TY - JOUR AU - ก้อนแพง, พัชรียา PY - 2018/09/20 Y2 - 2024/03/28 TI - ปัจจัยเกี่ยวกับความผูกพันทางสังคมและการควบคุมตนเองที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงกลา JF - วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล JA - ISSJ VL - 4 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/146479 SP - 35-54 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับคดียาเสพติด เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยทางด้านความผูกพันทางสังคม (Social Bonds) การควบคุมตนเอง (Self-Control) ที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงกลางและเพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันมิให้ผู้ต้องขังที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดกลับมากระทำผิดซ้ำอีกครั้งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงกลาง จำนวน 300 คนโดยการใช้สูตรคำนวณของทาโร่ยามาเน่ &nbsp;(Taro Yamane)เป็นเครื่องมือในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์การแปรผันทางเดียว (One-way Anova) และการวิเคราะห์การจำแนกเชิงพหุคูณ (MCA)</p><p>พบว่า ผู้ต้องขังฯส่วนใหญ่มีระดับการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดสูงซึ่งส่วนใหญ่กระทำผิดซ้ำในฐานความผิดครอบครองเพื่อจำหน่าย</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ข้อค้นพบจากการวิจัย พบว่า ปัจจัยการคบเพื่อนมีผลต่อการกระทำผิดมากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยทางด้านประวัติการกระทำผิด ปัจจัยด้านการควบคุมตนเองและปัจจัยทางด้านความผูกพันทางสังคม โดยเฉพาะความผูกพันกับครอบครัวส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ข้อเสนอแนะควรส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ที่เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่และสนับสนุนด้านการศึกษา (School&nbsp; Program)เพราะสามารถสร้างกลไกในการป้องกันแนวโน้มในการกระทำผิดและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพได้ตามหลักทฤษฎีการควบคุมตนเองได้ (Self-Control)</p> ER -