@article{ด่านไทยนำ_ไชยสอน_2022, title={การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง}, volume={3}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/257268}, abstractNote={<p>งานวิจัยเรื่อง การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางทรัพยากรธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง และ 2. เพื่อออกแบบพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวจากฐานทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมในจังหวัดระนอง โดยใช้ระเบียนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์ทางเอกสาร การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก และความต้องการในการใช้งานสื่อของผู้ใช้บริการ ข้อมูลพื้นฐานทางทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนในจังหวัดระนอง และประเมินศักยภาพทางทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง พบว่า พื้นที่กรณีศึกษาจากการประเมินศักยภาพ สถานภาพ ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมสามารถจำแนกเส้นทางการท่องเที่ยวตามแหล่งทรัพยากรทางการท่องเที่ยวได้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกัน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกระบุรี อำเภอกะเปอร์ อำเภอเมืองระนอง อำเภอละอุ่น อำเภอสุขสำราญ พบว่า ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ระนองที่น่าสนใจมีทั้งสิ้น 25 แห่ง และแบ่งเป็นทั้งสิ้น 9 เส้นทาง 1) แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์-ธรรมชาติ 2) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ-วัฒนธรรม 3) แหล่งท่องเที่ยวในเมือง-พักผ่อน 4) แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ-ชุมชน 5) แหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรม-ธรรมชาติ 6) แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อน 7) แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ-ประวัติศาสตร์ 8) แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์-ชุมชน 9) เส้นทางธรรมชาติ-วิถีชีวิต ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ รูปแบบสื่อปฎิสัมพันธ์ออนไลน์ พบว่า ชุดสัญลักษณ์สื่อความหมายได้ชัดเจนและเข้าใจง่าย การนำเสนอข้อมูลแต่ละหน้ามีความถูกต้อง และองค์ประกอบในการออกแบบกราฟิกมีความเหมาะสมมาก</p>}, number={1}, journal={วารสารดีไซน์เอคโค}, author={ด่านไทยนำ ดวงรัตน์ and ไชยสอน เยาวลักษณ์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={2–11} }