https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/issue/feed วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 2023-12-22T14:38:46+07:00 Editor, Integrated Social Science Journal [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล</strong> อยู่ในฐานข้อมูล <a href="https://tci-thailand.org/detail_journal.php?id_journal=698" target="_blank" rel="noopener">TCI กลุ่ม 2 (2563 - 2567)</a> ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 โดย<a href="https://sh.mahidol.ac.th/?page=faculty&amp;p=1&amp;searchrow=all&amp;keyword=&amp;dpm=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C" target="_blank" rel="noopener">ภาควิชาสังคมศาสตร์</a> <a href="https://sh.mahidol.ac.th/" target="_blank" rel="noopener">คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์</a> <a href="https://mahidol.ac.th/th/" target="_blank" rel="noopener">มหาวิทยาลัยมหิดล</a> ทั้งนี้ <a href="http://203.131.211.58/hrtuweb/documents/year64/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%AD-%E0%B8%894-2564.pdf" target="_blank" rel="noopener">บทความจะถูกประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน</a> และ <a href="https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/issue/archive">เผยแพร่ 2 ฉบับ ต่อปี (ม.ค.-มิ.ย. และ ก.ค.-ธ.ค.)</a><br /><br /><strong>วารสารฯ เปิดรับผลงานทางด้าน:</strong></p> <p> ▶ สังคมศาสตร์ในมิติต่าง ๆ เช่น สังคมศาสตร์การแพทย์/สุขภาพ สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ<br /> ▶ การบริหารจัดการองค์การภาครัฐ, ภาคเอกชน, ภาคไม่แสวงหากำไร<br /> ▶ นโยบายสาธารณะในประเด็นต่าง ๆ เช่น นโยบายสังคม นโยบายการศึกษา นโยบายสุขภาพ ฯลฯ<br /> ▶ ประเด็นทางสังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่สอดคล้องกับ<a href="https://science.mahidol.ac.th/sdgs/17goals/" target="_blank" rel="noopener">เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)</a><br /><br /><span style="font-weight: bolder;"><span style="font-weight: 400;">ผู้สนใจสามารถส่งบทความฯ เพื่อรับการพิจารณาได้ </span><a style="background-color: #ffffff; font-weight: 400;" href="https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/about/submissions" target="_blank" rel="noopener">ที่นี่ (ส่งบทความ)</a><span style="font-weight: 400;"> หรือ ติดต่อวารสารฯ ได้ที่ Email: </span><a style="background-color: #ffffff; font-weight: 400;" href="https://mail.google.com/mail/?view=cm&amp;source=mailto&amp;[email protected]" target="_blank" rel="noopener">[email protected]</a><br /><br /><em>** วารสารฯ ไม่มี นโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือ ค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการตีพิมพ์ **<br /><br /></em></span></p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/262611 นิยามใหม่ของห่วงโซ่การศึกษา เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2023-10-04T17:23:23+07:00 กิตติพงษ์ เพียรพิทักษ์ [email protected] <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ สำหรับการกำหนดคำนิยามใหม่ของห่วงโซ่การศึกษา ซึ่งหมายถึง เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา ที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปพร้อมกับการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของสังคมและประเทศ โดยมีครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นกลไกเชื่อมโยงและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้เรียน ได้เข้าใจถึงคุณค่า และความถนัดเฉพาะของตนเอง ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และสามารถสร้างสรรค์สังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งห่วงโซ่การศึกษา ควรแบ่งออกเป็นสามระยะ ตั้งแต่การกำหนดคุณภาพการศึกษา กระบวนการศึกษา และผลสัมฤทธิ์ด้านการศึกษา ทั้งนี้ การนำไปบูรณาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการมองในมุมกลับโดยให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากที่สุด ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างและกระจายตัวขององค์ความรู้ที่อยู่ในตัวของผู้เรียน ผ่านคุณค่าเชิงอัตลักษณ์ ประกอบกับเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมของโอกาส และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางความคิดและค่านิยม ตั้งแต่ระดับนักเรียนผู้เป็นปัญญาชน ไปสู่ผู้ใหญ่ในสังคมที่มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารประเทศ ดังนั้น การพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นกระบวนการส่งมอบคุณค่าแก่ผู้เรียนเพื่อผลักดันให้เกิดการส่งต่อคุณค่าใหม่ในสังคม โดยถือเป็นการไหลเวียนขององค์ความรู้และคุณค่า ให้มีอยู่ในสังคมและประเทศตลอดไป</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/264193 แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม โครงการให้บริการรับทำวิจัยและให้บริการทางวิชาการ: กรณีศึกษาคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2023-11-21T17:20:36+07:00 วาสินี มีวัฒนะ [email protected] วราภรณ์ รุจิระวาณิชย์ [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาของระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม โครงการให้บริการรับทำวิจัยและให้บริการทางวิชาการ และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมโครงการให้บริการรับทำวิจัย และให้บริการทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยได้นำรายการลูกหนี้เงินยืมคงค้าง-การให้บริการวิชาการของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีงบประมาณ 2563-2565 มาเป็นกรณีศึกษา และได้นำแผนผังก้างปลามาใช้วิเคราะห์ข้อมูล บทความนี้พบว่า สภาพปัญหาของระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมฯ ประกอบไปด้วย 4 สาเหตุหลัก คือ บุคลากร วิธีการทำงาน ข้อบังคับฯ/หลักเกณฑ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งาน จากนั้นได้นำแนวคิด PDCA มาเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมโครงการให้บริการรับทำวิจัย และให้บริการทางวิชาการ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น อาทิ การติดตามลูกหนี้เงินยืม จะทำการแจ้งเตือนผ่านอีเมล์ SMS หรือ แอปพลิเคชัน Line เมื่อครบกำหนดระยะเวลา การจัดทำระบบติดตามและชำระทวงหนี้ที่เป็นระบบ รวมถึงแจ้งขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการส่งใช้ลูกหนี้เงินยืมให้ผู้ปฏิบัติงานทราบอย่างชัดเจนและเป็นระบบ เป็นต้น</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/264461 The Conflict Between Thailand and Cambodia over Preah Vihear Temple and the Border Disputes: Roles of the Joint Commission on Demarcation for Land Boundary (JBC) and Ways to Improve the Relations 2023-10-07T21:35:48+07:00 Panaikorn Boonkob [email protected] <p>This article attempted to study the relationship between Thailand and Cambodia amidst the territorial dispute over the Temple of Preah Vihear and the Thai-Cambodian borders since the Franco-Siamese treaty of 1904 until now. Furthermore, this article aimed to illustrate an important tool that the two nations have employed to solve the Cambodian–Thai border dispute: The Joint Commission on Demarcation for Land Boundary (JBC). The JBC was established in 2000 aiming at conducting a joint border survey and negotiating the Thai-Cambodian border disputes. Finally, this article synthesized and proposed ways to improve the Thai-Cambodian relations which can be done by the Thai government in 3 aspects: political, economic, and social.</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/261363 การประเมินศักยภาพการพัฒนาไมซ์ซิตี้ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไมซ์ พื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา 2023-08-28T04:16:24+07:00 มัตติกา ชัยมีแรง [email protected] วนิดา นเรธรณ์ [email protected] วิชาญ พันธุ์ดี [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการพัฒนาไมซ์ซิตี้ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาไมซ์ซิตี้ระดับพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเกณฑ์การประเมินไมซ์ซิตี้ ของสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) จำนวนทั้งหมด 8 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) ความสะดวกในการเข้าสู่เมืองและสถานที่จัดงาน 2) การสนับสนุนการจัดงานไมซ์จากในเมือง 3) กิจกรรมเพิ่มเติมนอกเหนือจากการประชุม 4) ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก 5) สถานที่จัดงานและสิ่งอำนวยความสะดวก 6) ภาพลักษณ์และความมีชื่อเสียงของเมือง 7) สภาพแวดล้อมของเมือง และ 8) ความเสี่ยงในการยกเลิกงานและการรักษาความปลอดภัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผังเมือง การท่องเที่ยว และการพัฒนาเมืองของจังหวัดนครราชสีมา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น พบว่า ค่าความสอดคล้องกันของเหตุผลของตัวแปรทั้ง 8 ตัวมีค่าไม่เกินร้อยละ 10 ต่อมา ผลการให้ค่าคะแนนของตัวแปร (Rating) และค่าน้ำหนักของตัวแปร (Weighting) ในการประเมินศักยภาพการพัฒนาไมซ์ซิตี้ พบว่า ความสะดวกในการเข้าสู่เมืองและสถานที่จัดงาน เป็นตัวแปรที่มีผลการคำนวณระดับคะแนนของตัวแปรมากที่สุด อยู่ในระดับศักยภาพการพัฒนามาก การวิจัยนี้ยังได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของการจัดประชุม การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการจัดประชุมให้แก่บุคลากรในพื้นที่ การเพิ่มจำนวนร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึกบริเวณแหล่งที่ตั้งการจัดประชุม และการพัฒนาแอปพลิเคชันในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดงานไมซ์ซิตี้</p> 2023-12-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2022 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/261210 ผลกระทบและการปรับตัวของนักศึกษาต่างชาติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษานักศึกษาภูฏานของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2023-08-09T12:34:52+07:00 ชุติมา สุดจรรยา [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวของนักศึกษาภูฏานของคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ นักศึกษาภูฏาน จำนวน 40 คน ของคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) ผลการวิจัยพบว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผลกระทบต่อนักศึกษาภูฏานทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอน ที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นแบบออนไลน์ ทำให้นักศึกษาภูฏานทุกคนต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในการจัดซื้ออินเทอร์เน็ตส่วนบุคคลเอาไว้ใช้ในการเรียน ด้านการเดินทาง โดยนักศึกษาภูฏานทุกคนต้องศึกษารายละเอียด ขั้นตอนการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ต้องเตรียมตัวในการจัดหาเอกสาร หลักฐาน และดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเป็นเวลานานกว่าปกติ และ ด้านกฎหมายและระเบียบพิธีการตรวจคนเข้าเมือง เช่น การเตรียมค่าใช้จ่ายในการกักตัวตามระยะเวลาที่ทางรัฐบาลไทยกำหนด คือ 14 วัน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ปกติอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้พบว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไม่ได้กระทบกับการใช้ชีวิตส่วนตัวของนักศึกษาเท่าใดนัก เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีระบบช่วยเหลือเตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว ในส่วนของการปรับตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น พบว่า นักศึกษาภูฏาน ทุกคนมีการปรับตัวที่ดี เนื่องจากมีการประสานกันในระบบรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง และพักอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีการส่งข้อมูล และปรึกษาหารือกันเป็นประจำ</p> 2023-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2022 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/263827 การประเมินหลักสูตรและความพึงพอใจต่อหลักสูตรนักวิทยาศาสตร์ (สบ 1) ของสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วย CIPP Model 2023-09-27T01:50:18+07:00 อิสริยะ ไทยนาม [email protected] ดวงเนตร พิพัฒน์สถิตพงศ์ [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรนักวิทยาศาสตร์ (สบ 1) (ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2562) ของสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบ CIPP Model ใน 4 ด้าน ได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนปัจจุบันและศิษย์เก่าที่เข้าอบรมหลักสูตรนักวิทยาศาสตร์ (สบ 1) (ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2562) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 60 คน ประกอบด้วยผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ นักเรียนอบรมปัจจุบัน และศิษย์เก่า เก็บข้อมูลโดยส่งลิงค์การประเมินบน Google Form ผ่านอีเมล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติ One-sample t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่ได้ กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยมาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 3.51 ผลการศึกษาพบว่า คะแนนการประเมินหลักสูตรฯ โดยผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ นักเรียนอบรมปัจจุบัน และศิษย์เก่า ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับดีมาก การทดสอบสถิติโดยใช้ One-sample t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยมาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 3.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านความพึงพอใจของนักเรียนปัจจุบันและศิษย์เก่าที่มีต่อหลักสูตรนักวิทยาศาสตร์ (สบ 1) (ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2562) พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยเฉพาะในด้านความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของอาจารย์ วิทยากร และครูฝึก ส่วนด้านที่มีคะแนนความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านความเหมาะสมของสถานที่จัดการฝึกอบรม</p> 2023-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2022 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/261885 มาตรฐานแรงงานและการคุ้มครองแรงงานในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มของประเทศไทย: บทสำรวจวรรณกรรมที่เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2562 - 2565 2023-10-04T17:15:27+07:00 นิภาพรรณ เจนสันติกุล [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์บทความวิชาการและบทความวิจัยเกี่ยวกับมาตรฐานแรงงานและการคุ้มครองแรงงานในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มที่เผยแพร่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ในช่วง พ.ศ. 2562 - 2565 โดยคำสำคัญที่ใช้ในการสืบค้น ได้แก่ มาตรฐานแรงงาน เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม การคุ้มครองแรงงาน แรงงานแพลตฟอร์ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อจัดกลุ่มของข้อมูลพิจารณาถึงความสอดคล้องของข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า 1) มีบทความวิชาการและบทความวิจัย จำนวน 45 เรื่อง มีบทความวิชาการและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานแรงงานและการคุ้มครองแรงงานในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มจำนวน 8 เรื่อง และมีบทความวิชาการและบทความวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานแรงงานและการคุ้มครองแรงงานในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มโดยตรง จำนวน 37 เรื่อง 2) ในส่วนของมาตรฐานแรงงานและการคุ้มครองแรงงาน พบว่า แรงงานที่ให้บริการผ่านแพลตฟอร์มมิได้มีสถานะเป็นลูกจ้าง แต่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือหุ้นส่วนอย่างไม่เป็นทางการของแพลตฟอร์มหรือทางกฎหมาย จึงไม่ได้มีมาตรฐานแรงงานเนื่องจากไม่ได้มีกฎหมายรองรับ มาตรฐานแรงงานจึงเป็นไปตามบริษัทแพลตฟอร์มที่กำหนดขึ้น ทำให้มีปัญหาในเรื่องของข้อกำหนด ข้อปฏิบัติ การใช้แรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุด และความปลอดภัยในการทำงาน ด้วยสภาพดังกล่าวแรงงานแพลตฟอร์มจึงไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541</p> 2023-12-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2022 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/262011 การศึกษาผลกระทบและแนวทางการรับมือต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในเขตเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2023-09-08T17:40:58+07:00 พิมพ์รวินท์ แก้วเมืองทอง [email protected] <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ใช้การศึกษาแบบผสมวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจผ่านแบบสอบถาม ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ด้านสุขภาพมากที่สุด ผลการวิเคราะห์สถิติ t พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงได้รับผลกระทบด้านสุขภาพมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -.83, p &lt; .001) ด้านระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนกับเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเผยแพร่ข่าวสารจากทางเทศบาลฯ มากที่สุด และจะให้ความร่วมมือกับเทศบาลฯ หากรู้สึกว่า ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson พบว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของตน (r = .324, p &lt; .01) ในตอนท้าย ผู้วิจัยเสนอแนะแนวทางการรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อาทิ (1) ประชาสัมพันธ์สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และแจกจ่ายสิ่งของจำเป็นให้กับประชาชนในเขตเทศบาล (2) การจัดตั้งโรงครัวสนามโดยผู้นำชุมชน และ (3) เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นต้น</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/265893 ทัศนคติของครูและบุคลากรโรงเรียนเซนต์เมรี่ ที่มีต่อรูปแบบการทำงานที่บ้าน ในช่วงสถานการณ์วิกฤต COVID-19 2023-12-21T14:16:16+07:00 มนพันธ์ ชาญศิลป์ [email protected] จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์ [email protected] ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์ [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของครูและบุคลากรโรงเรียนเซนต์เมรี่ จังหวัดอุดรธานี ที่มีต่อรูปแบบการทำงานที่บ้านในช่วงสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่จะเอื้อต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้รูปแบบการทำงานที่บ้านของโรงเรียนเซนต์เมรี่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ครูและบุคลากรในโรงเรียนเซนต์เมรี่ จำนวน 114 คน คำนวณขนาดตัวอย่างจากตารางของ Krejcie and Morgan และได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 89 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69.66 เห็นด้วยกับการนำระบบการทำงานที่บ้านมาปรับใช้เป็นนโยบายหรือข้อบังคับของโรงเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า การทำงานที่บ้านก่อให้เกิดประโยชน์ได้แก่ ประหยัดเวลาในการเดินทาง สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้เพิ่มขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างมองว่า การทำงานที่บ้านอาจก่อให้เกิดอุปสรรคและความยากลำบาก ได้แก่ การสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานลดลง การประสานงานระหว่างส่วนงานต่าง ๆ ยากมากยิ่งขึ้น เกิดความรู้สึกเหงาจากการไม่ได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน และเกิดความเครียดและกังวลจากการทำงาน ด้านปัจจัยสำคัญที่จะเอื้อต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้รูปแบบการทำงานที่บ้านของโรงเรียนเซนต์เมรี่ ได้แก่ ด้านความพร้อมของที่บ้าน ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของโรงเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานที่บ้าน และด้านนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่องของโรงเรียน</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/264379 ปัจจัยทุนทางสังคมที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาวะของกลุ่มผู้สูงอายุพิการในชุมชน: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ 2023-09-09T09:47:49+07:00 กาญจนา จำนงค์บุญ [email protected] จิรพรรณ นฤภัทร [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทุนทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุพิการในพื้นที่เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ และเพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของภาคส่วนต่าง ๆ และความเชื่อมโยงการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุพิการ โดยใช้แนวคิดทุนทางสังคม ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 30 คน ผลการศึกษาว่า ปัจจัยทุนทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุพิการในพื้นที่เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลและการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน 2) ปัจจัยการพึ่งพาประยุกต์ใช้ความรู้ 3) ปัจจัยการต่างตอบแทนผลประโยชน์ร่วมกัน และ 4) ปัจจัยด้านสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การวิจัยนี้ยังพบว่า การทำงานในลักษณะเครือข่ายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการของภาคส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้การดูแลกลุ่มผู้สูงอายุพิการเปราะบางในพื้นที่เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ มีความโดดเด่น ส่งผลให้ผู้สูงอายุพิการในพื้นที่ มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี และเข้าถึงบริการอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม</p> 2023-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/264091 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับบิดามารดา: กรณีศึกษานักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร 2023-12-22T14:38:46+07:00 ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์ [email protected] ลักษณ์วิรุฬม์ โชติศิริ [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับบิดามารดา และสัมพันธภาพระหว่างบิดามารดากับผู้สูงอายุในบ้าน และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักเรียนกับบิดามารดา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การสำรวจผ่านแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการศึกษา พบว่า สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับบิดามารดาในภาพรวม อยู่ในระดับดีการรับรู้สัมพันธภาพที่ดีระหว่างบิดามารดากับผู้สูงอายุ ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับการรับรู้สัมพันธภาพที่ดีระหว่างบิดามารดากับผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบ Chi-Square พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับบิดามารดา ได้แก่ การรรับรู้สัมพันธภาพที่ดีระหว่างบิดามารดากับผู้สูงอายุ ระดับการศึกษาของบิดา อาชีพของบิดา และอาชีพของมารดา ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้ปกครอง ควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ครอบครัวคนไทยเกิดความอบอุ่น และลดพฤติกรรมวัยรุ่นที่เป็นปัญหาของสังคม โดยพัฒนากลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับบิดามารดา ตลอดจนส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างบิดามารดากับผู้สูงอายุ เพื่อให้นักเรียน/วัยรุ่นสามารถซึมซับพฤติกรรมที่ดีของบิดามารดา ตลอดจนเลียนพฤติกรรมเหล่านั้นเมื่อพวกเขาเติบโตต่อไป</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/265225 แนวทางการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา 2023-09-08T17:38:22+07:00 สราวุธ แพพวก [email protected] สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การดำเนินการในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามเกณฑ์การประเมิน UI GreenMetric 2) ปัญหาและอุปสรรค ในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล 3) ปัจจัยความสำเร็จ ในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม กับผู้ให้ข้อมูลหลัก 11 ราย ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีการดำเนินงานที่สอดคล้องตามเกณฑ์การประเมิน UI GreenMetric ครบทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) การดำเนินการด้านสถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน 2) การดำเนินการด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การดำเนินการด้านการจัดการของเสีย 4) การดำเนินการด้านการจัดการน้ำ 5) การดำเนินการด้านการขนส่ง และ 6) การดำเนินการด้านการศึกษาและวิจัย สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่พบ ได้แก่ 1) การสร้างจิตสำนึกและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2) การจัดสรรงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ 3) การจัดเก็บข้อมูลที่มีความหลากหลาย 4) ขาดการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดำเนินการ และ 5) การสร้างความผูกพันกับชุมชน ด้านปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ 1) ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน 2) การมีส่วนร่วมของทุกคน 3) การสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลอย่างมีประสิทธิผล 4) การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ และ 5) การสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยอื่น ในตอนท้ายผู้วิจัยยังได้สังเคราะห์และพัฒนาตัวแบบ U-GREEN เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/266567 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 2023-11-20T09:40:26+07:00 จิตรกร ว่องประเสริฐ [email protected] คณิต เขียววิชัย [email protected] วรรณวีร์ บุญคุ้ม [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และศักยภาพในการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา ในพื้นที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และ 3) เพื่อทดลองใช้ และประเมินปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่ตำบลท่าขนุน อำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ให้มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์ การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน และตัวแทนประชาชนในพื้นที่ 2) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา โดยชุมชนมีส่วนร่วม และ 3) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในพื้นที่ ได้แก่ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า (ก) ตำบลท่าขนุน เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว และจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ การท่องเที่ยว และกีฬาที่หลากหลายได้ (ข) รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พัฒนาออกมาได้เป็นตัวแบบ ท่าขนุนโมเดล (Tha Kanun Model) โดยมีองค์ประกอบย่อย 6 ด้าน คือ ภูมี (P-H-U-M-E-E) ได้แก่ P: การมีส่วนร่วม, H: ประวัติศาสตร์, U: อรรถประโยชน์, M: การจัดการ, E: ความสนุกสนาน และ E: ประสบการณ์ (ค) ผลการทดลองใช้ตัวแบบ Tha Kanun Model พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมตัวแบบ ท่าขนุนโมเดล (Tha Kanun Model) ในระดับมาก และในทุกมิติ และ (ง) ผลการปรับปรุงตัวแบบ ท่าขนุนโมเดล (Tha Kanun Model) ในขั้นตอนสุดท้าย พบว่า ควรมีการขยายผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ไปใช้กับพื้นที่อื่น และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขอนามัย และความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในพื้นที่ด้วย</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 2024 Department of Social Sciences, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University Thailand