วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu
<p><strong>วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล</strong> อยู่ในฐานข้อมูล <a href="https://tci-thailand.org/detail_journal.php?id_journal=698" target="_blank" rel="noopener">TCI กลุ่ม 2 (2563 - 2567)</a> ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 โดย<a href="https://sh.mahidol.ac.th/?page=faculty&p=1&searchrow=all&keyword=&dpm=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C" target="_blank" rel="noopener">ภาควิชาสังคมศาสตร์</a> <a href="https://sh.mahidol.ac.th/" target="_blank" rel="noopener">คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์</a> <a href="https://mahidol.ac.th/th/" target="_blank" rel="noopener">มหาวิทยาลัยมหิดล</a> ทั้งนี้ <a href="http://203.131.211.58/hrtuweb/documents/year64/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%AD-%E0%B8%894-2564.pdf" target="_blank" rel="noopener">บทความจะถูกประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน</a> และ <a href="https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/issue/archive">เผยแพร่ 2 ฉบับ ต่อปี (ม.ค.-มิ.ย. และ ก.ค.-ธ.ค.)</a><br /><br /><strong>วารสารฯ เปิดรับผลงานทางด้าน:</strong></p> <p> ▶ สังคมศาสตร์ในมิติต่าง ๆ เช่น สังคมศาสตร์การแพทย์/สุขภาพ สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ<br /> ▶ การบริหารจัดการองค์การภาครัฐ, ภาคเอกชน, ภาคไม่แสวงหากำไร<br /> ▶ นโยบายสาธารณะในประเด็นต่าง ๆ เช่น นโยบายสังคม นโยบายการศึกษา นโยบายสุขภาพ ฯลฯ<br /> ▶ ประเด็นทางสังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่สอดคล้องกับ<a href="https://science.mahidol.ac.th/sdgs/17goals/" target="_blank" rel="noopener">เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)</a><br /><br /><span style="font-weight: bolder;"><span style="font-weight: 400;">ผู้สนใจสามารถส่งบทความฯ เพื่อรับการพิจารณาได้ </span><a style="background-color: #ffffff; font-weight: 400;" href="https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/about/submissions" target="_blank" rel="noopener">ที่นี่ (ส่งบทความ)</a><span style="font-weight: 400;"> หรือ ติดต่อวารสารฯ ได้ที่ Email: </span><a style="background-color: #ffffff; font-weight: 400;" href="https://mail.google.com/mail/?view=cm&source=mailto&to=issj.mahidol@gmail.com" target="_blank" rel="noopener">issj.mahidol@gmail.com</a><br /><br /><em>** วารสารฯ ไม่มี นโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือ ค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการตีพิมพ์ **<br /></em></span></p>th-TH<p>- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา</p> <p>- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ</p> <p>- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม</p>issj.mahidol@gmail.com (Editor, Integrated Social Science Journal)sasitron.lom@mahidol.ac.th (Ms. Sasitorn Loblamlert)Mon, 27 Jan 2025 00:00:00 +0700OJS 3.3.0.8http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss60การประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์: กรณีศึกษาสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/268980
<p>บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์ของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ซึ่งสถาบันฯ ได้นำเอาแนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์ไปปรับใช้เป็นแนวทางที่ส่งเสริมให้เกิดการบรรลุขีดความสามารถอย่างเหมาะสม นำมาซึ่งจะกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้ไปสู่องค์การชั้นนำด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลระดับโลก โดยเริ่มต้นจากการเล็งเห็นถึงความสำคัญและจำเป็นในการนำแนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์มาปรับใช้กับกรอบแนวคิดหลักในการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ การเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรอย่างเหมาะสม จนถึงแนวทางการพัฒนาบุคลากรตามแนวคิดพัฒนาทุนมนุษย์ของสถาบันฯ ที่ใช้ได้เป็นแผนดำเนินการนำมาปฏิบัติใช้จริง องค์การบรรลุขีดความสามารถที่กำหนดได้ โดยมองจากผลลัพธ์การดำเนินการของสถาบันฯ ที่ปรากฏขึ้นในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น กล่าวคือมีผลปฏิบัติงานของบุคลากรดีขึ้น สามารถดึงศักยภาพที่แฝงอยู่ภายในตัวบุคลากรนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสอดคล้องกับเป้าหมายวิสัยทัศน์ของสถาบันฯได้ การมีทุนมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้นย่อมเป็นการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้แก่องค์การ อย่างไรก็ตามยังมีเหตุปัจจัยในการพัฒนาบุคลากรที่ไม่อาจควบคุมได้ และสถาบันฯ ยังคงต้องลงทุนพัฒนามนุษย์อย่างต่อเนื่อง ให้มีความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่ง และสามารถพึ่งพาตนเองในระยะยาวได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน</p>ปิยพัณภูมิ ทองประสงค์
Copyright (c) 2025 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/268980Fri, 31 Jan 2025 00:00:00 +0700An Examining Progress in Research: Cost-effectiveness of Cardiovascular Disease Prevention Using the Markov Model
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/273862
<p>This article reviews three-volume collection of previously published articles on cost-effectiveness in cardiovascular disease prevention. Firstly, cost–effectiveness analysis of genetic screening for the Taq1B polymorphism in the secondary prevention of coronary heart disease is conducted. Secondly, a “polypill” aimed at preventing cardiovascular disease could prove highly cost-effective for use in Latin America, and lastly, the cost-effectiveness of intensive atorvastatin therapy in secondary cardiovascular prevention in the United Kingdom, Spain, and Germany is assessed, based on the Treating to New Targets study. All three articles in this paper demonstrate how the Markov model can control strategy in terms of cost savings and increase the mean of quality-adjusted life-years (QALYs). Moreover, the Markov model can be used to demonstrate how healthcare systems can control the cost-effectiveness of drug use in terms of cardiovascular disease related to health benefits, costs, and quality-adjusted life-years (QALYs). In conclusion, employing the Markov model through other interventions, especially in the case of health benefits, cost savings, and quality-adjusted life-years (QALYs) is the main recommendation of this article.</p> <p> </p> <p><strong>Keywords:</strong> Markov Model, Cardiovascular Disease Prevention, Cost Effectiveness</p>Mayuree Yotawut
Copyright (c) 2025 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/273862Fri, 31 Jan 2025 00:00:00 +0700Factors Affecting Individual and Family Self-Management Behavior, and Family Well-Being in Slum Communities of Pathum Wan, Bangkok
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/270633
<p>Thailand is leading among ASEAN countries in achieving the Sustainable Development Goals (SDGs). However, there is a challenge related to SDG 16 target family well-being, particularly in vulnerable areas like slums. This study seeks to integrate The Individual and Family Self-Management Theory to describe the individual and family management behavior that are associated with family well-being. Using a quantitative research approach, the study surveyed 260 respondents living in slum communities around Pathum Wan district, Bangkok, Thailand. The analysis revealed that participant’s family well-being scores have significant differences among household’s monthly income groups (t = 3.04, p < .003). Meanwhile, psychological and social factors, namely Psychological Capital (β = .78, p < .001), Outcome Expectancy (β = .43, <br />p < .001), and Social Norms (β = .62, p < .001) significantly predicted the individual and family management behavior. Moreover, the individual and family management behavior significantly predicted family well-being (β = .65, p < .001). Consequently, it is suggested that creating interventions or policies in these slum communities should prioritize these significant variables to enhance the efficacy of improving family well-being and promoting SDGs. </p>Haruetai Pratumchart, Ungsinun Intarakamhang, Pitchayanee Poonpol
Copyright (c) 2025 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/270633Tue, 28 Jan 2025 00:00:00 +0700Using Technology and Innovation to Improve Health Protection with Economic Recovery in Malaysia
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/263607
<p>The objective of this study is to describe significant roles and tendency of using technologies with innovations as a substitute for workers to strengthen health protection with economic recovery in Malaysia. The 12th Malaysia Plan (2021-2025) as a developmental platform is to recover from facing the COVID-19 crisis and initiates the strategic direction for development in line with moving forward. Malaysia intends to invest for enhancing employability with considering better changes. Malaysia highlights authorities through people with organizations particularly using technologies to reach benefits in achievement. Furthermore, Malaysia has collaboration with Singapore on protocols alignment for health screening at their borders. This is different from general perspectives of health protection amidst the COVID-19 pandemic as the government of Malaysia viewed to opportunities of sustainable development with shifting individual sectors based on expected changes and inspiration. Challenges with opportunities for the post-COVID-19 era were analyzed to look ahead and raise issues for managing governance, health, labor, and technology.</p>Kwannapis Ratchatawan, Nawiya Yotwilai
Copyright (c) 2025 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/263607Tue, 28 Jan 2025 00:00:00 +0700การศึกษาแนวทางพัฒนาการให้ความช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ ตามกรอบปฏิญญาว่าด้วยหลักความยุติธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เสียหายในคดีอาญา และการใช้อำนาจโดยมิชอบ ค.ศ. 1985
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/273339
<p>ปัญหาอาชญากรรมทางเพศมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่การรายงานเพื่อขอรับความช่วยเหลือและแจ้งความดำเนินคดีต่อผู้ที่กระทำผิดมีสัดส่วนน้อยกว่าความเป็นจริงมาก การวิจัยนี้จึงศึกษาปัญหาและอุปสรรค และจัดทำข้อเสนอแนวทางพัฒนาการให้ความช่วยเหลือตามกรอบปฏิญญาว่าด้วยหลักความยุติธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เสียหายในคดีอาญาและการใช้อำนาจโดยมิชอบ ค.ศ. 1985 เพื่อให้ผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศมั่นใจว่าจะได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมและกล้าเปิดเผยตัวตนรายงานเหตุการณ์หรือแจ้งความดำเนินคดี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม มีผู้เข้าร่วมการวิจัย 36 คน ใช้การวิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัยตามแนวคิดทฤษฎีเหยื่อวิทยา อาชญาวิทยาและหลักปฏิบัติที่เป็นสากล พบว่า การให้ความช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ มีปัญหาอุปสรรคในด้านกฎหมาย ด้านระบบงาน ด้านบุคลากร ด้านผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศและผู้กระทำความผิด โดยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขกฎหมายเพื่อขยายขอบเขตการให้ความช่วยเหลือ บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่นเพื่อสนับสนุนระบบการให้ความช่วยเหลือและจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมทางเพศเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นหน่วยให้การช่วยเหลือที่ครอบคลุมความต้องการของผู้ตกเป็นเหยื่อ และเสริมพลังให้กลับไปใช้ชีวิตในสังคมต่อไป</p>เปรมยุดา ตันติกนกพร, ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม, นวภัทร ณรงค์ศักดิ์
Copyright (c) 2025 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/273339Thu, 30 Jan 2025 00:00:00 +0700บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและการสืบต่อวงจรความรุนแรงในครอบครัวของวัยรุ่นหญิง
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/269431
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์เชิงคุณภาพระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและการสืบต่อวงจรความรุนแรงในครอบครัว และเพื่ออธิบายความสัมพันธ์เชิงคุณภาพของการมีประสบการณ์การความรุนแรงในครอบครัวและการสืบต่อวงจรความรุนแรง ในครอบครัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวัยรุ่นหญิงที่มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 10 ราย ที่มีประสบการณ์การเป็นพยานหรือถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว และต่อมาเมื่อเติบโตขึ้นได้เป็นผู้สืบต่อความรุนแรงในครอบครัว ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะบุคลิกภาพของผู้สืบต่อวงจรความรุนแรงในครอบครัวที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาพบว่า ผู้มีบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกและแบบแสดงตัว มีผลการประเมินลักษณะบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว อยู่ในอันดับรองลงมา โดยมีค่าคะแนนไม่ต่างกันมากนัก และพบผลการประเมินบุคลิกภาพที่น่าสนใจ คือ บุคลิกภาพแบบประนีประนอมในระดับลักษณะบุคลิกภาพต่ำ เนื่องจากมีผลการประเมินลักษณะบุคลิกภาพจำนวนเท่ากับผู้มีระดับลักษณะบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวในระดับสูงที่สุด ในงานการศึกษาชิ้นนี้ พบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวในช่วงปฐมวัย – วัยเด็ก และพบความคล้ายคลึงกันระหว่างประสบการณ์ความรุนแรง ในครอบครัวเดิม และการสืบต่อวงจรความรุนแรงในครอบครัว ในด้านสาเหตุของการกระทำความรุนแรง และด้านลักษณะความรุนแรง</p>ลาวัลย์ การอรชัย, วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์
Copyright (c) 2025 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/269431Thu, 30 Jan 2025 00:00:00 +0700การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนิสิตปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/270626
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของอิทธิพลที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนิสิตปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างของอิทธิพลที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนิสิตปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตามโมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 150 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์โมเดลตามทฤษฎีสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยความฉลาดทางอารมณ์และทักษะทางสังคมมีอิทธิพลรวมต่อการปรับตัวเท่ากับ 0.866 และ 0.540 ตามลำดับ ความฉลาดทางอารมณ์และทักษะทางสังคมมีอิทธิพลทางตรงต่อการปรับตัวเท่ากับ 0.378 และ 0.540 ตามลำดับ ความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการปรับตัวเท่ากับ 0.488 และความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลทางตรงต่อทักษะทางสังคมเท่ากับ 0.904 ผลการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่า p-value ที่มีค่ามากกว่า .05 (p = 0.0754) ค่า CFI, TLI เข้าใกล้ 1 และค่า SRMR เข้าใกล้ 0</p>ศิวาพร ใจหล้า, ณัฎฐนิช มณีวรรณ, ณัฐกานต์ ประจันบาน
Copyright (c) 2025 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/270626Fri, 31 Jan 2025 00:00:00 +0700ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/271650
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและนครหลวงเวียงจันทน์ก่อนและหลังปี พ.ศ. 2561 2) เปรียบเทียบนโยบายแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 และ 3) เสนอแนวทางเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ฝุ่นควัน PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและนครหลวงเวียงจันทน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังปี พ.ศ. 2561 และมีปัญหาหนักในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม ประชาชนยังขาดความรู้ในการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5 สำหรับนครหลวงเวียงจันทน์ หลังปี พ.ศ. 2563 ปัญหาฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเผาป่าเพื่อการเกษตร ไฟป่า การก่อสร้าง และการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ ส่วนกรุงเทพมหานคร ปัญหาฝุ่น PM2.5 รุนแรงขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากการปล่อยควันจากรถยนต์ การเผาขยะและการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เกษตรกรรม การเปรียบเทียบนโยบายพบว่า กรุงเทพมหานครมีแผนแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างเป็นระบบ โดยมีแผนปฏิบัติการปี 2567 และแผนแม่บทระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) รวมถึงมาตรฐาน Zero Emission และมาตรการทั้งระยะสั้นและยาว ขณะที่นครหลวงเวียงจันทน์ยังไม่มีแผนชัดเจน มีเพียงหน่วยเฉพาะกิจและคำสั่งรัฐบาลในการป้องกันไฟป่าและการเผาจากการเกษตร ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับกรุงเทพมหานคร คือ การบังคับใช้กฎหมายห้ามเผา ศึกษาและเปิดเผยข้อมูลแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 และกำหนดยุทธศาสตร์ระยะสั้น กลาง และยาว ส่วนข้อเสนอสำหรับนครหลวงเวียงจันทน์คือการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ภาคเอกชน และประชาสังคมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านการบริหารจัดการฝุ่น PM2.5 อย่างมืออาชีพ</p>สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์, Keophouthone Hathalong
Copyright (c) 2025 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/271650Fri, 31 Jan 2025 00:00:00 +0700ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/274985
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ 1) การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความมั่นคงในชีวิต ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม 2) แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย การสนับสนุนด้านอารมณ์ การสนับสนุนด้านแรงงาน สิ่งของเงินทองและบริการ และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร และ 3) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ คณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและพักอาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 478 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของจังหวัดนนทบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2) แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 3) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ สวัสดิการผู้สูงอายุด้านสังคม แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านแรงงาน สิ่งของเงินทอง และบริการ มีข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะในประเด็นการจัดหาสถานที่เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุด้านแรงงาน สิ่งของเงินทองและบริการโดยเฉพาะในประเด็นการได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงิน โดยให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุด้านสังคม แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านแรงงาน สิ่งของเงินทอง และบริการ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ</p>ประเสริฐ เล็กสรรเสริญ, อริศรา เล็กสรรเสริญ
Copyright (c) 2025 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/274985Fri, 31 Jan 2025 00:00:00 +0700ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/269797
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) การจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา และ 4) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จำนวน 327 คน กำหนดขนาดตัวอย่างจากโปรแกรม G*Power จากนั้นสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งขนาดตัวอย่างตามสัดส่วนประชากรข้าราชการครูในแต่ละอำเภอที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ทักษะด้านวิสัยทัศน์ ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ ทักษะด้านการสื่อสาร และทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล 2) การจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ของครู การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นผู้เรียนสำคัญ การวัดและประเมินผล การกำหนดวัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ และการใช้หลักสูตรในการจัดการเรียนรู้ 3) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตั้งแต่ระดับปานกลางถึงระดับค่อนข้างสูง และ 4) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล และทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ ตามลำดับ และร่วมกันทำนายการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 44 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>พส สมบูรณ์, จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์, รัตนา ดวงแก้ว
Copyright (c) 2025 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/269797Fri, 31 Jan 2025 00:00:00 +0700The Evaluation of Strategic Development Plans of Samut Sakhon Provincial Administration Organization
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/275226
<p>This study aims at 1) studying the basic information about the strategic development plans of <br />Samut Sakhon provincial administration organization (PAO), 2) evaluating the results of the strategic development plans of Samut Sakhon PAO, 3) studying the problem and obstacle in the implementation of the strategic development plans of Samut Sakhon PAO, and 4) proposing guidelines for effective developing the strategic development plans of Samut Sakhon PAO. The data were collected by surveying 400 stakeholders of Samut Sakhon PAO and interviewing 10 key informants. The results showed that the local citizen samples were satisfied with Samut Sakhon PAO’s 6 strategic developmental plans, namely (1) education development strategy, (2) quality-of-life enhancement strategy, (3) economic development strategy, (4) infrastructure development strategy, (5) environmental conservation and rehabilitation strategy, and (6) city development and administration strategy. Considering the dimensions ranking from the highest to lowest satisfaction scores, it was found that economic development strategy had the highest score (X ̅= 3.97), followed by infrastructure development strategy (X ̅ = 3.90), education development strategy (X ̅ = 3.88), quality-of-life enhancement strategy (X ̅ = 3.87), environmental conservation and rehabilitation strategy (X ̅= 3.82), and city development and administration strategy (X ̅ = 3.82), respectively. These lead to formulating recommendations on the effective and efficient implementation of policy for both the national and provincial level by making plans more practical and solving the economic problems in order to respond to people’s needs and also evaluating the implementation of the strategic development plan in every step.</p>Seree Woraphong
Copyright (c) 2025 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/275226Fri, 31 Jan 2025 00:00:00 +0700