและเครื่องดื่มร้าน Bellinee's Bake &amp; Brew สาขาอำเภอเมืองนครปฐม <br /> ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านคุณภาพการบริการ คุณค่าของตราสินค้า การสื่อสารปากต่อปากบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การตัดสินใจซื้อ และความตั้งใจซื้อซ้ำ อยู่ในระดับมาก และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าด้านคุณค่าตราสินค้า และด้านการตัดสินใจซื้อมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของอาหารและเครื่องดื่ม ร้าน Bellinee's Bake &amp; Brew สาขาอำเภอเมืองนครปฐม โดยเมื่อผู้บริโภคได้มีการรับรู้ถึงคุณค่าตราสินค้าและทำการพิจารณาจนเกิดการตัดสินใจซื้อในครั้งแรกแล้ว จะส่งผลให้เกิดความตั้งใจซื้อซ้ำในอนาคต</p> ปภาณัท จิรายุวัฒน์ เกริกฤทธิ์ อัมพะวัต Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-13 2024-12-13 8 3 499 513 ปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/270560 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความจงรักภักดีที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือแผนการตลาดให้กับร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 400 คนเป็นลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างแต่ละอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของลูกค้าที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่พบว่าเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-33 ปี การศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า มีอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน มีรายได้ 5,001-15,000 บาท มีสถานภาพสมรส มีความถี่ 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ในการใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม มีเหตุผลทำเลที่ตั้ง ใกล้ที่ทำงาน/ใกล้บ้าน และมีสินค้าประเภทเครื่องดื่มยี่ห้อต่างๆ ที่ซื้อเป็นประจำ และเมื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม พบว่า เมื่อพิจารณาโดยรวมตัวแปรอิสระทุกตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของลูกค้าที่มีต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ธนเดช กังสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-13 2024-12-13 8 3 514 523 การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง ประเภทสินค้าอะไหล่ตกแต่งรถจักรยานยนต์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/262298 <p> งานวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง ประเภทอะไหล่สินค้าตกแต่งรถจักรยานยนต์ มีวัตถุประสงค์ในการจัดประเภทกลุ่มสินค้าตามมูลค่าและความถี่ในการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทกรณีศึกษา โดยใช้ข้อมูลการเคลื่อนไหวสินค้าของเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2564 โดยใช้ทฤษฎี ABC-FSN Matrix เพื่อจัดประเภทตามกลุ่มสินค้า ซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกสินค้าในกลุ่ม AN มาวิเคราะห์ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงแต่ความถี่ในการใช้งานต่ำ โดยกลุ่ม AN มีจำนวน 9 รายการ รวมเป็นมูลค่า 23,389,749 บาท จากนั้น ผู้วิจัยจึงใช้ทฤษฎี EOQ ในการหาปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดและหาจุดสั่งซื้อใหม่ (ROP) เข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งซื้อ โดยนำทั้ง 9 รายการมาทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (VC) จากทั้งหมด 9 รายการมีเพียง 2 รายการที่มีค่าความแปรปรวนไม่เกิน 0.25 ซึ่งหมายความว่าเป็นรูปแบบความต้องการแบบคงที่และสามารถนำไปคำนวณ EOQ ได้ โดย 2 รายการนี้ คือ 70888FS-21CW, 60215US-50GL ผลการวิจัยสรุปได้ว่าสินค้า 70888FS-21CW มีปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดที่ 944 ชิ้นต่อครั้ง มีจุดสั่งซื้อใหม่ที่ 173 ชิ้น และมีปริมาณสินค้าคงคลังสำรอง 44 ชิ้น รวมถึงมีจำนวนครั้งในการสั่งซื้อลดลงเหลือ 2 ครั้งต่อปีจากแบบปัจจุบัน 3 ครั้งต่อปี และมีสินค้าคงเหลือเฉลี่ยอยู่ที่ 593 ชิ้นต่อปี ซึ่งลดลงจากแบบปัจจุบัน 1,212 ชิ้นต่อปี และสินค้า 60215US-50GL จะมีปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด อยู่ที่ 885 ชิ้นต่อครั้ง มีจุดสั่งซื้อใหม่อยู่ที่ 150 ชิ้น และมีปริมาณสินค้าคงคลังสำรอง 49 ชิ้น รวมถึงมีจำนวนครั้งในการสั่งซื้อลดลงเหลือ 2 ครั้งต่อปี จาก 4 ครั้งต่อปี และมีสินค้าคงเหลือเฉลี่ยอยู่ที่ 464 ชิ้นต่อปี ซึ่งลดลงจากแบบปัจจุบัน 913 ชิ้นต่อปี โดยเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนรวมในการสั่งซื้อรูปแบบปัจจุบันและรูปแบบใหม่ (EOQ) สินค้า 70888FS-21CW มีต้นทุนรวมลดลง 1,408,887.08 บาทต่อปี และ สินค้า 60215US-50GL มีต้นทุนรวมลดลง 1,104,643.65 บาทต่อปี โดยทั้ง 2 รายการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลัง โดยการลดต้นทุนรวมได้ทั้งสิ้น 2,513,530.73 บาทต่อปี โดยคิดเป็นร้อยละ 64.72 ต่อปี</p> อิทธิเทพ ปานหลาย ฐิติมา วงศ์อินตา Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-13 2024-12-13 8 3 524 537 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน M-Commerce https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/269167 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยของการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความเสี่ยง ความไว้วางใจ ความพึงพอใจ และทัศนคติ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน M-commerce ได้แก่ การรับรู้ความเสี่ยงด้านการละเมิดความเป็นส่วนตัวและความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูล ตลอดจนปัจจัยที่มีผลเชิงบวกได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ ความไว้วางใจ ความพึงพอใจและทัศนคติ โดยการสำรวจข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างผู้อาศัยในภาคกลางที่ซื้อสินค้าผ่าน M-commerce จำนวน 385 คน ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test ANOVA สหสัมพันธ์และ สมการถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 26-40 ปี การศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย และมีรายได้ 20,001-30,000 บาทต่อเดือน โดยความพึงพอใจ และทัศนคติมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน M-commerce อย่างมีนัยสำคัญเชิงบวกทางสถิติที่ 0.05 ในขณะที่การรับรู้ความเสี่ยงไม่มีผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนนัยว่าแม้ผู้บริโภคจะรับรู้ถึงบทบาทแต่ความเสี่ยงจากการละเมิดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล ไม่ทำให้ผู้บริโภคกังวลเพราะส่วนใหญ่มีทัศนคติและความพึงพอใจเชิงบวกจากการสั่งซื้อออนไลน์ ประกอบกับในช่วงที่มีวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคหันมาสนในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางM-Commerce มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสและคำนึงถึงความปลอดภัยในการติดเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม การสร้างความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงที่สำคัญควรได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวางต่อเนื่องต่อไป</p> ตรีชฎา เกตุวิจิตร สมบัติ ธำรงสินถาวร สุรัสวดี ราชกุลชัย Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-13 2024-12-13 8 3 538 548 การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น: กรณีศึกษาศิลาโฮมสเตย์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อยกระดับสู่ความยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/269058 <p> การท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชุมชน โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่นวิสาหกิจชุมชนศิลาโฮมสเตย์ จังหวัดขอนแก่น เป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ 1.) วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น 2.) วิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้กับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น และ 3.) พัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 13 คน ประกอบไปด้วย สมาชิกของวิสาหกิจชุมชน เเละผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อประชาสัมพันธ์ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยว วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สร้างกลยุทธ์ด้วย TOWS matrix การพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs และ การระดมสมอง ผลการวิจัยพบว่ากิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนในห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวของวิสาหกิจชุมชนศิลาโฮมสเตย์มีบทบาทสำคัญในการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการการท่องเที่ยว แต่ขาดการวิเคราะห์กิจกรรมอย่างเป็นระบบทำให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้และการจ้างงานให้กับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน คณะผู้วิจัยจึงดำเนินการพัฒนากลยุทธ์ รวมถึงการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และโครงการบริการวิชาการสู่สังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs ข้อ 1 ยุติความยากจน ข้อ 4 การศึกษาอย่างมีคุณภาพ ข้อ 8 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ข้อ 9 โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน และข้อ 11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน</p> สิทธิศักดิ์ โพธิ์ศรี ณัฐภัทร จงอริยตระกูล นวรรณ สืบสายลา Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-14 2024-12-14 8 3 549 562 การรับรู้คุณค่าและความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อ เขตกรุงเทพมหานคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/269521 <p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ 2) ศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อ เขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ใช้รูปแบบวิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการสร้างแบบสอบถามเพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้บริโภคที่เคยรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 483 คน ผลการทดสอบสมมติฐานในด้านปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ พบว่า ปัจจัยการรับรู้คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยการรับรู้คุณค่าด้านราคา และจากผลการทดสอบสมมติฐานในด้านปัจจัยด้านความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ พบว่า ปัจจัยความพึงพอใจความปลอดภัยมีอิทธิพลกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากที่สุด รองลงมาคือ ความพึงพอใจด้านความสะดวกสบายในการใช้งาน ความพึงพอใจด้านการปกป้องผลิตภัณฑ์ ความพึงพอใจด้านการส่งเสริมการขาย และความพึงพอใจด้านประเภทของบรรจุภัณฑ์</p> กัมปนาท ซาตัน กนิษาฐา ฤทธิ์คำรพ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-15 2024-12-15 8 3 563 576 ส่วนประสมทางการตลาดบริการในมุมมองของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/267139 <p> การวิจัย เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาดบริการในมุมมองของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค และส่วนประสมทางการตลาดบริการในมุมมองของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้ากับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า การตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อยู่ในระดับมาก (=4.43) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่าปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกเพราะเป็นร้านที่มีชื่อเสียง รองลงมา ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกเพราะสินค้ามีคุณภาพ และบริการที่ดี และซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกเพราะได้รับอิทธิพลจากผู้คนรอบข้าง และส่วนประสมทางการตลาดบริการของผู้บริโภคต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านราคา รองลงมา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ กับ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ด้านบุคคล ด้านการสร้างและการนำเสนอภาพลักษณ์ และด้านกระบวนการ จากการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณของส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ ด้านการสร้างและการนำเสนอภาพลักษณ์</p> จินตนา จันเรือน สุวิทย์ นามบุญเรือง Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-17 2024-12-17 8 3 577 588 ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/268730 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) เพศ และอาชีพ มีอิทธิพลเชิงลบการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 และสามารถทำนายการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ร้อยละ 3.8 2) อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 และสามารถทำนายการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ร้อยละ 51.7 จากผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขายเสื้อผ้าออนไลน์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถที่จะนำข้อมูลทางด้านส่วนประสมทางการตลาดมาวางแผนปรับปรุงและพัฒนารวมถึงวางแผนกลยุทธ์การตลาดเสื้อผ้าให้ดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> นภัสสร แสงนิล สิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-17 2024-12-17 8 3 589 600 โมเดลความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยในการซื้อสินค้า บนอุปกรณ์มือถือในกลุ่มช่วงวัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/272107 <p> งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยในการซื้อสินค้าบนอุปกรณ์มือถือในกลุ่มช่วงวัย และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของคนไทยในการซื้อสินค้าบนอุปกรณ์มือถือในกลุ่มช่วงวัยประชากรของงานวิจัยเป็นคนไทยที่เคยซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตจำนวน 2,359,089 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นคนไทยอายุ 20-69 ปีที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครที่เคยซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัยที่ต้องการศึกษากลุ่มช่วงวัย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มช่วงวัย Baby Boomers (อายุระหว่าง 50-69 ปี), กลุ่มช่วงวัย X (อายุระหว่าง 35-49 ปี) และกลุ่มช่วงวัย Y (อายุระหว่าง 20-34 ปี) โดยเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามแบบ 7-point Likert scales สอบถามระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและการซื้อสินค้าบนอุปกรณ์มือถือ</p> <p> ผลการวิเคราะห์ปัจจัย พบว่ามีองค์ประกอบ 8 ประการ คือ ความเสี่ยงที่รับรู้ ราคาที่รับรู้ การบอกต่อปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ ภาพลักษณ์ของแบรนด์ ทัศนคติ ความไว้วางใจ คุณค่าที่รับรู้ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรม ผลการทดสอบโมเดล พบว่ามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์และยอมรับสมมติฐานทั้ง 13 ข้อและการวิเคราะห์แบบกลุ่มพหุ (multiple-group analysis) กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มช่วงวัยไม่มีความแตกต่างกัน และสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์รวมในโมเดลเดียวกันได้ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ยอมรับสมมติฐานทั้ง 13 ข้อ สรุปได้ว่า โมเดลความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยในการซื้อสินค้าบนอุปกรณ์มือถือสามารถใช้ได้กับกลุ่มช่วงวัยคนไทยได้</p> วินัย ปัญจขจรศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-18 2024-12-18 8 3 601 615 พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของประชากรในจังหวัดปทุมธานีที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานเสริมความงาม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/260186 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19ของประชากรในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานเสริมความงามของประชากรในจังหวัดปทุมธานี โดยได้ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 173 คนโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Form และทำแบบสอบถามหน้าสถานบริการเสริมความงามโดยตรง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และมีการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ซึ่งกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05</p> <p> ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ประชากรผู้ใช้บริการสถานเสริมความงามที่มีเพศแตกต่างกันในจังหวัดปทุมธานีมีลักษณะพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเพศหญิงจะมีภาพรวมสูงกว่าเพศชายเมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ย 2) ประชากรผู้ใช้บริการสถานเสริมความงามมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานเสริมความงามโดยตัวแปรทำนายที่สำคัญ มี 2 ตัว คือ วัตถุประสงค์การเปิดรับสื่อออนไลน์รองลงมา เหตุผลในการเปิดรับสื่อออนไลน์ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์แต่ละด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานเสริมความงามซึ่งมีค่าความสัมพันธ์กันร้อยละ64.4</p> สิริพรรณวดี จักรวิเศษ องอาจ สิงห์ลำพอง Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-18 2024-12-18 8 3 616 628 ซอฟต์พาวเวอร์มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/268500 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และแนวทางการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบปรากฎการวิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้เทคนิคพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตนั้นมีหลักๆ ด้วยกัน 8 ด้าน ได้แก่ อาหาร ภาพยนตร์ แฟชั่น ศิลปะการต่อสู้ งานเทศกาล ความเชื่อความศรัทธา วัฒนธรรมพื้นบ้าน และ สถาปัตยกรรม 2. แนวทางการสร้างซอฟต์พาวเวอร์มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตนั้นต้องมีการบูรณาการ หรือร่วมมือกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่จะนำมรดกทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ของจังหวัดภูเก็ตมาพัฒนาและผลักดันให้เกิดเป็นซอฟต์พาวเวอร์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภูเก็ต และในขณะเดียวกันก็ต้องมีการอนุรักษ์ รักษา และฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมของภูเก็ตส่งต่อให้เยาวชนรุ่นหลัง เพื่อให้เกิดการสืบทอดความรู้ต่อไป</p> หิรัญญา กลางนุรักษ์ สันติธร ภูริภักดี มนัสสินี บุญมีศรีสง่า Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-20 2024-12-20 8 3 629 641