@article{แสงแดง_2020, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={แนวความคิดหลังจากการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์}, volume={21}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/163500}, abstractNote={<p>           บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวความคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลทางเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏยศิลป์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัย ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย การสังเกตการณ์ การสัมมนาในชั้นเรียนการสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมทางการวิจัย สื่อสารสนเทศ และเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน สู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ที่ให้ความสำคัญกับแนวความคิดที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน<br>          ผลการวิจัยพบว่าแนวความคิดที่ได้หลังจากสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์งานใหม่มี 10 ประการ โดยการคำนึงถึงจริยธรรมทางการวิจัยเป็นสาระสำคัญอันดับแรกภายหลังจากการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ รองลงมาคือการคำนึงถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงการแสดงที่สร้างสรรค์ เพื่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยทางนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงการสะท้อนสภาพสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงแนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ การคำนึงถึงศิลปะการละครกับการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงสัญลักษณ์ในงานนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงทฤษฎีด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ รวมทั้งการคำนึงถึงการสร้างสรรค์การแสดงที่เป็นศิลปะเพื่อศิลปะ ตามลำดับ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยนั้นตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ        </p>}, number={2}, journal={วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ}, author={แสงแดง ลักขณา}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={122–135} }