วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica <p>วารสารวิชาการสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ จัดทำโดยสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนงานทำนุบำรุงวัฒนธรรมและศิลปะและงานบริการวิชาการแก่สังคม โดยให้อาจารย์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวัฒนธรรมและศิลปะ 2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณภาพ ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมในแต่ละแขนง&nbsp; 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยด้านวัฒธรรมและศิลปะมากยิ่งขึ้น 4. เพื่อผลิตสื่อวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และเผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์ กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม และฉบับที่ 2 มกราคม-มิถุนายน</p> สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ th-TH วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 2985-1459 <p>บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> บทบรรณาธิการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/266099 ปรารถนา คงสำราญ Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 5 5 ปฏิบัติการดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือสู่ดนตรีล้านนา : ความคลี่คลายของศูนย์กลางนิยมของดนตรีในชาติไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/260141 <p>ชาติ และรัฐชาติเป็นผลพวงจากลัทธิอาณานิคมนิยมถึงแม้ภายหลังการครอบงำทั้งด้านการปกครอง การเมืองที่เป็นรูปธรรมจะเบาบางลงภายหลังการตระหนักรู้และเกิดแนวคิดหลังอาณานิคมนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะเวลานานพอควร แต่ดุลยภาพของโลกที่ฉาบเคลือบด้วยระบบสังคมเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ทุนเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของความเป็นสังคมมนุษย์ ชาตินิยมเป็นประเด็นถกเถียงและซ่อนเร้นอยู่ในความคิด สืบทอดส่งต่อผ่านการสอดแทรกอยู่ในเรื่องต่าง ๆ ของไทยทั้งวรรณกรรม ศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ดุริยางคกรรม บทความนี้นำเสนอการก่อตัวของชาตินิยมในมิติดนตรี และการเผชิญหน้ากับกระแสชาตินิยม ตลอดจนการประกอบสร้างความเป็นท้องถิ่นนิยมเพื่อถ่วงดุลอำนาจกระทั่งสามารถปลดปล่อยการถูกกดทับจากกระแสศูนย์กลางนิยม เมื่อชาตินิยมของไทยผูกติดกับอำนาจของศูนย์กลาง “ฐานกรุงเทพ ฯ” จึงสำแดงอำนาจสู่มิติดนตรีในระดับภูมิภาค ดนตรีล้านนาใช้กระบวนการทางสังคมในการสละตัวเองออกจากเงื้อมเงาของฐานกรุงเทพ ฯ โดยอุปายโกศล ทั้งการเลือกรับ การปรับตัว และการสถาปนาล้านนานิยม ด้วยผลผลิตทางวิชาการดนตรี ดนตรีล้านนาจึงได้สร้างตัวตน สร้างอัตลักษณ์ และดำเนินการคลี่คลายตัวเองจากศูนย์กลางได้สำเร็จจากทุนทางสังคมล้านนา และผลิตสร้างคุณค่าในตัวเอง</p> ชยุติ ทัศนวงศ์วรา Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 10 23 เพลงเปล และเพลงตนโย้ง การขับร้องพื้นบ้านกับสังคมพหุศาสนาและการกลายเป็นเมืองของตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/265129 <p>เพลงพื้นบ้านเป็นนันทนาการ เป็นร่องรอยประวัติศาสตร์ และเป็นการบอกเล่าสภาพสังคม บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสังคีตลักษณ์ของเพลงพื้นบ้าน กรณีเพลงเปลและเพลงตนโย้ง ของตำบลป่าตอง และการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของเพลงพื้นบ้าน โดยพบว่าเพลงพื้นบ้านมีรูปแบบทางสังคีตลักษณ์ที่เรียบง่ายและมีความยืดหยุ่น และเป็นการบันทึกเรื่องราวของสังคมที่มีลักษณะเฉพาะ เพลงเปลใช้เป็นเพลงร้องเล่นในระหว่างการทำงานภาคเกษตรกรรม และการใช้เพลงในการกล่อมเด็ก ส่วนเพลงตนโย้งมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ คำร้องใช้การผสมระหว่างภาษาไทยพื้นถิ่นและภาษามลายู การดำรงอยู่ของเพลงพื้นบ้านมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เป็นเงื่อนไขกล่าวคือ ข้อจำกัดของศาสนากับการร้องเพลงพื้นบ้านของผู้ที่อยู่ในวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของการกลายเป็นเมืองของภูเก็ต</p> จารุวัฒน์ นวลใย Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 24 34 ความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมกับวิถีชีวิตในโลกอนาคตระหว่างภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับโลกความจริง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/255857 <p>ภาพยนตร์แนวนิยายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงโลกแห่งจินตนาการกับการออกแบบสถาปัตยกรรมในโลกแห่งความเป็นจริงให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภาพยนตร์สามารถนำเสนอสถาปัตยกรรมและสภาพสังคมในอนาคตที่ก้าวไกลเกินกว่ามนุษย์จะจินตนาการ โดยได้รับอิทธิพลมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี รวมถึงความเฟื่องฟูของนวัตกรรมต่าง ๆ ก่อให้เกิดการคาดเดาวิถีชีวิตของมนุษย์ในโลกอนาคต สถาปัตยกรรมและภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางความคิดระหว่างผู้กำกับภาพยนตร์กับสถาปนิกในการสื่อสารโลกอนาคตให้กับผู้ชม ดังนั้นสถาปัตยกรรมในภาพยนตร์กับโลกความจริงจึงเป็นสิ่งที่ขาดออกจากกันไม่ได้ บทความนี้มีจุดมุ่งหมายในการตีแผ่แนวความคิดและทัศนคติของสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตในโลกความจริงที่มีความเชื่อมต่อกับแนวคิดของภาพยนตร์นวนิยายวิทยาศาสตร์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีสถาปัตยกรรม สภาพสังคมและจิตใจมนุษย์เป็นสื่อในการวิเคราะห์และคาดคะเนวิถีชีวิตอนาคต เพื่อให้สามารถมองเห็นถึงความเป็นไปได้ทางการออกแบบสถาปัตยกรรมและการประยุกต์ใช้ในสื่ออื่น ๆ ผ่านการวิพากษ์และการพรรณนาด้านทฤษฎีและประวัติศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม</p> ปริญ มีทรัพย์ Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 35 45 การสร้างสรรค์งานสาธารณศิลป์ด้วยการบูรณาการศาสตร์ ศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ ในการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อชุมชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/263972 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานสาธารณศิลป์ด้วยการบูรณาการศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ในการขับเคลื่อนงานศิลปะเพื่อชุมชน โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยสร้างสรรค์ (Creative Research) และการวิจัยและพัฒนา (Research and Development, R&amp;D) และใช้แนวคิดสาธารณศิลป์ (Art for public) และแนวคิดการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (Collaborative Creativity) ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งในส่วนของศิลปินแต่ละแขนง การทำงานร่วมกับชุมชน และการตอบโจทย์สังคมในสถานการณ์หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ภายใต้การออกแบบสร้างสรรค์ผลงานชุด “กัลปพฤกษ์: Wishing Tree” ที่ประยุกต์ตำนานต้นกัลปพฤกษ์ตามวิถีความเชื่อในสังคมไทยมาเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์งาน ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ผลงานด้วยแนวคิดสาธารณศิลป์ เป็นแนวทางในการทำงานศิลปะเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชนอันเป็นพื้นที่ให้กลุ่มศิลปินในหลากหลายแขนงได้มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตผลงานทางศิลปกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ในองค์รวม รวมถึงเป็นการนำเสนอแนวทางใหม่ ๆ ให้แก่ชุมชน การบูรณาการศาสตร์ในหลากหลายแขนงนี้ทำให้เกิดผลงานศิลปะที่มีความสมบูรณ์ในทุกองค์ประกอบสามารถสื่อสารและเข้าถึงผู้ชมได้ง่าย นอกจากนี้การทำงานร่วมกับชุมชนโดยให้นักเรียนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วม เป็นการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจ ตลอดจนความตระหนักรู้และเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานศิลปะเพื่อชุมชนได้เป็นอย่างดี</p> ภาวิณี บุญเสริม สุรสีห์ ชานกสกุล วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 46 57 แม่ท่าฟ้อนล้านนา : ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/258243 <p>บทความวิจัยเรื่อง แม่ท่าฟ้อนล้านนา : ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน - ช่างฟ้อน) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบการฟ้อนที่ปรากฏในผลงานการแสดงของศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการรวบรวมข้อมูลจากผลงานการแสดงของศิลปินในสื่อออนไลน์ ข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ศิลปิน ทายาทสายตรง และลูกศิษย์ รวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำมาวิเคราะห์กระบวนการท่ารำ จากการแสดงของศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน – ช่างฟ้อน) คือ พ่อครูคำ กาไวย์ พ่อครูมานพ ยาระณะ แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กระบวนท่าฟ้อนของศิลปินทั้ง 3 ท่าน ได้รับการถ่ายทอดมาจากปรมาจารย์ทางด้านการแสดงพื้นบ้านล้านนา และผลงานการแสดงที่ศิลปินเป็นผู้เรียบเรียงหรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ เพื่อปรับใช้การแสดงให้เข้ากับแต่ละบริบทของสังคมตามความถนัดของตนเอง โดยกระบวนท่าฟ้อนดังกล่าวมาจากการฟ้อนในรูปแบบดั้งเดิมของผู้ชาย คือ ฟ้อนเชิง และกระบวนท่าฟ้อนที่มาจากรูปแบบการแสดงของผู้หญิง ชื่อท่าฟ้อนมาจากกิริยาในการแสดงออกของกระบวนท่าฟ้อน ธรรมชาติ และวิสัยของสัตว์ ทั้งกระบวนท่าฟ้อนและชื่อแม่ท่าฟ้อนปรับให้สอดคล้องกันอย่างเหมาะสม เครื่องดนตรีประกอบ ได้แก่ วงกลองล้านนา วงสะล้อ ซึง วงปี่พาทย์ล้านนา นอกจากนั้นยังพบว่าชื่อกระบวนท่าฟ้อนของศิลปินทั้ง 3 ท่าน ใช้ชื่อท่าฟ้อนเดียวกันในบางกระบวนท่าแต่รูปแบบการฟ้อนหรือกระบวนฟ้อนมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสำนักของตน</p> รัตนะ ตาแปง นุชนาฏ ดีเจริญ กิตติ์ธเนศ ศิริสุริยเสรี Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 58 71 การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์จากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/255002 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาแนวคิดการเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ 2) สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ 3) นำเสนอแบบจำลอง (Model) ทางนาฏศิลป์การเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ โดยใช้แนวทางวิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง การสังเกตการณ์ การดำเนินการทดลองสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏศิลป์ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย </p> <p>ผลการวิจัย สรุปได้ว่า 1) การเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ มีลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายที่แสดงออกให้เห็นทันที เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น ไม่ได้เกิดจากการวางแผนล่วงหน้าหรือกำหนดลีลาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่เกิดจากประสบการณ์หรือสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นนำไปสู่การเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่างที่แตกต่างกันทำให้เกิดความหลากหลายในการเคลื่อนไหว 2)สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ <u>แนวคิดการแสดง</u> คือ สิ่งเร้าจากการรู้สึกและการรับรู้ (Sensation and Perception) ของมนุษย์ เป็นตัวกระตุ้นในการเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ โดยสิ่งเร้าที่ผู้วิจัยนำมาคือสิ่งของที่สามารถรับประทานได้โดยคัดเลือกจากลักษณะทางกายภาพของสิ่งของที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดำเนินการทดลองแนวคิดนี้ทั้งหมด 1 องก์ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ องก์ที่ 1 ระหว่างช่วงที่ 1 กับช่วงที่ 2 ความแตกต่างกันตรงที่ประสาทสัมผัสทางด้านการมองเห็น ช่วงที่ 1 : ปิดตา ผู้วิจัยต้องการให้นักแสดงได้สัมผัสและรับรู้ถึงรสชาติ รวมทั้งการใช้มือสัมผัสสิ่งเร้าโดยปราศจากการมองเห็น ในขณะที่ ช่วงที่ 2 จะเปิดตาและให้นักแสดงได้พินิจพิจารณาสิ่งเร้าที่ได้รับ <u>นักแสดง</u> ผู้วิจัยกำหนดและคัดเลือกนักแสดง โดยคัดเลือกนักแสดงที่มีทักษะทางนาฏศิลป์สากล ผู้เคยได้เรียนหรือมีประสบการณ์เข้าร่วมเรียนรู้เทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์มาแล้ว <u>การเคลื่อนไหวร่างกาย</u> ดำเนินการออกแบบการเคลื่อนไหวโดยใช้ สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นในการเคลื่อนไหวร่างกายของนักแสดง เพื่อนำมาร้อยเรียงให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายที่สอดคล้องและเหมาะสมกับแนวคิดการแสดงที่กำหนดไว้ 3) แบบจำลอง (Model) ทางนาฏศิลป์การเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์ สามารถวิเคราะห์ออกมาทั้งหมด 4 ขั้นตอน เป็นแนวทางที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาการออกแบบลีลาในการคำนึงถึงความหลายของรูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกายจากเทคนิคปฏิภาณทางนาฏศิลป์และคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงนาฏศิลป์ต่อไป</p> รักษ์สินี อัครศวะเมฆ Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 72 85 การศึกษาบทบาทและลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับภาพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/258698 <p> </p> <p>การวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับภาพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาทัศนะที่มีต่อลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับภาพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ชนิดมาตราส่วนประเมินค่า (Rating scale) 5 ระดับ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรผู้สร้างสรรค์งานภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลในประเทศที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตภาพยนตร์ไทยในปัจจุบันทั้งสิ้น 243 คน ส่วนที่เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับกลุ่มผู้กำกับ ผู้กำกับภาพ และผู้อำนวยการสร้างทั้งสิ้น 8 คน เพื่อศึกษาในรายละเอียดเชิงลึกของบทบาทและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับภาพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้กำกับภาพมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบอยู่ในทุกกระบวนการของการผลิตทำภาพยนตร์ ตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาและทำความเข้าใจบทภาพยนตร์ การถ่ายภาพและการเล่าเรื่องด้วยภาพให้สื่อสารตามวัตถุประสงค์ของ ผู้กำกับ การให้ข้อเสนอแนะในด้านการตัดต่อและการปรับแก้สีไปจนถึงส่วนลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้กำกับภาพจะประกอบไปด้วยทักษะ 2 ประเภท คือ ทักษะหลัก (Hard skills) ประกอบด้วย (1) ความรู้ด้านภาพยนตร์และภาษาภาพยนตร์ (2) ความรู้และทักษะการถ่ายภาพยนตร์ (3) ความรู้ทางศิลปะ (4) การรู้จักภาพยนตร์ที่แตกต่างหลากหลาย (5) ความรู้และความถนัดเฉพาะทางที่สอดคล้องกับองค์รวมของงาน และทักษะรอง (Soft skills) ประกอบด้วย (1) ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล (2) ทักษะการคาดเดาความคิดและความต้องการของผู้อื่น (3) ทักษะการบริหารจัดการและการวางแผนงาน (4) ทักษะการทำงานเป็นทีม (5) ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (6) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ </p> อธิป เตชะพงศธร อภิเชฐ กำภู ณ อยุธยา Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 86 100 การศึกษาโครงเรื่องของนิทานไทยเรื่องสังข์ทองกับนิทานเวียดนามเรื่องกะลามะพร้าว (So Dua) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/265841 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงเรื่องนิทานไทยเรื่อง<strong>สังข์ทอง</strong>กับนิทานเวียดนามเรื่อง <strong>กะลามะพร้าว</strong> (So Dua) ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) โดยกำหนดขอบเขตข้อมูลการวิจัยจากนิทานในแบบเรียนของไทยและแบบเรียนของเวียดนาม ได้แก่ นิทานไทยเรื่อง<strong>สังข์ทอง </strong>ฉบับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย<strong> </strong>และนิทานเวียดนามเรื่อง <strong>กะลามะพร้าว</strong> (So Dua) ฉบับของ Nguyen Khac Phi โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์โครงเรื่องนิทาน </p> <p>ผลการวิจัยพบว่านิทานเรื่องสังข์ทองกับ<strong>กะลามะพร้าว</strong> (So Dua) มีโครงเรื่องคล้ายกัน วิเคราะห์ตามแนวคิดของโครงเรื่องนิทานได้ 3 ตอนหลัก ได้แก่ ชีวิตพระเอกตอนแรกเกิด ชีวิตในวัยเด็ก และชีวิตแต่งงาน ชีวิตตอนแรกเกิดพบเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ คือ กำเนิดผิดปกติ การซ่อนรูป และการถูกขับไล่ ชีวิตในวัยเด็กพบเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ ได้แก่ การซ่อนรูปและการเผยร่าง และการถูกทดสอบ ช่วงชีวิตแต่งงานเป็นช่วงที่ยาวนานและเป็นตอนจบของเรื่องพบ 3 เหตุการณ์ ได้แก่ การได้คู่ครอง การผ่านการทดสอบจนได้รับการยอมรับ และการจบเรื่องด้วยความสุข นิทานไทยเรื่อง<strong>สังข์ทอง</strong> และนิทานเวียดนามเรื่อง<strong>กะลามะพร้าว</strong> (So Dua) จึงเป็นนิทานของสองประเทศที่แสดงลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมจากนิทาน และบทบาทตัวละครเอกที่แสดงศักยภาพของมนุษย์ ความสามารถ และสติปัญญา ซึ่งเจ้าของนิทานทั้งสองวัฒนธรรมให้ความสำคัญ</p> สุภัค มหาวรากร นิธิอร พรอำไพสกุล Nguyen Kieu Yen Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 101 114 ประติมากรรมร่วมสมัยสื่อจากอากัปกิริยาเชิงให้รู้สึกเสน่ห์หา ของ หญิงไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/266737 <p>การสร้างสรรค์ประติมากรรมร่วมสมัยสื่อจากอากัปกิริยาเชิงให้รู้สึกเสน่ห์หา ของ หญิงไทย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม กระตุ้นเตือนให้ชุมชน สังคม และผู้คนเห็นถึงการแสดงออกในยุคสมัย ที่มีอยู่ปรากฏในสื่อออนไลน์ โดยการนำเสนอผ่านกระบวนการประติมากรรม เทคนิคการพรินต์ 3D PLA (Polylactic Acid) ประกอบ ไฟ LED 2) เพื่อเป็นองค์ความรู้จากกระบวนการสร้างสรรค์เทคนิคการพรินต์ 3D PLA (Polylactic Acid) จากผลงานประติมากรรมร่วมสมัยสื่อจากอากัปกิริยาเชิงให้รู้สึกเสน่ห์หา ของ หญิงไทย ต่อนักเรียน นักศึกษา นิสิตศิลปะ และผู้สนใจในงานประติมากรรมร่วมสมัย โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยสร้างสรรค์ให้เกิดความสุนทรียะในการถ่ายทอดมากที่สุด ผ่านมิติความสร้างสรรค์ รูปแบบปริมาตรทางมิติของผลงานงานประติมากรรม สื่อถึงอัตลักษณ์แนวทางสร้างสรรค์ของผู้วิจัยจากมุมมองสู่ผลงาน ลำดับขั้นตอนการดำเนินการวิจัยอย่างมีระบบเริ่มจาก การศึกษาอิทธิพลกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานสร้างแนวความคิด เชื่อมโยงไปถึงตัวบุคคล ภาพสตรีในโซเชียลมีเดียที่ผู้วิจัยนำมาเปรียบเทียบกับกระบวนการสร้างสรรค์ สัญลักษณ์ที่เหมาะสมกับแนวความคิด ด้วยวัสดุให้เกิดรูปลักษณ์ทางประติมากรรม มุ่งเน้นความมีเสน่ห์ของภาพสตรีจากรูปทรง สัมพันธ์กับการสร้างชุดสตรีในชุดไทยประกอบเครื่องแต่งกายแบบไทยรูปแบบดังเดิมและร่วมสมัยในบริบทของ นาฏศิลป์ไทย ถ่ายทอดตามอัตลักษณ์ตามตัวละครนางในวรรณคดี ชุดแต่งกายประกอบเครื่องทรงชุดการแสดงของนาฏศิลป์ไทย ที่นำมาเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ ให้เหมาะสมกับบริบทของความเสน่ห์หา โดยมีดังนี้ นางวันทอง นางโมรา นางกากี จากความคุ้นชินด้านวรรณกรรมจากตัวละครตัวนาง กับภาพปรากฏของหญิงสาวที่แสดงออกผ่านสื่อโซเชียลในปัจจุบัน ด้วยมุมมองของผู้ชาย ในกระบวนความคิดของผู้วิจัยในมุมมองของสังคม แท้จริงแล้ว ภาพของหญิงสาวที่พบเห็นในสื่อโซเชียลแท้จริง เพียงอวดฉมให้เสน่ห์หา หรือเพ่งแสดงออกถึงการดูแลตนเอง เปรียบดังตัวละครในวรรณคดีที่ผู้วิจัยหยิบยกมา ดีชั่ว เริ่มต้นจากผู้ใด ในสังคมแห่งปัจจุบันที่ ทุกเพศล้วนแล้วมีแต่ความ เท่าเทียม พร้อมวิเคราะห์ผลงานตามหลักการทางทัศนธาตุ และเอกภาพของศิลปะ สู่องค์ความรู้นำเสนอถ่ายทดสู่สาธารณะชนต่อไป</p> โดม คล้ายสังข์ Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 115 128 การออกแบบเครื่องประดับเชิงพาณิชย์จากแนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาติ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/258964 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.ศึกษาการพัฒนาเครื่องประดับเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาติ 2. ออกแบบเครื่องประดับเชิงพาณิชย์จากแนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาติ และ 3.ประเมินความพึงพอใจแบบร่างเครื่องประดับเชิงพาณิชย์จากแนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาติสำหรับนำไปผลิตต้นแบบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางการออกแบบเครื่องประดับเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดการลอกเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับการออกแบบเป็นเครื่องประดับ ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง คือ 1. กลุ่มนิสิตนักศึกษาในสาขาการออกแบบเครื่องประดับใช้แบบสอบถาม เพื่อคัดเลือกแพลงก์ตอนที่เหมาะสมในการนำมาออกแบบเป็นเครื่องประดับ และ 2.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการผลิตเครื่องประดับ แบบประเมินแบบร่างเครื่องประดับ เพื่อประเมินแบบร่างเครื่องประดับสำหรับการผลิต</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบเครื่องประดับเกี่ยวข้องโดยตรงกับความงามและประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักการออกแบบเชิงพาณิชย์จะเน้นมูลค่าของวัสดุ การนำเสนอรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และการผลิตในปริมาณมาก ส่วนแนวทางการเลียนแบบธรรมชาติสู่การสร้างนวัตกรรมมี 2 แนวทาง คือ 1. แนวทางชีววิทยาสู่การออกแบบ และ 2. แนวทางการออกแบบสู่ชีววิทยา ซึ่งในการออกแบบเครื่องประดับครั้งนี้ใช้แนวทางที่หนึ่งในการออกแบบ ผู้วิจัยได้ใช้รูปทรงแพลงก์ตอนเป็นแรงบันดาลใจ ออกแบบสำหรับผู้บริโภคเพศผู้หญิง อายุระหว่าง 23-38 ปี (Gen Y) ผลการคัดเลือกรูปทรงแพลงก์ตอนที่เหมาะสำหรับนำมาออกแบบเครื่องประดับ พบว่า รูปทรงแพลงก์ตอนที่มีคะแนนสูงสุด 5 อันดับได้แก่ แพลงก์ตอนลำดับที่ 11, 14, 28, 35 และ 1 ส่วนผลการประเมินแบบร่างเครื่องประดับ พบว่า แบบร่างเครื่องประดับที่ 5 ที่ใช้รูปทรงของแพลงก์ตอนชื่อ Cyclotella sp. มาออกแบบ เป็นแบบร่างที่มีคะแนนประเมินสูงสุด โดยมีคะแนนความเหมาะสมในระดับมาก (= 4.20, S.D. = 0.53) ซึ่งจะนำไปผลิตเป็นผลงานต้นแบบต่อไป</p> <p><strong> </strong></p> ธนกฤต ใจสุดา ภัทรา ศรีสุโข วิมลิน สันตจิต Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 129 145 นวัตกรรมการออกแบบแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากอัตลักษณ์ผ้าไหม จากแนวทางผ้าแจ็คการ์ค ด้วยกลยุทธ์แฟชั่นแพ็คสู่ตลาดสากล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/265983 <p>ในปัจจุบันสินค้ารังไหม เส้นไหม ผ้าไหม และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายผ้าไหม สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศด้วยการส่งออกสินค้าดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกันยอดขายในประเทศกลับสูงกว่า ทำให้เห็นช่องว่างทางการตลาดของสินค้าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไฮเอนด์ของตะวันตก โดยในยุโรปเริ่มมีการนำนโยบาย fashion pact มาใช้ในการควบคุมคุณภาพสินค้า จากข้อมูลดังกล่าวผู้วิจัยจึงทำการศึกษานวัตกรรมการออกแบบแฟชั่นไลฟ์สไตล์อัตลักษณ์ผ้าไหม จากแนวทางผ้าแจ็คการ์คด้วยกลยุทธ์แฟชั่นแพ็คสู่ตลาดสากล โดยมีวัตถุประสงค์ 1)แนวคิดทุนทางวัฒนธรรมการทอผ้าไหมของแขมร์สะเร็น 2)แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างสิ่งทอ ผ้าแจ็คการ์ค ในรูปแบบสากล 3) แนวคิดทฤษฏี รื้อสร้าง (Deconstruction) การออกแบบสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ 4) แนวคิด THE FASHION PACT ขอบเขตพื้นที่ศึกษาคือ กลุ่มผู้ทอผ้า แขมร์สะเร็น ในจังหวัดสุรินทร์ ใช้วิธีการวิจัยในการเก็บข้อมูล 1) การสังเกตแบบรู้ตัว (know observation) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งทอไหมพื้นบ้าน ช่างทอผ้า เจ้าของทุนทางวัฒนธรรมผ้าทอแขมร์สะเร็น จำนวน 5 ท่าน 2) การสัมภาษณ์ (interview) ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ จำนวน 5 ท่าน โดยการสร้างเครื่องมือสัมภาษณ์ และการหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสัมภาษณ์ (IOC) เมื่อสรุปข้อมูลจากวิธีวิจัยทั้งสองจึงนำมาเปรียบเทียบกับแนวโน้มกระแสนิยม (TREND) ปี 2025 นำมาสร้างสรรค์แบบร่างลวดลายผ้าเพื่อหาแนวทางต้นแบบโครงสร้างผ้าอัตลักษณ์ การทอผ้าเจ็กการ์ดแบบตะวันตก โดยใช้เทคนิคทุนทางวัฒนธรรมการทอผ้าไหมไทย แขมร์สะเร็น อีสานใต้จากนวัตกรรมการออกแบบแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากอัตลักษณ์ผ้าไหมแจ็คการ์ค ด้วยกลยุทธ์แฟชั่นแพ็ค (Fashion pact) สู่ตลาดแฟชั่นตะวันตก</p> พัดชา อุทิศวรรณกุล แพรวา รุจิณรงค์ Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 146 156 การพัฒนางานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นหม้อบ้านลำโพง ต.พุดซา อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สำหรับครูสอนศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/263080 <p>บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นหม้อบ้านลำโพง นำมาถอดเป็นองค์ความรู้และถ่ายทอดให้กับครูศิลปะ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1. ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นหม้อบ้านลำโพง 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาการตีหม้อของบ้านลำโพง 3. นำองค์ความรู้มาถ่ายทอดให้กับครูศิลปะ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นการปั้นหม้อบ้านลำโพง จากการศึกษาเนื้อดินปั้นมีอัตราส่วนการผสมดินเหนียวในท้องถิ่น 70% ดินเชื้อ 30% มีความเหนียวสามารถขึ้นรูปได้ดีสามารถเผากลางแจ้งจากวัสดุธรรมชาติในอุณหภูมิประมาณ 700 องศาเซลเซียส 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการได้เรียนรู้ถึงลักษณะของเนื้อดินเผาพบว่ามีความพรุนตัวสูงเหมาะที่จะสร้างสรรค์เป็นภาชนะกระถางขนาดเล็ก บีบขึ้นรูปด้วยมือตกแต่งพื้นผิวด้วยการขูดขีด มีขาตั้งยกรูปทรง และปั้นแปะต่อเติมภาชนะเป็นรูปสัตว์ชนิดต่างๆ โดยเผากลางแจ้งแบบประยุกต์โดยใช้ถ่านไม้และฟางเป็นตัวให้ความร้อน มีควันน้อยและให้ความร้อนที่สูง โดยสังเกตจากสีดินที่เผามีสีส้มเคาะมีเสียงกังวานก็แสดงว่าชิ้นงานสุกสมบูรณ์ 3. การถ่ายทอดองค์ความรู้กระถางดินเผาที่ปั้นโดยการบีบไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการขึ้นรูปจะมีก็เพียงอุปกรณ์ในการตกแต่งที่หาได้ทั่วไป สามารถที่จะนำมาถ่ายทอดให้ครูศิลปะไปใช้สอนในโรงเรียนได้จริงจากวัสดุและภูมิปัญญาในท้องถิ่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านการส่งต่อจากครูศิลปะสู่นักเรียนและเยาวชน</p> เกรียงไกร ดวงขจร Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 25 1 157 168