TY - JOUR AU - นันสุนานนท์, ศิริพันธ์ PY - 2020/06/29 Y2 - 2024/03/29 TI - แผนที่ชุมชนและการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตทุ่งครุกรุงเทพมหานคร JF - วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ JA - Inst Cult Art J VL - 21 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/164589 SP - 83 - 93 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของเขตทุ่งครุโดยการจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรม และ 2) ออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวภายในของชุมชน โดยการศึกษาได้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างสำหรับการเก็บข้อมูล มีจำนวน 30 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน อิหม่าม พระ นักพัฒนาชุมชนเขตทุ่งครุ ครูในโรงเรียนโดยใช้วิธีการเจาะจง ด้วยวิธีการแบบสอบถาม สัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และบันทึกภาพ ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เขตทุ่งครุมีแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมมาตั้งแต่อดีต มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินและน้ำที่ดึงดูดให้คนกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาตั้งหลักแหล่ง ก่อให้เกิดความเป็นพหุทางวัฒนธรรม (Multiculture) ที่หลากหลายของผู้คนในพื้นที่ที่ปรากฏในรูปของศาสนสถาน ได้แก่ วัด มัสยิด ศาลเจ้า ฯลฯ และแหล่งภูมิปัญญาทางอาชีพ เช่น แปลงปลูกส้ม ปศุสัตว์ เป็นต้น 2) การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ตามแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งชุมชนเป็นเจ้าของทุนทางวัฒนธรรมร่วมกัน จากข้อมูลพบว่าชุมชนในเขตทุ่งครุบางส่วนที่ยังคงสภาพเป็นชุมชนดั้งเดิมเช่น หมู่ 3 หมู่ 5 บางมด มีแนวโน้มที่สามารถจัดรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบครึ่งวันและเต็มได้ ซึ่งเหมาะแก่เยาวชนและนักเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ตลอดจนผู้ที่ชื่นชอบในวัฒนธรรมเชิงจิตวิญญาณที่ต้องการหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ</p> ER -