TY - JOUR AU - เมฆหมอก, ชนัญญ์ AU - พูลสุวรรณ , เสมอชัย PY - 2021/12/28 Y2 - 2024/03/29 TI - ธุรกิจเมรุเมืองเพชร: พลวัตทางวัฒนธรรมของงานช่างไม้ในบริบทวัฒนธรรมร่วมสมัย JF - วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ JA - Inst Cult Art J VL - 23 IS - 1 SE - บทความวิชาการ DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/252726 SP - 10 - 20 AB - <p>พระเมรุมาศหรือพระเมรุ เป็นคติความเชื่อในเรื่องของการจำลองจักรวาลมาไว้เพื่อเป็นการแสดงเกีรยติยศของผู้วายชนม์ในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งในสังคมไทยมีความนิยมสร้างสรรค์พระเมรุมาศมายาวนานสืบย้อนกลับไปได้อย่างน้อยในสมัยอยุธยา สำหรับใช้ในงานพระราชพิธีเป็นหลัก จวบจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์การออกเมรุก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ แต่ได้เริ่มคลี่คลายมาเป็นการตั้งในงานของบรรดาขุนนาง และชาวบ้านที่มีเกียรติและเป็นที่ยอมรับนับถือโดยทั่วไป อันแสดงให้เห็นอิทธิพลของวัฒนธรรมราชสำนักที่ส่งมาถึงท้องถิ่นโดยทั่วไป ความนิยมตั้งเมรุยังคงมีลักษณะของงานที่จัดขึ้นชั่วคราว เมื่อเสร็จสิ้นงานแล้วก็จะต้องทำลายหรือรื้อส่วนประกอบต่าง ๆ ของเมรุนั้นทิ้ง และสร้างขึ้นใหม่ในงานต่อไป บทความชิ้นนี้ต้องการแสดงให้เห็นการคลี่คลายเชิงความหมายและความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมการตั้งเมรุในเมืองเพชรบุรี ภายใต้พลวัตทางวัฒนธรรมของงานช่างไม้ในบริบทวัฒนธรรมร่วมสมัย ผู้เขียนใช้วิธีการศึกษาแบบสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมกับการศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านเอกสารและคำบอกเล่า และได้เสนอกรอบคิดที่ว่าเมรุลอยมีการปรับเปลี่ยนความหมายในวัฒนธรรมเมืองเพชรบุรี จากการเป็นสิ่งแสดงฐานะในวัฒนธรรมกระฎุมพี กลายเป็นรูปแบบธุรกิจแบบมวลชน ในสังคมทุนนิยมปัจจุบัน โดยพบว่ากลุ่มช่างตั้งเมรุในเพชรบุรีมีทั้งที่สืบทอดมาจากสำนักช่างเมืองเพชรในอดีตและกลุ่มช่างเกิดใหม่ ในช่วงหลังปี 2500 วัฒนธรรมของกลุ่มช่างเมรุเมืองเพชรได้เปลี่ยนแปลงไปจากในยุคก่อนหน้า จนทำให้เกิดการพัฒนามาเป็นธุรกิจการตั้งเมรุในปัจจุบัน ที่เข้ากันได้ดีกับระบบทุนนิยม ทำให้ความหมายของเมรุจากที่เป็นของชั่วคราวในแต่ละงาน มาเป็นของถาวรใช้ซ้ำได้ในงานศพโดยทั่วไป ผู้เขียนเชื่อว่าการศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้จะช่วยแสดงให้เห็นมุมมองใหม่ต่อการศึกษาเกี่ยวกับงานช่างในเมืองเพชรบุรีในแง่มุมอื่น ๆ ต่อไป.</p> ER -