วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt <p>วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ (วททน.) แต่เดิมวารสารนี้จัดทำโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2553 จากนั้นในปี 2554 คณะการจัดการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้รับโอนหน้าที่ในการดำเนินการจัดทำและจัดพิมพ์วารสารนี้จนถึงปัจจุบัน โดยวารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ จัดทำขึ้นเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ โดยคำนึงถึง <a href="https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/Ethics">ข้อกำหนดจริยธรรม</a> เป็นสำคัญ </p> <p> </p> <p><strong>หัวข้อบทความที่เปิดรับครอบคลุม ดังนี้</strong></p> <p>1. การจัดการการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ เช่น การท่องเที่ยวชุมชน การท่องเที่ยวสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ฯลฯ</p> <p>2. อุตสาหกรรมการบริการและงานโรงแรม</p> <p>3. การจัดประชุมสัมนนาและอีเว้นท์</p> <p>4. การจัดการธุรกิจการบิน</p> <p>5. โลจิสติกส์และการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว</p> <p>6. อื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยตรงในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ </p> <p> </p> <p><strong>บทความเปิดรับตลอดทั้งปี <span style="text-decoration: underline;">ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ </span> เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>การพิจารณาคัดเลือกบทความ</strong></p> <p>กองวารสารฯมีกระบวนกลั่นกรองบทความ โดยขั้นตอนแรกเมื่อผู้แต่งส่งบทความเข้ามาผ่านระบบ หัวหน้ากองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาคุณภาพบทความและขอบเขตของหัวข้อบทความ เมื่อผ่านกระบวนการพิจารณาขั้นต้นแล้ว จะนำสู่กระบวนการประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน (Double-Blind-Review) โดยผู้แต่งสามารถติดตามสถานะบทความผ่านระบบ ThaiJo ได้ตลอดกระบวนการตีพิมพ์ หากท่านประสงค์ส่งบทความสามรถศึกษารายละเอียดพิ่มเติมที่<a href="https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/about/submissions">ส่งบทความ </a></p> Graduate School of Tourism Management (GSTM) , National Institute of Development Administration. th-TH วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ 2286-9018 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกโดยสารสายการบิน เพื่อการเดินทางของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/268927 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติ พฤติกรรม และความเชื่อมั่นด้านการเดินทางโดยสายการบินของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกโดยสารสายการบินเพื่อการเดินทางของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จำนวน 400 คน ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คือ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ในการหาค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องใน 3 ด้าน ได้แก่ด้านทัศนคติ พฤติกรรม และความเชื่อมั่นด้านการเดินทางของผู้โดยสารกลุ่มสูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติด้านการเดินทางเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการตัดสินใจ โดยกลุ่มผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับความรวดเร็วในการเดินทางถึงจุดหมายปลายทางเนื่องด้วยข้อจำกัดทางร่างกาย ความสะดวกสบาย และมาตรฐานการให้บริการเป็นลำดับแรก รองลงมาคือราคาและการบริการของพนักงาน ขณะที่ด้านความเชื่อมั่นในการเดินทางมีอิทธิพลในระดับปานกลาง โดยผู้โดยสารให้ความสำคัญกับคุณภาพการบริการของพนักงาน มาตรฐานความปลอดภัย และภาพลักษณ์ของสายการบิน ซึ่งช่วยสร้างความไว้วางใจต่อการเลือกโดยสารสายการบิน ส่วนในด้านลักษณะพฤติกรรมการเดินทาง เช่น วัตถุประสงค์การเดินทาง ความถี่ และความหลากหลายของเส้นทางบิน ไม่พบว่ามีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจ ซึ่งผู้โดยสารกลุ่มนี้พิจารณาตัดสินใจจากความคุ้มค่าด้านการเดินทางและมาตรฐานความปลอดภัยเป็นสำคัญ</p> ชฎาพร จักรทอง รุจิภาส ประชาทัย ขวัญฤทัย เดชทองคำ ชุติวดี สิทธาพร Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 20 2 1 19 การพัฒนาฐานข้อมูล “เมืองดอกบัวงาม” เทศบาลนครอุบลราชธานี ด้วยกูเกิลแมพแพลตฟอร์ม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/267407 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูล "เมืองดอกบัวงาม" เทศบาลนครอุบลราชธานีด้วยกูเกิลแมพแพลตฟอร์ม และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อฐานข้อมูล "เมืองดอกบัวงาม" เทศบาลนครอุบลราชธานีด้วยกูเกิลแมพแพลตฟอร์ม วิธีดำเนินการวิจัยตามหลักกระบวนการของวงจรการพัฒนาระบบแบ่งเป็น 5 ระยะ เทคโนโลยีที่ใช้ ได้แก่ Google Map และ Google Street View เพื่อนำเสนอข้อมูลสถานที่ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ผลการพัฒนาระบบแบ่งเป็น 4 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 105 จุด ได้แก่ 1) ย่านเมืองเก่า 2) วัดในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี 3) สถานที่หน่วยงานของภาครัฐในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี และ 4) แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ผลประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้จำนวน 44 คน ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.22 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.74 จากผลการวิจัยนี้ทำให้ได้ระบบที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจใช้ในการสำรวจสถานที่ต่างๆ ภายในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี นอกจากนั้นยังได้ข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญของเทศบาลนครอุบลราชธานี</p> ชาญชัย ศุภอรรถกร อิทธิกูล แจมจันทร์ ภานุวัฒน์ ทีหัวช้าง วรรณรดา สุดตา Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 20 2 20 37 รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านไทยทรงดำ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/268857 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อัตลักษณ์ชุมชน นวัตกรรมอาหาร และผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านไทยทรงดำ ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยไปเยือนหมู่บ้านไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดเลย จำนวน 502 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท ผลการวิจัยพบว่า โมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแฝงที่พัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดของการวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรแฝงทุกตัว ได้แก่ การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อัตลักษณ์ชุมชน นวัตกรรมอาหาร และผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารได้ร้อยละ 83 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสูงที่สุด คือ นวัตกรรมอาหาร</p> โชติกา นาคประสูตร วารัชต์ มัธยมบุรุษ พัจน์พิตตา ศรีสมพงษ์ นิรมล พรหมนิล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 20 2 38 62 แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาจังหวัดลำปาง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/269048 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธรณีจังหวัดลำปาง ประชากรเป้าหมายหลัก คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงธรณีของจังหวัดลำปางทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม นอกจากนี้ได้มีการถอดบทเรียนความสำเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธรณีจากอุทยานธรณีโลกประเทศไทย ใช้วิธีการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการใช้แบบประเมิน การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย โดยการใช้เครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า มีประเด็นปัญหาที่ได้จากการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีลำปาง และข้อค้นพบจากการถอดบทเรียนความสำเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธรณีจากอุทยานธรณีโลกประเทศไทย ผู้วิจัยจึงนำประเด็นปัญหาและข้อค้นพบจากการวิจัยเสนอต่อผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อย เพื่อพิจารณาและสังเคราะห์จนนำไปสู่การเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธรณีจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 5 มิติ คือ มิติการจัดการองค์กร มิติการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มิติการจัดการพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณี มิติการตลาดการท่องเที่ยวเชิงธรณี มิติการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรณี</p> อำนวย วรญาณกุล วารัชต์ มัธยมบุรุษ ประกอบศิริ ภักดีพินิจ กรัณน์ฑรัตน์ คะวัติกูล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 20 2 63 90 การศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อองค์ประกอบและตัวชี้วัด ตามกรอบ McKinsey 7S Model ของวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคม (CBT-SE) ในประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/269625 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อองค์ประกอบและตัวชี้วัด ตามกรอบ 7S McKinsey Model ของวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคม (Community-Based Tourism as Social Enterprise: CBT-SE) ในประเทศไทย โดยมีวิธีการศึกษา 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานภาครัฐและต้นแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคม (CBT-SE) รวมจำนวน 10 คน ด้วยเครื่องมือแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (IOC=0.89) และ 3) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) &nbsp;โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 55 แห่ง ด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (IOC=0.84) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบตามกรอบ McKinsey 7S Model ของวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคม (CBT-SE) มีองค์ประกอบ 7 ด้าน ที่สอดคล้องกับเกณฑ์การจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 ประกอบไปด้วย 1) ด้านโครงสร้างองค์กร (Structure) 2) ด้านแผนงานและกลยุทธ์ (Strategy) 3) ด้านระบบและวิธีการดำเนินงาน (System) 4) ด้านคุณค่าร่วมในองค์กร (Share Value) &nbsp;5) ด้านการบริหารของผู้นำ (Style) 6) ด้านบุคลากร (Staff) และ 7) ด้านทักษะ (Skill) โดยมีตัวชี้วัดย่อยรวม 34 ตัวชี้วัด และความคิดเห็นจาก CBT ที่มีต่อองค์ประกอบและตัวชี้วัดดังกล่าวในภาพรวม ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅= 4.31 , S.D. = 0.85) เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารจัดการของผู้นำ (Style) มีความสำคัญในระดับมากที่สุด ( x ̅= 4.60 , S.D. = 0.68) รองลงมาคือด้านโครงสร้างองค์กร (Structure) ( x ̅= 4.45 , S.D. = 0.77) ด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านคุณค่าร่วมองค์กร (Share Valued) (x ̅ = 4.20 , S.D. = 0.85) ด้านทักษะของบุคลากร (Skill) (x ̅ &nbsp;= 4.13 , S.D. = 0.83)</p> อัษฎากรณ์ ฉัตรานันท์ ประกอบศิริ ภักดีพินิจ สุริยา ส้มจันทร์ วารัชต์ มัธยมบุรุษ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 20 2 91 116 แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนเนินขาม จังหวัดชัยนาท https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/273739 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาศักยภาพด้านอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ที่สามารถพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนเนินขามในการจัดการการท่องเที่ยวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ 3.เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนเนินขาม โดยดำเนินการศึกษาวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาผลิตพัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนเนินขาม กลุ่มละ จำนวน 7-12 คน โดยผลการศึกษา พบว่า 1) ชุมชนเนินขามมีอัตลักษณ์และการอนุรักษ์โดยใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นสินค้าชุมชน เช่น การทอผ้า การทำสมุนไพร การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม และอาหารท้องถิ่น และ 2) ชุมชนเนินขามมีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หากแต่ยังขาดการบูรณาการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่การพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวยั่งยืน โดยแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนยกระดับสู่การท่องเที่ยวคือ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) โดยชุมชนเนินขามควรเร่งส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมใหม่ 2) พัฒนาการตลาดและการขาย (Marketing Development) โดยการสร้างเครือข่ายการตลาดออนไลน์และการประชาสัมพันธ์ 3) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว (Destination Development) หรือพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการท่องเที่ยวในชุมชน และ 4) พัฒนาคนในชุมชน (Community Engagements) ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน</p> รัศมี อิสลาม กนกพรรณ วิบูลย์ศรินทร์ พิศาล แก้วอยู่ ภควัต รัตนราช อมรเทพ สกุณา ปุณณภา เบญจเสวี Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 20 2 117 137 Life Cycle Assessment of Incentive Travel: a case of Phitsanulok Province https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/267806 <p>The study titled “Life Cycle Assessment of Incentive Travel: A Case of Phitsanulok Province” aims to evaluate the global warming potential throughout the life cycle of tourism related activities in incentive travel of Phitsanulok Province. It also proposes guidelines for conducting incentive travel activities in Phitsanulok Province following a low-carbon tourism approach. This quantitative research primarily uses Life Cycle Assessment (LCA) as the main <br />research tool to assess the global warming potential of incentive travel events in Phitsanulok Province. The study examines for incentive travel. The global warming potential is considered for three types of energy sources: diesel fuel, electricity, and liquefied petroleum gas (LPG). The evaluation results indicate that incentive travel events have the total global warming potential, with 23.33 kg CO2e per person. The travel activity with diesel fuel is higher global warming potential of 11.25 kg CO2e per person. The second highest is electrical appliance, wish <br />global warming potential of 10.15 kg CO2e per person. The activity with LPG has the lowest global warming potential, at 0.31 kg CO2e per person. Based on the LCA results of the activities with major GWP contributions, the proposed guidelines for promoting low-carbon tourism in the incentive travel in Phitsanulok Province include reducing travel distances for incentive travel, and choosing renewable energy sources for electricity. </p> Araya Sukkasem Kullapa Soratana Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 20 2 138 159