@article{ตันติมาลา_2013, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={“ภ๊ษ๊สก๊อยป์” (ภาษาสก๊อย): วัฒนธรรมอุบัติการณ์ SKOY LANGUAGE: INCIDENT CULTURE}, volume={14}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/15175}, abstractNote={<p style="text-align: center;"><strong>บทคัดย่อ</strong><strong> </strong></p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาสก๊อยในฐานะวัฒนธรรมย่อยของวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งในสังคมออนไลน์โดยใช้กรอบแนวคิดอัตลักษณ์และแนวคิดวัฒนธรรมย่อย เป็นมุมมองในการอภิปราย และวิเคราะห์สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของภาษาผ่านสังคมออนไลน์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย การสังเกต และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นผู้ใช้ภาษาสก๊อย และผู้ติดตามเฟสบุ๊คแฟนเพจชื่อสมาคมนิยมสก๊อยแบบคละทัศนคติ</p><p>ผลการวิจัยพบว่า ภาษาสก๊อย ใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรและอักขรวิธีของภาษาไทย เมื่อแปลพบว่า ไม่มีคำหยาบ และไม่ทำให้ภาษาวิบัติ อีกทั้งบางส่วนยังบ่งบอกถึงเจตคติแง่บวก แต่คนนอกที่ไม่เข้าใจความหมายของภาษาสก๊อย กลับตอบโต้ด้วยคำหยาบคาย และภาษาที่วิบัติ คนส่วนใหญ่ มีทัศนคติต่อสก๊อยไปในทางลบ เพราะภาพลักษณ์และการใช้ชีวิต กลุ่มสก๊อยจึงต่อต้านบรรทัดฐานของสังคมด้วยการสร้างอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่างและดึงดูดความสนใจ ภาษาแชททั่วไปไม่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มได้ จึงกำหนดรูปแบบการเขียน(พิมพ์)ขึ้นใหม่ เรียกว่า ภาษาสก๊อย เป็นวัฒนธรรมอุบัติการณ์</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> ภาษาสก๊อย วัฒนธรรมอุบัติการณ์ วัฒนธรรมย่อย</p> <p><strong> </strong></p> <p style="text-align: center;"><strong>Abstract</strong></p> <p>The objectives of the article are to study the Skoy language as a youth sub-culture in the social network using the identity and sub-culture concept to expand and analyze the current phenomena. The methodology is a qualitative research including observation and participant observation technique. The data were collected from the mixed viewpoint of purposive samples which were divided into the user of the Skoy language and the follower of a Skoy union fanpage via facebook.</p> <p>The results reveal that there are modification of Thai alphabets and orthography in the Skoy language without rude words and ruin language. Moreover, some modification indicates the positive attitude but many people who misunderstand this language retort with rude words and ruin language. Most users in social network have negative thinking on Skoy girls because of their image and life style. Skoy groups need to against the norms of society by creating the specific identity to make difference and attractiveness. Since texting with normal language cannot respond the groups’ need, thus they create the new style of writing (typing) in their own way called the Skoy language which is an incident culture.</p> <p><strong><ins datetime="2013-06-19T16:31" cite="mailto:win7"> </ins></strong></p> <p><strong>Keywords:</strong> Skoy language, incident culture, sub-culture</p>}, number={2}, journal={วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ}, author={ตันติมาลา ชวิตรา}, year={2013}, month={ธ.ค.} }