@article{kanboon_สมนึก_2019, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การศึกษาวัฒนธรรมทางดนตรีบทเพลงรำสวดโบราณ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี}, volume={21}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/123341}, abstractNote={<p>            การศึกษาวัฒนธรรมทางดนตรีบทเพลงรำสวดโบราณ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ใช้การลงพื้นที่สัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของคณะรำสวดวิชัยราชันย์ และรวบรวมบทร้องรำสวดโบราณมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรี จำนวน 10 เพลง โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติ และบทร้องรำสวดโบราณ และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีรำสวดโบราณ ซึ่งคณะรำสวดวิชัยราชันย์เป็นคณะที่ได้รับความนิยมจากประชาชนในพื้นที่มากที่สุด ก่อตั้งโดยนายวิชัย เวชโอสถ ซึ่งรับงานแสดงรำสวดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยมีบทร้องจากการนำเนื้อเรื่องในวรรณคดีต่าง ๆ มาใส่ทำนองที่ได้รับการถ่ายทอดมาตั้งแต่โบราณมา ส่วนการวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีรำสวดโบราณจำนวน 10 บทเพลง พบว่า ทุกบทเพลงมีลักษณะเป็นทำนองเดียว (Monophonic Texture) โดยมีลักษณะการแสดงร้องโต้ตอบกันระหว่างนักร้องกับลูกคู่ ส่วนมากจะมีการร้องขึ้นต้นเพลงในรูปแบบอนาครูซิส 5 รูปแบบ ซึ่งบทเพลงส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเสียงตัวโน้ต 5 เสียงของบันไดเสียงเพนตาโทนิค (Pentatonic Scale) ส่วนทำนองมีช่วงเสียงกว้างที่สุดในระยะขั้นคู่ P11<sup>th</sup> ซึ่งมีการเคลื่อนที่ในทิศทางคงที่ และทิศทางขึ้นแล้วลงจบที่โน้ตโทนิค (Tonic) ทุกบทเพลง สำหรับรูปแบบของบทเพลงอยู่ในรูปแบบรอนโด (Rondo Form) และรูปแบบธีมและแวริเอชั่น (Theme and Variations)  </p>}, number={1}, journal={วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ}, author={kanboon, phisut and สมนึก ชวัลรัตน์}, year={2019}, month={ธ.ค.}, pages={137–145} }