https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/issue/feed วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-03-13T16:12:27+07:00 ผศ.ทรงกลด พลพวก [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ </strong><br /><strong>Journal of Management Science Research, Surindra Rajabhat University</strong></p> <p><strong>ISSN 2586 – 8691 (Print)</strong><br /><strong>ISSN 2730 – 1877 (Online)</strong></p> <p>วารสารมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย โดยมีขอบเขตของวารสาร ได้แก่ การบัญชี / การเงินและการธนาคาร / การจัดการธุรกิจ / การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ / การจัดการนวัตกรรม / การเป็นผู้ประกอบการ / การบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กร / ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ / การท่องเที่ยวและโรงแรม / เทคโนโลยีสารสนเทศ / การตลาด / นิเทศศาสตร์และการสื่อสาร / เศรษฐศาสตร์</p> <p><strong>การกำหนดเผยแพร่วารสาร</strong></p> <p>กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ</strong></p> <p>แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย </p> <p>รับตีพิมพ์บทความทั้ง บทความภาษาไทย และบทความภาษาอังกฤษ</p> <p><strong><br />เงื่อนไขการตีพิมพ์</strong></p> <p>บทความแต่ละบทความจะได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ (Peer Review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและมีความหลากหลายจากแต่ละสถาบัน จำนวน 3 ท่าน ทั้งนี้ ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) อย่างไรก็ตาม บทความที่ผ่านการประเมินแล้วจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ <br /><br /></p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความของวารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์</strong> มีดังนี้</p> <p>1. บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ฉบับภาษาไทย จำนวน 3,000 บาท/บทคความ<br />2. บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ฉบับภาษาอังกฤษ จำนวน 4,500 บาท/บทความ</p> <p><strong>หมายเหตุ:</strong> 1. วารสารจะแจ้งให้ท่านชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความก็ต่อเมื่อบทความของท่าน ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการแล้วเท่านั้น<br /> 2. การชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารทุกรายการ เป็นค่าดำเนินการของวารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ซึ่งหากบทความของท่านไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ลงในวารสารจากผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 2 ใน 3 ท่าน หรือถูกปฏิเสธการลงตีพิมพ์จากประเด็นด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณหรือด้านอื่น ๆ ทางวารสารจะไม่คืนเงินธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ</p> <p><br /><strong>คำชี้แจงขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ </strong><br /><strong>1. ขอให้ผู้นิพนธ์ส่งไฟล์เอกสารผ่านระบบ ThaiJo ประกอบด้วย</strong><br /> 1.1 บทความวิจัย/บทความวิชาการ ในรูปแบบไฟล์ Word จำนวน 1 ไฟล์<br /> 1.2 แบบฟอร์มส่งบทความ จำนวน 1 ไฟล์<br /> <strong> *** ขอให้ผู้ส่งบทความตรวจสอบความถูกต้องของชื่อและสังกัดของผู้วิจัย รูปแบบเนื้อหาและการอ้างอิงตรงตามรูปแบบที่วารสารกำหนดเท่านั้น <em>วารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการพิจารณาบทความเบื้องต้น หากท่านไม่ได้ส่งบทความตามข้อกำหนดของวารสาร</em>***</strong><br /> กรุณาศึกษาจาก <a href="https://jmsr.srru.ac.th/wp-content/uploads/2021/08/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.pdf">คำแนะนำสำหรับผู้เขียน</a> (Click)<br /> <strong>2. เมื่อไฟล์เอกสารครบถ้วนแล้ว ทางกองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น </strong>ตามข้อกำหนดของวารสาร หากผ่านการพิจารณาบทความเบื้องต้น ทางวารสารจะแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารก่อนการตรวจประเมินคุณภาพบทความ <br /><strong>3. ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสาร </strong>กำหนดให้โอนชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารผ่านทางบัญชีธนาคาร โดยผู้นิพนธ์จะได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่วารสารเท่านั้น <strong>ทั้งนี้</strong> เมื่อชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว กรุณาจัดส่งหลักฐานการชำระเงินผ่านทางกระทู้ ThaiJO ตามรายละเอียดที่แจ้ง พร้อมให้ท่านแนบสลิปการโอนเงิน</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/260332 การสำรวจสถานภาพผู้ประกอบการเพื่อสังคม กรณีศึกษา “ร้อยแก่นสาร” 2023-06-26T12:35:59+07:00 พิมพ์พร ภูครองเพชร [email protected] <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจสถานภาพผู้ประกอบการเพื่อสังคม ในกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน “ระดับดี” พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัยคือ ได้ข้อมูลสถานภาพ กิจการการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน ที่เข้าข่ายลักษณะของกิจการผู้ประกอบเพื่อสังคมในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน “ระดับดี” พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม พบว่าพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจำนวน 11 แห่ง ประเภทผ้าจำนวน 71 แห่ง ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกจำนวน 96 แห่ง และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจำนวน 4 แห่ง รวม 182 แห่ง พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดมีประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจำนวน 7 แห่ง ประเภทเครื่องดื่มจำนวน 2 แห่ง ประเภทผ้าจำนวน 56 แห่ง ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกจำนวน 70 แห่ง และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจำนวน 4 แห่ง รวม 139 แห่ง และพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมีประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารจำนวน 13 แห่ง ประเภทผ้าจำนวน 82 แห่ง ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกจำนวน 51 แห่ง และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจำนวน 18 แห่ง รวม 164 แห่ง</p> <p> ทรัพยากรพื้นฐานเมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับทรัพยากรพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ซึ่งหมายถึง วิสาหกิจชุมชนมีทรัพยากรพื้นฐานเกี่ยวกับด้านทรัพยากรกายภาพ วิสาหกิจชุมชนมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชนทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน นำวัตถุดิบจากแหล่งชุมชนหรือใกล้เคียงมาใช้ในการผลิตสามารถใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคที่เป็นปัจจัยในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-04-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/257760 ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2023-02-10T16:23:22+07:00 ธนูทอง ศิริวงศ์ [email protected] สินีนาถ เริ่มลาวรรณ [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่สนใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรและไม่ทราบสัดส่วนของประชากรที่แน่นอน โดยใช้สูตรของ Cochran, W.G. (1977 : 25) ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้ 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) แบบเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้าน เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน รูปแบบที่อยู่อาศัย ที่แตกต่าง มีการตัดสินใจเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ในอำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พฤติกรรมการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ด้าน วัตถุประสงค์ในการเลือกซื้อ ­ประเภทของเฟอร์นิเจอร์ เคยซื้อเฟอร์นิเจอร์จาก ค่าใช้จ่าย วิธีชำระเงิน บุคคลที่มีอิทธิพล แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล ที่แตกต่าง มีการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ในระดับค่อนข้างสูง โดยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ในอำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/263338 การประเมินการรับรู้ ความสนใจซื้อและการสื่อสารแบรนด์บนสื่อดิจิทัลของลูกปัดมโนราห์บ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 2023-09-14T14:01:03+07:00 เสริมศักดิ์ ขุนพล [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้แบรนด์และอิทธิพลแบรนด์บนสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อความสนสนใจซื้อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลวิจัยพบว่าการรับรู้แบรนด์หัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาวจากสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับมาก (x̄ =3.58) โดยการรับรู้ว่าหัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาวเป็นสินค้าท้องถิ่นที่สร้างสรรค์โดยคนรุ่นใหม่และดีไซน์ใหม่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̄ =4.51) รองลงมาคืออยากเป็นสมาชิกหนึ่งที่เลือกใช้หัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาว(x̄ =3.83) การรับรู้ว่าหัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาวเป็นสินค้าที่มีราคาแพง หรูหรา มีระดับค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x̄ =2.52) อิทธิพลการสื่อสารแบรนด์บนสื่อดิจิทัลกับความสนใจซื้อลูกปัดมโนราห์บ้านขาว มีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อย ในทิศทางเดียวกัน (<strong><em>r =</em></strong>0.014) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อิทธิพลของการสื่อสารแบรนด์บนสื่อดิจิทัลมีผลต่อความสนใจซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มหัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาว ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็นบวกและเป็นไปในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ (r =0.496) เช่นกัน</p> 2024-04-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/257902 คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2022-11-07T11:02:55+07:00 ทิพวรรณ เบ้างาม [email protected] ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์ [email protected] อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันในงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันในงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด จำนวน 225 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ </p> <p> ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงไปได้แก่ ด้านโอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของตนเอง ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านประชาธิปไตยในองค์กร ด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในงาน ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ตามลำดับ 2) ระดับความผูกพันในงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความเต็มใจอุทิศตนให้กับงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงไป ได้แก่ ความกระตือรือร้น และการรู้สึกว่างานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ตามลำดับและ 3) คุณภาพชีวิตในการทำงานส่งผลต่อความผูกพันในงานของบุคลากรสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาพรวมในทิศทางบวก ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้า ด้านโอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของตนเองด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน และด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยตัวพยากรณ์ที่ทำนายได้ดีที่สุด ได้แก่ ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าส่วนด้านประชาธิปไตยในองค์กร และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ไม่ส่งผลต่อความผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/265564 การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการและความคาดหวังของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการ ซื้อซ้ำของผู้บริโภคบนแอปพลิเคชัน ผ่านความพึงพอใจในการใช้บริการ 2023-09-29T16:37:25+07:00 ชัชชัย สุจริต [email protected] เบญจวรรณ สุจริต [email protected] <p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการและความคาดหวังของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำของผู้บริโภคบนแอปพลิเคชัน ผ่านความพึงพอใจในการใช้บริการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน จำนวน 385 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ข้อมูลในการทดสอบสมมติฐานด้วยสมการโครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Modeling : SEM)</p> <p> ผลการวิเคราะห์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในกลุ่ม Gen Y อายุ 23 – 39 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือน 30,001 บาทขึ้นไปมีสถานภาพ โสด มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร มีความถี่ในการซื้อผ่านแอปพลิเคชันประมาณ 2 - 3 ครั้ง ต่อเดือน จำนวนเงินในการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 501 – 1,000 บาทต่อครั้ง ประเภทสินค้าที่ซื้อ คือ แฟชั่นผู้หญิง แอปพลิเคชันที่ใช้ซื้อสินค้าคือ Shopee ส่วนใหญ่ชำระเงินปลายทาง ผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ความคาดหวังของลูกค้า และความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำของลูกค้าบนแอพพลิเคชั่น ผลปรากฎว่ายอมรับสมมติฐานทั้งหมด อธิบายได้ว่าการสื่อสารทางการตลาดเชิงบูรณาการบนแอปพลิเคชันมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ ความคาดหวังของลูกค้า และความตั้งใจในการซื้อซ้ำ</p> 2024-03-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/258854 ทัศนคติต่อการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2023-01-03T16:12:19+07:00 สกนธ์ แสนหาญ [email protected] อาชวิทย์ เจิงกลิ่นจันทน์ [email protected] บุญญาดา พาหาสิงห์ [email protected] มารดี ศิริพัฒน์ [email protected] สุภกร ตันวราวุฒิชัย [email protected] <p> งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและทัศนคติต่อการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบทัศนคติต่อการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ ลักษณะประชากร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุ 41 - 50 ปี สถานภาพส่วนใหญ่สมรส มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาทขึ้นไป 2) ผลการวิเคราะห์ รูปแบบที่เกิดขึ้นกับการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ มีรูปแบบการเล่นพนันฟุตบอลผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยผู้เล่นพนันสมัครเล่นกับพนันฟุตบอล ออนไลน์โดยตรง รูปแบบการเล่นพนันฟุตบอลผ่านทางเจ้ามือหรือโต๊ะรับเล่นพนันฟุตบอลด้วยวิธีการโทรศัพท์ไปเล่นพนันที่โต๊ะหรือใช้เครดิตเล่นก่อนจ่ายหลัง การอ่านวิเคราะห์ฟุตบอลก่อนแข่งขันมาจากการเปิดเว็บไซต์ต่าง ๆ ดูการวิเคราะห์ รูปแบบการเล่นพนันฟุตบอลเต็ง (คู่เดียว) ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 1,000 บาท รูปแบบการเล่นพนันฟุตบอลแบบสเต็ป (สามคู่ขึ้นไป) อย่างต่ำส่วนใหญ่เป็นเงิน 101-300 บาท และส่วนใหญ่นิยมเล่นพนันฟุตบอลในพรีเมียร์ลีกและลีกรองประเทศอังกฤษ 3) ผลการวิเคราะห์ ทัศนคติการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย 4) ผลการวิเคราะห์ ลักษณะประชากร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกันมีผลต่อการเล่นพนันฟุตบอลของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/258862 กิจกรรมสร้างความสุข 8 ประการที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ของบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ 2023-09-14T14:27:08+07:00 สุภาพร นิยมเดช [email protected] อนุชิต กุลวานิช [email protected] บรรจบ ภิรมย์คำ [email protected] ณัฐวุฒิ พลศรี [email protected] สุภกร ตันวราวุฒิชัย [email protected] <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและกิจกรรมสร้างความสุข 8 ประการที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ ตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น เลือกการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ มีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 31 - 35 ปี สถานภาพ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 35,001 บาทขึ้นไป และอายุงาน 15 ปีขึ้นไป 2) กิจกรรมสร้างความสุข 8 ประการของบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ โดยภาพรวม ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านน้ำใจงาม ด้านสังคมดี ด้านครอบครัวดี ด้านทางสงบ ด้านผ่อนคลาย ด้านหาความรู้ ด้านสุขภาพดี และด้านปลดหนี้ 3) ประสิทธิภาพการทำงาน โดยภาพรวม ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านคุณภาพงาน ด้านเวลา ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และด้านปริมาณงาน 4) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการทำงานบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ สามารถสรุปการวิจัยว่า ระดับการศึกษา มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) กิจกรรมสร้างความสุข 8 ประการมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานบุคลากรทางด้านกีฬาฟุตบอลอาชีพ สามารถสรุปการวิจัยว่า กิจกรรมสร้างความสุข 8 ประการส่งผลต่อ โดยภาพรวม ร้อยละ 59.5</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/258898 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา 2023-01-09T13:45:31+07:00 คุณากร เปลื้องทุกข์ [email protected] ธนกฤต สังข์เฉย [email protected] <p> การวิ่งเทรลเป็นกีฬาที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้คนหันมาสนใจกับการเล่นกีฬาที่สร้างความตื่นเต้นและท้าทาย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรล ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาจำนวน 400 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์วิ่งเทรล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาเพื่ออธิบายค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปร และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาสำหรับการวิจัยนี้ประกอบด้วย 5 ตัวแปร ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความมุ่งมั่นในการเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรล ทัศนคติต่อการวิ่งเทรล แรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรล และความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรล ผลการวิจัยพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดีมาก พิจารณาจาก CMIN/df.= 1.21, CFI= 0.99, NFI = 0.98, AGFI= 0.95, IFI= 0.99, RMR = 0.02 และ RMSEA = 0.02 ตัวแปรในโมเดลสามารถพยากรณ์ความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลได้ร้อยละ 73.1 แรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลพบว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิลทางตรงมากที่สุดต่อความตั้งใจการเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรล ขณะที่ความมุ่งมั่นในการเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมมากที่สุดต่อความตั้งใจเข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา ผลการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้จัดงานวิ่งเทรลที่จะนำข้อค้นพบไปประยุกต์ใช้สำหรับการออกแบบกิจกรรมวิ่งเทรลเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับประสบการณ์ที่ตอบสนองแรงจูงใจและลักษณะทางจิตวิทยาของนักกีฬา</p> 2024-04-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/259465 ทัศนคติของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล : กรณีศึกษา ธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในจังหวัดนครราชสีมา 2023-03-01T21:55:56+07:00 อนุวัตร์ ราชโพธิ์ทอง [email protected] ระบิล พ้นภัย [email protected] <p> การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล กรณีศึกษาธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ผู้ที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมุติฐานด้วยวิธีการการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติของผู้บริโภค ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านพฤติกรรม ส่งผลทางบวกต่อความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล กรณีศึกษาธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งนี้ทัศนคติของผู้บริโภคสามารถพยากรณ์ความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล ได้ร้อยละ 75 (Adj= 0.750)</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/257735 คุณภาพการบริการที่มีผลต่อภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 2022-12-07T15:01:11+07:00 เปรมสินี พ่วงวัฒนวงศ์ [email protected] สินีนาถ เริ่มลาวรรณ [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการและระดับภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการที่มีผลต่อภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ (Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และมีความคลาดเคลื่อน 5% และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านแผนกผู้ป่วยนอกเป็นด้านแผนกผู้มารับบริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทราที่แตกต่าง มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทราแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คุณภาพการบริการ มีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยคุณภาพการบริการมีผลต่อภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านการเอาใจใส่ในผู้รับบริการ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการมีผลต่อภาพลักษณ์องค์กรในการใช้บริการโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์