https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/issue/feed วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 2024-06-28T16:01:59+07:00 กองจัดการวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ culture.artsjournal@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ จัดทำโดยสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนงานทำนุบำรุงวัฒนธรรมและศิลปะและงานบริการวิชาการแก่สังคม โดยให้อาจารย์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวัฒนธรรมและศิลปะ 2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณภาพ ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมในแต่ละแขนง&nbsp; 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยด้านวัฒธรรมและศิลปะมากยิ่งขึ้น 4. เพื่อผลิตสื่อวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และเผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์ กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม และฉบับที่ 2 มกราคม-มิถุนายน</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/266064 นักดนตรีที่ตื่นเต้นกับสังคมศาสตร์: ทบทวนความสัมพันธ์ระหว่าง ETHNOMUSICOLOGY กับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2023-11-23T16:01:32+07:00 ณัฐพล วิสุทธิแพทย์ nwisutti@tu.ac.th <p> คำว่า Ethnomusicology เป็นสาขาวิชาที่รู้จักกันในภาษาไทยภายใต้ 3 ชื่อเป็นอย่างน้อย คือ มานุษยดนตรีวิทยา (หรือมานุษวิทยาดนตรี) มานุษยดุริยางควิทยา และดนตรีชาติพันธุ์วิทยา ทั้ง 3 ชื่อล้วนมีนิยามที่คล้ายคลึงกันคือการศึกษาดนตรีในบริบทสังคมและวัฒนธรรม อย่างไรก็ดีบทบาทของ ethnomusicology ในแวดวงมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ไทยนั้นมีอยู่จำกัด สวนทางกับทิศทางการข้ามศาสตร์ของ ethnomusicology ในเวทีมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ในระดับนานาชาติ ด้วยประวัติศาสตร์ พัฒนาการ และบริบทเฉพาะทำให้เกิดช่องว่างและเส้นแบ่งของ ethnomusicology ในประเทศไทยกับกระแสวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บทความนี้ต้องการจะเสนอแนวทางเพื่อสลายช่องว่างและเส้นแบ่งดังกล่าวด้วยข้อเสนอที่ว่า ethnomusicology มีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสธารทางวิชาการในมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาตลอดระยะเวลาเกือบ 70 ปีที่มีการสถาปนาสาขาวิชานี้ขึ้น ผู้เขียนได้สำรวจภาพรวมของวรรณกรรม ethnomusicology ในห้วงเวลาต่าง ๆ โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของ ethnomusicology กับแนวคิดทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ขับเคลื่อนการสร้างความรู้ในช่วงเวลานั้น ๆ บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อจัดวางตำแหน่งของ ethnomusicology ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 และให้เป็นต้นทางในการทบทวนสถานะและตำแหน่งของของ ethnomusicology ในวงวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไทย</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/271701 บทบรรณาธิการ 2024-06-27T14:39:24+07:00 ปรารถนา คงสำราญ culture.artsjournal@gmail.com 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/258699 แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชนไทย 2022-10-04T16:22:16+07:00 ไรวินท์ ลียวัฒนานุพงศ์ raiwin@g.swu.ac.th กฤติกา สายณะรัตร์ชัย krittikas@g.swu.ac.th จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด aj.jutatip@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครเพื่อ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพื่อสร้างแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชนไทย วิธีการดำเนินการวิจัยมีทั้งหมด 3 ระยะ ระยะที่ 1 คือ การศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร โดยมีกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ นักศึกษาที่เคยเข้าร่วม การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร รวม 402 คน ใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ ผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวม 12 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 คือ การร่างแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร และระยะที่ 3 คือ การยืนยันแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร จากผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวม 5 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร 2-3 ครั้ง ในช่วงกุมภาพันธ์-พฤษภาคม โดยเป็นกิจกรรม 3 วัน 2 คืน เดินทางร่วมกับกลุ่มเพื่อน มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมและราคาที่จะจ่ายในอนาคตไม่เกิน 1,000 บาท รับข้อมูลจากโซเชียลมีเดียเป็นหลัก ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชนไทยคือ ควรออกแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและนักท่องเที่ยว มีระยะเวลาและช่วงเวลาในการจัดการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับกลุ่มเยาวชน แหล่งท่องเที่ยวมีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและมีที่พักแรมรองรับ สามารถเข้าถึงได้ง่าย ปลอดภัย ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ โดยเฉพาะสัญญาณโทรศัพท์ และไฟฟ้า</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/258731 เงื่อนไขการสร้างสรรค์สื่อนิทานประกอบภาพเพื่อการเรียนรู้โรคระบาดโควิด 19 สำหรับเด็กมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2023-08-24T10:00:01+07:00 อับดุลเลาะ เจ๊ะหลง dullpsu@gmail.com ปัญญา เทพสิงห์ punya.t@psu.ac.th เกษตรชัย และหีม lkasetchai@yahoo.com <p> บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขการสร้างสรรค์สื่อนิทานประกอบภาพเพื่อการเรียนรู้โรคระบาดโควิด 19 สำหรับเด็กมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อหลัก 6 กลุ่มโดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) แกนนำชุมชนมุสลิม 2) ผู้นำศาสนาอิสลาม 3) นักวิชาการมุสลิม 4) นักสาธารณสุขมุสลิม 5) ประชาชนมุสลิม และ 6) เยาวชนมุสลิม รวมทั้งสิ้น 18 คน ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านข้อมูล (Data triangulation) วิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างบทสรุป นําเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบรายงานเชิงพรรณนาวิเคราะห์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า เงื่อนไขการสร้างสรรค์สื่อนิทานประกอบภาพเพื่อการเรียนรู้โรคระบาดโควิด 19 สำหรับเด็กมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเงื่อนไขสำคัญ 5 ประการ 1) เงื่อนไขด้านศาสนาและบริบทวัฒนธรรมมลายูมุสลิม การสร้างนิทานควรใช้อักษรยาวี ชื่อและตัวละครควรแสดงอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ตัวละครสามารถแสดงให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวมุสลิมที่เชื่อมโยงกับหลักศาสนาอิสลาม 2) เงื่อนไขด้านเนื้อหา ควรนำเสนอทั้งด้านบวกและด้านลบ เนื้อหามีความพอดี ระมัดระวังการนำเสนอประเด็นความเชื่อ ควรสะท้อนความเชื่อในศาสนา วิถีวัฒนธรรมมลายู และเนื้อหาควรถูกกำหนดโดยชุมชน 3) เงื่อนไขด้านภาษา ควรเลือกใช้ภาษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น โดยเฉพาะภาษามลายูท้องถิ่น มลายูกลาง รวมถึงควรใช้ภาษาไทยร่วมด้วย 4) เงื่อนไขด้านภาพประกอบ ควรแสดงถึงสภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรในชุมชน วัฒนธรรม ความรู้ และความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับอัตลักษณ์ชาวมลายูมุสลิม 5) เงื่อนไขด้านการเผยแพร่ ต้องคำนึงถึงกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทั้งนี้ช่องทางการสื่อสาร ผู้รับสาร ผลของการสื่อสารเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/267558 การศึกษาความเป็นชาวกรุง ผ่านภาษาในคำร้องเพลงลูกกรุง ระหว่างปี พ.ศ. 2507-2526 2024-01-15T09:54:37+07:00 ธนรัฐ อยู่่สุขเจริญ yusukcharoen@hotmail.com จตุพร สีม่วง jatuporn@kku.ac.th เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี chapik@kku.ac.th <p> บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง องค์ความรู้ และคุณค่าของเพลงไทยสากล <sup> </sup>ประเภทลูกกรุงในสังคมไทย ระหว่างปี พ.ศ.2507 – 2526 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเป็นชาวกรุง ผ่านมิติทางด้านภาษาที่ปรากฏในคำร้องของเพลงไทยสากลประเภทลูกกรุง โดยศึกษาจากบทเพลงที่ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านคำร้อง จากการประกวดรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน และเสาอากาศทองคำพระราชทาน ระหว่างปี พ.ศ.2507-2526 ดำเนินการวิจัยตามกรอบการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ฉันทลักษณ์เนื้อเพลง การศึกษาและตีความหมายของถ้อยคำที่นำมาใช้แต่งบทร้อง เพื่ออธิบายให้เห็นถึงลักษณะภาษาแบบชาวกรุงที่ปรากฏในคำร้องที่เชื่อมโยงกับการสร้างภาพแทนของความเป็นชาวกรุง (กรุงเทพ) ผลการวิจัยพบว่า เพลงทุกเพลงใช้หลักการประพันธ์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการสัมผัสเสียงคำ ตามแบบร้อยกรองไทย ใช้รูปแบบฉันทลักษณ์แบบร้อยกรองไทยเป็นโครงสร้างในการร้อยเรียงวางคำร้องปรากฏเป็นฉันทลักษณ์ของกวีนิพนธ์อีกรูปแบบหนึ่ง เลือกใช้ถ้อยคำในภาษาระดับแบบแผน มีกลวิธีการใช้ถ้อยคำ เช่น การซ้ำคำ การหลากคำ การใช้ศัพท์สูง การปรุงศัพท์ และสื่อสารเรื่องราวด้วยการใช้โวหารและภาพพจน์ คุณสมบัติทางภาษาต่างๆ ที่พบในคำร้องเพลงลูกกรุง ได้แสดงถึงความงาม<a href="#_ftnref1" name="_ftn1"></a></p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/265866 เรือมอันเร: นาฏกรรมพื้นบ้านในประเพณีสงกรานต์เขมรถิ่นไทย 2023-10-06T11:15:00+07:00 พงศธร ยอดดำเนิน pongyod@kku.ac.th <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงพื้นบ้านในประเพณีสงกรานต์เขมรถิ่นไทย ชุด เรือมอันเร ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการจัดกิจกรรมภาคสนาม มุ่งศึกษาการแสดงพื้นบ้านที่ปรากฏในประเพณีสงกรานต์เขมรถิ่นไทยพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีสงกรานต์ของชาวเขมรถิ่นไทยจัดขึ้นในช่วงเดือนที่ห้าตามจันทรคติ มีการแสดงพื้นบ้านนิยมเล่นเฉพาะประเพณี คือ เรือมอันเร มีรูปแบบการแสดงที่เป็นการเล่นและฟ้อนรำพื้นบ้าน โดยนำสากตำข้าวที่มีขนาดยาวจำนวน 1 คู่ มากระทบประกอบกับการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านและการขับร้องเพลง เรือมอันเรแบบดั้งเดิมมีรูปแบบการแสดงที่เปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ฟ้อนรำล้อมวงที่มีการกระทบสากตำข้าวอยู่ตรงกลาง มีท่าทางการฟ้อนรำเดินข้ามและก้าวเท้าเข้าสากที่กำลังกระทบกันตามจังหวะเพลง และการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว บทเพลงและลีลาท่าทางการฟ้อนรำที่ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด แสดงถึงความอัจฉริยะของศิลปินพื้นบ้านที่สร้างความสุขให้แก่คนในชุมชนมาอย่างยาวนาน และเรือมอันเรได้ถูกพัฒนารูปแบบและขั้นตอนการแสดงในรูปแบบนาฏศิลป์พื้นบ้านเชิงอนุรักษ์ สำหรับแสดงในวาระต่าง ๆ นอกเหนือจากประเพณีสงกรานต์ มีการกำหนดกระบวนท่ารำ ทำนองเพลง และเครื่องแต่งกายให้เป็นลักษณะเดียวกัน เรือมอันเรทั้งสองรูปแบบจึงเป็นเสมือนตัวแทนของนาฏกรรมพื้นบ้านและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม แสดงถึงมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สืบทอดอย่างยาวนานของกลุ่มวัฒนธรรมเขมรถิ่นไทย</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/267586 การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม 2024-02-20T09:33:00+07:00 วิทวัส กรมณีโรจน์ gems_seven@hotmail.com <p> การวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม ซึ่งเป็นบทประพันธ์เพลงที่นำเสนอถึงความงดงามของบรรยากาศและสถานที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มีองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ 7 ประการ อีกทั้งยังบูรณาการแนวคิดการสื่อสารภาพและเสียงผ่านมิวสิกวิดีโอ การใช้สัญลักษณ์ในงานนาฏศิลป์ นาฏศิลป์ร่วมสมัย ศิลปะหลังสมัยใหม่ และศิลปะเฉพาะที่ โดยผ่านการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประการ ดังนี้ 1.รูปแบบการแสดง นำเสนอในรูปแบบมิวสิกวิดีโอตามแนวคิดการสื่อสารภาพและเสียงผ่านมิวสิกวิดีโอ 2.นักแสดง เป็นผู้ที่มีทักษะทางด้านนาฏศิลป์ร่วมสมัย 3.ลีลานาฏศิลป์ นำเสนอในรูปแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัย โดยใช้การเคลื่อนไหวร่างกายแบบด้นสดและการเต้นรำคู่ตามแนวคิดนาฏศิลป์ร่วมสมัย 4.เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง สร้างสรรค์และเรียบเรียงเพลงจากบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม 5.เครื่องแต่งกายมีรูปแบบเครื่องแต่งกายไทยสมัยใหม่ โดยใช้โทนสีธรรมชาติแทนความเรียบง่ายตามแนวคิดศิลปะหลังสมัยใหม่ 6.อุปกรณ์ประกอบการแสดง ออกแบบและดัดแปลงจากสิ่งของเหลือใช้ ตามแนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในงานนาฏศิลป์ มุ่งเน้นความเรียบง่าย และสื่อสารได้ง่าย 7.พื้นที่ในการแสดง เลือกใช้สถานที่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยใช้เกณฑ์คัดเลือกจากบทประพันธ์เพลงถิ่นสวรรค์จันทรเกษม ขนาด และความแตกต่างของพื้นที่การแสดงตามแนวคิดศิลปะเฉพาะที่</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/266244 ดนตรี: กลไกในการสร้างและรักษาภาวะลื่นไหลสำหรับการแสดงในละครเพลงอย่างสัมฤทธิ์ผล 2024-02-23T10:36:23+07:00 วรรณ์ขวัญ พลจันทร์ geniuskwan@gmail.com <p> ทฤษฎีภาวะลื่นไหล (Theory of Flow State) ได้รับการศึกษาวิจัยอย่างลึกซึ้งในหลากสาขาวิชา ทั้งด้านการกีฬา ธุรกิจ ดนตรี และการแสดง ในสาขาการแสดง งานวิจัยหลายชิ้นเผยให้เห็นว่า ทฤษฎีการแสดงสมัยใหม่ของ คอนสแตนติน สตานิสลาฟสกี (Konstantin Stanislavsky) มีความคล้ายคลึงกับแนวคิดภาวะลื่นไหล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดเรื่องจิตใต้สำนึกของนักแสดงในการเข้าสู่และการคงความเป็นตัวละครในการแสดง อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติการทางการแสดงของสตานิสลาฟสกี ได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างและการแยกตัวออกจากทฤษฎีภาวะลื่นไหลด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะด้านจิตสำนึกที่ถูกแบ่งแยกขณะแสดงในหลากช่วงของการแสดงของนักแสดง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้โต้แย้งว่าเมื่อจิตสำนึกของนักแสดงถูกแบ่งแยกในขณะแสดงละครเพลง ดนตรีนี่เองที่สามารถนำนักแสดงกลับมา “อยู่ในโซน” (in the zone) หรือ กลับมา “เป็นตัวละคร” และผสานจิตสำนึกให้กลับเป็นหนึ่งเดียวได้อีกครั้ง งานวิจัยนี้เขียนขึ้นโดยอ้างอิงจากการแสดงของผู้เขียนในบทมาเจนทา (Magenta) จากละครเพลงเรื่อง “The Rocky Horror Show” ของริชาร์ด โอ'ไบรอัน (Richard O’Brien) ซึ่งจัดแสดงที่กรุงเทพฯ การวิจัยนี้ ไม่เพียงศึกษาทฤษฎีการแสดง แต่ยังรวมเรื่องของดนตรีและเสียงดนตรีที่ขับเคลื่อนการกระทำและจิตวิทยาภายในของตัวละครในละครเพลง ในฐานะกลไกที่สร้างและรักษาภาวะลื่นไหลสำหรับนักแสดงจนเป็นผลสำเร็จ การจัดสร้างการแสดงละครและการเรียบเรียงเสียงประสานของดนตรีได้ถูกนำมาใช้ศึกษาและวิเคราะห์ร่วมกับรูปแบบการใช้พื้นที่บนเวที ทิศทางการเคลื่อนไหวของนักแสดงบนเวที และการตีความบทเพลงในละครอีกด้วย</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/267795 แนวคิดการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ขั้นสูงสำหรับมัธยมศึกษาตอนต้น 2024-02-08T08:55:17+07:00 โกมล ศรีทองสุข komonsr@g.swu.ac.th ปรวัน แพทยานนท์ porawanp@g.swu.ac.th กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์ kittikornn@g.swu.ac.th <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์แนวคิดการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับมัธยมศึกษาตอนต้น เนื้อหาในบทความเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการพัฒนาโมเดลการสอนกระบวนการละครสร้างสรรค์สำหรับครูเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้วิจัยศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาสังเคราะห์จนได้ประเด็นเนื้อหาที่สำคัญ ประกอบไปด้วย 1.มาตรฐานการเรียนรู้และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.องค์ประกอบของทักษะการคิดขั้นสูง 3.แนวทางการพัฒนาและบทบาทของครูผู้ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน 4.บทบาทและทักษะของครูผู้สอนในฐานะผู้นำกิจกรรมละครสร้างสรรค์ 5.การจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ 6.กระบวนการของละครสร้างสรรค์ในห้องเรียน 7.ละครสร้างสรรค์กับการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ครูเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดรูปแบบการสอนที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย ซึ่งพบว่าละครสร้างสรรค์เหมาะสมต่อการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง เพราะละครสร้างสรรค์มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ และครูผู้สอนที่นำกิจกรรมละครสร้างสรรค์มาพัฒนาผู้เรียนควรมีพื้นฐานทางด้านละครเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ครูผู้สอนจะทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้ค้นหาถึงรากฐานของปัญหา ค้นหาข้อเท็จจริงผ่านสถานการณ์สมมติที่สร้างขึ้น และออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งทักษะการคิดเป็นทักษะที่สำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ส่งผลให้สามารถใช้ชีวิตในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ สามารถคิดและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องบนพื้นฐานของเหตุผลทั้งด้านคุณและโทษ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/268329 การสร้างสรรค์ชุดเครื่องดนตรีสนาม สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาภาษาไทย 2024-04-11T14:15:34+07:00 เทพิกา รอดสการ tepikajoy@gmail.com <p> การวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์ชุดเครื่องดนตรีสนาม สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ชุดเครื่องดนตรีสนาม สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ด้วยฐานความรู้ทางดนตรีไทย และเพื่อศึกษาผลการใช้การสร้างสรรค์ชุดเครื่องดนตรีสนาม สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในประเด็นการรับรู้และตอบสนอองค์ประกอบของดนตรี ได้แก่ จังหวะ ทำนอง และระดับเสียง</p> <p> การวิจัยนี้สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ชุดเครื่องดนตรีสนามประกอบไปด้วย เครื่องดนตรี 3 ชุดที่สามารถบรรเลงได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ออกแบบเป็นโครงสร้างรูปร่างสัตว์ ลักษณะการบรรเลงเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่มีมิติของการกำเนิดเสียงที่แตกต่างกันตามวัสดุที่ใช้ทำ ได้แก่ ไม้ โลหะและพลาสติกสังเคราะห์ (Polyvinylchloride) กำหนดให้มีช่วงเสียงกว้าง 3 ช่วงเสียง (Octave) ได้แก่ เสียงต่ำ เสียงกลาง และเสียงสูง ใช้สี แดง ส้ม เหลือง เขียว ฟ้า แทนเสียงโน้ต โด เร มี ซอล ลา</p> <p> ผลของการทดลองให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญากลุ่มตัวอย่าง 7 คน เล่นชุดเครื่องดนตรีสนาม พบว่า เด็กมีการรับรู้และตอบสนองต่อจังหวะ ทำนอง และระดับเสียงอยู่ในระดับดี</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/269201 การพัฒนาชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย 2024-04-09T16:32:47+07:00 ชานนท์ บุตรพุ่ม icevanitchaya@gmail.com <p> การวิจัยการพัฒนาชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้ชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชายและหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเอง และแบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กก่อนวัยเรียน (MU.EF-101) ของศูนย์ประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย สื่ออุปกรณ์และแผนกิจกรรมจำนวน 12 ชุด โดยชุดกิจกรรมที่ 1 – 4 มุ่งพัฒนาด้านการใส่ใจจดจ่อ ชุดกิจกรรมที่ 5 – 8 มุ่งพัฒนาด้านการควบคุมอารมณ์ และชุดกิจกรรมที่ 9 – 12 มุ่งพัฒนาด้านการติดตามประเมินตนเอง โดยกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมประกอบด้วยทฤษฎีการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การใช้ความทรงจำ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และการสวมบทบาทสมมติภายใต้สถานการณ์และกติกาที่ตกลงร่วมกัน และ 2) ผลการเปรียบเทียบการใช้ชุดกิจกรรมละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดที่มีผลต่อการควบคุมตนเองในเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ผลการทดลองเปรียบเทียบตัวบ่งชี้ทักษะการคิดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยับยั้งชั่งใจ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ทั้ง 3 ด้าน มีระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรมต่ำกว่าหลังจัดกิจกรรม โดยจากการใช้แบบประเมินด้านการติดตามประเมินตนเอง ผลประเมินอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา ตัวบ่งชี้ปัญหาด้านการใส่ใจจดจ่อ และตัวบ่งชี้ปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ ตามลำดับ</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ