วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri <p>ยินดีต้อนรับสู่ วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย ISSN: XXXX-XXXX (Online) เป็นวารสารวิชาการเผยแพร่เนื้อหาบทความที่ได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการมีการตรวจสอบคุณภาพบทความให้มีความน่าเชื่อถือ และมีมาตรฐานตามหลักวิชาการ ทำให้วารสารมีข้อมูลเพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ศาสนศึกษา และการประยุกต์พุทธศาสนากับสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น การศึกษา ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการ และ บริหารธุรกิจ เป็นต้น บทความทั้งหมดต้องเกี่ยวข้องกับการสอน และการวิจัย ใน 3 กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม ได้แก่ หลักพุทธธรรม การวิเคราะห์หลักพุทธธรรม กลุ่มที่ 2 พุทธศาสนาประยุกต์ กับ สาขาดังนี้ การศึกษา ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ และ รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นต้น กลุ่มที่ 3 กลุ่มนวัตกรรมทางการจัดการศึกษาและการวิจัย ในสาขา ดังนี้ การศึกษา ภาษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการ และ บริหารธุรกิจ เป็นต้น</p> <p><strong>Online ISSN:</strong> XXXX-XXXX</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ :</strong> ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ </p> <p>วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย (JEMRI) มุ่งมั่นที่จะรักษาความสมบูรณ์ของการตีพิมพ์ทางวิชาการและรักษาความเชื่อมั่นในวารสารโดยผู้เขียน ผู้วิจารณ์ และผู้อ่าน วารสารมุ่งมั่นที่จะจัดการกรณีการทุจริตต่อหน้าที่ในการตีพิมพ์โดยทันที และรักษามาตรฐานสูงสุดของจรรยาบรรณตลอดกระบวนการตีพิมพ์</p> th-TH pkachat@gmail.com (พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ, ผศ.ดร.) dn.2519@gmail.com (Somchai Damnoen) Mon, 24 Mar 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 A Synthesis of Buddhist Principles based on King’s Philosophy towards Sufficiency Agricultural Learning for Community Self-Reliance https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275962 <p>The objectives of this research were to study the principles of Buddhism based on King’s Philosophy towards Sufficiency Agricultural learning for community self-reliance; to synthesize the principles of Buddhism based on King’s Philosophy towards Sufficiency Agricultural Learning for community self-reliance; and to propose guidelines integrate Buddhist principles based on King’s Philosophy towards Sufficiency Agricultural Learning for community self-reliance.This Action Research following PAOR process was used for the designs. The research process divided into 4 steps, consisted of the planning stage (Plan: P) to develop an experimental area for land management with royal science integrated into Kok Nong Na R-Model in areas outside the irrigation area, practical steps (Act: A) in developing experimental areas according to the plan and extracting lessons from land management with integrated royal science to Kok Nong Na R-Model in community self-reliance according to Sufficiency Agriculture Method, Observation Stage (Observe: O) by observing the results that arise from following up on the practical work and the reflection stage (Reflect: R) from what happened after the creation of the community network, a case study of land management according to the royal initiative of the King Rama IX, integrated towards Kok Nong Na R-Model in community self-reliance according to Sufficiency Agriculture method. A synthesis of Buddhist principles based on King’s Philosophy towards sufficiency agricultural learning for community self-reliance is to synthesize the core principle of Buddhist principles which have applied in the developed area of Kok (forest), Nong (swamp), and Na (field) in the using the process of action research (PAOR) to conduct and generate to be the results as above</p> Somchai Damnoen, Phra Panyarattanakorn Somruay Pindon Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275962 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้สติปัฏฐาน 4 เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272511 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสติปัฏฐาน 4 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2) เพื่อการประยุกต์ใช้สติปัฏฐาน 4 เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร แล้วเขียนบรรยายวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1.สติปัฏฐาน คือ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ใช้สติเป็นประธานในการกำหนดรู้สิ่งทั้งหลายที่เป็นรูปธรรม นามธรรมซึ่งกำลังเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นหลักการปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตให้เข้าสู่ลำดับวิปัสสนาญาณจนถึงมรรคญาณ 2.การประยุกต์ใช้สติปัฏฐาน 4 เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต คือ การมีสติระลึกรู้เท่าทันตามความเป็นจริง รวมทั้งการพิจารณาให้เห็นความจริงอันเป็นหลักปฏิบัติในสติปัฏฐาน 4 จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิต คือ ทั้งในด้านของความเป็นอยู่ สุขภาพกาย สภาวะทางสังคมสุขภาพจิตใจของสังคม วิถีชีวิตของสังคม ทำให้สังคมมีสภาวะทางสังคม ที่ดีส่งผลต่อการทำงาน และการดำรงชีพ ตลอดจนมีสุขภาวะทางกาย และจิตที่สมบูรณ์</p> พระนิธิชัย สุขสำราญ, ธานี สุวรรณประทีป Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272511 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 วิเคราะห์สังขารุเปกขาญาณในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272512 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสังขารุเปกขาญาณในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อวิเคราะห์สังขารุเปกขาญาณในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก และคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุง แก้ไข สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนาผลการวิจัย พบว่า 1) สังขารุเปกขาญาณในคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ ญาณที่เป็นกลางต่อสังขาร เป็นปัญญาที่ปรารถนา จะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ในขันธ์ 5 ทั้งหมด 15 ชื่อ มีอุปปาทะ เป็นต้น โดยเห็นความทุกข์ เป็นภัย เป็นอามิส และเป็นสังขาร เมื่อพิจารณาเห็นว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจากทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน 2) สังขารุเปกขาญาณในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาด้วยอนุปัสสนา 3 คือ (1) อนิจจานุปัสสนา โดยเห็นความไม่เที่ยงด้วยอนิมิตนุปัสสนา เข้าสู่นิพพานเรียกว่าอนิมิตวิโมกข์ มีนิพพานชื่อว่าอนิมิตนิพพาน (2) ทุกขานุปัสสนาโดยเห็นความเป็นทุกข์ด้วยอัปปณิหิตนุปัสสนาเข้าสู่นิพพานเรียกว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ มีนิพพานชื่อว่าอัปปณิหิตนิพพาน (3) อนัตตานุปัสสนาโดยเห็นความเป็นไม่ใช่ตัวตนด้วยสุญญตานุปัสสนาเข้าสู่นิพพานเรียกว่าสุญญตาวิโมกข์มีชื่อนิพพานว่า<br />สุญญตานิพาน</p> กาจน์กุนต์ เชียร์ศิริกุล, สุภีร์ ทุมทอง, มานพ นักการเรียน Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272512 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการประยุกต์หลักโอวาทปาติโมกข์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275497 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักโอวาทปาติโมกข์ในพระไตรปิฎก 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักโอวาทปาติโมกข์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ เน้นวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ เรียบเรียง และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการประยุกต์หลักโอวาทปาติโมกข์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่พบคือ 1) หลักการ 3 ได้แก่ การไม่ทำบาปทั้งปวงคือ ละอกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางชั่ว ความเสื่อม และความทุกข์ การทำกุศลให้ถึงพร้อมด้วยการสร้างกุศลธรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความเจริญ และ การทำจิตใจของตนให้สะอาดด้วยการละสังโยชน์ 10 มีสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา เป็นต้น 2) อุดมการณ์ 4 ได้แก่ ความอดทน นิพพานซึ่งเป็นภาวะที่เป็นความสงบสุขสูงสุด เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ด้วยการบรรลุอริยบุคคล การไม่ฆ่าสัตว์ การไม่เบียดเบียนคิดทำร้ายผู้อื่นแต่คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ 3) วิธีการ 6 ได้แก่ การไม่กล่าวว่าร้ายคนอื่นด้วยการละวจีทุจริต 4 มีการไม่พูดเท็จ เป็นต้น การไม่ทำร้ายผู้อื่นด้วยการละกายทุจริต 3 มีการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย เป็นต้น ความสำรวมในปาติโมกข์ คือ สำรวมในศีล 2 27 ข้อ เว้นจากข้อที่ทรงห้าม และปฏิบัติตามข้อที่อนุญาตไว้ รู้จักประมาณในอาหารด้วยการบริโภคไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไปแต่พอดีกับความต้องการของร่างกาย การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด คือ อยู่ในเสนาสนะป่า สงัดกายซึ่งเป็นโอกาสที่จะทำจิตให้สงบได้ง่าย และการประกอบความเพียรด้วยการเจริญสมาบัติ 8 มีการเจริญปฐมฌาน เป็นต้น เป็นประจำ ทำความสงบให้เกิดขึ้นในจิตใจ</p> พระครูภาวนาสิริวัฒน์ ทวีป หนูด้วง, วิโรจน์ คุ้มครอง Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275497 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 วิเคราะห์การปรับอินทรีย์ 5 ให้สมดุลเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275522 <p>บทความมี<strong>นี้</strong>วัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาอินทรีย์ 5 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา<strong><br /></strong>เถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปรับอินทรีย์ 5 ให้สมดุลเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง สรุปวิเคราะห์เรียบเรียงบรรยายพรรณนา<strong> ผลการวิจัย พบว่า </strong>1. อินทรีย์ 5 คือ ความเป็นใหญ่ หรือเป็นผู้ปกครองในสภาวธรรมที่เกิดร่วมก้นกับตนหรือเป็นใหญ่ในกิจการนั้น สามารถทำให้สภาวธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับตนนั้นต้องเป็นไปตามอำนาจของตนมี 5 ประการ คือ 1<strong>) </strong>ศรัทธา 2<strong>) </strong>วิริยะ 3<strong>) </strong>สติ 4<strong>) </strong>สมาธิ และ 5<strong>) </strong>ปัญญาและทำหน้าที่เจริญในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา2. ปรับอินทรีย์ 5 ให้สมดุลเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา การจำแนกแยกแยะการปรับอินทรีย์ 2 คู่ให้เสมอกัน คือ ศรัทธาสมดุลกับปัญญา สมาธิสมดุลกับวิริยะ ส่วนสตินั้นควรมีไว้ให้มากเพื่อทำหน้าที่ดูแลจิตใจในการกำหนดรู้</p> แม่ชีจงดี พรเจริญวิโรจน์ , วิโรจน์ คุ้มครอง Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275522 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 วิเคราะห์การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมของวัดเขาพระ จังหวัดเพชรบุรี ตามหลักสัปปายะ 7 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275498 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักสัปปายะ 7 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ทั่วไปของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดวัดเขาพระ จังหวัดเพชรบุรี 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมของวัดเขาพระ จังหวัดเพชรบุรีตามหลักสัปปายะ 7 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า วิเคราะห์การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมของวัดเขาพระ จังหวัดเพชรบุรี ตามหลักสัปปายะ 7 พบว่า ทางวัดมีที่อยู่ที่พักที่อาศัยและสถานที่ที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม มีโคจรสัปปายะ คือ หมู่บ้านหรือท้องถิ่นเหมาะสมสำหรับบิณฑบาต การเดินทางสัญจรสะดวก มีปุคคล สัปปายะคือ พระสงฆ์ที่เป็นกัลยาณมิตรคอยสอนและสอบอารมณ์ในขณะปฏิบัติ มีความรู้ความสามารถ มีอาจาระงดงาม มีภัสสสัปปายะคือ การสนทนาพูดคุยที่เหมาะสมในระหว่างการปฏิบัติ การสำรวมวาจา มีอิริยาปถสัปปายะคือ มีการสอนการปฏิบัติในอิริยาบถต่างๆ ตามหลักสติปัฏฐาน 4 มีโภชนสัปปายะ คือ มีอาหารและเครื่องบริโภคที่ถูกต้องตามหลักโภชนาหาร ดีต่อสุขภาพและเหมาะสมกับการปฏิบัติ ย่อยง่าย และมีอุตุสัปปายะคือ มีสภาวะดินฟ้าอากาศ ธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะสม คือ ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป สัปปายะของทางวัดส่งผลให้การปฏิบัติธรรมมีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านทาน ศีลและปัญญาส่งผลให้จิตใจสงบตามสมควรแก่การปฏิบัติ</p> พระครูสมุห์สมบัติ สรรพคุณ , วิโรจน์ คุ้มครอง, มานพ นักการเรียน Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275498 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาตนเพื่อการบรรลุธรรมในกูฏทันตสูตร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275499 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและสาระสำคัญในกูฏทันตสูตร 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาตนและการบรรลุธรรมในคัมภีร์พระไตรปิฎก 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาตนเพื่อการบรรลุธรรมในกูฏทันตสูตร เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ เน้นวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ เรียบเรียง และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาตนเพื่อการบรรลุธรรมในกูฏทันตสูตรเป็นการพัฒนาตนตามหลักยัญคือทาน ซึ่งหมายถึง นิตยทาน ได้แก่ ทานประจำที่ทำตามสืบต่อกันมาของวงศ์ตระกูล ถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองระดับทานคือ รู้จักเสียสละทรัพย์ของตนเพื่อคนอื่น หลักยัญคือไตรสรณคมน์ได้แก่ การเลื่อมใสพระรัตนตรัยถือเป็นสรณะ ถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองในระดับปัญญาคือ รู้จักหาที่พึ่งเพื่อความพ้นทุกข์ หลักยัญคือศีล หมายถึงบุคคลผู้มีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล 5 ถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองในระดับศีลคือ การไม่เบียนเบียนตนและบุคคลอื่นให้ได้รับความเดือดร้อน หลักยัญคือฌาน 4 ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน เป็นต้นถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองระดับสมาธิคือ มีความตั้งใจมั่นมีสติมั่นคงในพระรัตนตรัย มีจิตไม่ฟุ้งซ่านไปในทางที่ผิด และหลักยัญคือวิชชา 8 ได้แก่ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิธญาณ ทิพพโสตญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพ นิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ และ อาสวักขยญาณ เมื่อได้ปฏิบัติตามญาณเหล่านี้จิตย่อมพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ บรรลุมรรค ผล และนิพานได้ในที่สุด ผลจากการฟังธรรม พราหมณ์กูฏทันตะได้บรรลุพระโสดาบันและแสดงตนเป็นอุบาสก</p> พระครูธรรมธรปัญญพาวัฒน์ คงทอง , มานพ นักการเรียน Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275499 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการศึกษาบทบาทด้านการประกาศพระพุทธศาสนาของพระอรหันต์ในพระไตรปิฎก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275518 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระอรหันต์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาบทบาทการประกาศพระพุทธศาสนาของพระอรหันต์ในพระไตรปิฎก (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการศึกษาบทบาทด้านการประกาศพระพุทธศาสนาของพระอรหันต์ในพระไตรปิฎก เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ เน้นวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ เรียบเรียง และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า แนวทางการศึกษาบทบาทด้านการประกาศพระพุทธศาสนาของพระอรหันต์ในพระไตรปิฎกกล่าวคือ พระมหากัสสปเถระมีบทบาทในการสนทนาธรรมะ แสดงธรรม และตอบปัญหาธรรมร่วมกับภิกษุสาวกรูปอื่น เป็นประธานในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 พระสารีบุตรเถระมีบทบาทในการสอนให้พุทธบริษัท 4 และบุคคลทั่วไปเกิดศรัทธาเลื่อมใสหันมานับถือพระรัตนตรัยกันอย่างแพร่หลาย พระมหาโมคคัลลานเถระมีบทบาทในการประกาศพระพุทธศาสนาในรูปแบบของการสนทนา แบบบรรยาย แบบถามตอบปัญหา และแบบการใช้ฤทธิ์ปราบมิจฉาทิฏฐิบุคคล และฝ่ายภิกษุณี ได้แก่ พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรีมีบทบาทในฐานะต้นกำเนิดของภิกษุณี และเป็นผู้นำภิกษุณีในสมัยพุทธกาล พระเขมาเถรีมีบทบาทในฐานะอัครสาวิกาเบื้องขวา มีปัญญามากสามารถบรรยายธรรมไม่ผิดเพี้ยนกับพระพุทธเจ้า เป็นผู้นำภิกษุณีในสมัยพุทธกาล พระอุบลวรรณาเถรีมีบทบาทในฐานะเป็นอัครสาวิกาเบื้องซ้าย มีฤทธิ์มาก เป็นต้นบัญญัติที่ภิกษุต้องไม่ขอไตรจีวรกับผู้มิใช่ญาติ และแสดงธรรมโต้ตอบมารเป็นต้น พระเถระและพระเถรีทั้ง 6 องค์ นี้มีภาวะความเป็นผู้นำสูง อบรมสั่งสอนประชาชนให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา มีความชำนาญเฉพาะด้าน มีส่วนช่วยประการศพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนถึงทุกวันนี้</p> พระครูพิมลธรรมภาณ มานพ ปาละพันธ์, วิโรจน์ คุ้มครอง, พระศรีวินยาภรณ์ สายรุ้ง แดงงาม Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275518 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 วิเคราะห์การละสังโยชน์เบื้องต่ำในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275521 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสังโยชน์เบื้องต่ำ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การละสังโยชน์เบื้องต่ำในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า วิเคราะห์การละสังโยชน์เบื้องต่ำในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา กล่าวคือ 1) โยคีบุคคลเป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มีความแกล้วกล้า รู้อุบายเครื่องสลัดสักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นย่อมละสักกายทิฏฐิได้ 2) โยคีบุคคลไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อการกำหนดรู้สภาวธรรมตามที่เป็นจริงย่อมเป็นเหตุให้ละ คือ กำจัดวิจิกิจฉาได้ &nbsp;3) โยคีบุคคลละความยึดมั่นถือมั่นว่า สัตว์ทั้งหลายสามารถบริสุทธิ์ได้ด้วยศีลและพรตปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ก็จะสามารถละสีลัพพตปรามาสได้ 4) โยคีบุคคลละกามราคะ คือความหมกมุ่นในกามทั้งหลายด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ทำโยนิโสมนสิการ และเจริญอสุภกรรมฐานจะช่วยให้กำหนดรู้เท่าการเกิด-ดับของราคะ สามารถละกามราคะได้ 5) โยคีบุคคลผู้รู้ปฏิฆะ คือ ความอาฆาต เจริญวิปัสสนา คือ พิจารณาธรรมด้วยปัญญาตามความจริง มิใช่สัตว์บุคคลตัวตนทั้งสิ้นเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละปฏิฆะได้ในที่สุด</p> พระเทืองวรินทร์ ชื่นจันทร์ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275521 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 กระบวนการเจริญปฏิจจสมุปบาทในมหานิทานสูตร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275501 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและสาระสำคัญในมหานิทานสูตร 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับปฏิจจสมุปบาทในมหานิทานสูตร 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการเจริญปฏิจจสมุปบาทในมหานิทานสูตร กระบวนการเจริญปฏิจจสมุปบาทในมหานิทานสูตร คือ ปฏิจจสมุปบาทสายเกิดทุกข์ 12 ประการเริ่มตั้งแต่อวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี สังขารเป็นปัจจัยวิญญาณจึงมี วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี นามรูปเป็นปัจจัยสฬายตนะจึงมี สฬายตนะเป็นปัจจัยผัสสะจึงมี ผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาจึงมี เวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงมี ตัณหาเป็นปัจจัยอุปาทานจึงมี อุปาทานเป็นปัจจัยชาติจึงมี ภพเป็นปัจจัยชาติจึงมี ชาติเป็นปัจจัยชรามรณะจึงมี และชรามรณะเป็นปัจจัยความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจจึงมี กองทุกข์ทั้งปวงจึงเกิดขึ้นประการฉะนี้ และปฏิจจสมุปบาทสายดับทุกข์ 12 ประการเริ่มตั้งแต่เพราะอวิชชาสำรอกดับไปโดยไม่เหลือสังขารจึงดับ สังขารดับวิญญาณจึงดับ วิญญาณดับนามรูปจึงดับ นามรูปดับสฬายตนะจึงดับ สฬายตนะดับผัสสะจึงดับ ผัสสะดับเวทนาจึงดับ เวทนาดับตัณหาจึงดับ ตัณหาดับอุปาทานจึงดับ อุปาทานดับภพจึงดับ ภพดับชาติจึงดับ ชาติดับชรามรณะจึงดับ ชรามรณะดับความโศก ความคร่ำครวญ รำพัน ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจก็ดับ เมื่อดับวงจรของปฏิจจสมุปบาทได้ การเกิดในชาติปัจจุบันนี้ ถือว่าเป็นชาติสุดท้าย การดับวงจรของชีวิตหรือดับปฏิจจสมุปบาทได้ ถือว่าเป็นการบรรลุธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนากล่าวคือเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอรหันต์ จักไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก</p> พระครูโกวิทศาสนกิจ อัมพร ฉนฺทกโร Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275501 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275592 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์รายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ จำนวน 5 คนได้จากการเลือกแบบเจาะจง นักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ จำนวน 24 คนที่ได้จากการสุ่มแบบยกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์วิชาการจัดการแบบบูรณาการ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test Dependents ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. บทเรียนออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.57)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์รายวิชาการจัดการแบบบูรณาการ พบว่า ผลการทดสอบหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์รายวิชาการจัดการแบบบูรณาการในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.53)</span><strong> </strong></p> <p>ข้อค้นพบจากงานวิจัย คือ การจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ เหมาะสำหรับการศึกษาระบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้สัมผัสประสบการณ์จริงเสมือน ออกแบบบทเรียนที่มีความสนุกสนาน และกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้และเกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน</p> เพชรา บุดสีทา, นภาลัย บุญคำเมือง, ศิริพร โสมคำภา, อนุธิดา เพชรพิมูล, คุณัญญา เบญจวรรณ, พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว, ปุญชรัสมิ์ กีรติพรนิภัทธิ์ , วิษณุเดช นันไชยแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275592 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อนวัตกรรม การประเมินเพื่อการเรียนรู้ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275960 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อนวัตกรรมการประเมินเพื่อการเรียนรู้ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการประเมินเพื่อการเรียนรู้ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการรับรู้ประโยชน์ของนวัตกรรมเป็นกรอบการ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาดนตรีสากล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จำนวน 24 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อนวัตกรรมการประเมินเพื่อการเรียนรู้ พบว่าผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งนักศึกษาแสดงความพึงพอใจในระดับสูงต่อการใช้นวัตกรรมการประเมิน เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีช่วยให้กระบวนการเรียนรู้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการประเมินเพื่อการเรียนรู้ พบว่านักศึกษามีความรับรู้ถึงความมีประโยชน์และความง่ายในการใช้งาน ซึ่งนวัตกรรมนี้ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับการปรับปรุงการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และทัศนคติของผู้เรียนต่อการใช้งานเป็นไปในเชิงบวกและมองว่าสามารถใช้ในการประเมินในอนาคตได้ นอกจากนี้ นวัตกรรมนี้ยังมีข้อได้เปรียบมากกว่าวิธีการประเมินแบบดั้งเดิมและสามารถปรับใช้กับวิชาอื่นได้อย่างเหมาะสม ทำให้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ในอนาคต</span></p> <p>ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมการประเมินเพื่อการเรียนรู้ที่ครอบคลุมหลากหลายวิธี ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการประเมิน และปรับปรุงกระบวนการสอนอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและการประเมินผลในระยะยาวเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในอนาคต</p> นัทธ์หทัย กันทพงษ์, พรภวิษย์ เปาเส็ง , ไพโรจน์ กันทพงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275960 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 บทบาทพระมหากัสสปเถระในการประกาศพระพุทธศาสนา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275520 <p>บทความวิชาการมุ่งวิเคราะห์บทบาทสำคัญของพระมหากัสสปเถระด้านการประกาศพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญต่อการก่อรูปของพระพุทธศาสนา หากขาดพระมหากัสสปเถระอาจจะไม่เกิดขึ้นและมีอายุยาวกระทั่งถึงปัจจุบัน ท่านได้ทำหน้าที่เป็นประธานปรารภการทำปฐมสังคายนาเป็นครั้งแรก ได้คัดเลือกพระผู้ทำสังคายนา วางกรอบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การถามตอบปัญหาธรรมะ นอกจากนั้นตัวท่านเองได้ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างของภิกษุรุ่นหลัง&nbsp; ท่านใช้ดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับสมณะวิสัยโดยการถือธุดงควัตร 13 ข้อตลอดชีวิต เป็นแบบอย่างจนได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะผู้เลิศด้านการถือธุดงค์ 13 มีการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัติตนนี้ทำให้ท่านมีบริวารจำนวนมาก ส่งผลให้การประกาศพระศาสนาลงหลักปักฐานและขยายไปทั่วอินเดีย โดยเฉพาะการทำสังคายนาพระธรรมวินัยที่ท่านเป็นประธาน ถือได้ว่าเป็นประโยชน์แก่หมู่ชนเป็นอันมาก ต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง พระมหากัสสปเถระมีภาวะความเป็นผู้นำสูง อบรมสั่งสอนประชาชนให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา มีความชำนาญเฉพาะด้านธุดงควัตร มีส่วนช่วยประการศพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนถึงทุกวันนี้</p> พระครูพิมลธรรมภาณ มานพ ปาละพันธ์ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275520 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 วิเคราะห์สัมมัปปธาน 4 เพื่อการบรรลุธรรม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275519 <p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “แนวทางการเจริญสัมมัปปธาน 4 ในโพธิปักขิยธรรมเพื่อการบรรลุธรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สัมมัปปธาน 4 เพื่อการบรรลุธรรมกล่าวคือ 1. วิเคราะห์สังวรปธานคือ เพียรระวังยับยั้งบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น การทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งมั่นสามารถบรรลุธรรมได้ 4 อย่างคือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค 2. วิเคราะห์ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว การทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งมั่นสามารถบรรลุธรรลุธรรมได้ 4 ย่างคือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคและอรหัตมรรค 3. วิเคราะห์ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้ขึ้นสามารถบรรลุธรรมได้ 4 อย่างคือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค 4. วิเคราะห์อนุรักขนาปธานคือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นมิให้เสื่อมและ เจริญยิ่งขึ้นไป สามารถบรรลุธรรมได้ 4 อย่างคือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค</p> พระสุจินตนินท หนูชูสีห์สกุล Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/275519 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700