TY - JOUR AU - การบุญ, พิสุทธิ์ AU - สมนึก, ชวัลรัตน์ PY - 2018/06/21 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษารวบรวมบทเพลงรำวงโบราณในหมู่บ้านตะปอนใหญ่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี JF - วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ JA - Inst Cult Art J VL - 19 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/129928 SP - 114-122 AB - <p>บทเพลงรำวงโบราณเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่งในด้านของบทร้องประกอบท่ารำ ช่วยสร้าง ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดจากปัญหาในชีวิตประจำวัน ซึ่งบทเพลงรำวงโบราณ ที่ทำการศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่นำมาจากบทสัมภาษณ์ของนายกาญจน์ กรณีย์ จากบทเพลงทั้งหมดประมาณ 30 บทเพลง แต่มีที่นิยมร้องในวงประมาณ 10 บทเพลง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์บทเพลงรำวงโบราณ ทั้ง 10 บทเพลง พบว่าเป็นบทเพลงทำนองเดียว (Monophonic Texture) ใช้อัตราจังหวะธรรมดา (Simple Time) 2/4 Duple Time โดยมีรูปแบบลักษณะอัตราจังหวะทั้งหมด 25 รูปแบบ มีช่วงเสียงใน 2 ลักษณะ คือ ช่วงเสียงขั้นคู่เสียงธรรมดา และช่วงเสียงขั้นคู่เสียงผสม โดยมีโน้ตในระดับเสียงต่ำสุดที่โน้ตตัว G ใต้เส้นน้อยเส้นที่สองของบรรทัดห้าเส้น ในบทเพลงนกเขาไฟกับบทเพลงยามเย็น และพบโน้ตในระดับสูงสุดที่โน้ตตัว A เหนือบรรทัด ห้าเส้น คาบเส้นน้อยเส้นที่หนึ่งในบทเพลงรุ้งกินน้ำ นอกจากนี้ยังพบว่าบทเพลงทั้งหมดมีการใช้โน้ตเพียง 5 – 7 ตัวโน้ต โดยสามารถแบ่งบทเพลงตามการวิเคราะห์บันไดเสียงออกเป็น 3 กลุ่มเพลง คือ กลุ่มที่ใช้บันไดเสียง 5 เสียง (เพลงไหว้ครู เพลงปักษาจะบิน เพลงยามเย็น และเพลงกระต่ายเจ้าขา) กลุ่มที่ใช้บันไดเสียง 6 เสียง (เพลงเร็วเข้าสิ เพลงรำวงกันก่อนนะเธอ บทเพลงเจ้านกเขา เพลงนกเขาไฟ และเพลงกาเหว่า) และกลุ่มที่ใช้ บันไดเสียง 7 เสียง (เพลงรุ้งกินน้ำ)</p><p><strong>&nbsp;</strong></p> ER -