TY - JOUR AU - สิริมงคลกาล, สืบศักดิ์ PY - 2022/06/29 Y2 - 2024/03/29 TI - เครื่องปั้นดินเผารูปแบบศิลปกรรมชุด สีสันศิลปวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน JF - วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ JA - Inst Cult Art J VL - 23 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/255573 SP - 120 - 148 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อสร้างสรรค์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบศิลปกรรม ชุดสีสันศิลปวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จำนวน 2 ชุด แบ่งเป็น ชุดที่ 1 ผลงานรูปแบบ 2 มิติ (นูนต่ำ) และ ชุดที่ 2 ผลงานรูปแบบ 3 มิติ (ลอยตัว) 2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผารูปแบบศิลปกรรม ที่แสดงเนื้อหาและองค์ความรู้ทางวิชาการศิลปกรรมร่วมสมัยในรูปแบบใหม่ โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยมและทฤษฎีหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ 3. เพื่อสร้างคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ผ่านผลงานเครื่องปั้นดินเผา และ 4. เพื่อเป็นสื่อการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอุดมศึกษา รวมถึงเป็นแนวคิดให้ชุมชนด่านเกวียนสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้ โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ช่างปั้นพื้นบ้าน ศิลปิน นักวิชาการ ตลอดจนชาวบ้านในชุมชนบ้านด่านเกวียน เพื่อสรุปความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มาเป็นกรอบความคิดสำหรับใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ผลการศึกษาพบว่า</p><ol><li>1. เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนศิลปวัฒนธรรมของชุมชนบ้านด่านเกวียนที่ครอบคลุมบริบทสังคม เศรษฐกิจและการเมืองมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2500 จนถึงปัจจุบัน</li><li>2. การศึกษาเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนผ่านทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยมและทฤษฎีหน้าที่นิยม สามารถสรุปกรอบแนวคิดสร้างสรรค์ผลงานได้ดังต่อไปนี้ 1) แนวคิดความเป็นดั้งเดิม 2) แนวคิดทฤษฎีออกแบบกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์ 3) แนวคิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลภายนอกชุมชน 4) แนวคิดกระบวนการลดต้นทุนการผลิตเพื่อผลกำไรตามระบบทุนนิยม 5) แนวคิดเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนรูปแบบดั้งเดิมที่เลือนหาย 6) แนวคิดกระบวนการศิลปกรรมร่วมสมัยในชุมชนด่านเกวียน 7) แนวคิดพลวัตศิลปวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาร่วมสมัยในชุมชนด่านเกวียน  </li><li>ผลงานเครื่องปั้นดินเผารูปแบบศิลปกรรมทั้งรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ จำนวนทั้งหมด 51 ชิ้นงาน ที่สร้างสรรค์ผ่านกรอบแนวคิดทั้ง 7 แนวคิด ได้แสดงองค์ประกอบทางศิลปะที่สมบูรณ์สวยงาม และยังสะท้อนเนื้อหาและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนด่านเกวียนได้อย่างชัดเจน ผลงานจึงมีคุณค่าเชิงศิลปกรรมร่วมสมัยในรูปแบบใหม่ สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาได้</li></ol> ER -