TY - JOUR AU - พันธุ์วราทร, เมธี PY - 2018/06/21 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาดนตรีประกอบพิธีกรรม: กรณีศึกษาวงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล จังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา JF - วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ JA - Inst Cult Art J VL - 19 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/129912 SP - 46-59 AB - <p>งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาดนตรีประกอบพิธีกรรมในงาน : กรณีศึกษา วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล จังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา” การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมุ่งศึกษาข้อมูลจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม ซึ่งจะกระทำในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ และจัดเก็บข้อมูลในรูปของเอกสาร โน้ตเพลง และข้อมูลภาพนิ่ง ข้อมูลเสียง ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวในระบบดิจิตอล โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ</p><ol><li>เพื่อศึกษาดนตรีประกอบพิธีกรรม วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล จังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา</li><li>เพื่อศึกษาบทบาทวงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล ที่มีต่อสังคม</li></ol><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากการศึกษาพบว่า วงโกงสะกอ (Kong Skor) และวงทัมมิง (Tamming) สันนิษฐานว่าเป็นวงดนตรีได้รับอิทธิพลมาจากวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเมื่อสมัยอาณาจักรเขมรโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ตามหลักฐานที่ปรากฏบนภาพจำหลักบนระเบียงคดปราสาทนครวัดที่ปรากฏรูปจำหลักที่เกี่ยวข้องกับดนตรีอยู่บริเวณระเบียงคดด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปรากฏภาพจำหลักวงดนตรีที่มีการบรรเลงฆ้องรางจำนวน 4 แห่ง ซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกับฆ้องรางที่ใช้ในวงโกงสโก (Kong Skor) และวงทัมมิง (Tamming) ปัจจุบันวงโกงสโก (Kong Skor) วงทัมมิง (Tamming) ใช้บรรเลงในงานศพเท่านั้น และสามารถพบเห็นการบรรเลงวงดนตรีนี้ในเขตจังหวัดเสียมเรียบ สำหรับคณะครูอม มงกุล จะเรียกชื่อวงดนตรีที่บรรเลงในเวลากลางวันว่า “โกงสโก” (Kong Skor) และวงดนตรีที่บรรเลงในเวลากลางคืนว่า “ทัมมิง” (Tamming)</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล ก่อตั้ง ในปี ค.ศ.1996 โดยการรวบรวมกลุ่มนักดนตรีเพื่อฟื้นฟูและทำกิจกรรมทางด้านดนตรีดั้งเดิมของกัมพูชา วงพิณเพียด (Pin peat) และวงโกงสโก (Kong Skor) และ&nbsp;&nbsp; วงทัมมิง (Tamming) ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากครูนอร์น (Khru Norn) โดยการบรรเลงวงดนตรีโกงสโกและ&nbsp;&nbsp;&nbsp; วงทัมมิงประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีจำนวน 4 ชนิด มีรูปแบบการจัดวงโดยให้นักดนตรีทั้ง 3 คนนั่งอยู่กลางวงดนตรี&nbsp; หันหลังให้กันและกัน เครื่องดนตรีประกอบไปด้วย 1. โกง เดาะ ปี 2. โกง วง จ็อมเนต แข 3. สโก ธม มวย และ 4. ซรอไล โดยบทเพลงสำหรับการบรรเลงวงโกงสโกและวงทัมมิง มีจำนวน 12 บทเพลง สำหรับขั้นตอนการบรรเลง เริ่มต้นจากการแสดงความเคารพกราบไหว้ครูบาอาจารย์ทั้งที่เป็นครูเทวดาและครูมนุษย์รวมถึงถึงกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา แล้วจึงเริ่มต้นการบรรเลงวงโกงสโก วงทัมมิง ด้วยบทเพลง“บอปวล”&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เป็นบทเพลงลำดับแรกทุกครั้ง โดยการบรรเลงจะเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มตั้งศพเพื่อประกอบพิธีกรรม โดยบรรเลงเพลงใดเพลงหนึ่งสลับกับพิธีสงฆ์ และเมื่อเสร็จสิ้นพิธี นักดนตรีจะบรรเลงบทเพลงเพลง&nbsp; “ก็อมเปา” เป็นบทเพลงลา</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในด้านบทบาทวงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล&nbsp; มีต่อสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา สรุปได้ดังต่อไปนี้</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1.วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล มีความสำคัญต่อชุมชนเนื่องจาก ชุมชนยังเห็นคุณค่าและความสำคัญของดนตรีที่มีต่อพิธีกรรม</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2.วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล สร้างรายได้ให้แก่นักดนตรี ให้มีรายได้พิเศษนอกเหนือจากการประกอบอาชีพหลัก</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 3.วงโกงสโกและวงทัมมิง คณะครูอม มงกุล ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านดนตรีเขมรโบราณให้คงอยู่สืบทอดต่อไป</p> ER -