วารสารยุโรปศึกษา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jes
<p>วารสารยุโรปศึกษาจัดทำโดยศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้รับการรับรองจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย ตีพิมพ์บทความทางวิชาการในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ที่มีสารัตถะสำคัญเกี่ยวกับภูมิภาคยุโรป ตลอดจนความสัมพันธ์และบทบาทของของยุโรปในโลก ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีกำหนดเผยแพร่ฉบับปกติ 2 ฉบับต่อปี ณ สิ้นเดือนมิถุนายนและสิ้นเดือนธันวาคม เริ่มตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1993 พักตีพิมพ์ชั่วคราวระหว่าง ค.ศ.2017-2018 และกลับมาดำเนินการตีพิมพ์ตามปกติ พร้อมทั้งเริ่มเผยแพร่ฉบับออนไลน์และใช้ระบบพิชญพิจารณ์เมื่อ ค.ศ.2019</p>
ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) | Centre for European Studies at Chulalongkorn University (Bangkok, Thailand)
th-TH
วารสารยุโรปศึกษา
0858-7795
-
ชาวยิวและศาสนายูดาห์ในช่วงเวลาแห่งการปลดแอก (ตั้งแต่ทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงช่วงเวลาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นในปี ค.ศ.1914) โดยเน้นไปที่ดินแดนเยอรมัน :
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jes/article/view/248970
<p>ในศาสนายูดาห์นั้น คำว่า “ได้รับการเลือกสรร” คือความเชื่อของชาวยิวที่ว่าชาวยิวคือผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าเลือกสรรแล้ว หรือมีพันธสัญญากับพระผู้เป็นเจ้า สิ่งนี้โดยความเป็นจริงแล้วน่าจะเป็นคำอวยพรให้แก่ชนชาติที่เปี่ยมด้วยพรสวรรค์กลุ่มนี้ หากแต่สิ่งที่พวกเขาต้องประสบมาตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ยุโรป อาทิเช่น ถูกเนรเทศ ถูกกีดกัน ถูกกักกันให้อยู่กันเฉพาะในชุมชนของพวกยิวด้วยกันเอง (Ghetto) หรือถูกสังหารหมู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 น่าจะเป็นคำสาปสรรสำหรับชนชาติที่น่าเห็นใจนี้แทนคำอวยพร ความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานที่พวกเขามีมาอย่างยาวนานเหล่านี้หาได้ลดทอนเจตนารมณ์ที่จะต้องอยู่รอดและความหวังที่จะได้มีชีวิตที่ดีกว่าในดินแดนแห่งพันธสัญญาไม่ หากแต่ยิ่งสร้างความเป็นเอกภาพสากลให้แก่พวกเขามากยิ่งขึ้น พวกเขาได้เริ่มต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเขามาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อยุโรปก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ การเคลื่อนไหวของพวกเขาเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการดำรงอยู่โดยปราศจากการกีดกันทางการเมืองและสังคมอย่างเข้มข้นขึ้นซึ่งเราเรียกช่วงเวลานี้ว่า “ช่วงเวลาแห่งการปลดแอกของชาวยิว” เริ่มต้นขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อยุโรปก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการรู้แจ้งและแนวคิดเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพแพร่ขยายไปทั่ว และนำไปสู่แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนในที่สุด ในท่ามกลางบรรยากาศแห่งเสรีภาพนี้แม้ว่าชาวยิวในยุโรปจะแบ่งแยกออกเป็นหลายกลุ่มกับเป้าหมายที่แตกต่างกันไป หากแต่ความรู้สึกแห่งความเป็นเอกภาพของพวกเขาไม่เคยจางหายและเป้าหมายของการเคลื่อนไหวเพื่อปลดแอกก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ชาวยิวบางกลุ่มถูกดูดกลืน ได้รับการปฏิรูป หรือแม้แต่กลายเป็นกลุ่มหัวรุนแรง จุดพลิกผันเกิดขึ้นพร้อมกับการมาถึงของแนวคิดชาตินิยมเยอรมันอย่างเข้มข้นซึ่งได้แบ่งแยกชาวยิวเยอรมันออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่กลุ่มชาวยิวที่ถูกดูดกลืนเข้าสู่ความเป็นเยอรมันและกลุ่มชาวยิวไซออนิสต์ที่ต้องการสถานปนาชาติยิวขึ้นมาอีกครั้ง การสังหารหมู่ชาวยิวไปถึง 6 ล้านชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ให้ความชอบธรรมให้แก่ลัทธิไซออนิสต์ในการนำพาชาวยิวยุโรปและชาวยิวทั่วโลกมาก่อตั้งประเทศของพวกเขาจนประสบความสำเร็จในดินแดนแห่งพันธสัญญา – ปาเลสไตน์ – ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง และได้ต่อสู้กับเพื่อนบ้านที่เป็นมุสลิมเพื่อสิทธิแห่งการดำรงอยู่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา</p>
บรรพต กำเนิดศิริ
Copyright (c) 2021 วารสารยุโรปศึกษา
2021-12-30
2021-12-30
27 2
1
43
-
อำนาจเชิงปทัสถานกับผลประโยชน์แห่งชาติ ในกระบวนการสร้างนโยบายของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับวิกฤติผู้ลี้ภัย:
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jes/article/view/248255
<p>อำนาจเชิงปทัสถาน (Normative Power) คือหนึ่งในอำนาจสำคัญของสหภาพยุโรป (European Union) ที่จะกรอบความคิด สร้างกฎเกณฑ์หรือมโนภาพแห่ง ‘ความปกติร่วมกัน’ โดยคาดหวังให้บรรทัดฐานที่ทั้งมีอยู่แล้วและเกิดขึ้นมาใหม่กลายเป็นที่ยอมรับทั้งจากสมาชิกสหภาพฯ และสังคมโลก ในกรณีวิกฤติผู้ลี้ภัยในยุโรปคือประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งอาศัยการแพร่กระจายอย่างเป็นกระบวนการ (procedural diffusion) ในการสร้างความตกลงสหภาพยุโรป-ตุรกีมีเป้าหมายเพื่อจัดการกับวิกฤติผู้ลี้ภัย โดยมีมาตรการได้แก่ การส่งกลับผู้ลี้ภัยที่เข้ามาอย่างผิดปกติ มาตรการควบคุมการเดินทางของผู้ลี้ภัย และนโยบายวันทูวัน (one-to-one) อย่างไรก็ดีนี่ไม่ใช่ความร่วมมือดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ ปัญหาต่าง ๆ ยังคงเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นความไม่ไว้ใจของตุรกีต่อท่าทีของสหภาพยุโรป การที่บรรทัดฐานไม่ได้รับการยอมรับ ความไม่ผูกมัดของความตกลง ภาพลักษณ์มหาอำนาจเชิงปทัสถานของยุโรปที่สั่นคลอน และที่สำคัญที่สุดคืออันตรายที่อาจเกิดต่อผู้ลี้ภัยอันเป็นผลมาจากความตกลงนี้ ความบกพร่องเหล่านี้ร่วมกับทฤษฎีเน้นความร่วมมือโดยรัฐบาลสมาชิก (Intergovernmentalism) ช่วยชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วตัวแสดงทั้งสองยังคงยึดเอาผลประโยชน์แห่งชาติเป็นสำคัญในการดำเนินนโยบาย และในความเป็นจริงองค์กรเหนือรัฐไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวบังคับใช้บรรทัดฐานแต่อย่างใด หากแต่เป็นเวทีเพื่อการผลักดันผลประโยชน์แห่งชาติมากกว่า และปรากฎการณ์ยังนี้บ่งชี้ให้ผู้ศึกษาเห็นอีกว่ามหาอำนาจเชิงปทัสถานยังไม่เข้มแข็งในการวางรากฐานภายในได้</p>
ชนกนันท์ บริพนธ์
Copyright (c) 2021 วารสารยุโรปศึกษา
2021-12-30
2021-12-30
27 2
44
79
-
ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของฝรั่งเศส:
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jes/article/view/251253
<p> </p> <p>ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของฝรั่งเศสประกอบด้วยสาระสำคัญสี่ประการ คือ การรักษาสันติภาพและความมั่นคง การเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับมหาอำนาจในภูมิภาค การสนับสนุนให้เกิดระเบียบโลกแบบหลายขั้วอำนาจ และการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ บทความวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อตอบคำถามว่า ปัจจัยใดบ้างในบริบทระหว่างประเทศที่จูงใจให้ฝรั่งเศสดำเนินยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ผลการศึกษาพบว่า การผงาดขึ้นมาของจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง การเปลี่ยนแนวทางการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในแบบเอกภาคีนิยมของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และการถอนสมาชิกภาพออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร เป็นเหตุจูงใจให้ฝรั่งเศสดำเนินยุทธศาสตร์ดังกล่าว นอกจากนี้ การนำแนวคิดเรื่องอำนาจของโจเซฟ นาย มาเป็นกรอบในการศึกษาพบว่า การใช้ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงเป็นอำนาจอันชาญฉลาดของฝรั่งเศส ที่ดำเนินตามนโยบายความยิ่งใหญ่ของประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอ โกลล์ ควบคู่กับแนวทางพหุภาคีนิยมของสหภาพยุโรปเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองโลก และเพื่อสนับสนุนให้ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเกิดระเบียบแบบหลายขั้วอำนาจ</p> <p> </p>
รัชพนธ์ พีระพล
ณัฐนันท์ คุณมาศ
Copyright (c) 2021 วารสารยุโรปศึกษา
2021-12-30
2021-12-30
27 2
80
112