https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/issue/feed วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย 2024-10-31T21:14:01+07:00 พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ, ผศ.ดร. pkachat@gmail.com Open Journal Systems <p>ยินดีต้อนรับสู่ วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย ISSN: 2773-9775 (Online) เป็นวารสารวิชาการของสมาคมหลวงพ่อใหญ่ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วารสารเผยแพร่เนื้อหาบทความที่ได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการมีการตรวจสอบคุณภาพบทความให้มีความน่าเชื่อถือ และมีมาตรฐานตามหลักวิชาการ ทำให้วารสารมีข้อมูลเพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ศาสนศึกษา และการประยุกต์พุทธศาสนากับสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น การศึกษา ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการ และ บริหารธุรกิจ เป็นต้น บทความทั้งหมดต้องเกี่ยวข้องกับการสอน และการวิจัย ใน 3 กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม ได้แก่ หลักพุทธธรรม การวิเคราะห์หลักพุทธธรรม กลุ่มที่ 2 พุทธศาสนาประยุกต์ กับ สาขาดังนี้ การศึกษา ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ และ รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นต้น กลุ่มที่ 3 กลุ่มนวัตกรรมทางการจัดการศึกษาและการวิจัย ในสาขา ดังนี้ การศึกษา ภาษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การจัดการ และ บริหารธุรกิจ เป็นต้น</p> <p><strong>Online ISSN:</strong> 2773-9775 </p> <p><strong>ปีที่เริ่มเผยแพร่:</strong> 2564</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ :</strong> ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ </p> <p>วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย (JEMRI) มุ่งมั่นที่จะรักษาความสมบูรณ์ของการตีพิมพ์ทางวิชาการและรักษาความเชื่อมั่นในวารสารโดยผู้เขียน ผู้วิจารณ์ และผู้อ่าน วารสารมุ่งมั่นที่จะจัดการกรณีการทุจริตต่อหน้าที่ในการตีพิมพ์โดยทันที และรักษามาตรฐานสูงสุดของจรรยาบรรณตลอดกระบวนการตีพิมพ์</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272208 การจัดการทุนมนุษย์ในทศวรรษหน้า: แนวคิดและแนวทางการพัฒนา 2024-08-29T12:32:58+07:00 จักรี ศรีจารุเมธีญาณ chakkree_2532@hotmail.com สมปอง สุวรรณภูมา sompongs9198@gmail.com สัญญา เคณาภูมิ zumsa_17@hotmail.com <p>การจัดการทุนมนุษย์ (HCM) เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการใช้ความรู้ ทักษะ และความสามารถของบุคคลภายในองค์กร กลยุทธ์ HCM ควรสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ส่งเสริมนวัตกรรม และเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของพนักงาน HCM ถือเป็นการลงทุนเพื่อผลประโยชน์ระยะยาวขององค์กร เนื่องจากมีส่วนช่วยให้องค์กรสามารถดึงดูด พัฒนา และรักษาบุคคลที่มีความสามารถได้ บทความนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการปรับแนวทางปฏิบัติ HCM ให้เข้ากับภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โลกาภิวัตน์ และการพัฒนาพลวัตของพนักงานโดยเน้นแนวคิดเรื่องทุนมนุษย์ในฐานะสินทรัพย์ที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับองค์กรได้</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/273000 การพัฒนาหลักสูตร: บทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เพื่อเตรียมความพร้อมการศึกษาในยุค Next Normal 2024-09-04T15:48:34+07:00 พระมหาโกศล มาดี kosol.mad@mcu.ac.th ฉัตรระวี มณีขัติย์ yingchart777@gmail.com <p>ระบบการศึกษาไทยมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยหลักสูตรทางการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนการพัฒนาการศึกษาชาติ ซึ่งมีความมุ่งหวังที่จะให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ที่สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงกระนั้น ด้วยสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นปัจจัยแทรกที่ทำให้ระบบการศึกษามีปัญหา ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของการพัฒนาหลักสูตรด้วย โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบการศึกษาไทย บทความนี้ได้นำเสนอบทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาของไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในยุค Next Normal ซึ่งถือว่าเป็นยุคถัดไปหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ระบบการศึกษาจำต้องเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างระบบการศึกษาในยุคที่เราไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาของไทยเฉกเช่นสถานการณ์โควิด-19 นี้</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272782 Transferring the Body of Knowledge on Creative Arts and Culture Base on the King’s Philosophy in Phrae Province 2024-08-29T11:11:28+07:00 Chaweewan Suwannabha wee_mcu@hotmail.com Nopparat Rattanawong nopparat.rat@mcu.ac.th Khemika Varitwuttikul khemika.var@mcu.ac.th Kittisak Wimon kittisak.wim@mcu.ac.th <p>Meung Mor artisan group of Phrae province is acknowledged for their extraordinary abilities and dedication to the art of basketry. Their skills are accepted in terms of identities, patterns, and forms. Community involvement and King’s Philosophy play a vital role in cultivating the process of knowledge transfer, which is a mechanism to strengthen the relationship between generations. It can potentially improve the quality of life of Muang Mor artisan group. This paper aims to present the results of transferring knowledge on bamboo basketry of Muang Mor community based on the King’s philosophy. Both qualitative and quantitative data were collected from 47 key informants using documentary and action research methods. The research instruments were interviews, focus group discussions, and structured observation. The data were analyzed using content analysis.</p> <p>Muang Mor community's body of knowledge on bamboo basketry was transferred to enhance the local economy, resulting in community involvement. The general information of Muang Mor bamboo basketry consisted of types of bamboo used for basketry handicraft, raw material preparation, bamboo weaving techniques, basic terms used for bamboo weaving, the identity of bamboo basketry handicraft, product patterns, and the relationship between bamboo basketry and lifestyle of Thai people. As a result of the exchange of ideas, local wisdom, and skills, the body of knowledge was formed and the benefits of knowledge transfer were realized.</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272631 นวัตกรรมสีเขียว การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความได้เปรียบทางการแข่งขันและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2024-08-07T22:42:59+07:00 เจนปรียา แคล้วสูงเนิน janepreeya.k@psru.ac.th วิจิตรา จำลองราษฎร์ wichitra.j@psru.ac.th ภัทรสิริ กุนเดชา pattarasiri.g@psru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษานวัตกรรมสีเขียว การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความได้เปรียบทางการแข่งขัน การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย และผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลนวัตกรรมสีเขียว การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 385 ราย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมสีเขียว การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียอยู่ในระดับมาก และความได้เปรียบทางการแข่งขันส่งผลต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนมากที่สุด รองลงมา คือ นวัตกรรมสีเขียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสามารถพยากรณ์ผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนได้ถูกต้อง ร้อยละ 87.70</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272345 รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2024-09-13T10:21:58+07:00 ลดาวัลย์ รัตนไชยดำรง mildrattanachai@gmail.com ประพล เปรมทองสุข premthongsuk_p@su.ac.th <h1>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยการทำงาน บุคลิกภาพแบบเชื่ออำนาจควบคุม ความเครียดในการทำงานและการคงอยู่ของพนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการทำงานและบุคลิกภาพแบบเชื่ออำนาจควบคุมที่มีต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเครียดการในทำงานที่มีต่อการคงอยู่ของพนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดปัจจัยการทำงาน บุคลิกภาพแบบเชื่ออำนาจควบคุม ความเครียดในการทำงาน และการคงอยู่ในงาน พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริการส่วนหน้าแบ่งเป็น 7 อำเภอ ได้แก่ หัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด กุยบุรี อำเภอเมือง ทับสะแก <br />บางสะพาน บางสะพานน้อย จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลและอธิบายผลด้วย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการทำงาน บุคลิกภาพแบบเชื่ออำนาจควบคุม ความเครียดในการทำงาน การคงอยู่ในงาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 3.44, 3.25, 2.89 และ 2.80 ตามลำดับ 2) ปัจจัยการทำงานและบุคลิกภาพแบบเชื่ออำนาจควบคุมมีอิทธิพลต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และ 0.05 ตามลำดับ 3) ความเครียดในการทำงานมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของพนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรมระดับ 4 - 5 ดาว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ผู้บริหารองค์กร หัวหน้างาน และฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล สามารถนำงานวิจัยนี้ไปพัฒนาและเสริมสร้างความสุขเพื่อรักษาบุคลากรให้คงอยู่ในองค์กร</h1> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/273002 โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานบริษัทเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2024-08-28T17:27:49+07:00 ชญานุช เรือนนุช jeaba1431@gmail.com ประพล เปรมทองสุข premthongsuk_p@su.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์กร แรงจูงใจในการทำงาน และพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) อิทธิพลทางตรงของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อวัฒนธรรมองค์กร 3) อิทธิพลทางตรงของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อแรงจูงใจในการทำงาน 4) อิทธิพลทางตรงของวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 5) อิทธิพลทางตรงของแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 6) อิทธิพลทางอ้อมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านวัฒนธรรมองค์กร และ 7) อิทธิพลทางอ้อมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านแรงจูงใจในการทำงาน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัทเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 185 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์กร แรงจูงใจในการทำงาน และพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับสูงทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ,4.52 ,4.41 และ 4.49 ตามลำดับ 2) อิทธิพลทางตรงของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อวัฒนธรรมองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) อิทธิพลทางตรงของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 4) อิทธิพลทางตรงของวัฒนธรรมองค์กรไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 5) อิทธิพลทางตรงของแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 6) อิทธิพลทางอ้อมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านวัฒนธรรมองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 7) อิทธิพลทางอ้อมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272405 การพัฒนาความสามารถด้านการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิคทีม คู่ เดี่ยว 2024-08-07T22:53:18+07:00 สิริประภา อินทคง intakhong_s@su.ac.th ชลธิชา หอมฟุ้ง Cholticha207@hotmail.com ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม Chaiyos.pai@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคทีม คู่ เดี่ยว กับเกณฑ์ร้อยละ 65 และ 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคทีม คู่ เดี่ยว รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัย ก่อนทดลอง ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้เทคนิคทีม คู่ เดี่ยว เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 24 คน ได้มาจากการการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้เทคนิคทีม คู่ เดี่ยว 2) แบบวัดความสามารถด้านการพูดและเกณฑ์การประเมินความสามารถในการพูด 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคทีม คู่ เดี่ยว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ one sample t- test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><br />1. ความสามารถด้านการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคทีม คู่ เดี่ยว สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><br />2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้เทคนิคทีม คู่ เดี่ยว อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด</p> <p><br />ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ เทคนิคทีม คู่ เดี่ยว เหมาะสำหรับการพัฒนาทักษะของนักเรียน เนื่องจากเป็นเทคนิคที่เน้นการปฏิบัติกิจกรรมซ้ำ ๆ เพื่อให้เกิดทักษะมากขึ้น เป็นเทคนิคที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีความพยายามทำกิจกรรมมากขึ้น ร่วมกันเรียนรู้และปฏิบัติ จนสามารถทำได้ด้วยตนเอง </p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272406 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model 2024-08-07T22:58:17+07:00 สุเมธ เขียวโสภา khiaosopa_s@su.ac.th ชลธิชา หอมฟุ้ง Cholticha207@hotmail.com ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม Chaiyos.pai@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยก่อนทดลอง พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสาธิตเทศบาลเมืองราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 36 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า<br>1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบ MACRO model สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br>2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272603 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 2024-08-09T01:20:59+07:00 ภาวศุทธิ์ คติศิริกุญชร pha.view@gmail.com สาธร ทรัพย์รวงทอง ทรัพย์รวงทอง satorn.s@nsru.ac.th สุพัฒนา หอมบุปผา supattana.h@nsru.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 285 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวก ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> <p>ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ สามารถนําไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารสถานศึกษาใช้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272808 การประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลยุ้งทลาย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-09-04T16:04:02+07:00 นงลักษณ์ สวยค้าข้าว nongluksuaykakao@gmail.com อัจฉรา หล่อตระกูล nmpungnaka@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลยุ้งทลาย 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลยุ้งทลาย และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลยุ้งทลาย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลยุ้งทลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลยุ้งทลาย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลยุ้งทลาย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ 1) การแบ่งปันโดยให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์เพื่อการดำรงชีพที่เหมาะสม 2) การใช้วาจาที่เหมาะสม <br />3) การสนับสนุนตามความเหมาะสม 4) ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมรับรู้ ร่วมแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกันกับเพื่อนร่วมงาน และองค์กร โดยไม่ละทิ้งหน้าที่และความรับผิดชอบ ให้ความสำคัญกับหน่วยงานในพื้นที่ของตน</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272805 การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรเทศบาลตำบลศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-08-31T13:14:28+07:00 วิกานดา ศรีศักดา wipada085@gmail.com อัจฉรา หล่อตระกูล nmpungnaka@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลศรีประจันต์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลศรีประจันต์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรเทศบาลตำบลศรีประจันต์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างใช้หลักการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 374 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรเทศบาลตำบลศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลศรีประจันต์ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลศรีประจันต์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย แต่ด้านอายุประชาชนมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลศรีประจันต์ ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรเทศบาลตำบลศรีประจันต์ คือ ด้านฉันทะ (การวางแผน) มีความยินดีในการรวบรวมข้อมูลและปัญหาสำคัญของท้องถิ่นมาจัดทำฐานข้อมูล ด้านวิริยะ (การปฏิบัติตามแผน) มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น ด้านจิตตะ (การตรวจสอบ) มีการประเมิน ผลโครงการ โดยประชาชนได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการ ด้านวิมังสา (การปรับปรุงแก้ไข) เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วเทศบาลตำบล มีการประเมินผล</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272799 กระบวนการบริหารความเสี่ยงตามหลักอริยสัจ 4 ขององค์การบริหาร ส่วนตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-08-31T12:39:47+07:00 ศิริพร เพ็งเคลือบ pengklueb@gmail.com อัจฉรา หล่อตระกูล nmpungnaka@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อระดับศึกษาองค์ประกอบของความเสี่ยงขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงตาม<br />หลักอริยสัจ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยง และแนวคิดเกี่ยวกับหลักอริยสัจ 4 เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานส่วนตำบลที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับกระบวนการบริหารความเสี่ยง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับองค์ประกอบของความเสี่ยงขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่ามีอิทธิพลต่อกระบวนการบริหารความเสี่ยง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) แนวทางการบริหารความเสี่ยงตามหลักอริยสัจ 4 ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทุกด้าน ผู้บริหารต้องส่งเสริมให้การบริหารความเสี่ยงเป็นหัวใจหลักและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอยู่เสมอ มีการทบทวนและปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยงอยู่เสมอ</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272807 การประยุกต์ใช้หลักปาปณิกธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-09-04T16:19:37+07:00 กฤตยชญ์ จันทมาลา golfzerhot@hotmail.com อัจฉรา หล่อตระกูล nmpungnaka@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักทุติยปาปณิกธรรมกับการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักปาปณิกธรรมในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร เทศบาลตำบลรั้วใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักปาปณิกธรรมและภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำมาก 3) แนวทางการประยุกต์ใช้หลักปาปณิกธรรมในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีดังนี้ (1) จักขุมา (2) วิธูโร และ (3) นิสสยสัมปันโน</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/273221 การจัดการเรียนรู้ด้วยการเจริญอานาปานสติเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรมพรหมวชิรญาณ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 2024-09-13T09:25:29+07:00 พระเปรมชัย พงาตุนัด pramchai28012542@gmail.com <h1>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ก่อนและหลังการทำอานาปานสติสมาธิ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนในการทำอานาปานสติสมาธิกับการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ รูปแบบการวิจัยเป็น การวิจัยเชิงทดลอง พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรมพรหมวชิรญาณ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 รูป ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ <br />2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test)</h1> <h1> ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการทำอานาปานสติสมาธิ มีผลการเรียนที่สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของนักเรียนในการทำอานาปานสติสมาธิกับการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก นักเรียนที่ทำอานาปานสติสมาธิหลังเรียนมีผลการเรียน การตั้งใจเรียน คะแนนสอบ สูงกว่าก่อนเรียน เพราะว่าอานาปานสติ คือวิธีหรือกลไกที่ทำให้จิตของผู้ปฏิบัติมีความสงบเย็นเป็นกลางรู้เท่าทันทุกขณะของอิริยาบถที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีสติไม่หลงลืม มีใจเป็นกลางไม่อคติเหมาะแก่การรับความรู้ใหม่ ๆ</h1> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/273198 การเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการวิชาพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2024-09-06T12:39:43+07:00 นิษฐา อินทร์ประชา suphatraluk@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตจากการใช้การเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิชาพระพุทธศาสนา 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะชีวิตระหว่างการเรียนการสอนแบบปกติและการเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิชาพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนสามโคก องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนทั้งหมด 342 คน/กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 34 คน/ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 2) แบบสอบถามผลการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาและสถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล1) ค่าร้อยละ 2) ค่าเฉลี่ย 3) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. การศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตจากการใช้การเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตอยู่ในระดับดี</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการเปรียบเทียบทักษะชีวิตระหว่างการเรียนการสอนแบบปกติและกระบวนการเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการส่งเสริมทักษะชีวิต มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับดี</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. การศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการ ควรจัดการเรียนการสอน ในการจัดกิจกรรมให้สนุกสนาน ส่งเสริมให้คิดบวก พร้อมกับสอดแทรกหลักธรรมคำสอนมาปรับใช้ในชีวิต และมีการฝึกทำงานกลุ่ม การศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ หรือแหล่งเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต</span></p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272706 การพัฒนาทักษะการพูดภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีนผ่านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก “หลักสูตรครัวภาษาไทย” 2024-09-24T13:19:50+07:00 กมลวรรณ เลิศสุวรรณ kamon.lsw@gmail.com หงเจียว หยาง 2392448933@qq.com <p>มหาวิทยาลัย Hainan Tropical Ocean University ประเทศจีน เป็นอีกหนึ่งสถานศึกษาที่เปิดการเรียนในหลักสูตรภาษาไทย โดยนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 ทุกคน จะได้รับการฝึกประสบการณ์ในสายอาชีพที่ต้องการที่ประเทศไทย อย่างไรก็ดีในช่วงการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้นักศึกษาไม่สามารถเดินทางมาที่ประเทศไทยได้ จึงต้องปรับรูปแบบการสอนเป็นแบบออนไลน์กับมหาวิทยาลัยที่ประเทศไทย แต่ข้อจำกัด คือ การขาดประสบการณ์ทางตรงที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนไทย ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำ “หลักสูตร ครัวภาษาไทย” ขึ้น เพื่อทดแทนการเดินทางมาศึกษาที่ประเทศไทย วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนสามารถประกอบอาหารไทยได้ตามสูตร และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะภาษาไทยที่ดีขึ้นผ่านการเรียนรู้ด้วยการทำอาหารไทย ทำการสอนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่ง และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ระยะเวลาในการเรียน คือ 28 ชั่วโมง และผู้เรียน คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 11 คน ผลการศึกษาพบว่า ในการจัดการเรียนรู้ “หลักสูตร ครัวภาษาไทย” นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยจากการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบย่อยแต่ละกิจกรรม (E<sub>1</sub>) เท่ากับ 300.49 คะแนน จากคะแนนเต็ม 360 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.46 และคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ (E<sub>2</sub>) หลังเรียนเท่ากับ 46.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 93.14 ดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก “หลักสูตร ครัวภาษาไทย” ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.46 / 93.14 และพบว่า ทักษะการพูดภาษาไทยของนักศึกษาหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก “หลักสูตร ครัวภาษาไทย” สูงกว่าก่อนเรียน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> <p>สรุปผลการวิจัย หลังเข้ารับการเรียนในหลักสูตร ครัวภาษาไทย นักศึกษามีทักษะภาษาไทยด้านการพูดสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสามารถสรุปได้ว่า การเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งและการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในเนื้อหาที่นักศึกษาสนใจ คือ การทำอาหารไทย ทำให้นักศึกษาชาวจีนมีทักษะการพูดภาษาไทยที่ดีขึ้นได้</p> <p><br /><br /></p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272438 ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมอีสานที่ปรากฏในผลงานของสวิง บุญเจิม 2024-07-30T15:41:20+07:00 วิทยา ทาต้อง wittaya.wi@ku.th โกวิทย์ พิมพวง bigko009@hotmail.com วิไลศักดิ์ กิ่งคำ wilaisak.k@ku.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมอีสานที่ปรากฏในผลงานของสวิง บุญเจิม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แบบพรรณนาวิเคราะห์ การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผลงานที่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมอีสาน จำนวน 8 เล่ม ผลศึกษาภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมอีสานที่ปรากฏในผลงานของสวิง บุญเจิม พบ 2 ประเภท คือ 1) วัฒนธรรมทางวัตถุ ได้แก่ ภาพสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ ด้านสรรพสิ่งและสิ่งมีชีวิต ด้านอาหารการกิน ด้านการละเล่น ดนตรี และด้านการทำมาหากิน 2) วัฒนธรรมทางใจ ได้แก่ ภาพสะท้อนประเพณี สะท้อนขนบประเพณีแต่งงาน ประเพณีการบวช ประเพณีเกี่ยวกับงานศพ ประเพณีสู่ขวัญ ภาพสะท้อนความเชื่อสะท้อน ความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ ความเชื่อความฝัน และภาพสะท้อนกฎระเบียบทางสังคม สะท้อน หลักปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง ต้องเป็นผู้มีความเที่ยงธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ยึดหลักพรหมวิหาร 4 การตั้งตนไว้ชอบ และการไม่โอ้อวดและหลงตน หลักปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์ หลักปฏิบัติสำหรับบุคคลทั่วไป ชาวอีสานยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ ประกอบด้วย การถือศีลปฏิบัติธรรม การรู้จักประมาณตน การยึดหลักจารีต และการวางแบบแผนพฤติกรรม</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/273288 ความเชื่อเรื่องกรรมของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 2024-09-17T12:34:48+07:00 พระชินพล ปรางทอง chinnapolwatkhok93@gmail.com มานพ นักการเรียน mnakkarreiyn@gmail.com <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้การศึกษาเชิงปริมาณ โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 136 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่า t-test และ F-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเชื่อเรื่องกรรมของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบความเชื่อเรื่องกรรม พบว่า เพศ และระดับการศึกษา ของประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ที่แตกต่างกันมีความเชื่อเรื่องกรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องของกรรม พบว่า ประชาชนในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดโคก) มีความเชื่อเรื่องกรรมว่าเป็นการกระทำทั้งดีและไม่ดี การทำบุญหรือการทำความดีอื่น ๆ จะส่งผลดีให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า ครอบครัวมีความสุข ทั้งในชีวิตนี้และในโลกหน้า</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/273817 การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดคลองใหม่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 2024-10-01T13:10:35+07:00 พระมหาวิสันต์ วงษ์สาลี palidanamsenaa12@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดคลองใหม่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และ สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดคลองใหม่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร โดยคณะสงฆ์วัดคลองใหม่ ได้ดำเนินงานในด้านสาธารณสงเคราะห์ที่มีต่อ วัด การพัฒนาชุมชน โรงเรียน และสังคม โดยการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมมาดำเนินการช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ประชาชน ชุมชน และสังคม โดยการให้การสงเคราะห์ ในการช่วยเหลือผู้อื่น และผู้ขาดแคลน หรือผู้เดือดร้อน โดยมีจุดมุ่งหมายนำไปสู่การพัฒนาจิตใจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาวัด การพัฒนาชุมชน สังคม และโรงเรียนอันจะนำความสุขมาสู่ประชาชน สังคม และประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/273269 การประยุกต์ใช้หลักธรรมในการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 2024-09-17T12:24:41+07:00 พระครูวิบูลวรานุกิจ ประทีป พันธ์กุ้ย smupatep@gmail.com พระมหาวิโรจน์ ธาระพุฒ non2518@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหายาเสพติดชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ) ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนวัด ตัวแทนประชาชน และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ รวม 15 คน<br />ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหายาเสพติดในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม ปัจจุบันมีน้อยลง เนื่องจากได้รับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาจากผู้นำชุมชน วัด หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประกอบด้วย ทิศ 6 อบายมุข 6 เบญจศีลเบญจธรรม และการคบมิตร และหลักธรรมอื่น ๆ เช่น ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู ความละอายแก่ใจ และความเกรงกลัวต่อบาป เป็นต้น การประยุกต์หลักธรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม โดยการประยุกต์หลักทิศ 6 ได้แก่ 1) การส่งเสริมความรักความเข้าใจอันดีระหว่างคนในครอบครัว 2) การส่งเสริมการให้ความเคารพต่อพระสงฆ์/ผู้สูงอายุ/ผู้ใหญ่/ครูอาจารย์ในชุมชน และ3) การส่งเสริมการรวมกลุ่มเยาวชนเพื่อต้านยาเสพติด การประยุกต์ใช้หลักอบายมุข 6 ในการป้องกันปัญหายาเสพติด ได้แก่ 1) ชุมชนและครอบครัวสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องอบายมุข 2) ชุมชนจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชนให้ห่างไกลจากอบายมุข การประยุกต์หลักเบญจศีลและเบญจธรรม ได้แก่ 1) ชุมชนไม่ส่งเสริมการจำหน่ายสุรายาเมาทุกชนิดในเขตชุมชน 2) ชุมชนร่วมกับหน่วยงานราชการกวดขันจับกุมผู้เสพและผู้จำหน่วยยาเสพติด 3) ชุมชนร่วมกับหน่วยงานราชการจัดกิจกรรมครอบครัวผาสุข การประยุกต์การคบมิตร ได้แก่ 1) กิจกรรมกีฬาชุมชน 2) กิจกรรมจิตอาสาในชุมชน</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/273456 การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารวัดตามทัศนคติของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 2024-09-17T12:37:09+07:00 พระครูสมุห์สุพจน์ อินทะชัย palidanamsenaa12@gmail.com <p>บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาทัศนคติต่อการประยุกใช้พรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของพระสงฆ์ต่อการประยุกใช้พรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามตัวแปรอิสระ เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกใช้พรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดตามทัศนะคติของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี การวิจัยนี้เป็นเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัย พบว่า การประยุกต์ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดตามทัศนคติของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มีทัศนติเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดตามทัศนคติของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีโดยแบ่ง ลักษณะบุคคล พบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรมและวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม มีทัศนคติต่อการการประยุกต์ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดตามทัศนคติของพระสงฆ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 แนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในการบริหารจัดการงานของวัดตามทัศนคติของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี พบว่า พระสงฆ์นั้นยังขาดทักษะและความสามารถในการจัดการบริหารองค์กร ขาดงบประมาณในการสนับสนุน ควรส่งเสริมด้านทุนช่วยเหลือจากภาครัฐและภาคเอกชนในการที่จะทำสื่อเพื่อการพัฒนารูปแบบการเผยแผ่ให้ทันสมัยยิ่งขึ้นในเชิงรุกโดยการใช้สื่อเทคโนโลยี ด้านสร้างปฏิสังขรณ์ดูแลถาวรวัตถุยังขาดผู้ที่มีความรู้ความสามารถวัดกับชุมชนขาดการติดต่อประสานงานที่ดีต่อกันในการจัดกิจกรรม</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272174 วิเคราะห์กสิณ 10 เป็นบาทฐานในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา 2024-07-30T14:27:44+07:00 พระอติรุจ สีหมากสุก zax.skyline@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากสิณ 10 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 2) เพื่อวิเคราะห์กสิณ 10 เป็นบาทฐานในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร แล้วเขียนบรรยายเชิงวิเคราะห์พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. กสิณ คือ วัตถุหรือสิ่งที่ใช้จูงใจ 10 ชนิด ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ใจเข้าไปเพ่งอยู่ในวัตถุหรือสิ่งนั้นๆ สำหรับใช้เป็นเครื่องหน่วงแห่งจิต ซึ่งทำให้คุม ใจได้มั่น ทำให้จิตไม่ฟุ้งซ่านซัดส่าย สงบระงับลงจากกิเลส 2. กสิณ 10 เป็นบาทฐานในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือ ผู้เจริญกสิณเข้าฌาน ออกจากองค์ฌานแล้วยกองค์ฌานที่ปรากฏชัดหรือนำสภาพธรรมที่ประกอบกับฌานที่ปรากฏชัดในขณะปัจจุบัน เพื่อในการเจริญวิปัสสนาญาณ บรรลุ มรรค ผล นิพพาน</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272478 วิเคราะห์การปิดกั้นการไปอบายภูมิด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา 2024-08-07T23:14:49+07:00 สุกัญญา นาทมพล sukanya01072519@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การปิดกั้นการไปอบายภูมิด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา งานวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า อบายภูมิตามหลักการในคัมภีร์พุทธศาสนา หมายถึง ถิ่น, ดินแดน, ภูมิ อันเป็นโลกที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์ผู้กระทำอกุศลกรรมบถ ทางกายวาจาใจ ไม่อยู่ในศีล เป็นมิจฉาทิฎฐิ มีจิตมักโลภ โกรธ หลง อันมีลักษณะปราศจากความเจริญ ทนอยู่อยากต้องรับทุกข์รับโทษสถานเดียว มี 4 ภูมิ คือ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก การเจริญวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 เพียรพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเพียงสภาวของรูปธรรมและนามธรรม รู้แจ้งไตรลักษณ์ เป็นกระบวนการของจิตก่อให้เกิดปัญญาญาณในการพัฒนา สติ สมาธิ ปัญญา เป็นไปเพื่อละตัณหาอุปาทาน เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน</p> <p>วิเคราะห์การปิดกั้นการไปอบายภูมิด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนาเมื่อผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 จนเกิดปัญญาญาณแก่กล้าบรรลุญาณ 16 (โสฬสญาณ) จักเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ละอนุสัยกิเลสเป็นสมุปเฉทประหาณ ปิดกั้นการไปอบายภูมิได้อย่างถาวร</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272486 วิเคราะห์การตัดปลิโพธ 10 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา 2024-09-03T10:28:54+07:00 พระปลัดจักรทิพย์ อภิญาณวงศ์ Jakthip1858@gmail.com <h1>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปลิโพธ 10 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 2) เพื่อวิเคราะห์การตัดปลิโพธ 10 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ปลิโพธ หมายถึง ความห่วงใย ความกังวล เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุปสรรคสำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ได้แก่ 1. อาวาสปลิโพธ เครื่องกังวลคือที่อยู่ 2. กุลปลิโพธ เครื่องกังวลคือตระกูล 3. ลาภปลิโพธ เครื่องกังวลคือลาภสักการะ 4. คณปลิโพธ เครื่องกังวลคือหมู่คณะ 5. กัมมปลิโพธ เครื่องกังวลคือนวกรรม 6. อัทธานปลิโพธ เครื่องกังวลคือการเดินทาง 7. ญาติปลิโพธ เครื่องกังวลคือญาติ 8. อาพาธปลิโพธ เครื่องกังวลคือโรคภัยไข้เจ็บ 9. คันถปลิโพธ เครื่องกังวลคือการเล่าเรียน 10. อิทธิปลิโพธ เครื่องกังวลคือการแสดงอิทธิฤทธิ์</h1> <h1>ผลการวิเคราะห์การตัดปลิโพธ 10 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ปลิโพธเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะตัดออกไปจากชีวิตได้ พระสงฆ์จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับปลิโพธทั้งหลาย คือ ที่อยู่ ตระกูล ลาภสักการะ หมู่คณะ การงาน การเดินทาง ญาติ ความเจ็บป่วย การศึกษาเล่าเรียน และอิทธิฤทธิ์ ซึ่งพระสงฆ์ในฐานะมนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมกัน ต้องอาศัยที่อยู่ ต้องศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น หากในเมื่อไม่สามารถตัดออกได้ พระสงฆ์จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้เป็นเครื่องกังวลกีดขวางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา จากการศึกษาผู้วิจัยวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้พบวิธีการตัดปลิโพธ 10 ในการปฏิบัติวิปัสสนามีแนวทางในการจัดการกับปลิโพธได้ 5 ประการ คือ 1. การชำระสะสางการงานให้เรียบร้อย 2. การมอบหมายภาระหน้าที่ให้แก่ผู้ที่สมควร 3. การบอกกล่าว 4. การหลีกตัวออก 5. การเตรียมใจ</h1> <h1>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับพระภิกษุผู้ปฏิบัติวิปัสสนา โดการชำระสะสางการงานของตนให้เรียบร้อย งานที่ไม่สามารถกระทำได้ให้มอบหมายแก่ผู้อื่นที่มีความสามารถเป็นผู้จัดการต่อ บอกกล่าวแก่ผู้อื่นให้ทราบก่อน แล้วจึงหลีกตน เตรียมใจในการมุ่งปฏิบัติวิปัสสนาต่อไป</h1> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272485 การพัฒนาความสมดุลแห่งจิตโดยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เพื่อวิปัสสนาญาณ 2024-09-03T10:59:26+07:00 พระมหากิตติพิชญ์ นโมพันเรียน 6411205010@mcu.ac.th ธานี สุวรรณประทีป thanee.su@mcu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาจิตกับธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อพัฒนาความสมดุลแห่งจิตโดยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เพื่อวิปัสสนาญาณ รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเน้นเอกสารผ่านการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท แล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาโวหาร ผลจากการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>จิตกับธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ องค์ธรรมที่สำคัญและมีความสัมพันธ์กันมาก เพราะจิตมีหน้าต้องรับรู้อารมณ์ตอลดเวลา ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ การเจริญสติระลึกรู้อยู่ในทุกอารมณ์ปัจจุบันขณะเพื่อให้เกิดปัญญาพิจารณาเห็นเท่าทันความเป็นไปในอารมณ์นั้นๆ จักเป็นประโยชน์ให้จิตมีความฉลาดสามารถควบคุมอารมณ์ให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสงบสุขสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิผล</li> </ol> <p> 2. การพัฒนาความสมดุลแห่งจิตเพื่อวิปัสสนาญาณ คือ การเจริญสติจนเกิดปัญญาหยั่งเห็นความเกิดดับอย่างเร็วมากของนามรูปอันเป็นตัวอารมณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ จนตระหนักถึงความน่ากลัว มีโทษมาก เกิดความเบื่อหน่าย มีสติรู้ในปัจจุบันอยู่ ต้องการจะหลีกออกจากสังขารแล้วแสวงหาทางที่จะหนีให้พ้นไป จนเกิดปัญญาเห็นความเป็นธรรมดาของสังขารแล้วจิตวางเฉยเป็นกลางด้วยกำลังปัญญานั้น</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272804 การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-08-31T13:02:12+07:00 พระสมุห์อาทิตย์ สาครสุพรรณ anankpt1634@gmail.com อภิชาติ พานสุวรรณ apichat_asm@hotmail.com <p>การวิจัยเรื่อง การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญประกอบการจัดทำแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผูสูงอายุ และเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่อาจมีอยู่ต่อไป งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักไตรสิกขาในเขตเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) หลักไตรสิกขาโดยภาพรวม และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักไตรสิกขาในเขตเทศบาลตำบลรั้วใหญ่ (1) ด้านศีล ควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาพของผู้อายุทั้งด้านจิตใจและอาหาร (2) ด้านสมาธิ การเสริมสร้างความเข้าใจผู้สูงอายุให้รู้จักการปล่อยวางไม่ยึดติด (3) ด้านปัญญา ให้ผู้สูงอายุนำความรู้มาถ่ายทอดและการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูรักษาความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นของตน</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272806 การพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-09-04T16:06:16+07:00 พระคมสัน คุ้มพันธ์แย้ม fccihawoo@gmail.com วิชชุกร นาคธน nikom.ket@mcu.ac.th นพดล ดีไทยสงค์ brother.nop@gmail.com อภิชาต พานสุวรรณ apichat_asm@hotmail.com <p>องค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตงดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนภายใต้หลักการ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 2) การสร้างเครือข่ายชุมชน 3) การส่งเสริมกระบวนการชุมชน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รับความทั่วถึงในการรับการจัดสรรค์จากรัฐสวัสดิการอันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนโดยการบูรณาการกับหลักสังคหวัตถุธรรม ซึ่งบทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี สรุปเป็นประเด็นได้ ดังนี้ 1) ด้านทาน มีสาระสำคัญได้แก่ ควรมีการจัดระบบการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ มีการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาในชุมชน และมีการให้ความช่วยเหลือในรัฐสวัสดิการที่ทั่วถึงและเป็นธรรม 2) ด้านปิยวาจา มีสาระสำคัญได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐควรใช้การสื่อสารกับประชาชนผู้มารับบริการด้วยความเป็นกัลยาณมิตรและสุภาพ 3) ด้านอัตถจริยา มีสาระสำคัญได้แก่ ควรมีการเสริมสร้างจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อชุมชนแก่ประชาชนและมีการยกย่องประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ทำความดี และส่งเสริมสุขภาวะชุมชน 4) ด้านสมานัตตตา มีสาระสำคัญได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐควรมีมาตรฐานในการให้คุณให้โทษที่เสมอภาคและเท่าเทียม และการจัดสรรรัฐสวัสดิการที่ทั่วถึงและเป็นธรรม</p> <p> แนวทางและข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย มีดังนี้ 1) องค์การบริหารส่วนตำบลควรมีการสนับสนุนกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุในชุมชน 2) ควรมีการสนับสนุนงบประมาณในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชน และ 3) ควรมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีในการให้บริการประชาชน</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272798 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-08-31T12:54:23+07:00 พระมหาอนันต์ เกษประทุม anankpt1634@gmail.com พระครูโสภณวีรานุวัตร นิคม เกตุคง nikom.ket@mcu.ac.th วิชชุกร นาคธน witchugon@yahoo.co.th อภิชาติ พานสุวรรณ apichat_asm@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างใช้หลักการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 377 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3) แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ คือ (1) การจัดการประชุมควรเชิญตัวแทนของประชาชนมาเข้าร่วมประชุมในทุกครั้ง (2) การกำหนดนโยบายต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน (3) การบริหารงานของหน่วยงานราชการต้องมีความโปร่งใส่ (4) ในการบริหารงานนั้นต้องให้ความสำคัญเรื่องสิทธิสตรีก็มีความสำคัญในปัจจุบัน (5) การอนุรักษ์และให้ความสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมต้องคงไว้ซึ่งประเพณีเดิม (6) การต้อนรับประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่เข้ามาเยี่ยมชม</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/272809 การบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-09-04T18:09:45+07:00 พระสมุห์ณธนกฤต อุ่มสุข krarok2982@gmail.com อัจฉรา หล่อตระกูล nmpungnaka@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรม 6 ของกลุ่มชาติพันธุ์ในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรม โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรม พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง 3) แนวทางการบริหารจัดการสังคมพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย 1) ด้านเมตตากายกรรม คือ ควรมีการให้เกิดความเคารพกันช่วยเหลือกันและเกิดความสามัคคีในชุมชน 2) ด้านเมตตาวจีกรรม คือ ควรใช้วาจา คำพูดที่สุภาพ มีน้ำเสียงที่ไพเราะชวนฟัง 3) ด้านเมตตามโนกรรม คือ ควรมีความเมตตาต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง 4) ด้านสาธารณโภคี คือ ควรมีน้ำใจเฉลี่ยแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 5) ด้านสีลสามัญญตา คือ ควรมีการบังคับใช้กฎ ระเบียบ ที่เสมอภาคและเท่าเทียม และ 6) ด้านทิฏฐิสามัญญตา คือ ควรมีความเชื่อมั่นในหลักการร่วมกัน ร่วมรับผิดชอบต่อหน้าที่ภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/273883 การให้บริการฌาปนสถานตามหลักพุทธธรรมของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 2024-10-11T16:18:52+07:00 พระครูปลัดไพโรจน์ สุขกลิ่น palidanamsenaa12@gmail.com <p><strong>บทความ</strong>นี้มีวัตถุประสงค์<strong> 1) </strong>เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการฌาปนสถานของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการตามหลักพุทธธรรม<strong> 2) </strong>เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการฌาปนสถานของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ตามหลักพุทธธรรม จำแนกตามตัวแปรอิสระ และ<strong> 3) </strong>เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการฌาปนสถานของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายจากผู้ที่มาร่วมงานฌาปนกิจ จำนวน <strong>306</strong> คน ตั้งแต่การบำเพ็ญกุศลศพจนถึงฌาปนกิจศพ ที่ฌาปนสถานวัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ <strong>0.91 </strong>ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวม ผู้ที่มาร่วมงานฌาปนกิจ ตั้งแต่การบำเพ็ญกุศลศพจนถึงฌาปนกิจศพ ที่ฌาปนสถานวัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการฌาปนสถานของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง สมุทรปราการ ตามหลักพุทธธรรม ที่มีเพศ อายุอาชีพ รายได้ และประสบการณ์ในการใช้บริการที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการฌาปนสถานของเจ้าหน้าที่วัดในสองวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ตามหลักพุทธธรรม โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้</p> 2024-10-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย