TY - JOUR AU - แซ่เจี่ย, ธงชัย PY - 2022/12/29 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการแปลในระดับประโยค: กรณีศึกษาการแปล นวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์ JF - วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ JA - Inst Cult Art J VL - 24 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/256458 SP - 137 - 149 AB - <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการแปลในระดับประโยคในสำนวนแปลภาษาไทยสองสำนวนของนวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์ และเพื่อพิจารณาสัมฤทธิผลของการถ่ายทอดความหมายผ่านการแปล ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีการแปล 5 กลวิธี ได้แก่ การคงลักษณะการเรียงคำในประโยคตามต้นฉบับ การปรับวิธีเรียงคำในประโยค การปรับรูปประโยคกรรมวาจกเป็นกรรตุวาจก การรวมประโยคในต้นฉบับเข้าด้วยกัน และการแยกประโยคจากต้นฉบับ กลวิธีเหล่านี้พบได้ในสำนวนแปลภาษาไทยในนวนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์ ทั้งสองสำนวน มีเพียงวิธีการละไม่แปลเท่านั้นที่พบเฉพาะในสำนวนที่ 1 ทั้งนี้เนื่องมาจากกลวิธีการแปลในระดับประโยคที่ปรากฏในสำนวนที่ 1 มีลักษณะเป็นการแปลแบบเอาความมากกว่า ขณะที่สำนวนที่ 2 มีลักษณะเป็นการแปลแบบตรงตัวมากกว่า ความแตกต่างของลักษณะการแปลดังที่กล่าวมาส่งผลต่อการถ่ายทอดความหมายของสำนวนแปลหรือนวนิยายฉบับแปลอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ การแปลแบบเอาความที่ปรากฏมากกว่าในสำนวนที่ 1 ทำให้สำนวนนี้สามารถสื่อความหมายของต้นฉบับไปยังผู้อ่านได้อย่างเทียบเท่ากับต้นฉบับ ทั้งยังสอดคล้องกับวัฒนธรรมการอ่านและการใช้ภาษาของผู้อ่านภาษาปลายทาง เพราะมุ่งรักษาความหมายของต้นฉบับเอาไว้มากกว่าจะรักษารูปแบบ ในขณะที่การแปลแบบตรงตัวซึ่งปรากฏมากกว่าในสำนวนที่ 2 รักษารูปแบบของการเสนอความคิดในตัวบทต้นฉบับไว้มากกว่าจะเน้นไปที่การรักษาความหมาย</p> ER -