@article{หมัดหลี_เขียวมั่ง_ซอ_2021, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={นวัตศิลป์โนราสาน: เครื่องประดับนวัตศิลป์ร่วมสมัย สืบวัฒนธรรมสานศิลปะ ประยุกต์อัตลักษณ์มโนราห์}, volume={23}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/252455}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.ศึกษาองค์ความรู้เรื่องศิลปะการแสดงมโนราห์ มีการรวบรวมองค์ความรู้ศิลปะการแสดงมโนราห์ภาคเอกสารและลงพื้นที่ มีผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่มคือ ปราชญ์ชาวบ้านโดยใช้วิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประชากรในพื้นที่และประชากรที่เป็นบุคคลทั่วไปโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก 2. วิเคราะห์อัตลักษณ์ศิลปะการแสดงมโนราห์ร่วมกับหลักการ DRR (2C (MEAMAI)) ได้อัตลักษณ์มโนราห์ที่โดดเด่นเรียงตามลำดับ คือ เครื่องแต่งกาย (ชุดลูกปัด) ท่ารำ เครื่องประดับ และเครื่องดนตรี 3. สังเคราะห์และสร้างสรรค์ต้นแบบเครื่องประดับนวัตศิลป์ร่วมสมัย ได้ผลงานต้นแบบเครื่องประดับนวัตศิลป์โนราสานจากแนวคิดในการสร้างสรรค์ของวัฏจักรมโนราห์ 3 แนวคิด คือ การส่งต่อและสืบสาน การแสดงด้านความบันเทิง และการแสดงด้านประกอบพิธีกรรม อยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกายที่สะท้อนตามแนวคิดตั้งแต่ศีรษะ มือ แขน คอ บ่า หน้าอก ลำตัว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีวิจัยแบบบูรณาการ (Integrated research) ผสมผสานแนวคิดและทฤษฎีจากวิทยาการในสาขาปรากฎการณ์วิทยา วิธีการทางปรัชญา หลักการทำกลยุทธ์ทางการตลาด ร่วมกับศาสตร์ด้านศิลปกรรม สร้างหลักการใหม่ในการวิเคราะห์สังเคราะห์ผลงานต้นแบบเครื่องประดับนวัตศิลป์โนราสาน ผลงานแต่ละชุดมีการสะท้อนแนวคิดที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์และถ่ายทอดอัตลักษณ์จากศิลปะการแสดงมโนราห์ในรูปแบบใหม่</p>}, number={1}, journal={วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ}, author={หมัดหลี ดาวรรณ and เขียวมั่ง เกรียงศักดิ์ and ซอ มิยอง}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={109–121} }