วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas <h2><strong><span style="font-size: big;">วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา<br /></span></strong></h2> <h2 class="a"><strong>Journal of Ayutthaya Studies</strong></h2> <p><strong>ISSN 3027-7248 (Print) และ ISSN 3027-7256 (Online)</strong></p> <p>เป็นวารสารวิชาการ (TCI ฐาน 2) ของสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่เผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาทิ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และรัฐศาสตร์ <strong>ในบริบทด้านอยุธยาศึกษา</strong> ของนักวิชาการ ครูอาจารย์ และนักศึกษา ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยรับพิจารณาบทความทางวิชาการ (Academic Article) บทความงานวิจัย (Research Article)</p> <p><strong>ภาษา:</strong> ภาษาไทย<br /><strong>กำหนดเผยแพร่:</strong> 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน / ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม<br /><strong>อัตราค่าส่งบทความ : </strong>ไม่เรียกเก็บค่าส่งบทความ (ฟรี)</p> th-TH [email protected] (ผศ.ชนิกานต์ ผลเจริญ) [email protected] (พัฑร์ แตงพันธ์) Thu, 28 Sep 2023 14:54:38 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 คติความเชื่อ เรื่อง สมเด็จพระจักรพรรดิราช ที่ปรากฏในพระนามพระราชโอรสพระราชธิดา รัชกาลที่ 5 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/262275 <p>บทความนี้เป็นบทความวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติพระจักรพรรดิราชในชนชั้นปกครอง โดยเฉพาะสยามประเทศที่รับเอาคติความเชื่อในเรื่องดังกล่าวเพื่อเป็นการเพิ่มสถานะทางการปกครองของพระมหากษัตริย์เข้าสู่สถานะพระเจ้าจักรพรรดิราช ซึ่งมีหลักแนวคิด และทฤษฎีอยู่ 3 องค์ประกอบ คือ 1. บุญกุศลที่ทำให้คนใดคนหนึ่งมาเกิดเป็นพระจักรพรรดิราช 2. สิ่งมงคลที่เป็นสัญลักษณ์แห่งพระมหาจักรพรรดิราช และ 3.แนวการปฏิบัติตนของพระมหาจักรพรรดิราช</p> <p>จากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร งานวิจัย และนำมาเรียบเรียงพบว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสืบพระราชสันตติวงศ์ในพระราชวงศ์จักรี มีคติความเชื่อในเรื่องพระจักรพรรดิราชผ่านการปกครอง ธรรมเนียมประเพณี และในประเด็นที่ผู้ศึกษาตั้งข้อสังเกตว่า มีความเกี่ยวเนื่องกันในคติพระจักรพรรดิราชอย่างมีนัยสำคัญ คือ การพระราชทานพระนามพระราชโอรส พระราชธิดา ซึ่งความหมายที่ถอดออกมานั้นมีความสัมพันธ์และสอดคล้องเกี่ยวกับรัตนะทั้ง 7 และจากการศึกษาทำให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีคุณสมบัติเทียบเคียงเยี่ยง<br />พระมหาจักรพรรดิราช </p> กฤตนันท์ ในจิต Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/262275 Thu, 28 Sep 2023 00:00:00 +0700 วิเคราะห์เรื่อง นาง ในวรรณกรรมของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/259487 <p class="a0"><span lang="TH">บทคัดย่อ</span></p> <p class="a"><span lang="TH">บทความวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ สืบค้น และเสนอข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับ <em>นาง</em> ในวรรณกรรมของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร คือ พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร </span>4 <span lang="TH">เรื่อง ได้แก่ </span>1<span lang="TH">) กาพย์เห่เรือ </span>2<span lang="TH">) กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก </span>3<span lang="TH">) กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง </span>4<span lang="TH">) เพลงยาว </span>3 <span lang="TH">สำนวน โดยศึกษาเทียบเคียงกับข้อมูลในเอกสารทางประวัติศาสตร์ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) คำให้การชาวกรุงเก่า 2) คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม 3) คำให้การขุนหลวงหาวัด ผลการวิจัยพบว่า <em>นาง</em> ที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงกล่าวถึงในวรรณกรรม มีตัวตนจริง มิใช่นางที่สมมติขึ้น ผลจากการนำวรรณกรรมของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไปศึกษาเปรียบเทียบกับเอกสารทางประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่า <em>นาง</em> ในวรรณกรรมที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงกล่าวถึงนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 นาง คือ 1) พระอัครชายา เจ้าฟ้านุ่ม กรมขุนยี่สารเสนีย์ 2) เจ้าฟ้าสังวาลย์ 3) หม่อมเหญก ทั้งนี้พระอัครชายา เจ้าฟ้านุ่ม กรมขุนยี่สารเสนีย์ มีความสำคัญที่สุด เพราะดำรงสถานะเป็นชายาเอก และเป็นชายาพระราชทาน ส่วนเจ้าฟ้าสังวาลย์ คือ <em>นาง</em> ที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรรักมากที่สุด และหม่อมเหญก คือ <em>นาง </em>ที่ทำให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไม่พอพระทัย เนื่องจากลักลอบเป็นชู้กับชายอื่น </span></p> ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/259487 Thu, 28 Sep 2023 00:00:00 +0700 วิเคราะห์เพลงเรื่องที่ใช้ในวงปี่พาทย์นางหงส์ของวงพาทยรัตน์ กรณีศึกษา: เพลงเรื่องนางหงส์เรื่องหงส์ทอง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/260535 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและขั้นตอนวิธีการบรรเลงเพลงเรื่องหงส์ทอง และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบ และลักษณะการผูกเพลงของเพลงเรื่องหงส์ทอง การวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการทางมานุษยดนตรีวิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า เพลงเรื่องหงส์ทอง เป็นเพลงเรื่องที่ใช้ในวงปี่พาทย์นางหงส์ ใช้ประโคมในงานศพ โครงสร้างเพลงเรื่องหงส์ทอง ประกอบด้วย เพลงหงส์ทอง (เพลงสามชั้น) เพลงโอ้ลาว (เพลงเร็ว) และเพลงสาลิกาแก้ว (เพลงหางเครื่อง) องค์ประกอบในการวิเคราะห์ประกอบด้วย รูปแบบของทำนอง รูปแบบของหน้าทับ กระสวนทำนอง และบันไดเสียง ซึ่งทั้ง 3 เพลงมีบันไดเสียงโด เป็นบันไดเสียงหลัก ในการผูกเพลงของเพลงเรื่องหงส์ทองประกอบด้วย 1) การประพันธ์เที่ยวเปลี่ยนเพลงหงส์ทอง สามชั้น 2) การเชื่อมรอยต่อระหว่างเพลงหงส์ทอง และทำนองนำเพลงเร็ว เป็นการวางกลอนให้จบเพลงแบบสมบูรณ์ เพื่อให้การเชื่อมต่อของเพลงเร็วได้ โดยการใช้วรรคถามที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน 3) การเชื่อมรอยต่อระหว่างทำนองนำเพลงเร็ว และเพลงเร็วโอ้ลาว โดยใช้ลักษณะลูกโยนในตอนท้ายเพลง และ 4) การเชื่อมรอยต่อระหว่างเพลงเร็วโอ้ลาว และเพลงสาลิกาแก้ว สองชั้น โดยใช้ลักษณะของลูกโยนเป็นการจบลงของประโยคเพลงที่ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเพลงเกิดความกลมกลืนกันอย่างดี</p> นภัสนันท์ จุนนเกษ, ปานหทัย วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา , ฉัตรชัย ศรีเมือง Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/260535 Thu, 28 Sep 2023 00:00:00 +0700 การศึกษารูปแบบกระสวนจังหวะในวงดนตรีประกอบการแสดงลำตัดของพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/261906 <p class="a"><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ </span>(1) <span lang="TH">เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและ</span>รูปแบบกระสวนจังหวะ<span lang="TH">ของดนตรีประกอบลำตัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา </span>(2) ศึกษา<span lang="TH">ความแตกต่างของ</span>รูปแบบกระสวน<span lang="TH">จังหวะของดนตรีประกอบลำตัดในแต่ละคณะและบันทึกโน้ตอักษรไทยและโน้ตสากล (</span>3) ศึกษาเจตคติ ของผู้นำคณะต่อการคงอยู่และพัฒนาดนตรีประกอบการแสดงลำตัด</p> <p class="a"><span lang="TH">กระบวนการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลการวิจัยภาคสนาม โดยใช้แบบสัมภาษณ์ จากวงดนตรีลำตัด ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 4 วง คัดเลือกบุคคลให้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของวงดนตรีแต่ละวงแบบเจาะจง จำนวน 16 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เนื้อหาและคำถามจากแบบสัมภาษณ์</span></p> <p class="a"><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า วงดนตรีลำตัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีการนำเข้ามาเริ่มแสดงเป็นกลุ่มแรกโดยแบ่งออกเป็น </span>2 <span lang="TH">คณะ ได้แก่ คณะของนายชาญชัย เอี่ยมสักขี หรือ ชาญชัย ศิษย์หวังเต๊ะ และคณะของนางจรัญ พาซอ หรือ แม่จรัญ เสียงทอง ในส่วนของรูปแบบกระสวนจังหวะที่ใช้ปัจจุบันมีอยู่แค่ </span>6 <span lang="TH">กระสวนจังหวะได้แก่ พม่า มอญ แขก จีน ลาว ฝรั่ง เป็นต้น โดยเมื่อเปรียบเทียบกระสวนจังหวะในแต่ละคณะพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน แต่จะมีความต่างในเรื่องของผู้นำจังหวะหรือคนตีกลองในแต่ละบุคคลจะมีความเชี่ยวชาญและเทคนิคที่ไม่เหมือนกัน โดยขึ้นอยู่กับความสามารถควบคู่กับความชำนาญของบุคคล นอกจากนี้ผู้นำมีเจตคติที่ดีต่อสายอาชีพของตนพร้อมทั้งยังมีความเชื่อว่าวงดนตรีประกอบการแสดงลำตัดจะสามารถพัฒนาต่อไปได้อีก แต่ในการคงอยู่ยังมีความกังวลและน่าเป็นห่วง หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐและเอกชนเท่าที่ควร</span></p> ธนกรณ์ โพธิเวส Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/261906 Thu, 28 Sep 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยา บ้านเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/262325 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยา บ้านเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ (2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนสู่ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation)และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi - Structured Interview) เพื่อสอบถามความคิดเห็นด้านศักยภาพการท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงสร้างสรรค์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 กลุ่ม ประกอบไปด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของชุมชน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและให้การสนับสนุน กลุ่มที่ 2 ผู้นำชุมชน และกลุ่มที่ 3 ผู้ที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนและนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวนทั้งสิ้น 35 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพที่โดดเด่นของชุมชนบ้านเกาะเกิด ได้แก่ ศักยภาพด้านทำเลที่ตั้งของชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบกับฐานการเรียนรู้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนที่มีความหลากหลายและที่พักโฮมสเตย์ริมน้ำที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีกทั้งยังมีคณะกรรมการกลุ่มบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนที่เข้มแข็ง และยังพบว่าแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน ประกอบไปด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1. แนวทางการพัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์ประกอบทางกายภาพ 2. แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว 3. แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 4. แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดทางการท่องเที่ยวและ 5. แนวทางการพัฒนาความร่วมมือในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของชุมชน</p> ขวัญฤทัย เดชทองคำ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/262325 Thu, 28 Sep 2023 00:00:00 +0700 ถอดบทเรียนชุมชนคุณธรรมต้นแบบของบ้านไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/262436 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการดำเนินงานในการเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบของชุมชนบ้านไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) ถอดบทเรียนและสร้างรูปแบบ (Model) กระบวนการดำเนินงานในการเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบของชุมชนบ้านไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ 2) ผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ 3) ผู้เกี่ยวข้องในมิติด้านศาสนาของชุมชน และ 4) ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านไทรน้อย หมู่ 1 – หมู่ 10 ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินการขับเคลื่อนชุมชนบ้านไทรน้อยให้เป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ 9 ขั้นตอน ของกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งการขับเคลื่อนชุมชนนั้นดำเนินการโดยกลุ่มผู้นำชุมชนเป็นผู้กำหนดคุณธรรมเป้าหมาย การจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมและกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมต่าง ๆ โดยมีแนวทางในการกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับหลัก 3 มิติ คือ หลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม มาแก้ปัญหาของชุมชน และบ่มเพาะคุณธรรมความดีที่อยากทำ นอกจากนี้ยังพบว่า ชุมชนบ้านไทรน้อยมีองค์ประกอบของทุนทางสังคมที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง 2) พื้นฐานของคนในชุมชนที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข 3) มีการกำหนดคุณธรรมเป้าหมายร่วมกันของคนในชุมชน ผ่านกระบวนการประชุมปรึกษาหารือ และสร้างการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนร่วมแสดงความเห็น 4) มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เข้าถึงคนในชุมชนอย่างทั่วถึง และ 5) สามารถประสานความร่วมมือกันระหว่างผู้นำชุมชน คนในชุมชน วัดในชุมชน และส่วนราชการ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม ผ่านการทำกิจกรรมของชุมชนร่วมกัน</p> ธนภร ประจันตะเสน , ธัชกร ธิติลักษณ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/262436 Thu, 28 Sep 2023 00:00:00 +0700 การจัดการน้ำในพื้นที่รับน้ำบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ผลกระทบและการต่อรองของผู้คนในพื้นที่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/262458 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปฏิบัติการ กลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่รับน้ำบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมถึง (2) ศึกษาผลกระทบและการเมืองของการต่อสู้ต่อรองของตัวแสดงต่าง ๆ ในพื้นที่รับน้ำบางบาล ผลการศึกษาพบว่า การนำนโยบายพื้นที่รับน้ำบางบาลไปปฏิบัติได้เกิดกลไกการจัดการน้ำแบบรวมศูนย์โดยรัฐผ่านการบังคับใช้ปฏิทินการปลูกข้าวใหม่ กรมชลประทานเป็นผู้มีอำนาจหลักทั้งการจัดสรรน้ำและการปล่อยน้ำเข้าทุ่ง แม้ในทุ่งบางบาลจะมีการสถาปนากลไกการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจในการจัดการน้ำ แต่ชุมชนกลับไม่ได้มีอำนาจจัดการน้ำอย่างแท้จริง การจัดการน้ำข้างต้นได้ก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการทั้งในช่วงน้ำท่วมและในช่วงขาดแคลนน้ำ รวมถึงได้เปลี่ยนสถานะของน้ำให้กลายเป็นสินค้าที่ชาวนาต้องจ่ายเพื่อเข้าถึงน้ำ สภาวการณ์เช่นนี้ได้นำไปสู่การลุกขึ้นมาต่อสู้ต่อรองของชาวบ้าน 2 รูปแบบคือ การต่อสู้ต่อรองในพื้นที่สื่อผ่านเพจเฟซบุ๊ค “อยุธยา-Ayutthaya Station” ที่แม้จะเป็นสื่อด้านการท่องเที่ยวในจังหวัด แต่ต้องมานำเสนอปัญหาเชิงโครงสร้างของการจัดการน้ำโดยรัฐ สื่อยังเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและทำหน้าที่จัดตั้งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบเพื่อเรียกร้องปัญหาด้านน้ำอีกด้วย และการต่อสู้ต่อรองในมิติของการผลิตสร้างความรู้โดยนักวิจัยชาวบ้านซึ่งมุ่งศึกษาปัญหาการจัดการน้ำ โดยเปิดพื้นที่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มผลิตความรู้ร่วมกัน และนักวิจัยชาวบ้านยังได้ยกระดับความรู้เข้าไปต่อรองกับรัฐส่วนกลางเพื่อสร้างการจัดการน้ำที่เป็นธรรมและยั่งยืนกว่าเดิม</p> อาทิตย์ ภูบุญคง Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/262458 Thu, 28 Sep 2023 00:00:00 +0700 พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ต่อการเล่นพนันออนไลน์ของเยาวชนในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/261378 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชน และ2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่นการพนันออนไลน์ของเยาวชน ใช้การวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Description Research) จากประชากรที่เป็นกลุ่มเยาวชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 35,506 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากเยาวชนระดับอุดมศึกษา 2 แห่ง ระดับอาชีวศึกษา 3 แห่ง และระดับมัธยมศึกษา 3 แห่ง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโร ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5.00 จึงได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) เยาวชนใช้สื่อออนไลน์มากที่สุดวันละ 6-10 ชั่วโมง เมื่อแบ่งประเภทของสื่อออนไลน์ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน พบว่า เยาวชนใช้เฟซบุ๊กเพื่อดูข้อมูลมากที่สุด ร้อยละ 49.30 เยาวชนใช้อีเมล และไลน์ในการติดต่อสื่อสารมากที่สุด ร้อยละ 58.20 และ 57.50 ตามลำดับ เยาวชนใช้แอปพลิเคชันเกม ทวิตเตอร์ ดูหนังฟังเพลง และอินสตาแกรมในยามว่างมากที่สุดร้อยละ 74.60, 74.60, 70.60 และ 63.40 ตามลำดับ</p> <p>2) พฤติกรรมการเล่นการพนันออนไลน์ของเยาวชน พบว่า เยาวชนเล่นพนันบิงโก ร้อยละ 34.80 โดยมีสาเหตุจากความต้องการความตื่นเต้นและเพลิดเพลินที่ร้อยละ 54.80 เริ่มเล่นการพนันด้วยตนเองมากที่สุด ร้อยละ 70.30 มีความถี่ในการเล่นแบบนาน ๆ ครั้ง ร้อยละ 59.80 เลือกเล่นกับเพื่อนหรือคนรู้จักเป็นอันดับแรก ร้อยละ 49.00 มีเงินลงทุนมีการพนันต่อเดือนอยู่ที่ 50 – 500 บาท ร้อยละ 64.30 มีการหาข้อมูลการเล่นจากสื่อบุคคลเป็นอันดับแรก ร้อยละ 74.30 เยาวชนเล่นพนันออนไลน์เกิดจากโฆษณาชวนเชื่อจากสื่อเฟซบุ๊กมากที่สุด ร้อยละ 33.00 ใช้เว็บไซต์พนันโดยตรง เช่น เว็บไซต์ฟุตบอล เว็บไซต์ใบ้หวย/ดูดวง เว็บไซต์เล่นเกมออนไลน์ เว็บไซต์คาสิโนออนไลน์ เป็นต้น เป็นแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์การพนันมากที่สุด ร้อยละ 6.80 และใช้ แอปพลิเคชันอื่น ๆ เช่น สโบเบ็ต ฟีฟ่าออนไลน์ ดับเบิ้ลยู 88 เป็นต้น ในการเล่นการพนันมากที่สุด ร้อยละ 3.80</p> ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด, เด่นเดือน เลิศทยากุล ไชยยะ, ปฐมพงษ์ พุ่มพฤกษ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/261378 Thu, 28 Sep 2023 00:00:00 +0700