https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/issue/feed วารสารดีไซน์เอคโค 2023-12-28T09:43:48+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญใจ สุขก้อน [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารดีไซน์เอคโค เป็นวารสารเพื่อการออกแบบตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัยด้านศิลปะประยุกต์ นฤมิตศิลป์ นิเทศศิลป์ มัณฑนศิลป์ อุตสาหกรรมศิลป์ ศิลปหัตถกรรม</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/266953 ทวิตเตอร์เบิร์ดสู่ X. It's what's happening สัญญะที่ซ่อนไว้ในการออกแบบตราสัญลักษณ์ 2023-12-06T10:07:35+07:00 กฤษฏิ์ ตุลวรรธนะ [email protected] <p>บทความนี้นำเสนอเนื้อหาของการออกแบบตราสัญลักษณ์ทวิตเตอร์ ซึ่งเป็นการบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) การบริการที่ได้รับความนิยม โดยทำการศึกษาการออกแบบตราสัญลักษณ์ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2566 บทความนี้ได้วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้นของการออกแบบตราสัญลักษณ์ Twitter ที่เชื่อมโยงผ่านบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ทำให้กระบวนการออกแบบตราสัญลักษณ์ล้วนมีสัญญะที่ซ่อนไว้ในผลงานการออกแบบ ตราสัญลักษณ์ได้มีการปรับและถูกแก้ไขเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบอย่างเช่นในปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าการออกแบบตราสัญลักษณ์ในครั้งนี้เพื่อจะค้นหาสัญญะที่ซ่อนไว้ในการออกแบบตราสัญลักษณ์ทวิตเตอร์ ตั้งแต่จุดกำเนิดตราสัญลักษณ์ ตราสัญลักษณ์แรกอย่างเป็นทางการ การร่วมกันของสัญลักษณ์นก จนถึง Elon Designer รีแบรนด์ Twitter เป็น “X” ล้วนแต่เป็น การใช้ภาพแทนความหมายที่สัมพันธ์กันกับพฤติกรรมการใช้งานของผู้คนในแต่ละยุคสมัยจึงเปรียบเสมือนตราสัญลักษณ์เป็นเครื่องบันทึกของเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปเช่น เมื่อก่อนตราสัญลักษณ์ทำหน้าที่ในฐานะหน้าตาของการบริการที่สะท้อนตัวตนและสร้างการจดจำให้กับผู้ใช้งาน แต่ในปัจจุบันตราสัญลักษณ์ไม่ได้ทำหน้าที่สร้างการจดจำเพียงอย่างเดียวแต่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงความหมายสัญญะมากกว่าความสวยงามทางด้านการออกแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการว่าจะสร้างการจดจำด้วยวิธีใด ดังนั้นการออกแบบตราสัญลักษณ์ในปัจจุบันอาจไม่ได้ทำหน้าที่ในการสร้างการจดจำเพียงอย่างเดียวแต่จะมีองค์ประกอบอื่น ๆ อาทิ การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน (Ux/Ui) เข้ามาทำหน้าที่แทนตราสัญลักษณ์อีกด้วย</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/266436 การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากฟางข้าว ด้วยกระบวนการ BCG 2023-12-09T12:11:22+07:00 อังกาบ บุญสูง [email protected] <p>การศึกษาเรื่องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากฟางข้าวด้วยกระบวนการ BCG เป็นการนำเสนอผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฟางข้าวด้วยกระบวนการ BCG เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานใช้การวิจัยแบบประยุกต์ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการทางคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ควบคู่กับข้อมูลทางสถิติ จากแบบสอบถามและแบบประเมินผลการพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฟางข้าวด้วยกระบวนการ BCG สามารถนำมาประยุกต์ได้ใช้กับผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบได้แก่ จุดหมายตา กระถาง ดอกไม้จันทน์ ภาชนะ และบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้วัสดุและเทคนิคการผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงเนื่องจากส่วนประกอบหลักผลิตจากวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ ผลการประเมินการพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์พบว่า ความเป็นไปได้ในการผลิตเองในพื้นที่ มีค่าความคิดเห็นเฉลี่ย 4.78 อยู่ในเกณฑ์ที่มีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด รองลงมาเป็นการเลือกใช้วัสดุร่วมจากธรรมชาติในท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ย 4.59 ความเหมาะสมของการนำผลิตภัณฑ์จากฟางข้าวไปใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ย 4.52 รูปแบบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เหมาะสม ค่าเฉลี่ย 4.47 และการสร้างมูลค่า เพิ่มโอกาสการจำหน่ายสินค้าที่พัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.38 ตามลำดับ โดยผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้บริโภค พบว่าอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (<em> </em><em>= </em>4.54) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.47) นอกจากนั้นผู้วิจัยได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากฟางข้าวให้ชุมชุมอันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ในอนาตคต่อไป</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/266816 แนวทางการออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์เอกลักษณ์สินค้าไทย เพื่อส่งเสริมการขายของที่ระลึก 4 ภาค โดยใช้ทุนวัฒนธรรม 2023-12-18T11:21:44+07:00 ปฏิญญาณ์ แสงอรุณ [email protected] วาสนา สุนทร [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าสินค้าไทยเพื่อสนับสนุนของที่ระลึก 4 ภาค โดยใช้ทุนวัฒนธรรม ลงพื้นที่เก็บข้อมูลกับคนในพื้นที่เป็นนักท่องเที่ยวและสนใจในการเก็บของสะสมของที่ระลึก ช่วงอายุระหว่าง 21-35 ปี จำนวน 50 คน นำแนวคิดทุนวัฒนธรรมพบว่า ประเทศไทยมีการแสดงอัตลักษณ์ของภูมิภาค ผ่านลวดลาย วัสดุพื้นถิ่น วัฒนธรรมการกิน รวมถึงดนตรีพื้นบ้าน ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ อีกทั้งแต่ละภาคยังมีความหลากหลายของชนชาติร่วมกันเป็นรูปแบบวิถีชีวิตของชาวไทยที่อาศัยอยู่ร่วมกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ พบว่า 1) ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของสินค้าตัวแทนทางทุนวัฒนธรรรมไทย สอดคล้องกับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึก ควรนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับลวดลายกราฟิกของทุนทางวัฒนธรรมการสานของ 4 ภูมิภาค คือ การกินข้าวเหนียวในกระติ๊บที่ภาคอีสาน การทอผ้าภาคที่ภาคเหนือ การร้อยลูกปัดมโนราห์ที่ภาคใต้ วิถีการทานขนมหวานที่ภาคกลาง 2) สร้างต้นแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ที่มีความร่วมสมัยจากของดีขึ้นชื่อและวิถีชีวิตพื้นถิ่น หาความพึงพอใจด้านการออกแบบรูปลักษณ์โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ จากแบบสอบถาม จำนวน 100 คน พบว่า ลวดลายบนบรรจุภัณฑ์เหมาะสมกับของที่ระลึกอยู่ในระดับมาก โครงสร้างและกราฟิกแสดงความเป็นตัวแทนที่สื่อความเป็นทุนทางวัฒนธรรมอยู่ในระดับมาก (ภาคเหนือ ค่าเฉลี่ย 4.15 (S.D. = 29.9), ภาคใต้ มีค่าเฉลี่ย 4.13 (S.D. = 27.0), ภาคอีสาน มีค่าเฉลี่ย 4.10 (S.D. = 29.1), ภาคกลาง มีค่าเฉลี่ย 4.00 (S.D. = 26.0) ตามลำดับ) การใช้สีเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ภาคเหนือ มีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D. = 22.7), ภาคอีสาน มีค่าเฉลี่ย 4.23 (S.D. = 21.6), ภาคกลาง มีค่าเฉลี่ย 4.15 (S.D. = 22.5), ภาคใต้ มีค่าเฉลี่ย 4.05 (S.D. = 26.1) ตามลำดับ) ลวดลายบนบรรจุภัณฑ์มีเหมาะสมกับความเป็นของที่ระลึก 4 ภาคอยู่ในระดับมาก (ภาคเหนือ มีค่าเฉลี่ย 4.2 (S.D. = 21.4), ภาคใต้ มีค่าเฉลี่ย 4.14 (S.D. = 20.9), ภาคอีสาน มีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D. = 22.4), ภาคกลาง มีค่าเฉลี่ย 4.20 (S.D. = 26.4), ตามลำดับ)</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/266933 แนวทางการออกแบบเชิงพื้นที่ภายในห้องเรียนแบบบรรยาย ที่สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้ 2023-12-14T16:19:21+07:00 ณัฐพนธ์ อนุสรณ์ทรางกูร [email protected] <p>ทฤษฏีทางสถาปัตยกรรมเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการวิเคราะห์ที่ว่าง และรูปทรงเรขาคณิตภายในอาคารอย่างมีเหตุผล นอกจากนี้ยังต้องขึ้นกับลักษณะอาคาร เพื่อให้เป็นไปตามทัศนคติของสังคมและพฤติกรรมที่เหมาะสมในอาคารที่มีที่ว่างที่ซับซ้อน การแยกแยะองค์ประกอบเชิงพื้นที่ต้องเริ่มจากการกั้นสัดส่วน แสดงการเปลี่ยนตำแหน่งทางกายภาพให้เกิดเป็นองค์ประกอบที่สามารถเข้าใจได้ง่าย การผ่านจากตำแหน่งทางกายภาพหนึ่งไปยังที่อื่น เป็นการเชื่อมโยงหน้าที่ทั่วไปซึ่งเป็นเหตุสำคัญของที่ว่าง เกิดเป็นลักษณะที่คนใช้งานจริง มีการเข้าครอบครองพื้นที่และมีการเคลื่อนไหว ระดับหน้าที่จะเป็นตัวกำหนดว่าภาระของอาคารควรมีลักษณะเป็นอย่างไร หน้าที่เป็นการคัดกรองอันดับแรกในภาคสนาม เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เป็นอยู่ ลำดับที่สองเป็นวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนหรือความต้องการตามชนิดของอาคาร ลำดับที่สามเป็นโครงสร้างคุณสมบัติเฉพาะของอาคารที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกันในแต่ละอาคาร ซึ่งแนวทางการออกแบบผังพื้นภายในสภาพแวดล้อมทางกายภาพด้านการเรียน ที่สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้ที่มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันนั้น สามารถส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยสร้างความสนใจ ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียนอีกด้วย ซึ่งสภาพแวดล้อมทางกายภาพด้านการเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน และเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการสร้างบรรยากาศในสภาพแวดล้อมทางกายภาพด้านการเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/267047 กระบวนการมีส่วนร่วมแนวทางการพัฒนารูปแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านส้มกบ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม 2023-12-12T14:07:10+07:00 ณัฐวัฒน์ จิตศีล [email protected] ยศวดี จินดามัย [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์กระบวนการมีส่วนร่วมแนวทางการพัฒนารูปแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านส้มกบ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่จังหวัดมหาสารคามที่มีป่าโคกข่าว เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดมหาสารคาม ที่ยังไม่มีการมุ่งเน้นการศึกษาการใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะจากธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และเกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดแผนการดำเนินงานโครงการแนวทางพัฒนารูปแบบโฮมสเตย์ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Process of Participatory Action Research; PAR จากผลการวิจัยสรุปกระบวนการการมีส่วนร่วมกับชุมชนเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะต้นน้ำ มีการร่วมศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากป่า เป็นความร่วมมือกันของทีมวิจัยระหว่าง คณาจารย์และนิสิตเบื้องต้น ทำความเข้าใจบริบทของลักษณะธรรมชาติและพืชพรรณที่มีอยู่ในป่าโคกข่าว เพื่อการนำเสนอเสนอรูปแบบการศึกษาลักษณะนิเวศป่าโคกข่าว นำสู่การขยายผลการศึกษาด้วยการใช้สื่อ “Model ป่า” 2) ระยะกลางน้ำ ความร่วมมือกับภาคีทุกภาคส่วนของโครงการ ได้แก่ คณะวิจัย นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ชาวบ้านบ้านส้มกบ ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าดอกไม้ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม ผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติการทั้งการบูรณาการความรู้ทางภูมิสถาปัตยกรรม การระดมความคิด สร้างความเข้าใจกับชุมชน ด้วยการจัดเวทีเสวนาร่วมกัน และ 3) ระยะปลายน้ำ เป็นการสังเคราะห์ร่วมกับการบูรณาการการเรียนการสอน งานบริการวิชาการ โดยการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน ทีมวิจัย และวิทยากร เป็นความร่วมมือที่ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ กิจกรรมการให้ความรู้ การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาพักรูปแบบ โฮมสเตย์ของชุมชน การนำเสนอผลงาน การเสนอแนวคิดการปรับปรุงพื้นที่พักรูปแบบโฮมสเตย์ของชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาความการใช้ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานสำหรับสนทนา และการมอบหุ่นจำลอง (Model) ที่ได้รับการเสนอแนวคิดการพัฒนาปรับปรุง ให้กับเจ้าของบ้านพัก</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา