@article{กาญจนสารธนา_2014, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={ความอบอุ่นแห่งวิถีอีสาน THE WARMTH OF ISAN WAY}, volume={15}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/21980}, abstractNote={<p style="text-align: center;"><strong>บทคัดย่อ </strong></p><p>         วิทยานิพนธ์การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชุด ความอบอุ่นแห่งวิถีอีสาน ได้รับแรงบันดาลใจจากความประทับใจในคุณค่าความงดงามของสายสัมพันธ์อันอบอุ่น จากการเติมเต็มความรักระหว่างคนสองวัย คือผู้หญิงสูงอายุกับหลานเหลนวัยเยาว์ ซึ่งปรากฏให้เห็นในชนบทอีสานในปัจจุบัน โดยมีความมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดผลงานศิลปะ ที่สะท้อนสีสันอันอบอุ่นของสายสัมพันธ์ซึ่งเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด และดำเนินไปตามวิถีชีวิตประจำวันของคนสองวัยในครอบครัว ท่ามกลางบรรยากาศแท้จริงในปัจจุบันของวิถีชนบทอีสานโดยรังสรรค์เป็นงานจิตรกรรมเชิงอุดมคติ ด้วยเทคนิคสีอะคริลิคบนผ้าใบ (Acrylic on Canvas) แสดงออกผ่านรูปทรงธรรมชาติที่ลดทอนความเหมือนจริงและแสงเงาตามธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงในภาพลักษณ์ของสังคมชาวชนบทอีสาน ซึ่งภาพผลงานได้แสดงลักษณะเฉพาะตนทั้งทางเนื้อหาและเทคนิควิธีการตามเจตนารมณ์ที่ได้ตั้งไว้ เป็นผลงานจิตรกรรมจำนวน 8 ชิ้น ผลการสร้างสรรค์พบว่า ผลงานจิตรกรรมเชิงอุดมคติ ที่แสดงออกผ่านรูปทรงธรรมชาติที่ลดทอนความเหมือนจริงและแสงเงาตามธรรมชาติ สามารถสื่อถึงสายสัมพันธ์อันอบอุ่นระหว่างผู้หญิงอีสานวัยสูงอายุกับหลานเหลนวัยเยาว์ได้อย่างเหมาะสม การสร้างสรรค์ผลงานด้วยเกรียงทำให้ได้ร่องรอยปาดป้ายเป็นแผ่นแบน สื่ออารมณ์ความรู้สึกซื่อ จริงใจ ตรงไปตรงมา แสดงออกได้ดีถึงภาพชีวิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน ตามคุณลักษณะของชาวชนบทอีสาน การใช้ gesso ผสมลงในสีทำให้รอยเกรียงมีความแข็งและชัดเจนยิ่งขึ้น สะท้อนความรู้สึกถึงการมีความอดทนสูงต่อความยากลำบากของผู้หญิงชาวชนบทอีสาน เมื่อร่องรอยพื้นผิวปาดป้ายขรุขระผสานกับสีสันโทนสว่างและอบอุ่น สามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกเชิงอุดมคติ ที่ส่งสัมผัสถึงบรรยากาศของความรักความอบอุ่น สะท้อนออกมาจากอิริยาบถความใกล้ชิดในวาระต่างๆ ของการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นความงามเชิงคุณค่าซึ่งแฝงเร้นในวิถีอันเป็นอัตลักษณ์ของชาวชนบทอีสานที่ดำรงคงอยู่โดยไม่แปรเปลี่ยนไปกับกาลเวลา</p><p><strong>คำสำคัญ :</strong> เกรียง, ความอบอุ่น, เชิงอุดมคติ, วิถีอีสาน</p><p style="text-align: center;"><strong>Abstract</strong></p><p>        This visual arts creation thesis, “The Warmth of Isan Way” had been inspired by an impression of the aesthetic value of warm relationship, as a result of the love fulfillment between the two ages, elderly women and their young grandchildren, which appeared in present real rural Isan. The purpose of this study were to conveying of visual arts that reflected colors of warm relationship that linked closely within the daily lifestyle of the two ages in their family, among real atmosphere of rural Isan way of life. By created the paintings in idealism concept with acrylic on canvas technique. And to express through natural shapes that attenuated realism and natural light and shade to reflect what had never changed in identities of rural Isan society. These eight pieces of painting series conveyed their characteristics both in content and technical that responded the intention of the creation. The result of this creation was found that these idealism paintings which expressed via form of natural shapes that attenuated realism and natural light and shade could appropriately convey warm relationships between rural Isan elderly women and their young grandchildren. Creation with palette knife caused the rough plane plate strokes conveyed senses of trust, sincerity and frankness, at the same time it expressed the simple and uncomplicated life according to characteristics of the rural Isan people. The gesso mixing was use in acrylic that created harder and clearer strokes of palette knife, reflected sense of high tolerance for difficulties of rural Isan women. When the rough plane plate texture of strokes merged with bright and warm color tone, it could conveyed the idealism emotion that composed the touch of love and warm atmosphere by reflected from closely manners in their daily lifestyle. These were aesthetic values of rural Isan people’s identities which had never changed by time.</p><p><strong>Keywords :</strong> Idealism, Isan Way, Palette knife, Warmth</p>}, number={2}, journal={วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ}, author={กาญจนสารธนา ฉันทรียาภัสร์}, year={2014}, month={ก.ย.}, pages={79–89} }