@article{จุลทะหว้า,ไชยสกุลวงศ์_2022, title={การจัดการกิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับเด็ก เด็กออทิสติก และเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ}, volume={5}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcr/article/view/255197}, abstractNote={<p>ดนตรี เป็นสื่อภาษาสากลที่ไม่ว่าคนชาติไหนๆ ก็เข้าใจเนื้อดนตรีเดียวกัน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ดนตรีจึงสามารถใช้สื่อสารได้กับคนทั้งโลก รวมทั้งการนำมารักษาโรคได้กับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือคนที่ผิดปกติทางอารมณ์ตั้งแต่อดีตมาแล้วที่เรารู้จักดนตรี และยังพบว่ามีพลังมหาศาลรักษาโรค อย่างคนธิเบตก็ใช้วิธีการเคาะระฆัง เคาะชาม และใช้เสียงสวดมนต์ในพิธีกรรม ที่เชื่อด้วยว่าจะช่วยปรับสมดุลใจของเรา คนไทยเราเองก็ใช้การสวดมนต์ ที่นอกเหนือจากเรื่องศาสนาแล้ว ก็ยังเป็นคลื่นเสียงที่ช่วยสงบจิตใจเราให้นิ่งขึ้นนี่ล่ะที่เป็นเหตุผลที่ว่า เวลาเราซึมเซา อยากกระฉับกระเฉง แค่เปิดดนตรีฟังสนุกเราก็ตื่นตัวขึ้นมาได้ ดนตรีจึงมีพลังกับเราไม่น้อยและยังสามารถนำมาจัดการกับความเครียดได้ด้วย เพราะหากเราได้ฟังดนตรีจังหวะผ่อนคลาย การทำงานของสมองเราจะตอบสนองตาม และร่างกายของเราจะเปลี่ยนไป เช่น หายใจเรียบขึ้น หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือกปกติ ม่านตาหดลง กล้ามเนื้อก็ไม่ตึงเกร็ง ผลดีเหล่านี้ทำให้เราศึกษาการใช้ดนตรีมาบำบัดความเครียดกันมากขึ้นเรื่อยๆ และยังรักษาร่างกายที่เจ็บป่วยได้อีกด้วย</p>}, number={1}, journal={วารสารชัยภูมิปริทรรศน์}, author={จุลทะหว้า,ไชยสกุลวงศ์ รัชนี,สรรค์ชัย}, year={2022}, month={พ.ค.} }