@article{อัควเสนา_อมาตยกุล_คลังพระศรี_นัจจนาวากุล_2018, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={ดุริยวรรณกรรมเพลงตับเรื่องอิเหนาจากต้นฉบับแผ่นเสียงเก่าของวังบ้านหม้อ พ.ศ. 2450}, volume={19}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/129895}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้ใช้หลักการศึกษาทางดุริยวรรณกรรม ทำการศึกษาเพลงตับเรื่องอิเหนา ตอนระตูหมันหยาได้รับสาส์นท้าวกุเรปันจนถึงอิเหนาจากนางจินตะหรา ขับร้องโดยหม่อมคร้าม แม่แป้น และแม่แจ๋ว บันทึกเสียง<br> เมื่อปี พ.ศ. 2450 ในรูปแบบแผ่นเสียงตรา Odeon มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและผลงานทางดนตรีของ<br> วังบ้านหม้อ ศึกษาลักษณะทางดนตรีของเพลงตับเรื่องอิเหนา และศึกษาบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง</p> <p>            ผลการวิจัยพบว่าวังบ้านหม้อมีหน้าที่ราชการหลายด้าน ทั้งงานกรมม้า กรมช้าง กระทรวงโยธา ฯลฯ <br> และที่เด่นมากคือกรมมหรสพ เจริญด้านการดนตรีและละครสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 5  มีศิลปินสำคัญ อาทิ <br> หลวงเสนาะดุริยางค์ (ทองดี) พระประดิษฐไพเราะ (ตาด) ขุนเสนาะดุริยางค์ (แช่ม) หม่อมเจริญ หม่อมมาลัย ฯลฯ <br> วังนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ มีหน้าที่จัดแสดงคอนเสิร์ตขนาดใหญ่รับแขกเมือง และเป็นสถานที่บันทึกแผ่นเสียงไว้เป็นจำนวนมาก</p> <p>            ด้านลักษณะทางดนตรี พบว่าใช้บทร้องฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็งบรรเลงรับ <br> มีบทเพลง 23 เพลง บทเจรจา 2 บท บางเพลงมีการใช้ซ้ำ รวมแล้วจัดลำดับการบรรเลงไว้ 34 ลำดับ เลือกใช้เพลงละครในและหน้าพาทย์เป็นหลัก เช่น ช้าปี่ใน โอ้ปี่ใน โอ้ร่าย ลงสรงมอญ และเพลงสองชั้นอื่น ๆ โดยมากใช้บันไดเสียงซอลและเป็นเพลงสำเนียงไทยด้านบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบริบททางการเมืองการปกครอง วิถีชีวิต ค่านิยม เศรษฐกิจ ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรมการดนตรี</p> <p><br> </p>}, number={2}, journal={วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ}, author={อัควเสนา กันต์ and อมาตยกุล พูนพิศ and คลังพระศรี สนอง and นัจจนาวากุล ณัฐชยา}, year={2018}, month={มิ.ย.}, pages={33–45} }