วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica <p>วารสารวิชาการสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ จัดทำโดยสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนงานทำนุบำรุงวัฒนธรรมและศิลปะและงานบริการวิชาการแก่สังคม โดยให้อาจารย์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวัฒนธรรมและศิลปะ 2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณภาพ ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมในแต่ละแขนง&nbsp; 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยด้านวัฒธรรมและศิลปะมากยิ่งขึ้น 4. เพื่อผลิตสื่อวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และเผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์ กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม และฉบับที่ 2 มกราคม-มิถุนายน</p> th-TH <p>บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> culture.artsjournal@gmail.com (กองจัดการวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ) culture.artsjournal@gmail.com (พรรณนารายณ์ เปรมตุ่น) Fri, 27 Dec 2024 20:09:46 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/275832 ปรารถนา คงสำราญ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/275832 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสร้างสรรค์งานประติมากรรมร่วมสมัย ชุดสัญลักษณ์สุพรรณ จากวัสดุท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/272085 <p>การสร้างสรรค์งานประติมากรรมร่วมสมัย ชุดสัญลักษณ์สุพรรณจากวัสดุท้องถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวด้วยประติมากรรมในรูปแบบงาน ลายเส้น Contour Art ที่มาจากรูปแบบจริง และสร้างเสริมให้เป็นจุดสนใจในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวสู่ชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนด้วย งานศิลปะสู่คนในชุมชนพร้อมแทรกซึมความรู้ทางศิลปะสู่ชุมชนด้วยความยั่งยืนทางศิลปะ 3) เพื่อสร้างองค์ความรู้เทคนิค และกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย ชุดสัญลักษณ์สุพรรณ จากวัสดุท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี โดยผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์ความเป็นสัญลักษณ์ทางศิลปะที่แสดงออกถึงจังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีผลต่อการท่องเที่ยวในชุมชนที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยการร่วมสะท้อนความคิดเห็นของคนในชุมชนต่องานสร้างสรรค์ประติมากรรมร่วมสมัย เป็นการสร้างสัมพันธ์ในชุมชนจากการออกแบบผลงาน เป็นผลงาน 3 ชิ้น ดังนี้ สัญลักษณ์ ต้นตาล ตลาดน้ำสะพานสูง สุ่มปลายักษ์ อำเภอสองพี่น้อง สัญลักษณ์รูปควายไทย ที่หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย) Buffalo Village อำเภอศรีประจันต์ สัญลักษณ์รูปปลาน้ำจืด อำเภอเดิมบางนางบวช และสร้างคู่มือองค์ความรู้ จำนวนชุดละ 100 เล่ม เพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนในเชิงศิลปะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 - 2564 ของกรมการท่องเที่ยว ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความสมดุลระหว่างจำนวนนักท่องเที่ยว และความสุขของชุมชน</p> โดม คล้ายสังข์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/272085 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวคิดและกระบวนการออกแบบกราฟิก กรณีศึกษา: นักออกแบบกราฟิกที่ได้รับรางวัลศิลปาธร และรางวัลนักออกแบบแห่งปี ระหว่าง พ.ศ. 2552-2562 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/269981 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลงานและแนวคิดของนักออกแบบกราฟิกที่ได้รับรางวัลศิลปาธร และรางวัลนักออกแบบแห่งปี ในช่วง พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2562 โดยมีวิธีการ 1) เก็บรวบรวมและศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยเพื่อเป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) 2) สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในงานวิจัย 3) การเก็บรวบรวมข้อมูล มีเป้าหมายความเป็นตัวแทน (From Aiming at Representative) การคัดเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิก ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 4) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิก ได้แก่ นักออกแบบกราฟิกที่ได้รับรางวัลศิลปาธร และรางวัลนักออกแบบแห่งปี จำนวน 5 ท่าน 5) วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิก และหาความสอดคล้องกันของข้อมูล</p> <p>ผลการศึกษาข้อมูลพบว่า 1) ปัจจัยด้านการสร้างสรรค์งานออกแบบกราฟิก คือ อัตลักษณ์, คุณค่า, ลูกค้า และบริบทการสื่อสาร 2) ปัจจัยด้านการพัฒนาแนวคิดการออกแบบกราฟิก คือ การทำความเข้าใจ, การคิดเชื่อมโยง และการประยุกต์ 3) ปัจจัยด้านกระบวนการออกแบบกราฟิก คือ การศึกษาข้อมูล, การทำความเข้าใจ, การระดมความคิด และการสร้างต้นแบบ 4) ปัจจัยด้านทัศนคติ ความรู้ และทักษะของนักออกแบบกราฟิกรุ่นใหม่ คือ เป็นคนช่างสังเกต, ความเข้าอกเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น, สร้างความแตกต่างในงานออกแบบ และทัศนคติเชิงบวก 5) ปัจจัยด้านการขับเคลื่อนการทำงานของการออกแบบกราฟิกที่ได้รับรางวัล คือ ชื่อเสียง, ความภาคภูมิใจ, สร้างมาตรฐานงานออกแบบ และ4) โอกาส 6) ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี คือ สภาพแวดล้อม, การให้ความสำคัญ, เครื่องมือและความท้าทาย 7) ปัจจัยด้านองค์ประกอบของการออกแบบกราฟิก คือ 7.1) แนวคิดและไอเดีย อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.33 7.2) องค์ประกอบการออกแบบ ได้แก่ สี ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.33, การจัดวางองค์ประกอบ ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.33 และ 7.3) กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งาน ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.67</p> ชูเกียรติ อ่อนชื่น; พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, เสาวลักษณ์ พันธบุตร Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/269981 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาอิทธิพลและความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบในมิติแห่งนาฏกรรมระหว่างอินเดียและไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/271289 <p>งานวิจัย เรื่อง การศึกษาอิทธิพลและความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบในมิติแห่งนาฏกรรมระหว่างอินเดียและไทย มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาถึงอิทธิพลอินเดียที่มีต่อนาฏกรรมไทย 2. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบระหว่างนาฏกรรมอินเดียและนาฏกรรมไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์โบราณคดีผ่านแนวคิดศาสนาและเทวนิยม ทฤษฎีการกระจายทางวัฒนธรรม และสุนทรียศาสตร์และนาฏยศาสตร์ รวมทั้งวิเคราะห์จากคำอธิบายและข้อคิดเห็นของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทั้งชาวไทยและชาวอินเดีย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. อิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียที่มีบทบาทและความสัมพันธ์ต่อนาฏกรรมของไทย ได้แก่ 1) อิทธิพลอินเดียจากกลุ่มพราหมณ์ต่อราชสำนักไทยและ 2) อิทธิพลอินเดียด้านวรรณกรรมและวรรณคดี 2. ความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบระหว่างนาฏกรรมอินเดียและนาฏกรรมไทย ได้แก่ 1) โนราของไทยสันนิษฐานว่ามาจากอินเดียโดยกลุ่มพราหมณ์ อีกทางหนึ่งโนรานั้นถูกถ่ายทอดจากราชสำนักส่วนกลางสู่ระดับราษฏร์ในวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ มีความคล้ายคลึงกับละครอินเดียที่เรียกว่า “ยาตรา” หรือ “จาตรา” (Jatra) ในแคว้นเบงกอลของอินเดีย 2) กถักฬิ มีรูปแบบการแสดงคล้ายกันกับโขน ได้แก่ เรื่องที่นำมาแสดง การแต่งหน้า และการใช้สีสัญลักษณ์ 3) ภารตนาฏยัมกับนาฏศิลป์ไทยความสัมพันธ์เกิดจากการรับวัฒนธรรมจากอินเดียใต้ทางด้านความเชื่อและพิธีกรรม และความคล้ายคลึงกันของท่ากรณะในภรตนาฏยัมกับท่ารำในแม่บทของไทยในการตั้งชื่อด้วยการอุปลักษณ์ทั้งอุปลักษณ์สัตว์และตามลักษณะอาการของมนุษย์และสิ่งของ อีกทั้งลักษณะการแสดงท่าทางที่คล้ายคลึงกันในบางท่ารำ</p> นรีรัตน์ พินิจธนสาร Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/271289 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนายุทธศาสตร์กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2566-2570 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/265593 <p>วัตถุประสงค์การวิจัยคุณภาพเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านศาสนาจากต่างประเทศ 2) ศึกษาสภาพแวดล้อม แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานและนโยบายของกรมการศาสนา และ 3) พัฒนายุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ของกรมการศาสนา เก็บข้อมูลจากแนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง และแนวคำถามสำหรับการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้แทนภาคคณะสงฆ์ ผู้นำองค์การทางศาสนา ผู้แทนภาคประชาสังคมซึ่งทำงานด้านศาสนา วัฒนธรรมจังหวัด และผู้บริหารกรมการศาสนา 22 รูป/คน ผู้แทนวัฒนธรรมจังหวัด องค์การทางศาสนา เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับศาสนา 55 คน บุคลากรกรมการศาสนา 78 คน โดยนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านศาสนาจากต่างประเทศมีประเด็นสำคัญ เช่น การป้องกันความรุนแรง ความเสมอภาคทางเพศ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศาสนา สภาพแวดล้อมที่สำคัญของกรมการศาสนา คือ วัฒนธรรมองค์กรเข้มแข็ง แต่มีข้อจำกัดด้านโครงสร้างและงบประมาณ แนวทางพัฒนาการดำเนินงาน เช่น การปรับโครงสร้างองค์กรและอัตรากำลัง การพัฒนาความรู้บุคลากรด้านศาสนา การบูรณาการงบประมาณและการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) อุปถัมภ์ คุ้มครองกิจการด้านศาสนา และสานสัมพันธ์กิจกรรมทางศาสนาเพื่อสังคมสงบสุขที่ยั่งยืน 3) สืบสาน รักษา ต่อยอดศาสนพิธี และมรดกทางวัฒนธรรมด้านศาสนา 4) พัฒนาการบริหารจัดการกรมการศาสนามุ่งสู่ความเป็นเลิศ</p> ลภัสรดา จิตวารินทร์; อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล, สิทธิพร กล้าแข็ง, ธีรตา ขำนอง, นันทกาญจน์ เหมือนเพ็ชร Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/265593 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิจัยและพัฒนาเครื่องแต่งกายด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์: กรณีศึกษาผ้าไหมมัดหมี่ชุด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/272645 <p>การวิจัยและพัฒนาเครื่องแต่งกายด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์: กรณีศึกษาผ้าไหมมัดหมี่ชุด มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบและผลิตเครื่องแต่งกายด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์ และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบของเครื่องแต่งกายด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์จากผ้าไหมมัดหมี่ชุดจำนวน 9 ชิ้น โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานด้านการพรรณนาวิเคราะห์จากแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามความต้องการกลุ่มผู้บริโภคเป็นแนวทางในการออกแบบ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อคัดเลือกต้นแบบที่เหมาะสม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าเทคนิคการออกแบบแบบตัดเป็นกระบวนการออกแบบและผลิตเครื่องแต่งกายด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์ที่เหมาะสมที่สุด ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นในด้านความยืดหยุ่นของรูปแบบ และขนาดในการสวมใส่ ผ้าไหมมัดหมี่จำนวน 5 ชุดนำมาออกแบบและทดลองได้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 18 ชิ้น ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ่านการประเมิน 10 ชิ้นอยู่ในระดับดีมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 มีความพึงพอใจมากที่สุดด้านขั้นตอนการประกอบสร้างมีความเหมาะสมกับรูปแบบผลิตภัณฑ์ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.97 ความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ การตัดเย็บประณีต สวยงาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ราคาเหมาะสมกับรูปแบบ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 สีและลวดลายผ้าตรงกับความต้องการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 วัสดุเหมาะสมกับรูปแบบ และตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตามลำดับ</p> ศีมาศ ประทีปะวณิช Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/272645 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเพลงนมัสการร่วมสมัยของ W501 ช่วงปีพุทธศักราช 2557-2564 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/270283 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มประเภทบทเพลง วิเคราะห์ภาษา และวิเคราะห์หลักคำสอนในบทเพลงนมัสการร่วมสมัยของ W501 ช่วงปีพุทธศักราช 2557-2564 งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกการแบ่งประเภทเพลง แบบวิเคราะห์ภาษาและหลักคำสอนที่ใช้ในเพลง โดยการจัดกลุ่มประเภทเพลงใช้การจำแนกโครงสร้างของดนตรีจากงานวิจัยของ Rentfrow et al. (2011) การวิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในเพลงใช้การวิเคราะห์ตามชนิดของคำและการวิเคราะห์หลักคำสอนที่ใช้คุณสมบัติคริสเตียน 3 ประการ คือ หลักความเชื่อ ความหวัง และความรัก ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงร่วมสมัยของ W501 ลักษณะดนตรีเป็นแบบสบายๆ (Mellow) เป็นหลัก ตามมาด้วยแบบเข้มข้น (Intense) และแบบที่มีลักษณะของชุมชนเมือง (Urban) เท่ากับแบบที่เกี่ยวกับท้องถิ่น (Campestral) แต่ไม่มีเพลงแบบซับซ้อน (Sophisticated) เพลงนมัสการนิยมใช้คำสรรพนามแทนพระเจ้าว่า พระองค์ พระเยซู และพระเจ้า และนิยมใช้คำว่า ข้า เรา และลูก มาใช้เป็นคำสรรพนามแทนมนุษย์ ส่วนด้านคำกริยามีแบ่งเป็น 3 ประเภทตามคุณสมบัติของคริสเตียน โดยนิยมใช้คำว่า สรรเสริญ นมัสการ และฮาเลลูยา เป็นคำเกี่ยวกับหลักความเชื่อ ความหวังและพักพิง เป็นคำเกี่ยวกับหลักความหวัง และความรัก พระเมตตา ซาบซึ้ง และวางใจ เป็นคำเกี่ยวกับหลักความรัก นอกจากนี้ยังพบว่ามีการ และใช้คุณสมบัติคริสเตียนจากคัมภีร์ไบเบิลพระธรรม 1 โครินธ์ 13:13 เป็นหลักความเชื่อเป็นส่วนใหญ่ในบทเพลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผู้ผลิตผลงานเพลง (W501) ได้ผลิตผลงานเพลงนมัสการจากคนไทยเพื่อให้คนไทยตามนโยบายของกลุ่มผู้ผลิตจริง และได้ยึดหลักคำสอนจากพระคัมภีร์เป็นหลัก ทำให้คริสเตียนสามารถยอมรับและนำเพลงนมัสการไปใช้ในชีวิตประจำวันได้</p> ปฏิญญา ตริวิวัฒน์กุล; สกาวรุ้ง สายบุญมี, นันธิดา จันทรางศุ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/270283 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาแนวคิดและบทบาทของนิตยสารศิลปะในประเทศไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึงทศวรรษ 2550 ที่มีต่อวงการศิลปะร่วมสมัยไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/272160 <p>บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแนวคิดและบทบาทของนิตยสารศิลปะในประเทศไทย ตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึงทศวรรษ 2550 ที่มีต่อวงการศิลปะร่วมสมัยไทย โดยใช้กรอบแนวคิดการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ที่เน้นศึกษาวิเคราะห์ วิพากษ์หลักฐานทั้งหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง รวมถึงสัมภาษณ์บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนิตยสารศิลปะในประเทศไทยที่เป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า ในช่วงทศวรรษ 2520 ถึงทศวรรษ 2550 นิตยสารศิลปะถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่สำคัญที่ใช้สื่อสารความคิด ส่งผ่านและนำเสนอความรู้ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อวงการศิลปะ ช่วยเผยแพร่แนวคิดและผลงานของศิลปินให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ตลอดจนเป็นพื้นที่นำเสนอการวิเคราะห์ วิจารณ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การถกเถียงทางความคิด ทั้งยังนำเสนอความรู้ทางศิลปะและศิลปศึกษาจากภายนอกประเทศ ซึ่งได้ขยายขอบเขตของความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์สุนทรียะ และมุมมองทางศิลปะของคนในวงการศิลปะทุกภาคส่วนได้กว้างขวางมากขึ้น ในช่วงเวลาที่เป็นกรณีศึกษา นิตยสารศิลปะยังมีส่วนสนับสนุนพื้นที่และกิจกรรมทางศิลปะอื่น ๆ ของศิลปิน กลุ่มศิลปิน หอศิลป์ นิทรรศการศิลปะ การประกวดศิลปกรรม ตลอดจนแนวคิดและนโยบายของสถาบันการศึกษาทางศิลปะให้เผยแพร่สู่การรับรู้ของสาธารณชนด้วยเช่นกัน</p> สิทธิธรรม โรหิตะสุข Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/272160 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลกระทบของรูปแบบเครื่องแต่งกายต่อความพึงพอใจของพนักงาน: กรณีศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/273076 <p>การวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลกระทบของรูปแบบเครื่องแต่งกายต่อความพึงพอใจของพนักงาน :กรณีศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เก็บข้อมูลจากข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมจำนวนทั้งหมด 307 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงสถิติเพื่อศึกษาผลกระทบของรูปแบบเครื่องแต่งกายต่อความพึงพอใจในการทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของข้าราชการตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องแบบกับความพึงพอใจของข้าราชการตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อเป็นข้อมูลให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการพิจารณาแนวทางในการออกแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจในอนาคต ผลการวิจัยพบว่าระดับความพึงพอใจในการทำงาน มีระดับความพึงพอใจในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.92 คิดเป็นร้อยละ 78.40 พบว่าระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.51 คิดเป็นร้อยละ 70.20 เมื่อพิจารณารายปัจจัยพบว่า ความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ ด้านการแสดงสถานภาพทางสังคม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 3.73 คิดเป็นร้อยละ 74.60 รองลงมาคือ ด้านการใช้เพื่อเป็นเครื่องดึงดูด ค่าเฉลี่ย 3.49 คิดเป็นร้อยละ 69.80 ในขณะที่ด้านการห่อหุ้มร่างกาย มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 3.29 คิดเป็นร้อยละ 65.80 </p> <p>พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน และความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจในภาพรวมยืนยันได้ว่า ปัจจัยทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าความสัมพันธ์อยู่ที่ 0.558 แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันปานกลาง พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานและความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ แยกรายปัจจัยพบว่า ทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานในภาพรวม โดยปัจจัยด้านการแสดงสถานภาพทางสังคมมีความสัมพันธ์กับความ พึงพอใจในการทำงานมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการใช้เพื่อเป็นเครื่องดึงดูด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานในภาพรวมน้อยที่สุดคือ ปัจจัยด้านการห่อหุ้มร่างกาย พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างระดับความพึงพอใจในการทำงานกับปัจจัยด้านต่างๆ ของความ พึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ พบว่าค่า VIF ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานมีค่าน้อยกว่า 10 และ ค่า Tolerance มีค่ามากกว่า 0.2 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ แสดงว่ากลุ่มองค์ประกอบไม่เกิดปัญหาทางความสัมพันธ์กันเองของตัวแปร รูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจเพียงด้านเดียวเท่านั้นที่สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจในการทำงานได้ ซึ่งได้แก่ ด้านการแสดงสถานภาพทางสังคม โดยระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบเครื่องแต่งกายของข้าราชการตำรวจ ด้านการแสดงสถานภาพทางสังคมเพิ่ม 1 ระดับจะส่งผลให้ระดับความพึงพอใจในการทำงานที่เพิ่มขึ้น 0.662 ระดับ</p> นพดล อินทร์จันทร์; กังวาน ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/273076 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นปลาตะเพียนสานใบลาน แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/272195 <p>การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นปลาตะเพียนสานใบลาน แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นวิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตรและนำมาสร้างสื่อ<br />วีดิทัศน์ “วิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตร” เผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย คือ เอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนา การสังเกตการณ์ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนสามัคคีธรรมมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมาเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า ชื่อเต็มว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียน ฉลุไทยลายวิจิตร เพื่อดำเนินกิจกรรม การผลิต การแปรรูปโดยมีภูมิปัญญาทางชุมชนเป็นแนวทาง และใช้ทุนทางสิ่งแวดล้อม ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคมของชุมชน นำไปสู่การพึ่งตนเองและการเพิ่มรายได้ให้ชุมชน ผลิตภัณฑ์ปลาตะเพียนสาน โดยนำใบลานมาสานเป็นรูปปลาตะเพียน และตกแต่งเป็นลวดลายฉลุที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีสีสัน สวยงาม มีความประณีตงดงาม ลูกค้าของกลุ่มแบ่งออกเป็นลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติที่สั่งสินค้าครั้งละจำนวนมาก เพื่อนำไปประดับตกแต่งสถานที่ ได้แก่ โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร เป็นต้น ผลงานของคุณณัฐธร แดงสีพล ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตรมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่จนได้ชื่อว่าปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตร จนเกิดเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ และเพื่อสร้างสื่อวีดิทัศน์ “วิสาหกิจชุมชนปลาตะเพียนฉลุไทยลายวิจิตร” เผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ โดยการเล่าเรื่องโดยใช้ภาพเคลื่อนไหวทำหน้าที่หลักในการนำเสนอเนื้อเรื่องหรือเรื่องราวต่าง ๆ มีเสียงเข้ามาช่วยเสริมในส่วนของภาพเพื่อสื่อความหมาย <br />สร้างความเข้าใจ สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับผู้ชม</p> คมชวัชร์ พสูริจันทร์แดง; กชกร ชิตท้วม, ธนันท์พัชร อัศวเสมาชัย Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/272195 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 เครื่องมือการละครเพื่อการตื่นรู้: การประยุกต์รูปแบบ “ละครย้อนแสดง” เพื่อเรียนรู้พุทธศาสนา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/271807 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการละครย้อนแสดงที่ส่งเสริมการเรียนรู้มิติภายในและการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณ 2) ประยุกต์หลักขันธ์ 5 ทางพุทธศาสนาเข้ากับกระบวนการทางการละคร 3) ผลิตกระบวนการเรียนรู้ต้นแบบทางการละคร ที่เอื้อต่อการสำรวจมิติภายในและการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Practice as Research - PaR) ด้วยการให้ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายความถนัดมาร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้ (collaborative process in research) ซึ่งประยุกต์ใช้แนวคิดแบบผสานศาสตร์ (inter-discipline) ได้แก่ แนวคิดเรื่องละครย้อนแสดง (Playback Theatre) แนวคิดเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ (Learning Facilitation) และ แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 (Five Aggregates) ในพุทธศาสนา งานวิจัยนี้เน้นที่การปฏิบัติและกระบวนการสะท้อนคิด ภายใต้กรอบการวิจัยแบบไม่ทดลอง (Non-experimental research) ซึ่งไม่มีการควบคุมตัวแปร ผลการวิจัยผลิตออกมาในรูปของการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทางการละคร (theatre workshop) พบว่า การใช้กิจกรรมละครย้อนแสดงด้วยเทคนิคจับคู่ขัดแย้ง (pairs conflicts) สามารถทำให้ผู้แสดงมองเห็นโลกภายในของตนได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังได้เรียนรู้จักการทำงานของอารมณ์และความรู้สึกได้ดีผ่านการแสดงออกทางกายด้วยกิจกรรมภาพนิ่ง (freeze frame) รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงเชิงสัญลักษณ์ (metaphoric object) จะสามารถเป็นสื่อให้เข้าใจโลกภายในได้จริง ทั้งนี้ ต้องระวังเรื่องการนำผู้เข้าอบรมไปสัมผัสอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานจนเกินไป กระบวนกรควรจะต้องมีวิธีนำกลับมาอยู่ ณ จุดที่อารมณ์เป็นกลางให้เหมาะสม ด้วยวิธีการฝึกสติเพื่อกลับมารู้ตัว เท่าทัน และเพื่อใช้ทบทวนในการมองกลับโลกภายใน งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าละครนั้นเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการสร้างการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง อีกทั้งยังพิสูจน์ได้ว่าละครและพุทธศาสนาสามารถเกื้อกูลกันได้ทั้งสองทาง</p> ชุติมา มณีวัฒนา; สมสิทธิ์ อัสดรนิธี, ศักดิ์ชัย เอี่ยมกระสินธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/271807 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700