วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese <p> <span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">วารสารด้านญี่ปุ่นศึกษาได้เริ่มจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. </span><span style="font-size: 0.875rem;">2521 </span><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">โดยมูลนิธิญี่ปุ่น (</span><span style="font-size: 0.875rem;">Japan Foundation) </span><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">เป็นผู้สนับสนุนเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการในกลุ่มคณาจารย์ที่สนใจด้านญี่ปุ่นศึกษา ในชื่อว่า "เอกสารวิชาการไทย-ญี่ปุ่นศึกษา" ต่อมาในปี พ.ศ. </span><span style="font-size: 0.875rem;">2527 </span><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">ได้มีการก่อตั้งศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ผู้บริหารของศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น </span><span style="font-size: 0.875rem;">“</span><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">วารสารไทย-ญี่ปุ่นศึกษา</span><span style="font-size: 0.875rem;">” </span><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">จนกระทั่งในปี พ.ศ. </span><span style="font-size: 0.875rem;">2539 </span><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">เปลี่ยนชื่อเป็น"วารสารญี่ปุ่นศึกษา" และในปี พ.ศ. </span><span style="font-size: 0.875rem;">2565 </span><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์" ในรูปแบบวารสารฉบับออนไลน์ </span><span style="font-size: 0.875rem;">ISSN 2821-9627 (Online) </span><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">ภายใต้การดำเนินการของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา</span><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;"> </span><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">ฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</span></p> <div> <p><strong><span lang="TH">วัตถุประสงค์และขอบเขตเนื้อหาบทความ</span></strong></p> </div> <div> <p> <span lang="TH">วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านญี่ปุ่นศึกษาแก่คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษา อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติในเชิงบูรณาการ โดยรับพิจารณาบทความด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ภาษา ปรัชญา วรรณกรรม ศิลปะ วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</span></p> </div> <div> <p><strong><span lang="TH">ประเภทบทความที่รับพิจารณา</span></strong></p> </div> <div> <p> - <span lang="TH">บทความวิจัย (</span>Research Article)</p> </div> <div> <p> - <span lang="TH">บทความวิชาการ (</span>Academic Article)</p> </div> <div> <p> - <span lang="TH">บทความรับเชิญ (</span>Invited Article)</p> </div> <div> <p> - <span lang="TH">บทวิจารณ์หนังสือ (</span>Book Review)</p> </div> <div> <p> - <span lang="TH">บทความสัมภาษณ์หรือรายงานการประชุมสัมมนา (</span>Interview Report or Seminar Report)</p> </div> <div> <p> <span lang="TH">ผู้นิพนธ์สามารถส่งบทความในรูปแบบภาษาไทย อังกฤษ หรือญี่ปุ่น ตามแนวทางการจัดทำบทความและการอ้างอิงของวารสาร ที่สำคัญบทความนั้นจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น</span></p> </div> <div> <p><strong><span lang="TH">ช่วงเวลาเผยแพร่บทความ</span></strong></p> </div> <div> <p> <span lang="TH">วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์เป็นวารสารวิชาการราย </span>6 <span lang="TH">เดือน (ปีละ </span>2 <span lang="TH">ฉบับ) ได้แก่ ฉบับที่ </span>1 <span lang="TH">เดือนมกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ </span>2 <span lang="TH">เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</span> </p> </div> <div> <p><strong><span lang="TH">หลักเกณฑ์การพิจารณาบทความ</span></strong></p> </div> <div> <p> <span lang="TH">บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความรับเชิญจะได้รับการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการก่อนการประเมินจากผู้คุณวุฒิจากหลากหลายหน่วยงาน</span><span class="apple-converted-space"> </span><strong><span lang="TH">จำนวน </span>3 </strong><strong><span lang="TH">ท่าน</span></strong><span class="apple-converted-space"> </span><strong><span lang="TH">ในรูปแบบ</span> Double-blind peer review</strong><span class="apple-converted-space"> </span>(<span lang="TH">ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา) ส่วนงานวิชาการประเภทอื่นต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากบรรณาธิการวารสารก่อนตีพิมพ์</span> </p> </div> <div> <p><strong><span lang="TH">ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ</span></strong></p> </div> <div> <p> <span lang="TH">วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ไม่มีนโยบายเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ</span></p> </div> <div> <p> </p> </div> <div> <p> <span lang="TH">หมายเหตุ: วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ เดิมชื่อวารสารญี่ปุ่นศึกษา ( </span>ISSN 2697-648X) <span lang="TH">โดย<strong>เริ่มใช้ชื่อ "วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์" (</strong></span><strong>Thammasat Journal of Japanese Studies) </strong><strong><span lang="TH">ตั้งแต่วารสารปีที่ </span>39 </strong><strong><span lang="TH">ฉบับที่ </span>1 (</strong><strong><span lang="TH">มกราคม - มิถุนายน </span>2565) </strong><strong><span lang="TH">เป็นต้นไป </span>ISSN 2821-9627 (Online)</strong></p> </div> สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ th-TH วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ 2821-9619 タイ人日本語学習者における文の意味理解困難の現状調査 ―文構造の側面を中心に― https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/view/260582 <p>日本語レベルが向上すると、学習者は言語的に複雑な文章を読み、かつ理解することが要求されるようになる。ところが、言語的に複雑な文章の読解はワーキングメモリに大きな負荷をかけるため、意味処理が円滑に進まなくなる場合が想定される。本調査は、理解困難な統語的に複雑な文とはどのようなものかを明らかにすることを目的とし、学習者がどのように意味内容を理解したのかを調査した。調査対象はタイ人日本語学習者77名である。対象者には3種類の日タイ訳出タスクを課し、学習者が訳出した文の分析を行った。その結果、以下に挙げる4つの要素が文中に含まれる場合、タイ人日本語学習者の理解が妨げられる可能性があることが分かった。4つの要素とは、1) 間接疑問節、2)連体修飾節内の述部のル形・タ形、3) 否定疑問文、4) 呼応表現である。</p> セーンウライ・ ティティソーン Copyright (c) 2023 วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 40 2 1 18 การศึกษาประสิทธิผลของบันทึกการอ่านที่มีต่อการใช้กลวิธีการอ่านภาษาญี่ปุ่น : กรณีศึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/view/261402 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของบันทึกการอ่านที่มีต่อการใช้กลวิธีการอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงก่อนทำบันทึกการอ่านและหลังทำบันทึกการอ่านเป็นเวลาหนึ่งภาคการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 3 คน แบบสอบถามกลวิธีการอ่านที่ใช้ในงานวิจัยนี้ปรับจากแบบสอบถามของ Kouider Mokhtari และ Ravi Sheorey</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าในภาพรวมก่อนการทำบันทึกการอ่าน นักศึกษาใช้กลวิธีการอ่านในระดับมาก โดยใช้กลวิธีประเภทแก้ปัญหามากที่สุด หลังจากทำบันทึกการอ่าน นักศึกษาใช้กลวิธีการอ่านในระดับมากโดยค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 3.95 เป็น 4.09 เมื่อพิจารณาแยกตามประเภทของกลวิธีพบว่าผู้เรียนใช้กลวิธีประเภทองค์รวม และการสนับสนุนการอ่านเพิ่มขึ้น ประเภทองค์รวม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ “ฉันจะอ่านเนื้อหาคร่าว ๆ โดยรวมทั้งหมดว่าเกี่ยวกับอะไรก่อนที่จะอ่านแบบละเอียดต่อไป” ประเภทการสนับสนุนการอ่าน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ “ฉันมักจะอ่านสลับไปมาทั้งตอนต้นและตอนท้ายเพื่อหาความเชื่อมโยงของเนื้อหา” ผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบันทึกการอ่านช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถวางแผนก่อนการอ่านและส่งเสริมการตรวจสอบความเข้าใจระหว่างการอ่านให้มากขึ้น ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่การอ่านที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น</p> สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข ปิยะนุช วิริเยนะวัตร์ เผ่าสถาพร ดวงแก้ว Copyright (c) 2023 วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 40 2 19 34 การศึกษาทัศนคติ แรงจูงใจ และความวิตกกังวลในการอ่านภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/view/262386 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาทัศนคติ แรงจูงใจ และความวิตกกังวลในการอ่านภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นชาวไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ซึ่งศึกษาภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเอกในมหาวิทยาลัยของไทยมีจำนวนทั้งหมด 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติในการอ่านภาษาญี่ปุ่น แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการอ่านภาษาญี่ปุ่น และแบบสอบถามเกี่ยวกับความวิตกกังวลในการอ่านภาษาญี่ปุ่น</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่นส่งผลทำให้ผู้เรียนระดับต้นและระดับกลางมีทัศนคติและความวิตกกังวลในการอ่านแตกต่างกัน ด้านทัศนคติพบว่าผู้เรียนระดับกลางรู้สึกประสบความสำเร็จในการอ่านภาษาญี่ปุ่นและคิดว่าการอ่านภาษาญี่ปุ่นมีประโยชน์ต่ออนาคตแตกต่างกับผู้เรียนระดับต้นอย่างมีนัยสำคัญ ด้านความวิตกกังวลพบว่าผู้เรียนระดับต้นมีความวิตกกังวลเรื่องคำศัพท์และคันจิสูงกว่าผู้เรียนระดับกลาง เมื่อเปรียบเทียบประสบการณ์ในการเรียนภาษาญี่ปุ่นระหว่างผู้เรียนที่มีพื้นฐานและไม่มีพื้นฐานพบความแตกต่างด้านความวิตกกังวล ผู้เรียนที่ไม่มีพื้นฐานมีความวิตกกังวลสูงกว่าผู้เรียนที่มีพื้นฐานในด้านการเรียนรู้วัฒนธรรม ไวยากรณ์ และหัวข้อที่ไม่คุ้นเคย นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติ แรงจูงใจ และความวิตกกังวล พบว่า ทัศนคติกับแรงจูงใจมีแนวโน้มไปทางเดียวกัน กล่าวคือยิ่งผู้เรียนมีทัศนคติในการอ่านที่ดีจะมีแรงจูงใจในการอ่านเพิ่มขึ้น และความวิตกกังวลจะส่งผลตรงกันข้ามกับแรงจูงใจ กล่าวคือยิ่งผู้เรียนมีความวิตกกังวลในการอ่านสูง จะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการอ่านลดลง</p> วรท ตันติเวชวุฒิกุล Copyright (c) 2023 วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 40 2 35 56 สื่อการสอนคำเลียนท่าทางภาษาญี่ปุ่นในรูปแบบแอนิเมชัน : การศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้สื่อและประสิทธิผลของสื่อ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/view/263829 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาเรื่องการผลิตสื่อการสอนคำเลียนท่าทางรูปแบบแอนิเมชัน ผู้วิจัยได้จัดทำสื่อ และสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่ได้ทดลองใช้สื่อ และประสิทธิผลของสื่อกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เรียนและผู้สอนภาษาญี่ปุ่นที่มีความสนใจในการศึกษาเรื่องคำเลียนท่าทาง โดยแบ่งเป็นการเก็บข้อมูลความคิดเห็นที่มีต่อสื่อการสอนภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันและคำเลียนท่าทางในภาษาญี่ปุ่น ผู้ตอบแบบสอบถามรวม 40 คน ได้แก่ ผู้เรียนจำนวน 37 คน ผู้สอน 3 คน และการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบเพื่อศึกษาประสิทธิผลก่อนและหลังทดลองใช้สื่อการสอน มีผู้เรียนให้ความร่วมมือจำนวน 6 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังจากใช้สื่อการสอนที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ผู้เรียนสามารถทำแบบทดสอบเรื่องคำเลียนท่าทางได้ดีขึ้นร้อยละ 5-30 อย่างไรก็ตาม มีคำเลียนท่าทางบางคำที่ผู้เรียนเลือกใช้ผิดหลังจากที่ใช้สื่อการสอน แม้ว่าก่อนใช้สื่อการสอน ผู้เรียนจะเลือกตอบได้ถูกต้อง หรือคำเลียนท่าทางบางคำที่ผู้เรียนยังคงเลือกตอบผิดเช่นเดียวกับตอนก่อนใช้สื่อการสอน สาเหตุที่ผู้เรียนเลือกตอบผิดมาจากอิทธิพลของภาษาไทย และความไม่ชัดเจนของบริบทการใช้ที่ปรากฏในสื่อการสอน ดังนั้นในการผลิตสื่อการสอน จึงควรเพิ่มความระมัดระวังในสองประเด็นดังกล่าว เพื่อผู้เรียนจะได้เข้าใจวิธีการใช้คำเลียนท่าทางได้อย่างถูกต้องมากขึ้น</p> ณริสา กลีบบัว Copyright (c) 2023 วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 40 2 57 76 การเตรียมความพร้อมทำงานของนักศึกษาชาวไทยและนักศึกษาชาวญี่ปุ่น : กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยพายัพและนักศึกษามหาวิทยาลัยเคเซนและมหาวิทยาลัยคินโจ กักคุอิน ประเทศญี่ปุ่น https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/view/260460 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมทำงานของนักศึกษาชาวไทยและนักศึกษาชาวญี่ปุ่น เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านการเตรียมความพร้อมทำงานของนักศึกษาวิชาเอกภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยพายัพ จำนวน 20 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยเคเซนและมหาวิทยาลัยคินโจ กักคุอิน ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 21 คน โดยใช้แบบสอบถามที่เกี่ยวกับการวางแผนเตรียมความพร้อมทำงานและการฝึกประสบการณ์การทำงานก่อนสำเร็จการศึกษา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชาวไทยตระหนักรู้ถึงการวางแผนและเตรียมพร้อมทำงานในระดับมากเทียบเท่ากับนักศึกษาชาวญี่ปุ่น แต่การลงมือปฏิบัติเพื่อศึกษาข้อมูลด้านวิชาชีพและการฝึกประสบการณ์การทำงานนอกเวลาเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ นักศึกษาชาวไทยเริ่มสมัครงานช้ากว่านักศึกษาชาวญี่ปุ่น 1 ปี ดังนั้น ทางสาขาวิชาจึงควรพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนโดยเพิ่มกิจกรรมจำลองสถานการณ์การสัมภาษณ์งานในรายวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ และกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมอย่างเป็นรูปธรรมเชิงปฏิบัติให้มากยิ่งขึ้น</p> พัชยา สุภาใจ ชีวิน สุขสมณะ Copyright (c) 2023 วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 40 2 77 90 การรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในสงครามของญี่ปุ่น : กรณีศึกษา กาญจนบุรี อิเรโต ค.ศ. 1943 - 1944 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/view/262427 <p><em>กาญจนบุรี อิเรโต</em> เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างตามคำสั่งของกองทัพญี่ปุ่นในจังหวัดกาญจนบุรีเมื่อปี ค.ศ.1943 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานที่แห่งนี้ไม่มีชื่อภาษาไทยที่เป็นทางการ อีกทั้งมีคำอธิบายเกี่ยวกับมูลเหตุของการก่อสร้างที่หลากหลาย ความคลุมเครือของข้อเท็จจริงพื้นฐานนี้ดำรงอยู่มาตลอดเวลากว่าห้าทศวรรษภายหลังสงครามสิ้นสุดในปี 1945 บทความนี้มุ่งศึกษาความหมายแรกเริ่มของ <em>กาญจนบุรี อิเรโต</em> ในฐานะอนุสรณ์สถานของกองทัพญี่ปุ่นในดินแดนที่มีสถานะพันธมิตรกับญี่ปุ่น โดยศึกษาจากเอกสารจดหมายเหตุและวิเคราะห์ภายใต้มิติทางศาสนาของการรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในสงคราม บทความเสนอว่า <em>กาญจนบุรี อิเรโต</em> สร้างขึ้นภายใต้มโนทัศน์การรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในสงครามตามความเชื่อทางศาสนาของญี่ปุ่นซึ่งประกอบด้วย แนวคิด <em>shizume </em> (การทำให้สงบ) และ <em>furui </em>(แรงบันดาลใจ) ประกอบกับ มโนทัศน์ <em>Hakko ichiu </em> (อำนาจพระจักรพรรดิครอบคลุมแปดมุมโลก) ซึ่งเป็นแนวคิดที่สร้างความชอบธรรมให้กับการทำสงครามของญี่ปุ่น</p> นิภาพร รัชตพัฒนากุล Copyright (c) 2023 วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 40 2 91 108 ปริทัศน์หนังสือ : ประวัติวรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นสำหรับผู้เริ่มต้น https://so02.tci-thaijo.org/index.php/japanese/article/view/263195 <p>-</p> ทนพร ตรีรัตน์สกุลชัย Copyright (c) 2023 วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 40 2 109 124