วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas <h2><strong><span style="font-size: big;">วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา<br /></span></strong></h2> <h2 class="a"><strong>Journal of Ayutthaya Studies</strong></h2> <p><strong>ISSN 3027-7248 (Print) และ ISSN 3027-7256 (Online)</strong></p> <p>เป็นวารสารวิชาการ (TCI ฐาน 2) ของสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่เผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาทิ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และรัฐศาสตร์ <strong>ในบริบทด้านอยุธยาศึกษา</strong> ของนักวิชาการ ครูอาจารย์ และนักศึกษา ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยรับพิจารณาบทความทางวิชาการ (Academic Article) บทความงานวิจัย (Research Article)</p> <p><strong>ภาษา:</strong> ภาษาไทย<br /><strong>กำหนดเผยแพร่:</strong> 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน / ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม<br /><strong>อัตราค่าส่งบทความ : </strong>ไม่เรียกเก็บค่าส่งบทความ (ฟรี)</p> สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา th-TH วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา 3027-7248 ที่มาและความสำคัญของเขื่อนพระราม 6 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/264191 <p class="a"><span lang="TH">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและความสำคัญของเขื่อนพระราม 6 ซึ่งก่อสร้าง และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2467 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าในต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ประเทศสยามประสบปัญหาฝนแล้งเป็นเวลานานติดต่อกันถึง 3 ปี ทำให้การเพาะปลูกข้าวในที่ราบภาคกลางได้รับความเสียหายอย่างยิ่ง ในหลวงรัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการได้พิจารณาแล้วเสนอว่าควรมีการเร่งรัดพัฒนาระบบชลประทานโดยด่วน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นชอบด้วย จึงมีพระราชดำริให้ติดต่อขอผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษ คือ เซอร์โทมัส วอร์ด ในเวลาไล่เลี่ยกัน ได้มีการจัดตั้งกรมทดน้ำขึ้นในปี พ.ศ. 2457 เซอร์โทมัส วอร์ด ได้ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบชลประทานสมัยใหม่แล้วเสนอว่า ควรมีการก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดเล็ก 5 โครงการ ในที่สุดรัฐบาลไทยตกลงใจก่อสร้างโครงการชลประทานป่าสักใต้ ในปี พ.ศ. 2458 คือ การก่อสร้างเขื่อนทดน้ำปิดกั้นแม่น้ำป่าสักที่ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า “เขื่อนพระเฑียรราชา” ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เขื่อนพระราม 6” การก่อสร้างเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2459 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2467 ซึ่งเขื่อนพระราม 6 นี้เป็นประโยชน์สำหรับพื้นที่เพาะปลูกในเขตจังหวัดสระบุรี ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และทุ่งรังสิต ปทุมธานี เป็นจำนวน 680,000 ไร่ โดยสรุปผลจากการสร้างเขื่อนพระราม 6 ทำให้ชาวนาได้รับประโยชน์จากการเพาะปลูกข้าวและส่งข้าวออกจำหน่ายในต่างประเทศได้นับเป็นล้านหาบ</span></p> ธานี สุขเกษม พิสิษฐิกุล แก้วงาม โดมธราดล อนันตสาน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 16 1 7 24 บทวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจและการเมืองกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/264370 <p class="a"><span lang="TH">บทวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจและการเมืองกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ </span>(<span lang="TH">พ.ศ. 2148- 2153</span>) <span lang="TH">มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทำความเข้าใจถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสภาพการเมืองหลังเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2112 โดยใช้รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า รัชสมัยดังกล่าวกรุงศรีอยุธยามีเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตขึ้นโดยมีการค้าจากตะวันตกเป็นปัจจัยสนับสนุนความเจริญที่สำคัญประการหนึ่ง โดยเฉพาะบทบาทของบริษัทการค้าอินเดียตะวันออกของฮอลันดา </span>(V.O.C) <span lang="TH">และการกลับมาทำการค้าผ่านระบบบรรณาการกับจีนได้อย่างเต็มรูปแบบหลังการกลับมามีเอกราชอีกครั้งตั้งแต่ครั้งแผ่นดินพระนเรศวร สภาพเศรษฐกิจอยุธยาที่เจริญเติบโตนี้สะท้อนผ่านการออกกฎพระอัยการ เก็บภาษีเพิ่มมากขึ้นในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเพื่อดึงผลประโยชน์ทางการค้าเข้าสู่ราชสำนักและกลุ่มชนชั้นปกครองให้มากที่สุด ในขณะที่สภาพทางการเมืองนั้นพบว่าทรงพยายามลดความตึงเครียดระหว่างอาณาจักรลงด้วยการเปลี่ยนเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีมากยิ่งขึ้น และทรงพยายามสำรวจกำลังคนทั่วราชอาณาจักรเพื่อการควบคุมกำลังคนที่ชัดเจนและอาจป้องกันการก่อกบฏ สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการภายในอาณาจักรมากกว่าการแผ่ขยายอำนาจอาณาจักรออกไปยังรัฐห่างไกลเช่นครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวร อย่างไรก็ดีปลายรัชสมัยกลับพบว่ามีความสั่นคลอนทางการเมืองอีกครั้ง อาจเป็นเพราะการขยายตัวของความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นจากการค้าอย่างฉับไวและมีกลุ่มผู้ได้ประโยชน์ทางการค้านี้เป็นกลุ่มชนชั้นปกครองในอยุธยาทั้งสิ้น จึงทำให้เกิดสถานการณ์ที่มีกลุ่มอำนาจพร้อมท้าทายอำนาจวังหลวงได้ง่ายขึ้น</span></p> สรวิชญ์ ขุนเศรษฐ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 16 1 25 37 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้น้ำจากสระน้ำวัดอโยธยา เป็นแหล่งน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2454 และ พ.ศ. 2468 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/262503 <p class="a"><span lang="TH">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยการเลือกใช้สระน้ำวัดอโยธยาเป็นแหล่งน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จากผลการศึกษาพบว่า สระน้ำวัดอโยธยาได้ใช้ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2454 เป็นครั้งแรก และครั้งสุดท้ายในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2468 ปัจจัยสำคัญ ที่มีการคัดเลือกใช้น้ำจากสระน้ำวัดอโยธยามีทั้งหมด 3 ปัจจัย คือ (1) ความสำคัญของพระอาราม วัดอโยธยามีการสร้างในช่วงสมัยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ในพื้นที่เขตพระราชวังเดิมในสมัยยังเป็นเมืองอโยธยา อีกทั้งมีพระราชาคณะเป็นผู้ปกครองวัดสันนิษฐานได้ว่าวัดนี้น่าจะเป็นพระอารามหลวง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (2) ตำนานความเชื่อและความเป็นสระน้ำประจำพระอารามของรัฐโบราณ ซึ่งมีคำบอกเล่าขานกันว่า น้ำในสระนี้ได้ใช้พิธีกรรมเกี่ยวกับศาสตราวุธในสมัยโบราณ และเป็นสระน้ำที่อยู่ภายในพระอาราม ซึ่งเป็นพระอารามสำคัญของเมืองอโยธยา (3) ความเป็นมงคลนาม เนื่องจากชื่อ ของพระอารามวัดอโยธยา มีความหมายว่า “ไม่อาจพิชิตได้ หรือชนะได้” และยังมีความสัมพันธ์กับชื่อบ้านนามเมืองในสมัยโบราณ คือ เมืองอโยธยา และสระน้ำนี้ เป็นสระน้ำโบราณที่อยู่คู่กับพระอาราม มาแต่เนิ่นนาน เช่นเดียวกับหนองโสน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ผูกพันกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 1893</span></p> วสวัตดิ์ เนตรประหาส Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 16 1 38 52 ความรู้ประวัติศาสตร์อยุธยาจากสาส์นสมเด็จ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/262843 <p class="a"><span lang="TH">บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความรู้ประวัติศาสตร์อยุธยาจากสาส์นสมเด็จ ผลการศึกษาพบว่า สาส์นสมเด็จ นับเป็นเอกสารความเห็นแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านลายพระหัตถ์ระหว่างสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ นริศรานุวัดติวงศ์ในการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา กล่าวคือ สมเด็จฯ ทั้งสองพระองค์ทรงอาศัยการวิเคราะห์ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น งานช่าง การสำรวจเสด็จประพาส การอ่านวิเคราะห์หลักฐานพระราชพงศาวดารหรือเอกสารชาวต่างชาติ เป็นมุมมองต่อเรื่องประวัติศาสตร์ที่มีต่อเรื่องราวในอดีต ทำให้เกิดประเด็นความรู้ต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีลบศักราช พระราชพิธีอินทราภิเษกและพระนามสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในลังกาและงานช่างกรมมุกสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ระบำโยเดียและเทวรูปสำริดสมัยอยุธยาในดินแดนพม่า เป็นต้น</span></p> กิติชัย กล่ำอยู่ เพชรรุ่ง เทียนปิ๋วโรจน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 16 1 53 68 ความสำคัญของเรื่องเล่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2551 – 2558 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/264336 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเรื่องเล่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยและ (2) ศึกษาความสำคัญของเรื่องเล่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย วิธีการศึกษา คือ การใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องเล่าที่มีเนื้อหากล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2551–2558 จำนวน 18 เรื่อง</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า</p> <p>1) เรื่องเล่าของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีสามรูปแบบ กล่าวคือ แบบแรก การอ้างอิงข้อมูลจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ แบบที่สอง การสร้างเรื่องเล่าใหม่จากการอ้างอิงข้อมูลจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และแบบที่สาม การสร้างเหตุการณ์ประกอบเรื่องเล่าใหม่จากการอ้างอิงข้อมูลจากเอกสารทางประวัติศาสตร์</p> <p>2) ความสำคัญเรื่องเล่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย พ.ศ. 2551-2558 กล่าวคือ เรื่องเล่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าตากสินที่ถูกผลิตขึ้นมานั้นกลายมาเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฎในงานเขียนทางประวัติศาสตร์กรุงธนบุรีในช่วงเวลาต่อมา เรื่องเล่าเหล่านี้มีลักษณะแบ่งออกเป็นสามประการ</p> <p>ประการแรก การให้ความสำคัญของเรื่องเล่าในฐานะข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เดิมเรื่องเล่าเกิดจากการสร้างเรื่องราวใหม่ซึ่งอาจมีหรือไม่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์เป็นหลักฐานในเชิงประจักษ์ ต่อมาเรื่องเล่าดังกล่าวผ่านการผลิตซ้ำในงานเขียนทางประวัติศาสตร์ เรื่องเล่านั้นจะกลายเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่รับรู้โดยทั่วถึงกัน ดังกรณีเรื่องเล่าการทำนายของซินแสว่าพระเจ้าตากสินและเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจะได้เป็นกษัตริย์ทั้งคู่ เรื่องเล่าของนายทองดี ฟันขาว หรือ พระยาพิชัยดาบหัก ทหารคนสนิทผู้ซื่อสัตย์ถึงขนาดยอมตายไปพร้อมกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน เรื่องเล่าของพระราชโอรส พระเจ้าตากสินเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น</p> <p>ประการที่สอง การให้ความสำคัญกับชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าตากสินเพื่อเป็นการเสริมสร้างสถานภาพทางสังคมในฐานะวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราช เป็นการสร้างเรื่องเล่าประกอบเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระบิดาบุญธรรม พระมารดา ชาติกำเนิด บุญญาธิการและความสามารถของสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นหลัก เช่น เรื่องเล่างูเหลือมเลื้อยมาขดรอบกระดงที่ทารกสิน เรื่องเล่า พระมารดาของสมเด็จพระเจ้าตากสิน เรื่องเล่าพระเจ้าตากสินสามารถเรียกฝนได้ เป็นต้น</p> <p>ประการที่สาม การให้ความสำคัญกับเรื่องเล่าใหม่ที่มีการอธิบายเรื่องราวหรือเหตุการณ์ อันมีจุดเชื่อมโยงกับสมเด็จพระเจ้าตากสิน เรื่องเล่านี้จึงกลายเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ การเติมเต็มเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพระเจ้าตากสินให้สมบูรณ์มากขึ้น เช่น เรื่องเล่ารูปถ่ายพระเจ้าตาก เรื่องเล่าพระที่นั่งแท่นไม้มะเดื่อภัทรบิฏ เรื่องเล่าการใช้แผนแกล้งบ้าของสมเด็จพระเจ้าตากสิน เป็นต้น</p> วิราวรรณ สมพงษ์เจริญ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 16 1 69 83 ซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/263809 <p class="a"><span lang="TH">การวิจัยเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ </span>1. <span lang="TH">เพื่อศึกษา <a name="_Hlk138422880"></a>ซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา </span>2. <span lang="TH">เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ </span>(Qualitative research)</p> <p class="a"><span lang="TH">โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร </span>(documentary research)<span lang="TH"> ผลการวิจัยพบว่า </span>1. <span lang="TH">ซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปะจิตรกรรม และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หรือมรดกวัฒนธรรมทางภูมิปัญญา เช่น อาหารไทยโบราณ โรตีสายไหม กุ้งแม่น้ำเผา ขนมไทย งานช่างฝีมือดั้งเดิม ศิลปะการแสดงโขนอยุธยา และงานประเพณีเทศกาลงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก </span>2. <span lang="TH">แนวทางการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีดังนี้</span> 1) <span lang="TH">การสร้างแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา </span>2) <span lang="TH">สร้างเครือข่ายความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนรวมถึงการยกระดับและพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว</span> 3) <span lang="TH">ส่งเสริมศักยภาพของชุมชนโดยการจัดโครงการ ฝึกอบรมภาษาต่างประเทศให้กับบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็กและประชาชนทั่วไป </span>4)<span lang="TH"> จัดทำคู่มือ หนังสือท่องเที่ยว หนังสือเกี่ยวกับร้านอาหารเพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว </span>5) <span lang="TH">ภาครัฐควรสนับสนุนสถานที่ในการถ่ายทำภาพยนต์ ซีรีย์ หรือละคร </span>6) <span lang="TH">ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวด้วยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ </span></p> เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 16 1 84 101 ภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/264207 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางกระสั้น อำเภอ บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อภาวะผู้นำ ของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างตามภารกิจและพนักงานจ้างทั่วไป เทศบาลตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี Fisher's LSD กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์รายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการใช้อิทธิพล ( = 4.38, S.D.= 0.53) รองลงมาด้านการสร้างการทำงานเป็นทีม ( = 4.37,S.D.= 0.49) ด้านการสร้าง แรงกระตุ้น ( = 4.34, S.D.=0.50) และด้านการโน้มน้าว ( = 4.34, S.D. = 0.47)</li> <li>บุคลากรที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและระยะเวลาในการทำงาน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแตกต่างกัน</li> </ol> อัญธิพร เครือสุวรรณ กมลวรรณ วรรณธนัง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 16 1 102 117 กลยุทธ์การจัดการอุทกภัยเชิงป้องกันในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jas/article/view/264209 <p class="a"><span lang="TH">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนากลยุทธ์ ถ่ายทอด ขับเคลื่อน รวมถึงบทบาทภาครัฐในการจัดการอุทกภัยเชิงป้องกันในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือคณะกรรมการบริหารและผู้บริหารของนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรม จำนวน7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบกำหนดรหัสจำแนกข้อมูล สร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลและการบูรณาการกลุ่มข้อมูล การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า</span></p> <p class="a"><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดกลยุทธ์การจัดการอุทกภัยเชิงป้องกันในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอาศัยการจัดการความรู้ โดยการสร้างและรวบรวมความรู้จากองค์ความรู้ภายนอก คือ การจ้างผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาวิจัยเรื่องน้ำ ดินและการสร้างเขื่อนกั้นน้ำ ร่วมเสนอรูปแบบกลยุทธ์เชิงป้องกัน และการรวบรวมความรู้จากภายในนิคมอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง ผนวกกับข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐมาวิเคราะห์ ทำแผนปฏิบัติการ กำหนดแนวทางในการสื่อสาร การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ สถานีสูบน้ำ ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุเพื่อเตรียมความพร้อมในสภาวะวิกฤต</span></p> ชญาพัฒน์ เลิศอำนาจกิจเสรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 16 1 118 132