วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru <p> วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี รับตีพิมพ์บทความใน<strong>สาขาวิชามนุษยศาสตร์</strong> ภาษาและวรรณคดี ศิลปกรรม นาฏศิลป์และการแสดง และ<strong>สาขาวิชาสังคมศาสตร์</strong> นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการชุมชน</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี</p> <p>- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี</p> <p>- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา</p> <p>- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)</p> journal.human@dru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รสริน ดิษฐบรรจง) journal.human@dru.ac.th (นางสาวอลิสา อรุณธนหิรัญ) Mon, 29 Apr 2024 15:20:51 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การสานพลังความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนนโยบายเมืองอัจฉริยะ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/269455 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของการมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการผลักดันนโยบายเมืองอัจฉริยะ นำเสนอแนวทางการบูรณาการความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันให้เป็นเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนนโยบาย ฯ ดังกล่าว การขับเคลื่อนนโยบายเมืองอัจฉริยะให้ประสบความสำเร็จนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน จัดสรรงบประมาณและสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ในขณะที่ภาคเอกชนสามารถนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเมือง ส่วนภาคประชาสังคมจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของประชาชน เพื่อให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ดังนั้น การสานพลังความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง</p> สุรีย์พร สลับสี, พงษ์พัต วัฒนพงศ์ศิริ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/269455 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยในรูปแบบระบำจากอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ: ระบำพระราชลัญจกร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/268333 <p>การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบระบำ เป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยรูปแบบหนึ่งที่มีความงดงามทั้งในด้านกระบวนท่ารำ เครื่องแต่งกาย และการแปรแถวที่หลากหลายทำให้เกิดสุนทรียะในการแสดง โดยการแสดงในรูปแบบระบำมีจุดมุ่งหมายอยู่หลายประการ ซึ่งการแสดงรูปแบบระบำที่สะท้อนอัตลักษณ์ขององค์กร เป็นรูปแบบหนึ่งที่บ่งชี้ลักษณะเฉพาะขององค์กรผ่านการสร้างสรรค์ในแต่ละองค์ประกอบของศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้เป็นอย่างดี ดังการแสดงชุด ระบำพระราชลัญจกร ที่อาจารย์ ดร.สุนันทา เกตุเหล็ก ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยนำความหมายของสีที่ปรากฏในตราสัญลักษณ์พระราชลัญจกร ได้แก่ สีน้ำเงินที่สื่อถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ สีเขียวที่สื่อถึงสถานที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สีทองที่สื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา สีส้มที่สื่อถึงความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และสีขาวที่สื่อถึงความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์ มาออกแบบสร้างสรรค์ตามองค์ประกอบของการแสดง เช่น บทร้องได้ประพันธ์ในรูปแบบกลอนสุภาพ กระบวนท่ารำใช้การตีความหมายตามบทร้องผสมผสานกับจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ และแต่งกายแบบนางใน โดยยึดสีของเครื่องแต่งกายตามสีที่ปรากฏในตราสัญลักษณ์พระราชลัญจกรที่อยู่บนพื้นฐานของการรักษา สืบสาน และสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ไทย</p> สุนันทา เกตุเหล็ก Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/268333 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/266634 <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และ 3) การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหารงาน รองลงมาคือ ด้านโครงสร้างการทำงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการสนับสนุนให้มีการพัฒนาอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน 2) แนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คือ ควรมีการสนับสนุนให้มีการนำแนวคิดหรือวิธีการใหม่ ๆ มาปรับใช้ในหน่วยงานอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่อการปฏิบัติงาน ทำให้ลดขั้นตอนต่อการปฏิบัติงานและเวลาทำงาน และ 3) การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรีไม่แตกต่างกัน</p> วรวิทย์ แว่นแก้ว Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/266634 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาและออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับสินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/265327 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลของกลุ่มแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับสินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรและผู้บริโภคที่มีต่อตราสัญลักษณ์สำหรับสินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รู้เกี่ยวกับสินค้าแปรรูปปลานิล กลุ่มแปรรูปปลานิล ต.บางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิก และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด จำนวน 2 ด้าน ด้านละ 3 ท่าน เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (standardized or structured interview) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) แบบสอบถามแนวทางการออกแบบ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมที่มีต่อตราสัญลักษณ์สินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อตราสัญลักษณ์สินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของการเขียนบรรยาย และหาค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตและกลุ่มผู้บริโภค ให้ความเห็นว่ามีความพึงพอใจต่อตราสัญลักษณ์สำหรับสินค้าแปรรูปปลานิล จังหวัดสมุทรปราการ ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (x̅=4.36) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.52)</p> วรางคณา กรเลิศวานิช, องอาจ มากสิน Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/265327 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความคงที่และการเปลี่ยนแปลงภาพแทนกะเทยในบทเพลงไทยบน YouTube https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/267372 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคงที่และการเปลี่ยนแปลงภาพแทนกะเทยในบทเพลงไทยบน YouTube ซึ่งผู้วิจัยเลือกบทเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกะเทย หรือมีผู้ขับร้องเป็นเพศทางเลือกรวมทั้งสิ้น 120 เพลง โดยใช้แนวคิดเพศวิถีและภาพแทน จากผลการศึกษา พบว่า ความคงที่ของภาพแทนกะเทย มี 3 ประเด็น ได้แก่ กะเทยรักความสวยงาม กะเทยต้องการความรักจากผู้ชาย กะเทยสร้างความบันเทิง และการปรับเปลี่ยนภาพแทนกะเทย มี 2 ประเด็น ได้แก่ กะเทยลูกสาวของครอบครัว และกะเทยผู้ภูมิใจในตนเอง ทั้งด้านรูปร่างหน้าตาและเพศกะเทย</p> เตือนใจ คดดี, วิริยา วิริยารัมภะ, อรรถพล ภมรพล, วราภรณ์ ต่วนศรีแก้ว, พงศ์ธร ทรัพย์ประเสริฐ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/267372 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงถูกหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดสุพรรณบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/267286 <p>ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีเป็นเสมือนดาบสองคม มีทั้งประโยชน์ที่มหาศาลและภัยที่ตามมาหากใช้แบบผิด ๆ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีการสื่อสารทางโทรศัพท์มาใช้ในการหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของมิจฉาชีพ และเหยื่อที่ตกเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพมากที่สุดนั้นคือ กลุ่มของผู้สูงอายุ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงถูกหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) แนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงถูกหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดสุพรรณบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมเสี่ยงถูกหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการรับรู้ความเสี่ยง มากที่สุด รองลงมา คือ ความตั้งใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง องค์ประกอบที่จะเกิดความผิดพลาด และการรับรู้ความสามารถในการจัดการกับภัยคุกคาม และ 2) แนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงถูกหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ติดตามข่าวสารความรู้ด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ การให้ความรู้ข้อกฎหมายในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์กับผู้สูงอายุในครอบครัว เป็นวิธีการป้องกันเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุในครอบครัวที่ต้องทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ การจำกัดวงเงินการทำธุรกรรม ปรับวงเงินสำหรับการชำระสินค้าหรือการโอนเงิน ให้เหมาะสมกับการทำธุรกรรมการเงินในโลกออนไลน์ และไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวรวมถึงข้อมูลทางการเงิน</p> อุดมสิทธิ์ อุ่นพัฒนาศิลป์, ศมานันทน์ รัตนศิริวิไล, วิชิต สุรดินทร์กูร, นลินี สุรดินทร์กูร Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/267286 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์รูปแบบลวดลายศรีวิชัยที่ปรากฏตามอัตลักษณ์ศรีวิชัย เพื่อการประยุกต์ลวดลายใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/267163 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบลวดลายศรีวิชัยที่ปรากฏตามอัตลักษณ์ศรีวิชัย 2) เพื่อประยุกต์รูปแบบลวดลายใหม่ โดยวิเคราะห์รูปแบบลวดลายจาก 4 อัตลักษณ์ ประกอบด้วย 1) อัตลักษณ์การแต่งกายสมัยศรีวิชัย 2) อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย 3) อัตลักษณ์ศิลปกรรมสมัยศรีวิชัย และ 4) อัตลักษณ์เครื่องราชบรรณาการสมัยศรีวิชัย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ เอกสารวิชาการทางประวัติศาสตร์ จากหนังสือ ตำรา บทความวิจัย และบทความวิชาการ จำนวน 19 เรื่อง แบ่งเป็นแหล่งข้อมูลในประเทศ จำนวน 13 เรื่อง และแหล่งข้อมูลต่างประเทศ จำนวน 6 เรื่อง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิเคราะห์ เป็นกลุ่มบุคคลที่สามารถยืนยันรูปแบบลวดลายที่ปรากฏตามอัตลักษณ์ศรีวิชัย จำนวน 20 คน ในพื้นที่วิจัย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบลวดลายที่ปรากฏตามอัตลักษณ์ศรีวิชัยมี 2 อัตลักษณ์ ได้แก่ 1) อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย สามารถพบรูปแบบลวดลายที่สะท้อนอัตลักษณ์ศรีวิชัยจากสถาปัตยกรรม ได้แก่ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสะท้อนจากหน้าบันด้านนอกบริเวณซุ้มประตูทางเข้าวัด และหน้าบันด้านนอกบริเวณหน้าพระอุโบสถภายในวัด และหน้าบันด้านในบริเวณพระบรมธาตุไชยา และ 2) อัตลักษณ์ศิลปกรรมสมัยศรีวิชัย สามารถพบรูปแบบลวดลายที่สะท้อนอัตลักษณ์ศรีวิชัยจากศิลปกรรม ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร โดยสะท้อนจากเครื่องประดับองค์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งอยู่บริเวณ ศีรษะ หน้าอก แขน และข้อเท้า สามารถประยุกต์ลวดลายใหม่ได้ 9 รูปแบบ</p> ตวงรัก รัตนพันธุ์, สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร, พิทย์พันธ์ สิทธิรักษ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/267163 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/267893 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา 3) ศึกษาเปรียบเทียบระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทาง การเมืองของนักศึกษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติพื้นฐานและค่า t กับ F-distributions สถิติการถดถอยพหุและสหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) อายุเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจในระดับมากที่สุด 3) นักศึกษาที่อายุต่างกันมีระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่นักศึกษาที่มีเพศ ชั้นปีที่กำลังศึกษา และคณะที่แตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา โดยใช้สถิติการถดถอยพหุ พบว่า ปัจจัยด้านการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชน ความรู้ทางการเมือง และความคิดเห็นทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับระดับการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา</p> กัณญาณัฐ เสียงใหญ่, สุรศักดิ์ โตประสี, ประกิจ ยาเลิศ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/267893 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทำของบุคคล ผู้ไร้ความสามารถ อันมีสถานภาพเป็นคนไร้ที่พึ่ง (คนไร้บ้าน) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/268159 <p>การศึกษาวิจัย เรื่อง ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการกระทำของบุคคลผู้ไร้ความสามารถอันมีสถานภาพเป็นคนไร้ที่พึ่ง (คนไร้บ้าน) พบว่า การเป็นคนไร้ที่พึ่งเกิดจากปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล และปัจจัยด้านระบบสังคม โดยมีสาเหตุจากความยากจน ความเจ็บป่วยโดยเฉพาะจิตเวช ปัญหาครอบครัว ติดสุรายาเสพติด สังคมเปราะบาง เศรษฐกิจตกต่ำ การเอารัดเอาเปรียบ ปัจจัยและสาเหตุเหล่านี้ยังเป็น สาเหตุของการก่อเกิดการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ส่วนด้านอาชญาวิทยาแบ่งสาเหตุการกระทำความผิดออกเป็น 3 มุมมองคือ ด้านชีววิทยา (biology) ด้านจิตวิทยา (psychology) และด้านสังคมวิทยา (sociology) ล้วนมีความสัมพันธ์กัน ส่วนความรับผิดถ้าผู้กระทำละเมิดเป็นบุคคลไร้ความสามารถจะมีบิดามารดา ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือผู้รับดูแล ร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 429 มาตรา 430 แต่คนไร้ที่พึ่งอันมีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถจะไม่มีบุคคลเหล่านี้ร่วมรับด้วย เพราะผู้กระทำละเมิดไม่อยู่ในอำนาจปกครองดูแล ผู้เสียหายจึงต้องรับความเสียหายตามลำพัง ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงควรมีมาตรการแนวทางช่วยเหลือ คุ้มครอง ป้องกันการเป็นคนไร้บ้าน เพื่อคุ้มครองผู้เสียหายและการเยียวยาชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม</p> ศิลป์ชัย ลีลิตธรรม Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/268159 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการสร้างอัตลักษณ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/269197 <p>การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการสร้างอัตลักษณ์และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีน เป็นการวิจัยที่มีความมุ่งหมายสำคัญสองประการ คือ 1) เพื่อสังเคราะห์อัตลักษณ์รูปแบบเรขศิลป์สำหรับชุมชนกุฎีจีน 2) เพื่อสร้างแนวทางการใช้เรขศิลป์ในการสร้างอัตลักษณ์สำหรับชุมชนกุฎีจีน ให้สามารถนำไปใช้ในการสร้างภาพลักษณ์เพื่อการสื่อสารของชุมชนในกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงการสื่อสารที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกชุมชนกุฎีจีน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัย คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ 3 ท่าน ประธานชุมชนและตัวแทนจากชุมชนกุฎีจีน 2 ท่าน กลุ่มที่ 2 ประชากรในชุมชนกุฎีจีนจำนวน 50 คน กลุ่มที่ 3 ประชากรที่เป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 50 คน โดยการศึกษาจากเอกสาร ภาคสนาม การสนทนากลุ่ม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นแนวทางในการออกแบบอัตลักษณ์ชุมชน ด้วยกระบวนการกราฟิก ประกอบด้วย ตราสัญลักษณ์, ตัวอักษร, สีอัตลักษณ์ เพื่อนำไปประเมินความพึงพอใจที่มีต่ออัตลักษณ์จากกลุ่มประชากรนักท่องเที่ยวจำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนกุฏีจีน เป็นชุมชนชาวคริสต์ที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมโปรตุเกสมานานกว่าสองศตวรรษ ยังคงรักษามรดกทางวัฒนธรรมไว้ได้อย่างเข้มแข็ง สามารถนำทุนวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ที่ปรากฏมาใช้เพื่อกำหนดเป็นกรอบแนวคิด บุคลิก ทิศทางในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับสร้างอัตลักษณ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีนให้เด่นชัดขึ้น กลุ่มประชากรได้แสดงความพึงพอใจผลงานการออกแบบเรขศิลป์สำหรับการสร้างอัตลักษณ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีน ในภาพรวมค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับดีมาก</p> แสนชัย ลิขิตธีรวุฒิ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/269197 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700