วารสารดีไซน์เอคโค https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho <p>วารสารดีไซน์เอคโค เป็นวารสารเพื่อการออกแบบตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัยด้านศิลปะประยุกต์ นฤมิตศิลป์ นิเทศศิลป์ มัณฑนศิลป์ อุตสาหกรรมศิลป์ ศิลปหัตถกรรม</p> คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th-TH วารสารดีไซน์เอคโค 2697-4193 <div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> </div> การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์และสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับผลิตภัณฑ์ ข้าวไรซ์เบอรี่ชุมชนราชพฤกษ์ ตำบลไร่อ้อย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/266763 <p>งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอรี่ ของผู้ประกอบการข้าวไรซ์เบอรี่ชุมชนราชพฤกษ์ ตำบลไร่อ้อย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และเพื่อสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอรี่ชุมชนราชพฤกษ์ ตำบลไร่อ้อย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยวิธีวิจัยประกอบไปด้วยขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามหาแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยสอบถามจากกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชนราชพฤกษ์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />ผลการวิจัยพบว่า<br />1. ด้านการออกกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอรี่ จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ การออกแบบโลโก้ ให้ความคิดเห็นมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58 เพราะสร้างความดึงดูดใจต่อผู้บริโภค และเป็นที่จดจำได้ง่าย และกระบวนการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์มีความเข้าใจง่าย มีความสบายตา ชวนมอง ใช้โทนสีที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ ใช้งานสะดวก ราคาต้นทุนเหมาะสม สามารถขยายกลุ่มลูกค้าได้เพิ่มขึ้น<br />2. ด้านการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ ผลงานสร้างสรรค์ที่ออกแบบได้ผลความพึงพอใจอยู่ในระดับดีแสดงให้เห็นว่ารูปแบบขององค์ประกอบในงานเช่นลักษณะของภาพประกอบในการออกแบบมีความเหมาะสมและช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมายซึ่ง สนับสนุนส่งเสริมการซื้อผลิตภัณฑ์เพิ่มยอดขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ในการประชาสัมพันธ์แก่ผู้พบเห็นของผู้บริโภค</p> อภินันท์ ปานเพชร Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 5 1 2 11 การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายออกงานกึ่งลำลอง สำหรับกลุ่มเป้าหมายสตรีเซนเนียล จากแนวคิดศิลปะเชิงสามมิติ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/269991 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการแต่งกายของกลุ่มเป้าหมายสตรีเซนเนียลในโอกาสการใช้สอยออกงานกึ่งลำลอง (2) ศึกษาแนวคิดศิลปะเชิงสามมิติ (3) ออกแบบสร้างสรรค์คอลเลคชั่นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายสำหรับกลุ่มเป้าหมายเซนเนียลในโอกาสการใช้สอยออกงานกึ่งลำลองด้วยแนวคิดศิลปะเชิงสามมิติ ผลจากการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มเป้าหมายเซนเนียลแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายที่มีโครงร่างเงาเป็นลักษณะตัวหลวม ใช้กลุ่มสีสดใส ใช้ผ้าที่มีพื้นผิวเรียบ และมีการใช้ลวดลายจากการจัดองค์ประกอบภาพ (2) แนวคิดสำคัญของศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะเชิงสามมิติ คือ การสร้างความลึก และลวงตา ให้กับวัตถุในผลงาน โดยเนื้อหาของผลงานมักเกี่ยวข้องกับสิ่งทั่วไปในชีวิตประจำวัน มีการผสมกันของสิ่งที่ดูธรรมดาผ่านการจัดองค์ประกอบที่มีลักษณะซ้อนทับกัน (3) กระบวนการออกแบบสร้างสรรค์คอลเลคชั่นเสื้อผ้า ด้วยการพัฒนาแผนภาพแรงบันดาลใจ การวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่น และใช้องค์ประกอบการออกแบบจากแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน ได้แก่ การใช้สิ่งของในชีวิตประจำวัน ความเป็นศิลปะแบบการตัดปะ และการซ้อนทับกันของผ้ามาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสรรค์คอลเลคชั่นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน 5 ชุด โดยมีกรอบการศึกษา ได้แก่ การศึกษากลุ่มเป้าหมายสตรีเซนเนียลในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร และการศึกษาผลงานของศิลปินในแนวคิดศิลปะเชิงสามมิติที่ใช้แรงบันดาลใจจากการประยุกต์ใช้สิ่งของในชีวิตประจำวันมาใช้สร้างสรรค์ผลงานเท่านั้น</p> นนทพัทธ์ สีโสฬสสกุล อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 5 1 12 21 กระบวนการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง” https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/270412 <p>กระบวนการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาแนวคิดและทดลองสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงออกถึงในสภาวะไร้การควบคุมผ่านรูปแบบงานศิลปะดิจิทัล 2) เพื่อการวิเคราะห์ผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยทัศนธาตุทางศิลปะที่สื่อและแสดงถึงแนวความคิดผ่านรูปแบบและเทคนิค และ 3) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ ที่สร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบดิจิทัลคอลลาจ (Digital Collage) ในการสื่อสารแนวความคิดและความงาม วิธีดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานที่กี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ โดยผลการวิจัยได้ออกมาเป็นผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ ในรูปแบบดิจิทัลคอลลาจ (Digital Collage) ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากรูปที่ได้เตรียมไว้และนำไปทดลองทำต่อในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว การวิเคราะห์ตัวผลงานด้วยหลักองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีศิลป์ด้วยทัศนธาตุ (Visual Elements) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศสมมุติโดยใช้โครงสีเอกรงค์ (Monochrome) ผสานกับรูปทรงที่เลือกนำมาใช้ในการสื่อสารแนวความคิดและวิเคราะห์นามธรรมที่แฝงในตัวงานที่เสร็จสมบูรณ์ที่สามารถสื่อสารแนวความคิดและสร้างการรับชมที่แปลกใหม่ การประเมินผลงานที่สามารถสื่อสารแนวความคิดและรูปแบบการนำเสนอผลงานด้วยเทนนิคการทำงานที่แตกต่าง สามารถสื่อสารความหมายแนวความคิดและเนื้อหาที่แฝงในเชิงสัญลักษณ์คติทางเทวนิยมที่เลือกมาใช้เสนอทางความเชื่อที่แสดงออกได้มาซึ่งรูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง” และมีการต่อยอดผลงานศิลปะเพื่อนำเสนอผลงานผ่านการสื่อสารในแบบ Immersive Art หรืองานแสดงศิลปะแบบดำดิ่ง ซึ่งเป็นการนำเสนองานในรูปแบบที่ทำให้ผู้ชมเข้าถึงงานศิลปะได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาตัวผลงานและรูปแบบการสร้างผลงานและนำเสนอผลงานสื่อสร้างสรรค์แนวคิดและรูปแบบที่ผู้ชมสามารถสัมผัสประสบการณ์ได้แตกต่างออกไปต่อไป</p> วิชัย โยธาวงศ์ ณัฐกมล ถุงสุวรรณ Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 5 1 22 31 การสร้างผลงาน 3 มิติ ภายใต้หัวข้อ “Bondage” https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/270421 <p>แนวคิดและกระบวนการการเขียนบทความวิจัยนี้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงาน “Bondage” เป็นกระบวนการที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาและการสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานที่มีความหมาย ในเรื่องของความเชื่อมโยงระหว่างกายและจิตของมนุษย์โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรม 3 มิติ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเดิมที่มีลักษณะ 2 มิติ ให้อยู่ในรูปแบบ 3 มิติ ที่ได้สะท้อนความสมจริงของมิติมากยิ่งขึ้น โดยสื่อถึงดินแดนแห่งการผูกพันระหว่างกายและจิตมนุษย์ <br />บทความวิจัยนี้เสนอความเป็นรูปธรรมของ “กายมนุษย์” และ “จิตมนุษย์” โดยชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างสองด้านและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผูกพันระหว่างกายและจิตมนุษย์ โดยกล่าวถึงการยึดติด ในร่างกายเป็นสัญลักษณ์และขอบเขตโครงสร้างภาวะมนุษย์ สร้างพันธนาการจองจำ เสรีภาพจากภายในจิตวิญาณของความเป็นมนุษย์ ซึ่งแม้แต่ตนเองก็มิอาจหยุดยั้งสิ่งที่เกิดขึ้น</p> ภานุวัฒน์ สิทธิโชค วรากร ใช้เทียมวงศ์ Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 5 1 32 41 การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากขยะพลาสติกรีไซเคิล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/270773 <p>งานวิจัยเรื่อง “การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากขยะพลาสติกรีไซเคิล” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์คุณสมบัติและประเภทของขยะพลาสติก เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติกและเพื่อประเมินความพึงพอใจผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติก โดยการเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />จากการศึกษาข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามผู้วิจัยพบว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติกโดยออกแบบให้ตอบโจทย์กับกลุ่มผู้บริโภคคือมีความทันสมัยเรียบง่าย โดยผู้วิจัยได้เลือกใช้งานพลาสติกชนิด โพลิเอทธิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) เบอร์2 และโพรพิลีน (PP) เบอร์ 5 ออกแบบรูปแบบของชิ้นงานพลาสติกให้เป็นชิ้น โดยมีลักษณะรูปทรงตัว M และตัว i ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ประกอบอยู่ในชื่อแบรนด์ Mia compassion จากนั้นจึงมาร้อยต่อกันเพื่อสร้างลายเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับแบรนด์ ผู้วิจัยเลือกวิธีการจัดการกับวัสดุด้วยเครื่องอัดความร้อน จนได้แผ่นพลาสติกตามความหนาและสีที่ตามต้องการ จากนั้นจึงนำมาเข้ากระบวนการฉลุเป็นชิ้นตามแบบ แล้วนำมาร้อยต่อกันเป็นกระเป๋า 4 รูปแบบ โดยมีการใช้วัสดุเสริมเป็นห่วงสแตนเลสกลมและสายโลหะ เพื่อการใช้งานที่คงทน และยกระดับขยะพลาสติก ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและดูสวยงาม ในส่วนของตราสัญลักษณ์ออกแบบในรูปแบบตราสัญลักษณ์ประเภทlogotype ให้เรียบง่าย ทันสมัย และนำเสนอถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม<br />สรุปผลการประเมินความพึงพอใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติก มีความพึงพอใจในด้านการออกแบบอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากเมื่อพิจารณารายละเอียดพบว่าในด้านความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับ ดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.60 (S.D.=0.60) ในด้านรูปแบบของพลาสติก พบว่า ความพึงพอใจรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.54 (S.D.=0.60) และความพึงพอใจด้านการออกแบบตราสัญลักษณ์พบว่าความพึงพอใจรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.68 (S.D.=0.47)</p> มินัณยาร์ เพ็ชรสุด ชลธิดา เกษเพชร Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 5 1 42 48