@article{หนูเกื้อ_2020, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การศึกษาบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะวรรณกรรมเทิดพระเกียรติ}, volume={22}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/240079}, abstractNote={<p>           บทความนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีที่ขับร้องโดย นายธงไชย แมคอินไตย์ จำนวน 7 เพลง ในฐานะวรรณกรรมเทิดพระเกียรติ เนื่องจากวรรณกรรมเพลงถือเป็นวรรณกรรมรูปแบบหนึ่งที่ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเทิดพระเกียรติ  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อปวงชนชาวไทยตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ทรงครองราชย์ ผลการศึกษาพบว่าบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปรากฏลักษณะวรรณกรรมเทิดพระเกียรติ 3 ประการ คือ การเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม การกล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงทำเพื่อประชาชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน และการสื่อถึงความจงรักภักดีที่ปวงชนชาวไทยมีต่อพระองค์ ลักษณะดังกล่าวนี้ถือเป็นลักษณะของวรรณกรรมเทิดพระเกียรติ ดังนั้นการศึกษาบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะวรรณกรรมเทิดพระเกียรติและปรากฏการของเพลงเทิดพระเกียรติยังเกิดในช่วงปลายรัชสมัยอย่างมีนัยสำคัญ</p>}, number={1}, journal={วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ}, author={หนูเกื้อ กรีกมล}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={24–32} }