TY - JOUR AU - เทพาชมภู, มณี PY - 2013/12/18 Y2 - 2024/03/29 TI - แนวคิดวิถีชีวิตครอบครัวจากความเปรียบในบทร้องลิเก THE CONCEPTS OF FAMILY LIFESTYLE FROM THE IMAGERY IN LYRICS OF LIKAY JF - วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ JA - Inst Cult Art J VL - 14 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/15171 SP - AB - <p style="text-align: center;"><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตครอบครัวจากความเปรียบในบทร้องลิเก โดยมีขอบเขตในการศึกษาบทร้องเพลงรานิเกลิงซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของลิเก ผู้วิจัยศึกษาจากวีดิทัศน์การแสดงลิเกคณะต่าง ๆ ในเขตภาคกลางที่แสดงอยู่ในปัจจุบัน ความเปรียบที่ศึกษา ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ สัญลักษณ์ และบุคลาธิษฐาน วิธีดำเนินการใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าแนวคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตครอบครัวจากความเปรียบในบทร้องลิเกแบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ แนวคิดเกี่ยวกับสามีภรรยา และแนวคิดเกี่ยวกับพ่อแม่และลูก แนวคิดเกี่ยวกับสามีภรรยา มี 5 แนวคิด ได้แก่ 1) สามีเป็นผู้นำครอบครัวต้องออกไปทำงานด้วยความขยันขันแข็งเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวให้มีความสุข 2) สามีภรรยาย่อมมีความรักต่อกัน อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน และสามีนั้นยกย่องเทิดทูนภรรยาของตน 3) ครอบครัวที่ขาดผู้นำย่อมลำบากเพราะขาดที่พึ่งพิง 4) สามีที่รู้ว่าภรรยานอกใจย่อมเสียใจและอับอาย 5) ผู้หญิงควรมีสามีคนเดียว หญิงที่มีสามีหลายคนย่อมไร้ค่าและถูกประณาม ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับพ่อแม่และลูก มี 5 แนวคิด ได้แก่ 1) ลูกเป็นสุดที่รัก เป็นสิ่งมีค่าและเป็นสิ่งผูกพันความรักของพ่อแม่ 2) ลูกที่ขาดพ่อแม่ย่อมมีความทุกข์ ความเดือดร้อน 3) ลูกเลี้ยงที่อยู่กับแม่เลี้ยงต้องทุกข์ยากเดือดร้อนไม่มีความสุขเพราะถูกรังแกอยู่เสมอ 4) การนำลูกคนอื่นมาเลี้ยงแม้จะเป็นความเสี่ยงว่าเมื่อเด็กเติบโตขึ้นมาจะดีหรือร้ายก็ต้องเลี้ยงดูด้วยความรักและเมตตา 5) ลูกอกตัญญูย่อมเป็นภัย ใกล้ตัวที่ทำให้พ่อแม่เดือดร้อน 1 รองศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก 2 ศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม 3 ครูชำนาญการ วิทยาลัยนาฏศิลป์อ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม การศึกษาครั้งนี้ทำให้ประจักษ์ถึงคุณค่าทางภาษาในบทร้องลิเกที่ใช้ความเปรียบซึ่งเป็นวิธีการสื่อความหมายของถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิงโดยนำสิ่งหนึ่งเรื่องหนึ่งมาเปรียบกับสิ่งอื่นเรื่องอื่น ทำให้ผู้ฟังหรือผู้ชมเกิดความเข้าใจ ประทับใจ เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ขับร้องได้อย่างลึกซึ้ง ทั้งยังเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันสังคมที่สำคัญที่สุดโดยสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของสามีภรรยาและบุตรที่มีต่อกันตามสถานภาพและบทบาทหน้าที่ได้อย่างแจ่มชัด ชี้ให้เห็นว่าสถาบันครอบครัวมีผลต่อความมั่นคงของสังคมอย่างยิ่งกล่าวคือถ้าครอบครัว อยู่อย่างมีความสุข สังคมก็สงบสุข ถ้าครอบครัวมีปัญหา สังคมย่อมมีปัญหาด้วยเช่นกัน</p><p><strong>คำสำคัญ :</strong> แนวคิด วิถีชีวิตครอบครัว ความเปรียบ บทร้องลิเก</p><p style="text-align: center;"><strong>Abstract</strong></p><p>This research aimed to analyze concepts of family lifestyle from the imagery in lyrics of likay especially with lyric of “Raniklerng Song” which was known as the identity of likay. The researcher had reviews currently recorded performances by different groups in the middle of Thailand. Reviewed imagery included simile, metaphor, symbol and personification with qualitative research and proposed findings with descriptive analysis method. Further to the study, we had found that 2 concepts of family lifestyle from the imagery in lyrics of likay namely spouse concepts, and parents and children concepts. There were 5 concepts of spouse including 1) The husband was the family leader and had to live the family. 2) Wife and husband were supposed to love, live together for both good and bad, and the husband was deserved to praise his wife. 3) The family without leader suffered because of lacking of supporter. 4) Betrayed husband was hurt and embarrassed. 5) Woman was supposed to have one husband or she would be condemned. There were 5 concepts of parent and children namely 1) Children were beloved and united parents. 2) Children without parents were hurt and suffered. 3) Step-children were abused by their step-mother. 4) Though adoption was risky, parents were subject to raise adopted child the best. 5) Parents were hurt and worried by ingratitude children. The research enabled the researcher appreciate linguistic worth of the imagery in lyrics of likay. Meanings were expressed in the form of imagery which made audience deeply impressed and understood the singers’ feeling. Lyrics also express the concepts of family lifestyle which was the most important social institute in term of the relationship of husband, wife and children. This assured the importance of family unit because society prosperity depended on family units.</p><p><strong>Keywords :</strong> concepts, family lifestyle, imagery, lyrics of likay</p> ER -